มุมมองตลาดหุ้นไทย ครึ่งปีหลัง 2558
WIN PHROMPHAET
ผลจากการที่ SET Index ร่วงไป 19 จุดในวันนี้ (21 ก.ค.) ทำให้นับจากต้นปีถึงปัจจุบัน ดัชนีตลาดหุ้นไทยยังไม่ไปไหน ผลตอบแทน – 1.50% ซึ่งจริงๆ ช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และอีกหลายตลาดในกลุ่ม Emerging Markets ก็ออกอาการ Flat หรือ ติดลบ เช่นเดียวกัน …. ตลาดที่ให้ผลตอบแทนบวกในช่วงที่ผ่านมา คือ ยุโรป ญี่ปุ่น และ จีน
ผมมองว่า ในครึ่งปีหลัง หากไม่มีปัจจัยบวกที่เหนือความคาดหมาย ตลาดหุ้นไทยจะยังมีอาการ “ซึม” คือ sideway แบบนี้ไปเรื่อยๆ อยู่ที่ว่าจะ “ซึมขึ้น” หรือ “ซึมลง” เท่านั้น โดยทีมงานลงทุนของสำนักงานประกันสังคมคาดว่า SET Index จะเคลื่อนไหวในกรอบ 1400 – 1600 จุด โดยมีปัจจัยสำคัญดังนี้
ปัจจัยบวก
1. บริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่มีฐานะการเงินดี หนี้น้อย เงินสดเยอะ จึงคาดว่าในระยะสั้นน่าจะพอประคับประคองสถานการณ์ได้
2. รัฐบาลไทยยังมีระดับหนี้สินต่อ GDP ที่ 45% นับว่ายังต่ำกว่าอีกหลายๆ ประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทยยังมีทุนสำรองอยู่มาก ประกอบกับ กนง. ยังมี “ช่องหายใจ” ที่สามารถปรับลดดอกเบี้ยนโยบายได้อีกเล็กน้อย … โดยรวมแล้วภาครัฐของไทยยังพอมี “กระสุน” ให้สู้ในด้านนโยบายการเงินและการคลังได้อีกนิดหน่อย
ปัจจัยลบ
1. ภาพเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มจะโตช้ากว่าที่คาด ทีมงานลงทุนของ สปส. ปรับลดประมาณการณ์ GDP Growth ปี 2558 ลง จากเดิมคาดไว้ 3.4% เหลือ 3.1% สาเหตุหลักคือ รายได้ภาคเกษตรที่ยังติดลบ (จากภัยแล้ง ฯลฯ) ทำให้การบริโภคของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศจะติดลบไปด้วย การส่งออกก็ติดลบ ความหวังเดียวที่เหลืออยู่คือ การท่องเที่ยว ซึ่งยังพอไปได้
2. เรื่องที่น่าเป็นห่วง คือ ชนชั้นกลางของไทยเป็นหนี้เต็มเพดานแล้ว ทั้งหนี้บ้าน หนี้รถ หนี้บัตรเครดิต และหนี้ส่วนบุคคล ภาพที่เราเห็นในปัจจุบันคือการทำงานหาเงินใช้หนี้ แต่จะหวังให้ชนชั้นกลางไปกู้เงินซื้อบ้านหลังใหม่หรือรถคันใหม่น่าจะลำบากในช่วง 1-2 ปีนี้ … ผลที่ตามมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะเริ่มซึมลง ธนาคารพาณิชย์ก็เริ่มน่าห่วง ด้านหนึ่งคือ NPL สูงขึ้นเพราะลูกหนี้ปัจจุบันเริ่มหมุนเงินไม่ทัน อีกด้านหนึ่งก็ไม่มี Loan Growth เพราะไม่รู้จะปล่อยกู้ให้ใคร
3. ธุรกิจเอกชนขนาดใหญ่มีเงินสดในมือจำนวนมาก บางบริษัทมีเป็นแสนล้าน ในมุมหนึ่งก็ดูดีเพราะภาคเอกชนเราแข็งแกร่งและมีหนี้น้อย แต่ในอีกมุมหนึ่ง มันอาจจะเป็นสัญญาณว่า เอกชนไทยขาดแคลนแหล่งลงทุนที่เป็น Real Investments
4. นักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่ยัง underweight หุ้นไทย ด้วยหลายเหตุผล อาทิ คาดว่าเงินบาทจะอ่อนค่าได้อีก (ซึ่งจะทำให้ฝรั่งขาดทุนค่าเงิน) ภาพเศรษฐกิจไทยยังไม่ค่อยดีนัก การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐล่าช้ากว่าที่กำหนด การเลือกตั้งล้าช้าออกไป ฯลฯ
5. นักลงทุนส่วนใหญ่คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในปลายปีนี้ ซึ่งโดยทั่วไป เวลา Fed ขึ้นดอกเบี้ย ตลาดหุ้นใน Emerging Markets จะเป็นขาลง อันนี้ตลาดไทยก็เลยโดนไปด้วย
สรุปความเห็น – ผมมองว่าตลาดหุ้นครึ่งปีหลังจะมีอาการ “ซึม” คือ sideway ไปเรื่อยๆ แต่ด้วย sentiment ที่ติดลบทั้งจากฝรั่งและไทย อาจจะเป็นโอกาส “เก็บของ” สำหรับนักลงทุนระยะยาว ยิ่งดัชนีเข้าใกล้ 1400 จุด (หรือต่ำกว่านั้น) ยิ่งน่าสนใจมาก กลุ่มที่น่าจะไปได้ดี คือ กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยว และกลุ่มค้าปลีกที่เน้นสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวันครับ
ที่มาจากกลุ่มข่าว
https://www.facebook.com/set.biznews
//เรื่องที่น่าเป็นห่วง คือ ชนชั้นกลางของไทยเป็นหนี้เต็มเพดานแล้ว ทั้งหนี้บ้าน หนี้รถ หนี้บัตรเครดิต// ไทยควรแก้อย่างไรดี
WIN PHROMPHAET
ผลจากการที่ SET Index ร่วงไป 19 จุดในวันนี้ (21 ก.ค.) ทำให้นับจากต้นปีถึงปัจจุบัน ดัชนีตลาดหุ้นไทยยังไม่ไปไหน ผลตอบแทน – 1.50% ซึ่งจริงๆ ช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และอีกหลายตลาดในกลุ่ม Emerging Markets ก็ออกอาการ Flat หรือ ติดลบ เช่นเดียวกัน …. ตลาดที่ให้ผลตอบแทนบวกในช่วงที่ผ่านมา คือ ยุโรป ญี่ปุ่น และ จีน
ผมมองว่า ในครึ่งปีหลัง หากไม่มีปัจจัยบวกที่เหนือความคาดหมาย ตลาดหุ้นไทยจะยังมีอาการ “ซึม” คือ sideway แบบนี้ไปเรื่อยๆ อยู่ที่ว่าจะ “ซึมขึ้น” หรือ “ซึมลง” เท่านั้น โดยทีมงานลงทุนของสำนักงานประกันสังคมคาดว่า SET Index จะเคลื่อนไหวในกรอบ 1400 – 1600 จุด โดยมีปัจจัยสำคัญดังนี้
ปัจจัยบวก
1. บริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่มีฐานะการเงินดี หนี้น้อย เงินสดเยอะ จึงคาดว่าในระยะสั้นน่าจะพอประคับประคองสถานการณ์ได้
2. รัฐบาลไทยยังมีระดับหนี้สินต่อ GDP ที่ 45% นับว่ายังต่ำกว่าอีกหลายๆ ประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทยยังมีทุนสำรองอยู่มาก ประกอบกับ กนง. ยังมี “ช่องหายใจ” ที่สามารถปรับลดดอกเบี้ยนโยบายได้อีกเล็กน้อย … โดยรวมแล้วภาครัฐของไทยยังพอมี “กระสุน” ให้สู้ในด้านนโยบายการเงินและการคลังได้อีกนิดหน่อย
