http://manager.co.th/GoodHealth/ViewNews.aspx?NewsID=9580000086146
สเปรย์ยาสลบ!!! Chloroform!!! ใช้ก่ออาชญากรรม!!!
30 กรกฎาคม 2558 - โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
หนึ่งในกระแสที่คนแชร์บนเฟซบุ๊กซ้ำแล้วซ้ำเล่า ก็น่าจะมีเรื่องของการเตือนให้ผู้หญิงระวังรถแท็กซี่ที่ใส่หน้ากากปิดจมูกให้ดี เพราะอาจจะโดนอดีตยาสลบที่มีชื่อว่า “คลอโรฟอร์ม” รมระหว่างโดยสารรถ หรือถ้าไม่ใช่เรื่องระวังแท็กซี่ก็อาจจะให้ระวังคนทำทีมาเคาะกระจกรถ พอเหยื่อไขกระจกลงเท่านั้นแหละ เจ้านั่นก็จะจัดการสเปรย์คลอโรฟอร์มใส่ใบหน้าของเหยื่อทันที ผลก็คือเกิดอาการสลืมสลือ มึนงง หรือหมดสติไป ก่อนจะรู้ตัวอีกทีก็เสียทั้งตัวเสียทั้งทรัพย์ ไปจนกระทั่งเสียอวัยวะภายในจากแก๊งค้าอวัยวะมนุษย์กันทีเดียว
....................
....................
ในอินเดีย สำนักข่าว Times of India มีข่าวการปล้นร้านจิวเวลี่อย่างต่อเนื่องจากแก๊งโจรท้องถิ่น (zeher khurani) โดยใช้สเปร์ย์ฉีดที่ใส่คลอโรฟอร์มไว้ รายงานจากเจ้าหน้าที่ตำรวจอินเดียบอกว่า สเปรย์ยาสลบคลอโรฟอร์มนี้ถูกใช้เพื่อก่อคดีอย่างต่อเนื่อง วิธีง่ายๆ ก็คือฉีดมันที่หน้าจนเหยื่อมึนแล้วแก๊งทั้งหมดก็บุกเข้าไปยกเค้ากันทั้งร้าน สเปรย์ยาสลบนี้ยังใช้กันอย่างแพร่หลายในขบวนรถไฟที่เหยื่อมักโดนรมจนสลบไสลและถูกรูดทรัพย์ไปในที่สุด ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจก็บอกอีกว่ายาสลบที่ใช้มอมเหยื่อนั้นยังมีอีกหลายรูปแบบ ทั้งแบบที่ให้จิบจากขวดน้ำที่ผสมยา ไปจนกระทั่งสเปรย์เข้าที่หน้า
ข่าวจากอินเดีย แปลว่าในทางปฏิบัติ “สเปรย์คลอโรฟอร์ม” นี้ใช้ได้จริงๆ
แต่เหตุการณ์เช่นนี้มันอาจจะอุกอาจไปหน่อยในประเทศไทยเรา เพราะอยู่ดี ๆ เอาสเปรย์มาฉีดใส่หน้าเราในที่สาธารณะต่อหน้าธารกำนันทั้งหลาย พลเมืองดีถ้าเห็นเข้าคงช่วยกันรุมกระทืบเป็นแน่
แต่ลองจินตนาการถึงบริเวณลานจอดรถสาธารณะหรือห้างสรรพสินค้าทั่วไปที่เปลี่ยวๆ อาจจะน่ากลัว เพราะคนร้ายอาจจะรอโอกาสให้เราเปิดประตูรถแล้วฉีดสเปร์ยใส่เพื่อให้เราสลบ ไม่เช่นนั้นก็เอาแน่นอนไว้ก่อนด้วยการหยดคลอโรฟอร์มลงในผ้าแล้วปฏิบัติการโปะเข้าที่จมูกเรา ให้เวลาคลอโรฟอร์มออกฤทธิ์นิดหน่อย แล้วปลดทรัพย์ แต่บางรายอาจจะโชคร้ายโดนทำร้ายร่างกายด้วย ก็ยังพบเห็นเป็นข่าวอยู่ในหน้าหนังสือพิมพ์กันอยู่เสมอๆ เราประชาชนก็คงต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตา และระมัดระวังตัวเองให้ดีด้วย ไม่พยายามเอาตัวเองไปอยู่ในสถานที่ที่เสี่ยงจะเกิดเหตุ
