พิษเศรษฐกิจ-ออร์เดอร์วูบ ช่วง 5 เดือนแรกพนักงานถูกเลิกจ้างกว่า 3 หมื่นราย กระทรวงแรงงานหวั่นลามหลายธุรกิจ จับตากลุ่มเสี่ยงอุตฯยานยนต์-ชิ้นส่วนยานยนต์-อิเล็กทรอนิกส์ ทุน "ญี่ปุ่น-เกาหลี" นิคมอุตฯภาคเหนือลำพูนสุดอั้น งัดมาตรา 75 ใช้ จ่ายค่าจ้าง 75% ให้แรงงานหยุดงานชั่วคราวรอคำสั่งซื้อ ส่วนกลุ่มอุตฯยานยนต์แจง ปลดคนไม่เกี่ยวยอดขายรถหด
นายวรานนท์ ปีติวรรณ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กระทรวงแรงงาน และ กสร.กำลังติดตามสถานการณ์แรงงานอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงนี้ที่เริ่มมีกระแสการเลิกจ้างและปลดลูกจ้างแรงงาน ขณะเดียวกันก็เฝ้าระวังกลุ่มธุรกิจและอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยง และอาจได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อย่างกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีฐานการผลิตในประเทศไทย และเป็นกลุ่มที่มีผลต่อสภาพเศรษฐกิจโดยรวม รวมทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่ายังไม่มีข้อบ่งชี้ที่น่าเป็นห่วง
สำหรับการเลิกจ้างของบริษัท ซัมซุง อิเล็คโทร-แม็คคานิคส์ นครราชสีมา จำกัดนั้น ก่อนหน้านี้ กสร.ได้รับหนังสือชี้แจงจากบริษัทดังกล่าวว่า ได้ประกาศเลิกจ้างพนักงานแล้วเบื้องต้น 1,365 คน เมื่อวันที่ 15 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยเริ่มมีพนักงานที่ถูกเลิกจ้างทยอยยื่นแบบขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน รวมถึงเงินพิเศษตามอายุงานแล้วตามลำดับ และคาดว่าจะมีพนักงานถูกเลิกจ้างเพิ่มอีก 800 คน ในวันที่ 30 ส.ค.นี้
จากการวิเคราะห์ถึงสาเหตุการเลิกจ้างงานของบริษัทดังกล่าว ซึ่งป็นโรงงานผลิตมอเตอร์ฮาร์ดดิสก์ คอมพิวเตอร์ ป้อนส่งโรงงานต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ พบว่าช่วงปีที่ผ่านมายอดสั่งผลิตลดลงเกือบทั้งหมด ทำให้ผู้บริหารตัดสินใจประกาศปิดกิจการ และลดจำนวนพนักงานลงอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่รวดเร็วเป็นตัวกำหนด เพราะต้องยอมรับว่าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เกิดง่ายและยุบเลิกง่าย
5 เดือนเลิกจ้าง 3.1 หมื่นราย
นายวรานนท์กล่าวว่า นอกเหนือจากกรณีนี้แล้วยังไม่มีรายงานสถานประกอบการที่เลิกจ้างอย่างมีนัยสำคัญ และเมื่อเทียบข้อมูลพนักงานถูกเลิกจ้างที่ขึ้นทะเบียนกับ กสร.ในปีนี้กับปี 2557 แม้ปีนี้จะมีจำนวนเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีสัญญาณที่จะบ่งบอกว่ามีการว่างงานผิดปกติ โดยตั้งแต่เดือน ม.ค.-พ.ค. 2558 มีแรงงานถูกเลิกจ้างรวม 31,100 คน แยกเป็นเดือน ม.ค.เลิกจ้าง 7,800 คน เดือน ก.พ. 6,200 คน เดือน มี.ค. 5,100 คน เม.ย. 6,300 คน และ พ.ค. 5,700 คน เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2557 แรงงานถูกเลิกจ้าง 28,900 คน แยกเป็นเดือน ม.ค. 6,500 คน ก.พ. 5,800 คน มี.ค. 5,100 คน เม.ย. 6,500 คน และ พ.ค. 5,000 คน
