อุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งค่ายรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ระส่ำพิษโควิด-19 ต้องทยอยปลดแรงงานในระบบที่มีกว่า 7.5 แสนคน ให้สอดรับกับการผลิตที่ลดลง ด้าน นิสสันไม่ต่อสัญญากับพนักงานสัญญาจ้าง 300 คน
วันนี้ (15 พ.ค.63) นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ผลจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อยอดการจำหน่ายและการผลิตรถยนต์ในประเทศและการส่งออกให้ชะลอตัวลง และยังกระทบต่อเนื่องไปยังผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ผู้ผลิตอุปกรณ์ตกแต่งภายในรถยนต์ รวมถึงตัวแทนจำหน่าย (ดีลเลอร์) ฯลฯ โดยทั้งหมดนี้จะมีแรงงานที่ได้รับผลกระทบรวม 750,000 คน ทำให้ขณะนี้ยอมรับว่าค่ายรถยนต์ในประเทศกำลังปรับตัวลดพนักงานให้สอดรับกับการผลิตที่ลดลง
สำหรับ "กลุ่มยานยนต์" ได้ประเมินไว้ว่าหากโควิด-19 ยืดเยื้อถึงเดือน มิ.ย.จะส่งผลกระทบต่อการผลิตรถยนต์ จากเป้าหมายเดิมปีนี้ ตั้งเป้าว่าประเทศไทยจะมีการผลิตรถยนต์ 1.9 ล้านคันก็จะเหลือเพียง 1.4 ล้านคัน และหากยืดเยื้อถึงเดือน ก.ย.-ต.ค.จะเหลือเพียง 1 ล้านคันเท่านั้นหรือหายไป 50% ขณะเดียวกันยอดขายรถยนต์ในประเทศเดือน เม.ย.63 แบบไม่เป็นทางการ ทรุดตัวลงอย่างรุนแรงเมื่อเทียบกับเดือน มี.ค. หรือลดลง 50% โดยทำยอดขายได้เพียง 33,300 คันเท่านั้น ถือว่าตกต่ำสุดในรอบ 10 ปี ดังนั้นแรงงานในอุตสาหกรรมยาน-ยนต์จะได้รับผลกระทบมากน้อยขึ้นอยู่ที่กับความยืดเยื้อของโควิด-19
"กลุ่มรถยนต์" ได้เสนอแนวทางเพื่อลดผลกระทบต่อคลัสเตอร์ยานยนต์ โดยหนึ่งในมาตรการสำคัญได้แก่ เสนอให้ภาครัฐสนับสนุนให้ผู้ที่นำรถยนต์เก่าที่มีอายุงาน 20 ปีไปแล้วที่มีอยู่รวม 2 ล้านคัน มารีเทิร์นเพื่อซื้อรถยนต์ใหม่ โดยรัฐบาลจ่ายเงินส่วนต่างจำนวนหนึ่งให้ผู้จำหน่ายรถยนต์แทนประชาชน ซึ่งไม่เพียงกระตุ้นยอดขายในประเทศ แต่ยังช่วยลดปัญหามลพิษพีเอ็ม 2.5 และเสนอให้รัฐบาลยืดเวลาชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จะครบการจ่ายเดือน ส.ค.นี้ หากเป็นไปได้ต้องการให้ยืดไปอีก 1 ปี เพื่อนำเงินไปหมุนเวียนใช้จ่าย ซึ่งรวมถึงการคงรักษาพนักงานเอาไว้ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ค่ายรถยนต์ต่างๆ ที่มีการปรับนโยบายด้านคนแล้ว อาทิ ค่ายฟอร์ดและมาสด้ามีนโยบายลดคนพร้อมจ่ายชดเชยตามกฎหมายแรงงานและหันไปใช้เอาต์ซอร์สแทน ค่ายมิตซูบิชิก็ได้เปิดโครงการสมัครใจลาออก ค่ายนิสสันตัดสินใจไม่ต่อสัญญากับพนักงานสัญญาจ้าง 300 คนจาก 1,900 คนเพื่อดูความชัดเจนของสถานการณ์โควิด-19 เป็นต้น