ในเมืองไทยนั้น อาชญากรรมที่ก่อตัวจากคลอโรฟอร์มยังถือว่าน้อย ถ้าเทียบกับในอูกันด้า คลอโรฟอร์มเป็นสารยอดฮิตในการใช้ก่ออาชญากรรมโดยเฉพาะอาชญากรรมทางเพศ นักเคมีจากโรงพยาบาล Mulago กล่าวว่า ด้วยปริมาณแค่ 10 มิลลิลิตรเมื่อผสมน้ำดื่มก็ทำให้สลบแล้ว และก่อให้เกิดคดีข่มขืนมากมายหลายๆ เคส เคสแรกที่ทำให้คลอโรฟอร์มดังในเชิงนี้ จบลงด้วยการที่เหยื่อแขวนคอตายเพราะถูกหลอกให้ดื่มน้ำที่ผสมคลอโรฟอร์มก่อนจะโดนเรียงคิวข่มขืนจากชาย 4 คนตลอดทั้งคืน แม้ว่าตำรวจจะจับคนร้ายได้ แต่คนในหมู่บ้านกลับแอนตี้เหยื่อจนทำให้เธอฆ่าตัวตายดังกล่าว
การมอมยาและข่มขืนนั้นมีมากขนาดถึงขนาดที่ทางรัฐบาลต้องเตือนให้ระวังการเช่าบ้านหรือห้องอยู่คนเดียวสำหรับเพศหญิงกันเลย แถมคลอโรฟอร์มก็เป็นสารสำคัญที่อาชญากรใช้แล้วประสบความสำเร็จในการทำชั่วอย่างที่สุด
แล้วกรณีในรถแท็กซี่ล่ะ?
การอยู่สองต่อสองกับคนร้ายบนแท็กซี่แอร์เย็นฉ่ำ มีกลิ่นเหมือนเบาะหนังใหม่ๆ แถมพี่แท็กซี่ก็มีสุขอนามัยดีใส่หน้ากากปิดปากปิดจมูก ขณะที่เราไม่มี รับแอร์ไปเต็มๆจนง่วงนอน ให้จำไว้ว่ากลิ่นเบาะหนังใหม่ๆ โทนนั้นแหละ คือกลิ่นคลอโรฟอร์มและผองเพื่อนกลุ่ม VOCs ถ้ารู้สึกว่ามันชักเยอะไป ก็เป็นไปได้ว่าอาจจะอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะโดนมอมยา เพราะแม้นจะอยู่ในระบบปิดที่รับคลอโรฟอร์มเหมือนกัน แต่เราเองก็อาจจะสลบก่อนเพราะปริมาณสารที่เข้าตัวของเรามากกว่า เนื่องจากเราไม่มีหน้ากากปิดจมูก เพราะฉะนั้น ควรระวังและสังเกตตัวเองหลังขึ้นแท็กซี่ลักษณะที่ว่าก่อนก็แล้วกัน หากได้กลิ่นแปลกๆ เหมือนเบาะหนังใหม่ๆ แรงๆ ผิดปกติ ก็อาจจะเปิดกระจก หรือรีบใช้อุบายในการลงจากรถให้ได้เร็วที่สุด
นอกจากจะมีพวกหัวหมอ นำเอาคลอโรฟอร์มมาใช้ในทางหาประโยชน์ให้กับตัวเองแล้ว ก็มีอีกคนอีกจำพวกหนึ่งที่เอาคลอโรฟอร์มมาใช้ในการทำอัตวินิบาตกรรม ว่ากันภาษาชาวบ้านก็คือ “ฆ่าตัวตาย” นั่นเอง (หนักกว่านั้นก็ใช้ลอบฆ่าฝ่ายตรงข้ามซะเลย)
ว่ากันว่า หนึ่งในวิธีการดังกล่าวก็คือ การทำให้ตัวเองขาดอาการหายใจโดยใช้ถุงพลาสติกครอบหัว ใช้แต่ถุงพลาสติกครอบหัวจนกว่าจะตายก็อาจจะทรมานทุรนทุราย เลยทำให้มันซับซ้อนเสียหน่อยด้วยการโปะให้ตัวเองสลบด้วยคลอโรฟอร์มเสียเลย ขณะเคลิ้มๆ ก็เอาถุงครอบหัวก็จะได้ตายสมใจนึก ที่สำคัญ ผลการผ่าชันสูตรศพก็ไม่พบสารประกอบอะไรในปอดนอกจากเป็นเรื่องร่างกายหยุดทำงานเพราะขาดอากาศ หลักฐานเดียวที่มีคือข้างๆ ตัวของผู้ตายมีขวดคลอโรฟอร์มอยู่ด้วยเสมอ
ปัจจุบัน ในเกือบทุกประเทศ รวมถึงประเทศไทย คลอโรฟอร์มเป็นสารควบคุม จะซื้อจะขายต้องมีใบบอกและคุมปริมาณที่แน่นอน มิใช่ขายให้ตาสีตาสาทั่วไป แต่กระนั้น ในยุคที่อินเตอร์เนตเฟื่องฟูและสามารถสั่งยาพิษได้จากโลกกว้างใบนี้ด้วยปลายนิ้ว
คงไม่ใช่เรื่องน่าไว้วางใจว่า เราปลอดภัย 100 เปอร์เซนต์จากสเปรย์คลอโรฟอร์มนะคะ
....................