"ที่สำคัญตัวเลขเดือน เม.ย.ปีนี้ มีผู้ประกันตนมาใช้สิทธิการว่างงานน้อยกว่าปีที่แล้ว ซึ่งตัวเลขการใช้สิทธิประกันตนการว่างงานเชื่อถือได้ เพราะเป็นข้อมูลที่เป็นแฟกต์ (Fact) และผมจ้องตัวเลขทุกเดือน หากมีสัญญาณก็จะรีบไปช่วยเหลือทันที ตอนนี้ไม่อยากให้แตกตื่น"
จ่ายค่าจ้าง 75% ให้หยุดงาน
ขณะเดียวกันเป็นที่น่าสังเกตว่า หลายบริษัทหันมาใช้วิธีปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงานชั่วคราว โดยดำเนินการตามมาตรา 75 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้ "ในกรณีนายจ้างมีความจำเป็นโดยเหตุหนึ่งเหตุใดที่สำคัญอันมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้าง จนทำให้นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ ซึ่งไม่ใช่เหตุสุดวิสัยต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการ ตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน โดยให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้าเป็นหนังสือก่อนวันเริ่มหยุดกิจการไม่น้อยกว่าสามวันทำการ"
โดยนายจ้างสามารถให้พนักงานหยุดงาน แต่ยังคงจ่ายค่าจ้างในอัตรา 75% ของเงินเดือน และมีกำหนดระยะเวลาการหยุดงานจนกว่าจะมีคำสั่งซื้อกลับเข้ามา จึงจะให้พนักงานกลับมาทำงานตามปกติ ทั้งนี้การที่บริษัทจะปิดกิจการชั่วคราวตามมาตรา 75 จะเป็นกรณีที่ไม่มีออร์เดอร์ วัตถุดิบขาดแคลน หรือมีปัญหาการผลิต เป็นต้น สำหรับปีนี้มีบริษัทที่ใช้มาตรานี้ 5-6 โรงงาน อยู่ที่จังหวัดลำพูน 4-5 โรงงาน และเชียงใหม่ 1 โรงงาน ซึ่งกฎหมายได้เปิดช่องให้ลูกจ้างไม่ต้องมาทำงาน โดยบริษัทต้องจ่ายค่าจ้าง 75% ของค่าจ้างปกติ
เจตนาคือรักษาแรงงานไว้รอจนกว่าออร์เดอร์จะมา ส่วนจะปิดนานเท่าไหร่กฎหมายไม่ได้กำหนด แต่คิดว่าคงไม่มีที่ไหนปิดนานแล้วจ่ายเงินเฉย ๆ มองว่าปรากฏการณ์แบบนี้เป็นเรื่องธรรมชาติที่มีประปราย ไม่เกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจเวลานี้ แต่เป็นเรื่องของออร์เดอร์ระหว่างประเทศ
แจงเหตุเลิกจ้างออร์เดอร์วูบ
สอดคล้องกับข้อมูลที่นายพรเทพ ภูริพัฒน์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และรักษาการผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ลำพูน ระบุว่า สถานการณ์เศรษฐกิจที่ชะลอตัวในขณะนี้พบความเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ลำพูน 4 โรงงาน เริ่มเลิกจ้างพนักงาน โดยให้ลาออกโดยสมัครใจ และใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา 75 ที่ให้พนักงานหยุดงาน แต่ยังคงจ่ายค่าจ้างในอัตรา 75% ของเงินเดือน และมีกำหนดระยะเวลาการหยุดงานจนกว่าจะมีคำสั่งซื้อกลับเข้ามา จึงให้พนักงานกลับมาทำงานตามปกติ เท่าที่สำรวจเบื้องต้นมีเพียง 4 บริษัทที่ใช้มาตรา 75 เลิกจ้างพนักงานบางส่วน ด้วยเหตุผลคำสั่งซื้อสินค้ามีปริมาณลดลง ส่วนบริษัทอื่น ๆ ยังไม่มี
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อ่วม