ปัจจัยลบ
1. ภาพเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มจะโตช้ากว่าที่คาด ทีมงานลงทุนของ สปส. ปรับลดประมาณการณ์ GDP Growth ปี 2558 ลง จากเดิมคาดไว้ 3.4% เหลือ 3.1% สาเหตุหลักคือ รายได้ภาคเกษตรที่ยังติดลบ (จากภัยแล้ง ฯลฯ) ทำให้การบริโภคของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศจะติดลบไปด้วย การส่งออกก็ติดลบ ความหวังเดียวที่เหลืออยู่คือ การท่องเที่ยว ซึ่งยังพอไปได้
2. เรื่องที่น่าเป็นห่วง คือ ชนชั้นกลางของไทยเป็นหนี้เต็มเพดานแล้ว ทั้งหนี้บ้าน หนี้รถ หนี้บัตรเครดิต และหนี้ส่วนบุคคล ภาพที่เราเห็นในปัจจุบันคือการทำงานหาเงินใช้หนี้ แต่จะหวังให้ชนชั้นกลางไปกู้เงินซื้อบ้านหลังใหม่หรือรถคันใหม่น่าจะลำบากในช่วง 1-2 ปีนี้ … ผลที่ตามมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะเริ่มซึมลง ธนาคารพาณิชย์ก็เริ่มน่าห่วง ด้านหนึ่งคือ NPL สูงขึ้นเพราะลูกหนี้ปัจจุบันเริ่มหมุนเงินไม่ทัน อีกด้านหนึ่งก็ไม่มี Loan Growth เพราะไม่รู้จะปล่อยกู้ให้ใคร
3. ธุรกิจเอกชนขนาดใหญ่มีเงินสดในมือจำนวนมาก บางบริษัทมีเป็นแสนล้าน ในมุมหนึ่งก็ดูดีเพราะภาคเอกชนเราแข็งแกร่งและมีหนี้น้อย แต่ในอีกมุมหนึ่ง มันอาจจะเป็นสัญญาณว่า เอกชนไทยขาดแคลนแหล่งลงทุนที่เป็น Real Investments
4. นักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่ยัง underweight หุ้นไทย ด้วยหลายเหตุผล อาทิ คาดว่าเงินบาทจะอ่อนค่าได้อีก (ซึ่งจะทำให้ฝรั่งขาดทุนค่าเงิน) ภาพเศรษฐกิจไทยยังไม่ค่อยดีนัก การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐล่าช้ากว่าที่กำหนด การเลือกตั้งล้าช้าออกไป ฯลฯ
5. นักลงทุนส่วนใหญ่คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในปลายปีนี้ ซึ่งโดยทั่วไป เวลา Fed ขึ้นดอกเบี้ย ตลาดหุ้นใน Emerging Markets จะเป็นขาลง อันนี้ตลาดไทยก็เลยโดนไปด้วย
สรุปความเห็น – ผมมองว่าตลาดหุ้นครึ่งปีหลังจะมีอาการ “ซึม” คือ sideway ไปเรื่อยๆ แต่ด้วย sentiment ที่ติดลบทั้งจากฝรั่งและไทย อาจจะเป็นโอกาส “เก็บของ” สำหรับนักลงทุนระยะยาว ยิ่งดัชนีเข้าใกล้ 1400 จุด (หรือต่ำกว่านั้น) ยิ่งน่าสนใจมาก กลุ่มที่น่าจะไปได้ดี คือ กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยว และกลุ่มค้าปลีกที่เน้นสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวันครับ
ที่มาจากกลุ่มข่าว https://www.facebook.com/set.biznews