....................
หนึ่งในกระแสที่คนแชร์บนเฟซบุ๊กซ้ำแล้วซ้ำเล่า ก็น่าจะมีเรื่องของการเตือนให้ผู้หญิงระวังรถแท็กซี่ที่ใส่หน้ากากปิดจมูกให้ดี เพราะอาจจะโดนอดีตยาสลบที่มีชื่อว่า “คลอโรฟอร์ม” รมระหว่างโดยสารรถ หรือถ้าไม่ใช่เรื่องระวังแท็กซี่ก็อาจจะให้ระวังคนทำทีมาเคาะกระจกรถ พอเหยื่อไขกระจกลงเท่านั้นแหละ เจ้านั่นก็จะจัดการสเปรย์คลอโรฟอร์มใส่ใบหน้าของเหยื่อทันที ผลก็คือเกิดอาการสลืมสลือ มึนงง หรือหมดสติไป ก่อนจะรู้ตัวอีกทีก็เสียทั้งตัวเสียทั้งทรัพย์ ไปจนกระทั่งเสียอวัยวะภายในจากแก๊งค้าอวัยวะมนุษย์กันทีเดียว
คำถามคือมันเป็นไปได้หรือ ที่คลอโรฟอร์มจะทำได้ถึงขนาดนั้น?
เรื่องนี้เคยมี ดร.วิทยาศาสตร์คนดังทางเฟซบุ๊กประเภทกูรูทุกเรื่องตั้งแต่ความดีของพืช GMO (นอกเหนือจากการให้ทุนไปเที่ยวดูงาน) ยันเรื่องของถ่านหินสะอ๊าดสะอาด (หนูประชดนะคะ) แกเคยออกมาบอกแล้วว่าเป็นไปไม่ได้ในเรื่องของคลอโรฟอร์มที่ทำให้คนสลบมาแล้ว...แต่เนื่องจากชักไม่แน่ใจในความเป็นกูรูทุกเรื่องของแก ก็เลยจะต้องมานำเสนอความจริงเกี่ยวกับคลอโรฟอร์มอีกด้านกันดูซิว่ามันทำได้อย่างที่คิดไหม
คลอโรฟอร์มเป็นสารในกลุ่มพวกสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs: Volatile Organic Compounds) ในชีวิตจริงไม่อิงนิยาย เราคงเลี่ยงที่จะไม่พบปะสารกลุ่มนี้ได้ลำบาก เพราะพวกมันมากับการเผาไหม้ในบรรยากาศ เวลาที่โรงงานอุตสาหกรรมในบ้านเราเกิดระเบิดหรือบ่อขยะไฟใหม้ เราจะเห็นหน่วยงานรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นกรมโรงงานอุตสาหกรรมและกรมควบคุมมลพิษออกมาทำการตรวจอากาศที่เกิดเหตุว่าเจอสาร VOCs ปริมาณที่เป็นอันตรายต่อประชาชนในละแวกนั้นหรือไม่ แน่นอนว่าคลอโรฟอร์มเป็นหนึ่งในสาร VOCs ที่ถูกตรวจวัด
โดยทั่วไป เราจะพบคลอโรฟอร์มในอากาศรอบๆ ตัวเราที่ความเข้มข้น 1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร กรมควบคุมมลพิษบ้านเรากำหนดปริมาณคลอโรฟอร์มในชั้นบรรยากาศทั่วไปในช่วงเวลา 1 ปีไว้ที่ 0.43 ไมโครกรัมต่อลูกบาศ์กเมตร [อ้างอิง: ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 30 (พ.ศ.2550)] แต่ในชีวิตจริง เรายังเจอะเจอกับคลอโรฟอร์มได้ทั้งในน้ำดื่ม หรือน้ำเสียจากบ้านเรือน แหล่งน้ำธรรมชาติ สระว่ายน้ำ เป็นต้น โอ้พระเจ้าจ๊อด!!!