นายทรงศักดิ์ ชื่นตา นายช่าง 7 สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ลำพูน กล่าวในทำนองเดียวกันว่า โรงงาน 4 แห่งในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ลำพูน ที่เริ่มมีการเลิกจ้างพนักงานและใช้มาตรา 75 ได้แก่ บริษัท ลำพูนซิงเดนเก็น จำกัด โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของนักลงทุนญี่ปุ่น มีพนักงานรวม 813 คน ได้ยุบแผนก Power Supply โดยประกาศให้พนักงานเข้าร่วมโครงการร่วมใจโดยสมัครใจ ซึ่งมีพนักงานเข้าร่วมโครงการลาออกโดยได้รับค่าตอบแทน 165 คน เมื่อ 23 มิ.ย. 2558 ที่ผ่านมา และล่าสุดเดือน ก.ค.นี้ได้เลิกจ้างพนักงานในแผนกนี้ที่เหลืออีก 85 คน รวมพนักงานที่ถูกเลิกจ้างทั้งสิ้น 250 คน
ขณะที่ บจ.โฮย่า กลาสดิสต์ (ประเทศไทย) ซึ่งผลิตเลนส์กล้อง-ฮาร์ดดิสก์ของกลุ่มนักลงทุนญี่ปุ่น มีพนักงาน 4,400 คน ใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 75 ตั้งแต่ 25 พ.ค.-31 ก.ค. 2558 โดยให้พนักงานฝ่ายผลิตหยุดงาน 400 คน โดยจ่ายเงินค่าจ้างให้ 75% ของเงินค่าจ้างที่เคยได้รับ เพราะออร์เดอร์หรือคำสั่งซื้อสินค้าลดลง หรือยังไม่มีเข้ามาเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ มี บจ.ทีเอสพีที (TSPT) และ บจ.เคอีซี (KEC) ซึ่งเป็นกลุ่มทุนเกาหลี ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โดย บจ.ทีเอสพีทีฯมีพนักงานราว 160 คน ขอใช้มาตรา 75 ใน 2 ช่วง คือวันที่ 11 ก.ค. 2558 และ 27-30 ก.ค. 2558 โดยให้พนักงานในฝ่ายผลิตหยุดงาน 54 คน จ่ายค่าจ้างในอัตรา 75% เช่นเดียวกับ บจ.เคอีซีที่มีพนักงานรวม 545 คน ช่วงแรกเดือน มิ.ย.ให้พนักงาน 545 คน หยุดงาน 7 วัน และช่วงที่สองให้หยุดระหว่าง 1 ก.ค.-4 ต.ค. 2558
นายทรงศักดิ์กล่าวว่า ขณะนี้สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือฯ อยู่ในช่วงออกตรวจเยี่ยมโรงงานในนิคมฯภาคเหนือ ลำพูน พบว่าโรงงานอื่น ๆ ยังดำเนินกิจการตามปกติ และพบบางโรงงานกำลังขยายกิจการเพิ่มเติมด้วย โดยพื้นที่นิคมมีทั้งหมด 1,788 ไร่ แบ่งออกเป็น 2 แปลง มีโรงงาน 66 โรง ส่วนใหญ่ 90% เป็นการลงทุนกิจการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของทุนญี่ปุ่น มีการจ้างงานรวมทั้งสิ้น 46,000 คน
ชิ้นส่วนยานยนต์ทยอยปลดคน
ด้านความเคลื่อนไหวของกลุ่มยานยนต์ นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงสถานการณ์แรงงานในอุตสาหกรรมยานยนต์
ซึ่งขณะนี้เริ่มมีการปลดพนักงานบางส่วนออกจากระบบ โดยเฉพาะกลุ่มบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่เป็นเทียร์ 4 และ 3 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ประกอบการชาวไทยที่มีบริษัทขนาดเล็ก และรับจากผลิตชิ้นส่วนส่งให้กับบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่ เทียร์ 2 และ 1 ก่อนป้อนเข้าสู่โรงงานผลิตรถยนต์
แจงไม่เกี่ยวยอดขายตก