ที่มา
https://www.tnnthailand.com/content/40178
นักลงทุนหวั่น SETล่วงต่ำ 1,000จุด หลังคนตกงานเยอะ
วันนี้ (15 พ.ค.63) นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ผลจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อยอดการจำหน่ายและการผลิตรถยนต์ในประเทศและการส่งออกให้ชะลอตัวลง และยังกระทบต่อเนื่องไปยังผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ผู้ผลิตอุปกรณ์ตกแต่งภายในรถยนต์ รวมถึงตัวแทนจำหน่าย (ดีลเลอร์) ฯลฯ โดยทั้งหมดนี้จะมีแรงงานที่ได้รับผลกระทบรวม 750,000 คน ทำให้ขณะนี้ยอมรับว่าค่ายรถยนต์ในประเทศกำลังปรับตัวลดพนักงานให้สอดรับกับการผลิตที่ลดลง
สำหรับ "กลุ่มยานยนต์" ได้ประเมินไว้ว่าหากโควิด-19 ยืดเยื้อถึงเดือน มิ.ย.จะส่งผลกระทบต่อการผลิตรถยนต์ จากเป้าหมายเดิมปีนี้ ตั้งเป้าว่าประเทศไทยจะมีการผลิตรถยนต์ 1.9 ล้านคันก็จะเหลือเพียง 1.4 ล้านคัน และหากยืดเยื้อถึงเดือน ก.ย.-ต.ค.จะเหลือเพียง 1 ล้านคันเท่านั้นหรือหายไป 50% ขณะเดียวกันยอดขายรถยนต์ในประเทศเดือน เม.ย.63 แบบไม่เป็นทางการ ทรุดตัวลงอย่างรุนแรงเมื่อเทียบกับเดือน มี.ค. หรือลดลง 50% โดยทำยอดขายได้เพียง 33,300 คันเท่านั้น ถือว่าตกต่ำสุดในรอบ 10 ปี ดังนั้นแรงงานในอุตสาหกรรมยาน-ยนต์จะได้รับผลกระทบมากน้อยขึ้นอยู่ที่กับความยืดเยื้อของโควิด-19
"กลุ่มรถยนต์" ได้เสนอแนวทางเพื่อลดผลกระทบต่อคลัสเตอร์ยานยนต์ โดยหนึ่งในมาตรการสำคัญได้แก่ เสนอให้ภาครัฐสนับสนุนให้ผู้ที่นำรถยนต์เก่าที่มีอายุงาน 20 ปีไปแล้วที่มีอยู่รวม 2 ล้านคัน มารีเทิร์นเพื่อซื้อรถยนต์ใหม่ โดยรัฐบาลจ่ายเงินส่วนต่างจำนวนหนึ่งให้ผู้จำหน่ายรถยนต์แทนประชาชน ซึ่งไม่เพียงกระตุ้นยอดขายในประเทศ แต่ยังช่วยลดปัญหามลพิษพีเอ็ม 2.5 และเสนอให้รัฐบาลยืดเวลาชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จะครบการจ่ายเดือน ส.ค.นี้ หากเป็นไปได้ต้องการให้ยืดไปอีก 1 ปี เพื่อนำเงินไปหมุนเวียนใช้จ่าย ซึ่งรวมถึงการคงรักษาพนักงานเอาไว้ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ค่ายรถยนต์ต่างๆ ที่มีการปรับนโยบายด้านคนแล้ว อาทิ ค่ายฟอร์ดและมาสด้ามีนโยบายลดคนพร้อมจ่ายชดเชยตามกฎหมายแรงงานและหันไปใช้เอาต์ซอร์สแทน ค่ายมิตซูบิชิก็ได้เปิดโครงการสมัครใจลาออก ค่ายนิสสันตัดสินใจไม่ต่อสัญญากับพนักงานสัญญาจ้าง 300 คนจาก 1,900 คนเพื่อดูความชัดเจนของสถานการณ์โควิด-19 เป็นต้น
ที่มา
https://www.tnnthailand.com/content/40178