อุปกิเลส คือ สิ่งที่ทำให้จิตเศร้าหมอง
อุปกิเลสอย่างหยาบ คือ
+++ กายทุจริต (การประพฤติไม่ชอบทางกาย เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดกาม ดื่มน้ำเมา)
+++ วจีทุจริต (การประพฤติไม่ชอบทางวาจา เช่น โกหก ส่อเสียด ด่าทอ เพ้อเจ้อ)
+++ มโนทุจริต (การประพฤติไม่ชอบทางใจ เช่น โลภมาก โกรธมาก มีความเห็นผิดๆ)
อุปกิเลสอย่างกลาง คือ
+++ กามวิตก (วิตกถึงกาม)
+++ พยาบาทวิตก (วิตกถึงความไม่พอใจและความผูกโกรธ)
+++ วิหิงสาวิตก (วิตกถึงความเบียดเบียนทางใจก็ดี ทางวาจาก็ดี ทางกายก็ดี)
อุปกิเลสอย่างละเอียด คือ
+++ วิตกถึงชาติ (การเกิดชีวิตและการเป็นต่างๆ)
+++ วิตกถึงชนบท (ที่อยู่หมู่คณะ)
+++ วิตกอันปฏิสังยุตด้วยความไม่ดูหมิ่น (การอยากได้การยอมรับเพราะตนก็ไม่อาจยอมรับตนเองได้เต็มที่ เพราะยังไม่บริบูรณ์ในตน)
+ ภิกษุผู้มีสัญชาติเป็นคนฉลาดย่อมละทิ้งบรรเทาอุปกิเลสของใจตนนั้นเสีย ทำให้สิ้นไป ทำให้หมดไป ละมันให้เด็ดขาด
เมื่อละมันได้เด็ดขาด ทำให้มันสิ้นสุดไปแล้ว ยังคงเหลือแต่ธรรมวิตก (ความวิตกในความดีงาม) ต่อไปเท่านั้น สมาธินั้นยังไม่ละเอียด ยังไม่ปราณีต ยังไม่ได้ความสงบระงับ ยังไม่ถึงความเป็นธรรมเอก (ใจเป็นหนึ่ง) ผุดขึ้น ยังมีการห้ามการข่มกิเลสด้วยเครื่องปรุงแต่ง (การขบคิดพิจารณา)
+ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใดจิตดำรงอยู่ในภายในสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีการห้ามการข่มด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง (หยุดความคิดได้แล้ว) ภิกษุนั้นจะโน้มน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองใดๆ เธอย่อมสมควรเป็นพยาน (ผู้รู้เห็นเหมือนตถาคต)ในธรรมนั้นๆ
แหล่งอ้างอิง : พระไตรปิฎกสยามรัฐ สุตตันต อังคุตตรนิกาย สังฆสูตร 31/404-410
(เขียนไว้ในหนังสือแนะนำพระไตรปิฏกฉบับพิเศษ ของ อาจารย์ ไชย ณ พล อัตรศุภเศรษฐ์)
ข้อมูลเกี่ยวกับ อุปกิเลส เผื่อใครทำสมาธิแล้วต้องการละครับ
อุปกิเลสอย่างหยาบ คือ
+++ กายทุจริต (การประพฤติไม่ชอบทางกาย เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดกาม ดื่มน้ำเมา)
+++ วจีทุจริต (การประพฤติไม่ชอบทางวาจา เช่น โกหก ส่อเสียด ด่าทอ เพ้อเจ้อ)
+++ มโนทุจริต (การประพฤติไม่ชอบทางใจ เช่น โลภมาก โกรธมาก มีความเห็นผิดๆ)
อุปกิเลสอย่างกลาง คือ
+++ กามวิตก (วิตกถึงกาม)
+++ พยาบาทวิตก (วิตกถึงความไม่พอใจและความผูกโกรธ)
+++ วิหิงสาวิตก (วิตกถึงความเบียดเบียนทางใจก็ดี ทางวาจาก็ดี ทางกายก็ดี)
อุปกิเลสอย่างละเอียด คือ
+++ วิตกถึงชาติ (การเกิดชีวิตและการเป็นต่างๆ)
+++ วิตกถึงชนบท (ที่อยู่หมู่คณะ)
+++ วิตกอันปฏิสังยุตด้วยความไม่ดูหมิ่น (การอยากได้การยอมรับเพราะตนก็ไม่อาจยอมรับตนเองได้เต็มที่ เพราะยังไม่บริบูรณ์ในตน)
+ ภิกษุผู้มีสัญชาติเป็นคนฉลาดย่อมละทิ้งบรรเทาอุปกิเลสของใจตนนั้นเสีย ทำให้สิ้นไป ทำให้หมดไป ละมันให้เด็ดขาด
เมื่อละมันได้เด็ดขาด ทำให้มันสิ้นสุดไปแล้ว ยังคงเหลือแต่ธรรมวิตก (ความวิตกในความดีงาม) ต่อไปเท่านั้น สมาธินั้นยังไม่ละเอียด ยังไม่ปราณีต ยังไม่ได้ความสงบระงับ ยังไม่ถึงความเป็นธรรมเอก (ใจเป็นหนึ่ง) ผุดขึ้น ยังมีการห้ามการข่มกิเลสด้วยเครื่องปรุงแต่ง (การขบคิดพิจารณา)
+ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใดจิตดำรงอยู่ในภายในสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีการห้ามการข่มด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง (หยุดความคิดได้แล้ว) ภิกษุนั้นจะโน้มน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองใดๆ เธอย่อมสมควรเป็นพยาน (ผู้รู้เห็นเหมือนตถาคต)ในธรรมนั้นๆ
แหล่งอ้างอิง : พระไตรปิฎกสยามรัฐ สุตตันต อังคุตตรนิกาย สังฆสูตร 31/404-410
(เขียนไว้ในหนังสือแนะนำพระไตรปิฏกฉบับพิเศษ ของ อาจารย์ ไชย ณ พล อัตรศุภเศรษฐ์)