สาเหตุของการปลดพนักงานไม่ใช่เป็นผลจากภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์ และยอดจำหน่ายในช่วง 5-6 เดือนที่เติบโตลดลงไป 15-16% ขณะที่ตลาดส่งออกก็ไม่น่าจะมีผลมากนัก ยกเว้นรถบางรุ่นที่ไม่ได้ผลิตเพื่อการส่งออก เชื่อว่าสาเหตุหลักจะเป็นในส่วนของกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนเพื่อรองรับการผลิตรถยนต์ให้กับค่ายเชฟโรเลต ที่ได้ประกาศนโยบาย ปรับโครงสร้าง ไม่ผลิตรถยนต์นั่งในประเทศไทยต่อไป หันไปให้ความสำคัญกับรถปิกอัพ และรถเอสยูวีทั้งยังประกาศปรับโครงสร้างองค์กรให้กระชับมากขึ้น เป็นไปได้ว่าอาจกระทบผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และพนักงานบางส่วนโดยพนักงานส่วนใหญ่ที่ถูกเลิกจ้างจะอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์มีเพียงเล็กน้อย
สำหรับแผนการผลิตรถยนต์ในปีนี้ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ผลิตได้ 1.8 ล้านคัน โดยปีนี้จะผลิตได้ 2 ล้านคันแน่นอน
ขณะที่นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธาน ส.อ.ท. กล่าวถึงกรณีการเลิกจ้างงานของบริษัทซัมซุง อิเล็คโทร-แม็คคานิคส์ นครราชสีมาว่าเป็นปกติของธุรกิจที่มีการเพิ่มหรือลดพนักงาน และที่ผู้ประกอบการบางส่วนย้ายฐานการผลิตไปเวียดนาม ส่วนหนึ่งมาจากได้สิทธิประโยชน์ทางการค้ามากกว่าที่ไทย แต่บริษัทญี่ปุ่นยังคงลงทุนในไทยเหมือนเดิม ทั้งนี้ เอกชนยังต้องการให้ภาครัฐพิจารณาเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เพื่อช่วยเรื่องสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ซึ่งยังไม่มีความคืบหน้า ต้องการให้รัฐฟังเสียงเอกชน และทีมเศรษฐกิจไม่ว่าทีมไหนควรพิจารณาและอนุมัติโดยเร็ว
ที่มา:ประชาชาติธุรกิจ ฉบับ 23-26 ก.ค.2558
JJNY : พิษส่งออกติดลบลามเลิกจ้าง ชิ้นส่วน′รถยนต์-ไอที′หนักสุด 5เดือนถูกเลิกจ้างแล้ว 3 หมื่นราย
นายวรานนท์ ปีติวรรณ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กระทรวงแรงงาน และ กสร.กำลังติดตามสถานการณ์แรงงานอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงนี้ที่เริ่มมีกระแสการเลิกจ้างและปลดลูกจ้างแรงงาน ขณะเดียวกันก็เฝ้าระวังกลุ่มธุรกิจและอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยง และอาจได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อย่างกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีฐานการผลิตในประเทศไทย และเป็นกลุ่มที่มีผลต่อสภาพเศรษฐกิจโดยรวม รวมทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่ายังไม่มีข้อบ่งชี้ที่น่าเป็นห่วง
สำหรับการเลิกจ้างของบริษัท ซัมซุง อิเล็คโทร-แม็คคานิคส์ นครราชสีมา จำกัดนั้น ก่อนหน้านี้ กสร.ได้รับหนังสือชี้แจงจากบริษัทดังกล่าวว่า ได้ประกาศเลิกจ้างพนักงานแล้วเบื้องต้น 1,365 คน เมื่อวันที่ 15 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยเริ่มมีพนักงานที่ถูกเลิกจ้างทยอยยื่นแบบขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน รวมถึงเงินพิเศษตามอายุงานแล้วตามลำดับ และคาดว่าจะมีพนักงานถูกเลิกจ้างเพิ่มอีก 800 คน ในวันที่ 30 ส.ค.นี้
