รศ.ดร.อรรณพ ตันละมัย คณบดีวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยว่า
ได้ร่วมกับบริษัทจ็อบท็อปกันและซุปเปอร์เรซูเม่ ได้ทำวิจัยเกี่ยวกับสมรรถนะในการทำงาน
ที่สัมพันธ์กับงานอดิเรก ดนตรี กีฬา ที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะ พบว่า
ดนตรี กีฬาและงานอดิเรก ช่วยพัฒนาความสามารถของแต่ละคนได้เป็นอย่างดี
งานอิดเรกหลายอย่างจะสะท้อนความเป็นตัวตนและลักษณะนิสัยของคนที่ชอบงานเหล่านั้น
รวมถึงสะท้อนให้เห็นสมรรถนะในการทำงานด้วย เช่น คนเล่นเทนนิสจะเป็นคนที่ทำงานเชิงรุก
คนที่ชอบทำอาหารจะเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์และการลองผิดลองถูก
คนที่ชอบเล่นฟุตบอลจะรู้จักขั้นตอนการฝึกฝนและการทำงานเป็นทีม
คนที่เล่นหมากล้อมจะรู้จักการวางแผนคิดหน้า คิดหลัง
และการเล่นดนตรีจะบ่งบอกความพยายามในการฝึกฝน ฝึกซ้อม
ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องชี้วัดที่สะท้อนขีดความสามารถในการทำงานของแต่ละคนที่ไม่เท่ากัน
ซึ่งจะต่างกับนักเรียน นักศึกษาที่มุ่งเน้นด้านวิชาการอย่างเดียว
ทำให้แม้เรียนได้เกรดดีก็ไม่อาจจะทำงานเก่งได้เพราะนั่นเป็นเพียงผลการทดสอบทางวิชาการเท่านั้น
ทั้งนี้ผลงานวิจัยชิ้นดังกล่าว เป็นการเก็บกลุ่มตัวอย่างจำนวน 20,260 คน
เมื่อปี 2550 และเก็บผลวิเคราะห์อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2551 – 2556 ทำให้พบว่า
ดนตรี กีฬาและงานอดิเรกมีความสัมพันธ์อย่างสูงต่อการพัฒนาทักษะการทำงาน
ซึ่งในอนาคตฝ่ายทรัพยากรบุคคลขององค์กรควรมองจุดนี้ให้มาก
และไม่ควรตัดสินเฉพาะผลการศึกษาเพียงอย่างเดียว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ที่มา : http://news.mthai.com/hot-news/general-news/331761.html
ผลวิจัยชี้ จบเกียรตินิยม ไม่ช่วยให้ทำงานเก่ง ดนตรี กีฬาสำคัญกว่า
ได้ร่วมกับบริษัทจ็อบท็อปกันและซุปเปอร์เรซูเม่ ได้ทำวิจัยเกี่ยวกับสมรรถนะในการทำงาน
ที่สัมพันธ์กับงานอดิเรก ดนตรี กีฬา ที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะ พบว่า
ดนตรี กีฬาและงานอดิเรก ช่วยพัฒนาความสามารถของแต่ละคนได้เป็นอย่างดี
งานอิดเรกหลายอย่างจะสะท้อนความเป็นตัวตนและลักษณะนิสัยของคนที่ชอบงานเหล่านั้น
รวมถึงสะท้อนให้เห็นสมรรถนะในการทำงานด้วย เช่น คนเล่นเทนนิสจะเป็นคนที่ทำงานเชิงรุก
คนที่ชอบทำอาหารจะเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์และการลองผิดลองถูก
คนที่ชอบเล่นฟุตบอลจะรู้จักขั้นตอนการฝึกฝนและการทำงานเป็นทีม
คนที่เล่นหมากล้อมจะรู้จักการวางแผนคิดหน้า คิดหลัง
และการเล่นดนตรีจะบ่งบอกความพยายามในการฝึกฝน ฝึกซ้อม
ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องชี้วัดที่สะท้อนขีดความสามารถในการทำงานของแต่ละคนที่ไม่เท่ากัน
ซึ่งจะต่างกับนักเรียน นักศึกษาที่มุ่งเน้นด้านวิชาการอย่างเดียว
ทำให้แม้เรียนได้เกรดดีก็ไม่อาจจะทำงานเก่งได้เพราะนั่นเป็นเพียงผลการทดสอบทางวิชาการเท่านั้น
ทั้งนี้ผลงานวิจัยชิ้นดังกล่าว เป็นการเก็บกลุ่มตัวอย่างจำนวน 20,260 คน
เมื่อปี 2550 และเก็บผลวิเคราะห์อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2551 – 2556 ทำให้พบว่า
ดนตรี กีฬาและงานอดิเรกมีความสัมพันธ์อย่างสูงต่อการพัฒนาทักษะการทำงาน
ซึ่งในอนาคตฝ่ายทรัพยากรบุคคลขององค์กรควรมองจุดนี้ให้มาก
และไม่ควรตัดสินเฉพาะผลการศึกษาเพียงอย่างเดียว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้