ผลกระทบของคลอโรฟอร์ม เมื่อเข้าสู่ร่างกายมากเกินความจำเป็น มีทั้งแบบระยะสั้นและระยะยาว ผลกระทบระยะสั้น เช่น สมมติว่าชะตากรรมพลิกผันเราให้เข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่บ่อขยะระเบิดหรือไฟไหม้ เมื่อเกิดการเผาไหม้ ก็ย่อมต้องมีคลอโรฟอร์มกำเนิดขึ้นมาเป็นปริมาณมากในพื้นที่นั้น ถ้าเราสูดดมเข้าไปจะเกิดอาการเวียนหัว มึนงง เป็นลม เนื่องจากคลอโรฟอร์มเข้าไปรบกวนการรับรู้ของระบบประสาทส่วนกลางของเรา ตามมาด้วยอาการระคายเคืองระบบการหายใจ เพราะส่วนหนึ่งของคลอโรฟอร์มจะไปออกฤทธิ์ที่ปอด เมื่อได้รับในปริมาณที่มากทำให้เสียชีวิตได้เนื่องจากการทำงานของระบบหายใจและระบบหัวใจล้มเหลว
สำหรับผลกระทบระยะยาวนั้นจะเกิด เมื่อได้รับคลอโรฟอร์มอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตับ ไต และระบบเลือดทำงานผิดปกติ ตามมาด้วยการเผชิญหน้ากับมะเร็งร้ายได้ ทั้งนี้ ทาง “อีป้า” หรือ EPA (United Stated Environmental Protection Agency: USEPA) และองค์การอนามัยโลก (WHO: World Health Organization) จัดคลอโรฟอร์มไว้ในกลุ่มของสารที่ก่อมะเร็งในปี ค.ศ.1976
หลายคนเกิดคำถามตามมาว่า แล้วอย่างเอาน้ำประปามาต้มเพื่อดื่มล่ะ จะทำให้เป็นมะเร็งไหม เพราะน้ำประปามีคลอรีนผสมอยู่ เมื่อต้มแล้วจะได้คลอโรฟอร์ม ต้องตอบว่า อืม...คนคิดก็ช่างคิดได้ เพราะโอกาสเป็นไปได้ก็มีอยู่บ้างล่ะ แต่เชื่อหรือไม่ ต้มน้ำประปาจะดีกว่าไม่ต้มเพราะอย่าลืมว่าคลอโรฟอร์มเป็นสารที่ระเหยง่าย จุดเดือดก็หกสิบองศากว่าๆ เท่านั้น แต่น้ำเดือดที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ถึงจุดนั้นคลอโรฟอร์มก็หายไปจากน้ำต้มเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งทางองค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ว่าให้มีคลอโรฟอร์มในน้ำดื่มได้ไม่เกิน 0.100 มิลลิกรัม/ลิตร
ส่วนทางผิวหนัง คลอโรฟอร์มสามารถซึมผ่านผิวหนังไปทำลายน้ำมันธรรมชาติที่เคลือบที่ผิวของเรา จึงอาจจะระคายเคืองอย่างรุนแรงต่อผิวหนังที่สัมผัสซึ่งต้องรีบล้างออกให้เร็วที่สุด
ฟังดูแม้นจะมีโทษมาก แต่ปัจจุบันคลอโรฟอร์มยังวนเวียนอยู่ในตลาดอุตสาหกรรมทางเคมี เพราะใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารให้ความเย็นที่ใช้ในตู้เย็น และใช้ในห้องปฏิบัติการทางเคมีสำหรับสกัดสารสำคัญเพื่อนำไปวิเคราะห์อีก ประเทศไทยก็ควบคุมการซื้อขายอยู่และจะผิดมากขนาดติดคุก 10 ปี ถ้าผู้ถือครองคลอโรฟอร์มเอาไปเปลี่ยนแปลงสภาพมันเท่านั้น
http://manager.co.th/GoodHealth/ViewNews.aspx?NewsID=9580000086146
สเปรย์ยาสลบ!!! Chloroform!!! ใช้ก่ออาชญากรรม!!!
