ทฤษฎีใหม่ได้หักล้างความคิดที่ว่า ทักษะความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด



มีการประเมินหลักทฤษฎีใหม่ในประเด็นที่ว่า สมองของพวกเรามีการเรียนรู้วิเคราะห์ตามหลักคณิตศาสตร์เบื้องต้นได้เร็วแค่ไหนและประเมินการสอนวิชาคณิตศาสตร์ให้กับนักศึกษาที่ไม่มีทักษะทางด้านนี้ งานวิจัยนี้ได้มีการตีพิมพ์ในนิตยสาร Behavioral And Brain Sciences ซึ่งนักวิจัยหลายคนในมหาวิทยาลัย BGU ก็ได้เสนอแนะว่า จะต้องทำความเข้าใจว่า อย่างไร เมื่อไรและทำไมผู้คนส่วนใหญ่ถึงใช้ทักษะทางด้านคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

หลักทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขว้างจนถึงทุกวันนี้ก็ชี้ว่า ผู้คนมีทักษะความสามารถทางด้านการคิดจำนวนมาตั้งแต่เกิดจนถึงทำความเข้าใจความแตกต่างในเชิงปริมาณได้ เช่นเดียวกับจำนวนสินค้าในรถเข็น และทักษะความสามารถนี้ก็จะพัฒนามากขึ้นตามอายุ หลักสูตรทางคณิตศาสตร์ก่อนหน้านี้และเครื่องมือสำหรับคนที่มีความบกพร่องทางด้านคณิตศาสตร์อย่างเช่นคนที่มีภาวะผิดปกติทางด้านการคำนวณ ซึ่งภาวะโรคร้ายทางด้านสมองก็เป็นเรื่องยากที่จะทำการคำนวณและเข้าใจได้ถึงหลักการทางคณิตศาสตร์อย่างสมเหตุสมผล

ทางด้าน Ph.D Naama Katzindy กับ Maayan Harel และศาสตราจารย์ Avishai Henilk ซึ่งได้อยู่คณะจิตวิทยากับประสาทวิทยาศาสตร์ได้จับมือทำงานวิจัยร่วมกับ Dr.Tali Leibovich จากสถาบัน Zlotowski แผนกประสาทวิทยาศาสตร์ที่คณะจิตวิทยาและวิจัยทางด้านสมองกับภาวะจิตใจในมหาวิทยาลัย Ontario โดย Dr.Leibovich เคยทำงานวิจัยในช่วงเรียนปริญญาเอกที่คณะวิจัยสมองกับศาสตร์กระบวนการรับรู้และสถาบัน Zlotowski

“หากพวกเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า สมองของพวกเรามีการเรียนรู้ต่อวิชาคณิตศาสตร์อย่างไร และทำความเข้าใจกับหลักการคำนวณและหลักการทางคณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อนได้ว่าโครงสร้างของโลกที่พวกเราอยู่นั้นเป็นอย่างไร พวกเราก็สามารถที่จะสอนหลักการทางคณิตศาสตร์ได้โดยใช้หลักสัญชาตญาณและรู้สึกสนุกไปกับมันได้” กล่าวโดย Dr.Leibovich “การวิจัยนี้เป็นก้าวแรกที่จะเข้าถึงเป้าหมายนี้ได้”

การวิจัยมีความท้าทายต่างๆเกี่ยวกับ “ความคิดจำนวน” ในทฤษฎีอื่นๆก็ชี้ว่า “ความคิดขนาด” สามารถที่จะทำให้ผู้คนแยกแยะความแตกต่างระหว่างขนาดได้ อย่างเช่นความหนาแน่นของกลุ่มแอปเปิ้ล 2 กลุ่มหรือขนาดถาดพิซซ่าทั้ง 2 ถาด ซึ่งเป็นหลักการคิดง่ายๆและเป็นกลไกไร้สำนึกมากกว่าที่จะคิดคำนวณ

ทางด้านนักวิจัยได้อธิบายว่า การทำความเข้าในความสัมพันธ์ระหว่างขนาดกับจำนวนยังเป็นวิพากษ์วิจารณ์มากในการพัฒนาทักษะความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ หากนำขนาดและจำนวนรวมเข้าด้วยกัน (เช่น พื้นที่ ความหนาแน่นและอาณาเขต) พวกเราก็สามารถที่จะทำการประเมินได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

กรณีตัวอย่างสภาวะลำบากในการเลือกสินค้าในร้านขายของชำอย่างรวดเร็วนั้น แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะใช้สัญชาตญาณในการแอบมองใครสักคนหนึ่งพร้อมกับสินค้าในรถเข็นว่ามีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งสินค้าที่ชิ้นใหญ่อาจจะมีการเลือกหยิบอย่างรวดเร็ว การตัดสินใจเลือกสินค้าก็เผยให้เห็นว่า โดยธรรมชาติคนส่วนใหญ่ใช้หลักคิดจำนวนกับขนาดไปในทิศทางเดียวกันในการเปรียบเทียบขนาดสินค้า

เช่นกันนักวิจัยหลายคนก็ได้กระตุ้นให้นักศึกษาทำการประเมินกฎเกณฑ์เงื่อนไขปัจจัยต่างๆ อย่างเช่นการใช้ภาษากับการควบคุมกระบวนการรับรู้ ฝึกฝนการคิดจำนวน แม้ว่ารูปแบบในทางทฤษฎีนี้อาจมีคำถามต่างๆมากกว่าที่จะได้รับคำตอบ นักวิจัยหลายคนก็ให้ความหวังว่าข้อสมมุติฐานต่างๆเหล่านี้จะเผยให้เห็นถึงแนวทางใหม่ๆในการระบุถึงความผิดปกติทางด้านการคำนวณ ซึ่งตอนนี้ก็ทำได้เพียงแค่วินิจฉัยเด็กอายุน้อยเท่านั้น ในช่วงนี้ เด็กที่เป็นโรคก็เริ่มมีความเฉื่อยชามากกว่าคนอื่นๆ

“แนวทางใหม่ๆนี้ก็ช่วยให้พวกเราพัฒนาการใช้เครื่องมือในการวินิจฉัยโดยที่ไม่พึ่งพาความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ ด้วยเหตุนี้จึงสามารถทำการวินิจฉัยและบำบัดรักษาความผิดปกติทางด้านการคิดคำนวณก่อนที่จะเข้าสู่โรงเรียนได้” กล่าวโดย Dr.Leibovich

ผู้แปล : Mr.lawrence10

ที่มา : sciencedaily.com
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  คณิตศาสตร์ บทความ วิชาการ
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่