จากการวิเคราะห์ถึงสาเหตุการเลิกจ้างงานของบริษัทดังกล่าว ซึ่งป็นโรงงานผลิตมอเตอร์ฮาร์ดดิสก์ คอมพิวเตอร์ ป้อนส่งโรงงานต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ พบว่าช่วงปีที่ผ่านมายอดสั่งผลิตลดลงเกือบทั้งหมด ทำให้ผู้บริหารตัดสินใจประกาศปิดกิจการ และลดจำนวนพนักงานลงอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่รวดเร็วเป็นตัวกำหนด เพราะต้องยอมรับว่าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เกิดง่ายและยุบเลิกง่าย
5 เดือนเลิกจ้าง 3.1 หมื่นราย
นายวรานนท์กล่าวว่า นอกเหนือจากกรณีนี้แล้วยังไม่มีรายงานสถานประกอบการที่เลิกจ้างอย่างมีนัยสำคัญ และเมื่อเทียบข้อมูลพนักงานถูกเลิกจ้างที่ขึ้นทะเบียนกับ กสร.ในปีนี้กับปี 2557 แม้ปีนี้จะมีจำนวนเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีสัญญาณที่จะบ่งบอกว่ามีการว่างงานผิดปกติ โดยตั้งแต่เดือน ม.ค.-พ.ค. 2558 มีแรงงานถูกเลิกจ้างรวม 31,100 คน แยกเป็นเดือน ม.ค.เลิกจ้าง 7,800 คน เดือน ก.พ. 6,200 คน เดือน มี.ค. 5,100 คน เม.ย. 6,300 คน และ พ.ค. 5,700 คน เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2557 แรงงานถูกเลิกจ้าง 28,900 คน แยกเป็นเดือน ม.ค. 6,500 คน ก.พ. 5,800 คน มี.ค. 5,100 คน เม.ย. 6,500 คน และ พ.ค. 5,000 คน
"ที่สำคัญตัวเลขเดือน เม.ย.ปีนี้ มีผู้ประกันตนมาใช้สิทธิการว่างงานน้อยกว่าปีที่แล้ว ซึ่งตัวเลขการใช้สิทธิประกันตนการว่างงานเชื่อถือได้ เพราะเป็นข้อมูลที่เป็นแฟกต์ (Fact) และผมจ้องตัวเลขทุกเดือน หากมีสัญญาณก็จะรีบไปช่วยเหลือทันที ตอนนี้ไม่อยากให้แตกตื่น"
จ่ายค่าจ้าง 75% ให้หยุดงาน
ขณะเดียวกันเป็นที่น่าสังเกตว่า หลายบริษัทหันมาใช้วิธีปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงานชั่วคราว โดยดำเนินการตามมาตรา 75 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้ "ในกรณีนายจ้างมีความจำเป็นโดยเหตุหนึ่งเหตุใดที่สำคัญอันมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้าง จนทำให้นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ ซึ่งไม่ใช่เหตุสุดวิสัยต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการ ตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน โดยให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้าเป็นหนังสือก่อนวันเริ่มหยุดกิจการไม่น้อยกว่าสามวันทำการ"
โดยนายจ้างสามารถให้พนักงานหยุดงาน แต่ยังคงจ่ายค่าจ้างในอัตรา 75% ของเงินเดือน และมีกำหนดระยะเวลาการหยุดงานจนกว่าจะมีคำสั่งซื้อกลับเข้ามา จึงจะให้พนักงานกลับมาทำงานตามปกติ ทั้งนี้การที่บริษัทจะปิดกิจการชั่วคราวตามมาตรา 75 จะเป็นกรณีที่ไม่มีออร์เดอร์ วัตถุดิบขาดแคลน หรือมีปัญหาการผลิต เป็นต้น สำหรับปีนี้มีบริษัทที่ใช้มาตรานี้ 5-6 โรงงาน อยู่ที่จังหวัดลำพูน 4-5 โรงงาน และเชียงใหม่ 1 โรงงาน ซึ่งกฎหมายได้เปิดช่องให้ลูกจ้างไม่ต้องมาทำงาน โดยบริษัทต้องจ่ายค่าจ้าง 75% ของค่าจ้างปกติ