สเปรย์ยาสลบ!!! Chloroform!!! ใช้ก่ออาชญากรรม!!!
30 กรกฎาคม 2558 - โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
หนึ่งในกระแสที่คนแชร์บนเฟซบุ๊กซ้ำแล้วซ้ำเล่า ก็น่าจะมีเรื่องของการเตือนให้ผู้หญิงระวังรถแท็กซี่ที่ใส่หน้ากากปิดจมูกให้ดี เพราะอาจจะโดนอดีตยาสลบที่มีชื่อว่า “คลอโรฟอร์ม” รมระหว่างโดยสารรถ หรือถ้าไม่ใช่เรื่องระวังแท็กซี่ก็อาจจะให้ระวังคนทำทีมาเคาะกระจกรถ พอเหยื่อไขกระจกลงเท่านั้นแหละ เจ้านั่นก็จะจัดการสเปรย์คลอโรฟอร์มใส่ใบหน้าของเหยื่อทันที ผลก็คือเกิดอาการสลืมสลือ มึนงง หรือหมดสติไป ก่อนจะรู้ตัวอีกทีก็เสียทั้งตัวเสียทั้งทรัพย์ ไปจนกระทั่งเสียอวัยวะภายในจากแก๊งค้าอวัยวะมนุษย์กันทีเดียว
....................
....................
ในอินเดีย สำนักข่าว Times of India มีข่าวการปล้นร้านจิวเวลี่อย่างต่อเนื่องจากแก๊งโจรท้องถิ่น (zeher khurani) โดยใช้สเปร์ย์ฉีดที่ใส่คลอโรฟอร์มไว้ รายงานจากเจ้าหน้าที่ตำรวจอินเดียบอกว่า สเปรย์ยาสลบคลอโรฟอร์มนี้ถูกใช้เพื่อก่อคดีอย่างต่อเนื่อง วิธีง่ายๆ ก็คือฉีดมันที่หน้าจนเหยื่อมึนแล้วแก๊งทั้งหมดก็บุกเข้าไปยกเค้ากันทั้งร้าน สเปรย์ยาสลบนี้ยังใช้กันอย่างแพร่หลายในขบวนรถไฟที่เหยื่อมักโดนรมจนสลบไสลและถูกรูดทรัพย์ไปในที่สุด ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจก็บอกอีกว่ายาสลบที่ใช้มอมเหยื่อนั้นยังมีอีกหลายรูปแบบ ทั้งแบบที่ให้จิบจากขวดน้ำที่ผสมยา ไปจนกระทั่งสเปรย์เข้าที่หน้า
ข่าวจากอินเดีย แปลว่าในทางปฏิบัติ “สเปรย์คลอโรฟอร์ม” นี้ใช้ได้จริงๆ
แต่เหตุการณ์เช่นนี้มันอาจจะอุกอาจไปหน่อยในประเทศไทยเรา เพราะอยู่ดี ๆ เอาสเปรย์มาฉีดใส่หน้าเราในที่สาธารณะต่อหน้าธารกำนันทั้งหลาย พลเมืองดีถ้าเห็นเข้าคงช่วยกันรุมกระทืบเป็นแน่
แต่ลองจินตนาการถึงบริเวณลานจอดรถสาธารณะหรือห้างสรรพสินค้าทั่วไปที่เปลี่ยวๆ อาจจะน่ากลัว เพราะคนร้ายอาจจะรอโอกาสให้เราเปิดประตูรถแล้วฉีดสเปร์ยใส่เพื่อให้เราสลบ ไม่เช่นนั้นก็เอาแน่นอนไว้ก่อนด้วยการหยดคลอโรฟอร์มลงในผ้าแล้วปฏิบัติการโปะเข้าที่จมูกเรา ให้เวลาคลอโรฟอร์มออกฤทธิ์นิดหน่อย แล้วปลดทรัพย์ แต่บางรายอาจจะโชคร้ายโดนทำร้ายร่างกายด้วย ก็ยังพบเห็นเป็นข่าวอยู่ในหน้าหนังสือพิมพ์กันอยู่เสมอๆ เราประชาชนก็คงต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตา และระมัดระวังตัวเองให้ดีด้วย ไม่พยายามเอาตัวเองไปอยู่ในสถานที่ที่เสี่ยงจะเกิดเหตุ
ในเมืองไทยนั้น อาชญากรรมที่ก่อตัวจากคลอโรฟอร์มยังถือว่าน้อย ถ้าเทียบกับในอูกันด้า คลอโรฟอร์มเป็นสารยอดฮิตในการใช้ก่ออาชญากรรมโดยเฉพาะอาชญากรรมทางเพศ นักเคมีจากโรงพยาบาล Mulago กล่าวว่า ด้วยปริมาณแค่ 10 มิลลิลิตรเมื่อผสมน้ำดื่มก็ทำให้สลบแล้ว และก่อให้เกิดคดีข่มขืนมากมายหลายๆ เคส เคสแรกที่ทำให้คลอโรฟอร์มดังในเชิงนี้ จบลงด้วยการที่เหยื่อแขวนคอตายเพราะถูกหลอกให้ดื่มน้ำที่ผสมคลอโรฟอร์มก่อนจะโดนเรียงคิวข่มขืนจากชาย 4 คนตลอดทั้งคืน แม้ว่าตำรวจจะจับคนร้ายได้ แต่คนในหมู่บ้านกลับแอนตี้เหยื่อจนทำให้เธอฆ่าตัวตายดังกล่าว
การมอมยาและข่มขืนนั้นมีมากขนาดถึงขนาดที่ทางรัฐบาลต้องเตือนให้ระวังการเช่าบ้านหรือห้องอยู่คนเดียวสำหรับเพศหญิงกันเลย แถมคลอโรฟอร์มก็เป็นสารสำคัญที่อาชญากรใช้แล้วประสบความสำเร็จในการทำชั่วอย่างที่สุด
แล้วกรณีในรถแท็กซี่ล่ะ?
การอยู่สองต่อสองกับคนร้ายบนแท็กซี่แอร์เย็นฉ่ำ มีกลิ่นเหมือนเบาะหนังใหม่ๆ แถมพี่แท็กซี่ก็มีสุขอนามัยดีใส่หน้ากากปิดปากปิดจมูก ขณะที่เราไม่มี รับแอร์ไปเต็มๆจนง่วงนอน ให้จำไว้ว่ากลิ่นเบาะหนังใหม่ๆ โทนนั้นแหละ คือกลิ่นคลอโรฟอร์มและผองเพื่อนกลุ่ม VOCs ถ้ารู้สึกว่ามันชักเยอะไป ก็เป็นไปได้ว่าอาจจะอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะโดนมอมยา เพราะแม้นจะอยู่ในระบบปิดที่รับคลอโรฟอร์มเหมือนกัน แต่เราเองก็อาจจะสลบก่อนเพราะปริมาณสารที่เข้าตัวของเรามากกว่า เนื่องจากเราไม่มีหน้ากากปิดจมูก เพราะฉะนั้น ควรระวังและสังเกตตัวเองหลังขึ้นแท็กซี่ลักษณะที่ว่าก่อนก็แล้วกัน หากได้กลิ่นแปลกๆ เหมือนเบาะหนังใหม่ๆ แรงๆ ผิดปกติ ก็อาจจะเปิดกระจก หรือรีบใช้อุบายในการลงจากรถให้ได้เร็วที่สุด
นอกจากจะมีพวกหัวหมอ นำเอาคลอโรฟอร์มมาใช้ในทางหาประโยชน์ให้กับตัวเองแล้ว ก็มีอีกคนอีกจำพวกหนึ่งที่เอาคลอโรฟอร์มมาใช้ในการทำอัตวินิบาตกรรม ว่ากันภาษาชาวบ้านก็คือ “ฆ่าตัวตาย” นั่นเอง (หนักกว่านั้นก็ใช้ลอบฆ่าฝ่ายตรงข้ามซะเลย)
ว่ากันว่า หนึ่งในวิธีการดังกล่าวก็คือ การทำให้ตัวเองขาดอาการหายใจโดยใช้ถุงพลาสติกครอบหัว ใช้แต่ถุงพลาสติกครอบหัวจนกว่าจะตายก็อาจจะทรมานทุรนทุราย เลยทำให้มันซับซ้อนเสียหน่อยด้วยการโปะให้ตัวเองสลบด้วยคลอโรฟอร์มเสียเลย ขณะเคลิ้มๆ ก็เอาถุงครอบหัวก็จะได้ตายสมใจนึก ที่สำคัญ ผลการผ่าชันสูตรศพก็ไม่พบสารประกอบอะไรในปอดนอกจากเป็นเรื่องร่างกายหยุดทำงานเพราะขาดอากาศ หลักฐานเดียวที่มีคือข้างๆ ตัวของผู้ตายมีขวดคลอโรฟอร์มอยู่ด้วยเสมอ
ปัจจุบัน ในเกือบทุกประเทศ รวมถึงประเทศไทย คลอโรฟอร์มเป็นสารควบคุม จะซื้อจะขายต้องมีใบบอกและคุมปริมาณที่แน่นอน มิใช่ขายให้ตาสีตาสาทั่วไป แต่กระนั้น ในยุคที่อินเตอร์เนตเฟื่องฟูและสามารถสั่งยาพิษได้จากโลกกว้างใบนี้ด้วยปลายนิ้ว
คงไม่ใช่เรื่องน่าไว้วางใจว่า เราปลอดภัย 100 เปอร์เซนต์จากสเปรย์คลอโรฟอร์มนะคะ
....................