เจตนาคือรักษาแรงงานไว้รอจนกว่าออร์เดอร์จะมา ส่วนจะปิดนานเท่าไหร่กฎหมายไม่ได้กำหนด แต่คิดว่าคงไม่มีที่ไหนปิดนานแล้วจ่ายเงินเฉย ๆ มองว่าปรากฏการณ์แบบนี้เป็นเรื่องธรรมชาติที่มีประปราย ไม่เกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจเวลานี้ แต่เป็นเรื่องของออร์เดอร์ระหว่างประเทศ
แจงเหตุเลิกจ้างออร์เดอร์วูบ
สอดคล้องกับข้อมูลที่นายพรเทพ ภูริพัฒน์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และรักษาการผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ลำพูน ระบุว่า สถานการณ์เศรษฐกิจที่ชะลอตัวในขณะนี้พบความเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ลำพูน 4 โรงงาน เริ่มเลิกจ้างพนักงาน โดยให้ลาออกโดยสมัครใจ และใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา 75 ที่ให้พนักงานหยุดงาน แต่ยังคงจ่ายค่าจ้างในอัตรา 75% ของเงินเดือน และมีกำหนดระยะเวลาการหยุดงานจนกว่าจะมีคำสั่งซื้อกลับเข้ามา จึงให้พนักงานกลับมาทำงานตามปกติ เท่าที่สำรวจเบื้องต้นมีเพียง 4 บริษัทที่ใช้มาตรา 75 เลิกจ้างพนักงานบางส่วน ด้วยเหตุผลคำสั่งซื้อสินค้ามีปริมาณลดลง ส่วนบริษัทอื่น ๆ ยังไม่มี
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อ่วม
นายทรงศักดิ์ ชื่นตา นายช่าง 7 สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ลำพูน กล่าวในทำนองเดียวกันว่า โรงงาน 4 แห่งในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ลำพูน ที่เริ่มมีการเลิกจ้างพนักงานและใช้มาตรา 75 ได้แก่ บริษัท ลำพูนซิงเดนเก็น จำกัด โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของนักลงทุนญี่ปุ่น มีพนักงานรวม 813 คน ได้ยุบแผนก Power Supply โดยประกาศให้พนักงานเข้าร่วมโครงการร่วมใจโดยสมัครใจ ซึ่งมีพนักงานเข้าร่วมโครงการลาออกโดยได้รับค่าตอบแทน 165 คน เมื่อ 23 มิ.ย. 2558 ที่ผ่านมา และล่าสุดเดือน ก.ค.นี้ได้เลิกจ้างพนักงานในแผนกนี้ที่เหลืออีก 85 คน รวมพนักงานที่ถูกเลิกจ้างทั้งสิ้น 250 คน
ขณะที่ บจ.โฮย่า กลาสดิสต์ (ประเทศไทย) ซึ่งผลิตเลนส์กล้อง-ฮาร์ดดิสก์ของกลุ่มนักลงทุนญี่ปุ่น มีพนักงาน 4,400 คน ใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 75 ตั้งแต่ 25 พ.ค.-31 ก.ค. 2558 โดยให้พนักงานฝ่ายผลิตหยุดงาน 400 คน โดยจ่ายเงินค่าจ้างให้ 75% ของเงินค่าจ้างที่เคยได้รับ เพราะออร์เดอร์หรือคำสั่งซื้อสินค้าลดลง หรือยังไม่มีเข้ามาเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ มี บจ.ทีเอสพีที (TSPT) และ บจ.เคอีซี (KEC) ซึ่งเป็นกลุ่มทุนเกาหลี ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โดย บจ.ทีเอสพีทีฯมีพนักงานราว 160 คน ขอใช้มาตรา 75 ใน 2 ช่วง คือวันที่ 11 ก.ค. 2558 และ 27-30 ก.ค. 2558 โดยให้พนักงานในฝ่ายผลิตหยุดงาน 54 คน จ่ายค่าจ้างในอัตรา 75% เช่นเดียวกับ บจ.เคอีซีที่มีพนักงานรวม 545 คน ช่วงแรกเดือน มิ.ย.ให้พนักงาน 545 คน หยุดงาน 7 วัน และช่วงที่สองให้หยุดระหว่าง 1 ก.ค.-4 ต.ค. 2558