....................
หนึ่งในกระแสที่คนแชร์บนเฟซบุ๊กซ้ำแล้วซ้ำเล่า ก็น่าจะมีเรื่องของการเตือนให้ผู้หญิงระวังรถแท็กซี่ที่ใส่หน้ากากปิดจมูกให้ดี เพราะอาจจะโดนอดีตยาสลบที่มีชื่อว่า “คลอโรฟอร์ม” รมระหว่างโดยสารรถ หรือถ้าไม่ใช่เรื่องระวังแท็กซี่ก็อาจจะให้ระวังคนทำทีมาเคาะกระจกรถ พอเหยื่อไขกระจกลงเท่านั้นแหละ เจ้านั่นก็จะจัดการสเปรย์คลอโรฟอร์มใส่ใบหน้าของเหยื่อทันที ผลก็คือเกิดอาการสลืมสลือ มึนงง หรือหมดสติไป ก่อนจะรู้ตัวอีกทีก็เสียทั้งตัวเสียทั้งทรัพย์ ไปจนกระทั่งเสียอวัยวะภายในจากแก๊งค้าอวัยวะมนุษย์กันทีเดียว
คำถามคือมันเป็นไปได้หรือ ที่คลอโรฟอร์มจะทำได้ถึงขนาดนั้น?
เรื่องนี้เคยมี ดร.วิทยาศาสตร์คนดังทางเฟซบุ๊กประเภทกูรูทุกเรื่องตั้งแต่ความดีของพืช GMO (นอกเหนือจากการให้ทุนไปเที่ยวดูงาน) ยันเรื่องของถ่านหินสะอ๊าดสะอาด (หนูประชดนะคะ) แกเคยออกมาบอกแล้วว่าเป็นไปไม่ได้ในเรื่องของคลอโรฟอร์มที่ทำให้คนสลบมาแล้ว...แต่เนื่องจากชักไม่แน่ใจในความเป็นกูรูทุกเรื่องของแก ก็เลยจะต้องมานำเสนอความจริงเกี่ยวกับคลอโรฟอร์มอีกด้านกันดูซิว่ามันทำได้อย่างที่คิดไหม
คลอโรฟอร์มเป็นสารในกลุ่มพวกสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs: Volatile Organic Compounds) ในชีวิตจริงไม่อิงนิยาย เราคงเลี่ยงที่จะไม่พบปะสารกลุ่มนี้ได้ลำบาก เพราะพวกมันมากับการเผาไหม้ในบรรยากาศ เวลาที่โรงงานอุตสาหกรรมในบ้านเราเกิดระเบิดหรือบ่อขยะไฟใหม้ เราจะเห็นหน่วยงานรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นกรมโรงงานอุตสาหกรรมและกรมควบคุมมลพิษออกมาทำการตรวจอากาศที่เกิดเหตุว่าเจอสาร VOCs ปริมาณที่เป็นอันตรายต่อประชาชนในละแวกนั้นหรือไม่ แน่นอนว่าคลอโรฟอร์มเป็นหนึ่งในสาร VOCs ที่ถูกตรวจวัด
โดยทั่วไป เราจะพบคลอโรฟอร์มในอากาศรอบๆ ตัวเราที่ความเข้มข้น 1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร กรมควบคุมมลพิษบ้านเรากำหนดปริมาณคลอโรฟอร์มในชั้นบรรยากาศทั่วไปในช่วงเวลา 1 ปีไว้ที่ 0.43 ไมโครกรัมต่อลูกบาศ์กเมตร [อ้างอิง: ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 30 (พ.ศ.2550)] แต่ในชีวิตจริง เรายังเจอะเจอกับคลอโรฟอร์มได้ทั้งในน้ำดื่ม หรือน้ำเสียจากบ้านเรือน แหล่งน้ำธรรมชาติ สระว่ายน้ำ เป็นต้น โอ้พระเจ้าจ๊อด!!!
ผลกระทบของคลอโรฟอร์ม เมื่อเข้าสู่ร่างกายมากเกินความจำเป็น มีทั้งแบบระยะสั้นและระยะยาว ผลกระทบระยะสั้น เช่น สมมติว่าชะตากรรมพลิกผันเราให้เข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่บ่อขยะระเบิดหรือไฟไหม้ เมื่อเกิดการเผาไหม้ ก็ย่อมต้องมีคลอโรฟอร์มกำเนิดขึ้นมาเป็นปริมาณมากในพื้นที่นั้น ถ้าเราสูดดมเข้าไปจะเกิดอาการเวียนหัว มึนงง เป็นลม เนื่องจากคลอโรฟอร์มเข้าไปรบกวนการรับรู้ของระบบประสาทส่วนกลางของเรา ตามมาด้วยอาการระคายเคืองระบบการหายใจ เพราะส่วนหนึ่งของคลอโรฟอร์มจะไปออกฤทธิ์ที่ปอด เมื่อได้รับในปริมาณที่มากทำให้เสียชีวิตได้เนื่องจากการทำงานของระบบหายใจและระบบหัวใจล้มเหลว
สำหรับผลกระทบระยะยาวนั้นจะเกิด เมื่อได้รับคลอโรฟอร์มอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตับ ไต และระบบเลือดทำงานผิดปกติ ตามมาด้วยการเผชิญหน้ากับมะเร็งร้ายได้ ทั้งนี้ ทาง “อีป้า” หรือ EPA (United Stated Environmental Protection Agency: USEPA) และองค์การอนามัยโลก (WHO: World Health Organization) จัดคลอโรฟอร์มไว้ในกลุ่มของสารที่ก่อมะเร็งในปี ค.ศ.1976
หลายคนเกิดคำถามตามมาว่า แล้วอย่างเอาน้ำประปามาต้มเพื่อดื่มล่ะ จะทำให้เป็นมะเร็งไหม เพราะน้ำประปามีคลอรีนผสมอยู่ เมื่อต้มแล้วจะได้คลอโรฟอร์ม ต้องตอบว่า อืม...คนคิดก็ช่างคิดได้ เพราะโอกาสเป็นไปได้ก็มีอยู่บ้างล่ะ แต่เชื่อหรือไม่ ต้มน้ำประปาจะดีกว่าไม่ต้มเพราะอย่าลืมว่าคลอโรฟอร์มเป็นสารที่ระเหยง่าย จุดเดือดก็หกสิบองศากว่าๆ เท่านั้น แต่น้ำเดือดที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ถึงจุดนั้นคลอโรฟอร์มก็หายไปจากน้ำต้มเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งทางองค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ว่าให้มีคลอโรฟอร์มในน้ำดื่มได้ไม่เกิน 0.100 มิลลิกรัม/ลิตร
ส่วนทางผิวหนัง คลอโรฟอร์มสามารถซึมผ่านผิวหนังไปทำลายน้ำมันธรรมชาติที่เคลือบที่ผิวของเรา จึงอาจจะระคายเคืองอย่างรุนแรงต่อผิวหนังที่สัมผัสซึ่งต้องรีบล้างออกให้เร็วที่สุด
ฟังดูแม้นจะมีโทษมาก แต่ปัจจุบันคลอโรฟอร์มยังวนเวียนอยู่ในตลาดอุตสาหกรรมทางเคมี เพราะใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารให้ความเย็นที่ใช้ในตู้เย็น และใช้ในห้องปฏิบัติการทางเคมีสำหรับสกัดสารสำคัญเพื่อนำไปวิเคราะห์อีก ประเทศไทยก็ควบคุมการซื้อขายอยู่และจะผิดมากขนาดติดคุก 10 ปี ถ้าผู้ถือครองคลอโรฟอร์มเอาไปเปลี่ยนแปลงสภาพมันเท่านั้น
http://manager.co.th/GoodHealth/ViewNews.aspx?NewsID=9580000086146