นายทรงศักดิ์กล่าวว่า ขณะนี้สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือฯ อยู่ในช่วงออกตรวจเยี่ยมโรงงานในนิคมฯภาคเหนือ ลำพูน พบว่าโรงงานอื่น ๆ ยังดำเนินกิจการตามปกติ และพบบางโรงงานกำลังขยายกิจการเพิ่มเติมด้วย โดยพื้นที่นิคมมีทั้งหมด 1,788 ไร่ แบ่งออกเป็น 2 แปลง มีโรงงาน 66 โรง ส่วนใหญ่ 90% เป็นการลงทุนกิจการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของทุนญี่ปุ่น มีการจ้างงานรวมทั้งสิ้น 46,000 คน
ชิ้นส่วนยานยนต์ทยอยปลดคน
ด้านความเคลื่อนไหวของกลุ่มยานยนต์ นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงสถานการณ์แรงงานในอุตสาหกรรมยานยนต์
ซึ่งขณะนี้เริ่มมีการปลดพนักงานบางส่วนออกจากระบบ โดยเฉพาะกลุ่มบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่เป็นเทียร์ 4 และ 3 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ประกอบการชาวไทยที่มีบริษัทขนาดเล็ก และรับจากผลิตชิ้นส่วนส่งให้กับบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่ เทียร์ 2 และ 1 ก่อนป้อนเข้าสู่โรงงานผลิตรถยนต์
แจงไม่เกี่ยวยอดขายตก
สาเหตุของการปลดพนักงานไม่ใช่เป็นผลจากภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์ และยอดจำหน่ายในช่วง 5-6 เดือนที่เติบโตลดลงไป 15-16% ขณะที่ตลาดส่งออกก็ไม่น่าจะมีผลมากนัก ยกเว้นรถบางรุ่นที่ไม่ได้ผลิตเพื่อการส่งออก เชื่อว่าสาเหตุหลักจะเป็นในส่วนของกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนเพื่อรองรับการผลิตรถยนต์ให้กับค่ายเชฟโรเลต ที่ได้ประกาศนโยบาย ปรับโครงสร้าง ไม่ผลิตรถยนต์นั่งในประเทศไทยต่อไป หันไปให้ความสำคัญกับรถปิกอัพ และรถเอสยูวีทั้งยังประกาศปรับโครงสร้างองค์กรให้กระชับมากขึ้น เป็นไปได้ว่าอาจกระทบผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และพนักงานบางส่วนโดยพนักงานส่วนใหญ่ที่ถูกเลิกจ้างจะอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์มีเพียงเล็กน้อย
สำหรับแผนการผลิตรถยนต์ในปีนี้ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ผลิตได้ 1.8 ล้านคัน โดยปีนี้จะผลิตได้ 2 ล้านคันแน่นอน
ขณะที่นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธาน ส.อ.ท. กล่าวถึงกรณีการเลิกจ้างงานของบริษัทซัมซุง อิเล็คโทร-แม็คคานิคส์ นครราชสีมาว่าเป็นปกติของธุรกิจที่มีการเพิ่มหรือลดพนักงาน และที่ผู้ประกอบการบางส่วนย้ายฐานการผลิตไปเวียดนาม ส่วนหนึ่งมาจากได้สิทธิประโยชน์ทางการค้ามากกว่าที่ไทย แต่บริษัทญี่ปุ่นยังคงลงทุนในไทยเหมือนเดิม ทั้งนี้ เอกชนยังต้องการให้ภาครัฐพิจารณาเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เพื่อช่วยเรื่องสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ซึ่งยังไม่มีความคืบหน้า ต้องการให้รัฐฟังเสียงเอกชน และทีมเศรษฐกิจไม่ว่าทีมไหนควรพิจารณาและอนุมัติโดยเร็ว
ที่มา:ประชาชาติธุรกิจ ฉบับ 23-26 ก.ค.2558