ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น สมณพราหมณ์
เหล่าใด เป็นพวก สัสสตวาท ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยวัตถุ
(ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ) ๔ ประการ ก็ดี,
สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวก เอกัจจสัสสติกเอกัจจอสัสสติกวาท
(ย่อมบัญญัตอัตตาและโลกว่าเที่ยงบางอย่างไม่เที่ยงบางอย่าง ด้วยวัตถุ ๔ ประการ)
ก็ดี,
สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกอันตานันติกวาท (ย่อมบัญญัติซึ่ง
โลกว่ามีที่สุดหรือไม่มีที่สุด ด้วยวัตถุ ๔ ประการ) ก็ดี,
สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกอมราวิกเขปิกวาท (เมื่อถูกถาม
ปัญหาในที่นั้น ๆ ย่อมถึงความส่ายแห่งวาจาอันดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยวัตถุ ๔
ประการ) ก็ดี,
สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกอธิจจสมุปปันนิกวาท (ย่อมบัญญัติ
อัตตาและโลกว่าเกิดเองลอย ๆ ด้วยวัตถุ ๒ ประการ) ก็ดี,
สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกปุพพันตกัปปิกวาท (มีปุพพันตนานุ-
ทิฏฐิ ปรารภขันธ์อันมีแล้วในกาลก่อน ย่อม กล่าวบัญญัติซึ่งอธิมุตติบท
(ทางแห่งความหลุดพ้นอย่างยิ่งของสัตว์ตามทิฏฐิแห่งตน ๆ) มีอย่างเป็นอเนก ด้วยวัตถุ
๑๘ ปรการ) ก็ดี;
สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกอุทธมาฆตนิกสัญญีวาท (ย่อมบัญญัติ
อัตตาหลังจากตายแล้วว่ามีสัญญา ด้วยวัตถุ ๑๖ ประการ) ก็ดี.
สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกอุทธมาฆตนิกอสัญญีวาท (ย่อมบัญญัติ
อัตตาหลังจากตายแล้วว่าไม่มีสัญญา ด้วยวัตถุ ๘ ประการ) ก็ดี,
สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวก อุทธมาฆตนิกเนวสัญญีนาสัญญีวาท
(ย่อมบัญญัติอัตตาหลังจากตายแล้ว ว่ามีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้ ด้วย
วัตถุ ๘ ประการ) ก็ดี,
สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกอุจเฉทวาท (ย่อมบัญญัติซึ่งความ
ขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มี แห่งสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยวัตถุ ๗ ประการ) ก็ดี,
สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกทิฏฐธัมมนิพพานวาท (ย่อมบัญญัติ
ซึ่งปรมทิฏฐธัมมนิพพานวาท(นิพพานในปัจจุบัน) แก่สัตว์ที่มีอยู่ ด้วยวัตถุ ๕ ประการ) ก็ดี,
สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกอปรันตกัปปิกวาท (มีอปรันตานุทิฏฐิ
ปรารภขันธ์มีส่วนสุดในเบื้องหน้า ย่อมกล่าวบัญญัติซึ่งอธิมุตติบท (ทางแห่งความน้อม
ใจเชื่อของสัตว์) มีประการต่าง ๆ เป็นอเนก ด้วยวัตถุ ๔๔ ประการ) ก็ดี;
แม้สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวก ปุพพันตกัปปิกวาท ก็ดี อปรันต-
กัปปิกวาท ก็ดี เป็นพวก ปุพพันตาปรันตกัปปิกวาท ก็ดี ล้วนแต่เป็นผุ้มีปุพพันตา-
ปรันตานุทิฏฐิ ปรารภขันธ์ทั้งที่มีแล้วในกาลก่อนและขันธ์อันมีในเบื้องหน้า
ย่อมกล่าวบัญญัติอธิมุตติบท มีอย่างเป็นอเนก ด้วยวัตถุ(ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ) ๖๒ ประการ;
สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นทั้งหมด รู้สึกแล้วต่อเวทนาตามทิฏฐิ
เฉพาะอย่าง ๆ ของตน ๆ ขึ้นมา (ปฏิสํเวทเทนฺติ๑) เพราะการถูกต้องแล้วๆ(ซึ่งอารมณ์)ด้วย
ผัสสายตนะ ๖ ประการ, ย่อมเสวยเวทนา(อันเกิดจากสัมผัสนั้น) เพราะเวทนาแห่งสมณราหมณ์ทั้งหลาย
เหล่านั้นเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา; เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน; เพราะมี
อุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดภพ; เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงเกิดชาติ; เพราะมี
ชาติเป็นปัจจัย จึงเกิด ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสทั้งหลาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งความเกิด ความดับ
คุณและโทษ ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ (อัตถังคมะ) ซึ่งรสอร่อย (อัสสาทะ) ซึ่งโทษอันต่ำทราม(อาทีนวะ)
ซึ่งทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปให้พ้นจาก (นิสสรณะ) แห่งผัสสายตนะ ๖ หล่านั้น ;
ภิกษุนี้ ชื่อว่าย่อมรู้ชัด (ซึ่งเรื่องอันเกี่ยวกับผัสสายตนะหกประการนั้น)
เมื่อนั้น ภิกษุนี้ย่อมรู้ชัดยิ่งกว่าสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดนั่นเทียว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือ
พราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์
ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์
ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด
ถูกทิฏฐิ ๖๒ อย่างเหล่านี้แหละเป็นดุจข่ายปกคลุมไว้ อยู่ในข่ายนี้เอง เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้
ติดอยู่ในข่ายนี้ถูกข่ายปกคลุมไว้ เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้ เปรียบเหมือนชาวประมงหรือลูกมือ
ชาวประมงผู้ฉลาด ใช้แหตาถี่ทอดลงยังหนองน้ำอันเล็ก เขาคิดอย่างนี้ว่า บรรดาสัตว์ตัวใหญ่ๆ
ในหนองนี้ทั้งหมด ถูกแหครอบไว้ อยู่ในแห เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในแห ติดอยู่ในแห ถูกแหครอบไว้
เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในแห ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย. สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้น
ที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต
ก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต
กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ถูกทิฏฐิ ๖๒ เหล่านี้แหละเป็น
ดุจข่ายปกคลุมไว้ อยู่ในข่ายนี้เอง เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้ ติดอยู่ในข่ายนี้ ถูกข่ายปกคลุมไว้
เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้.
- สี. ที. ๙/๙๐/๕๗
(คำ ว่า "รู้สึก" (ปฏิสํเวเทนฺติ) ในที่นี้ เป็นความรู้สึกต่อธัมมารมณ์ด้วยมโน, เมื่อคนมี
ทิฏฐิอยู่อย่างไร ถูกต้องๆ แล้ว(ซึ่งอารมณ์)ด้วยผัสสายตนะทั้ง 6 การเสวยเวทนาของเขา
ย่อมทำ ให้เกิดความรู้สึกชนิดที่เป็นไปตามอำนาจแห่งทิฏฐิที่เขามีอยู่;
ดังนั้นเมื่อมีทิฏฐิต่างกัน แม้อารมณ์ที่มีมากระทบจะเป็นอย่างเดียวกัน
เขาย่อมเกิดความรู้สึกต่ออารมณ์ต่างกันไปตามทิฏฐิของเขา; ดังนั้น เวทนาที่มาจากอารมณ์
เดียวกัน จึงมีความหมายต่างกันได้ เป็นเหตุให้มีทิฏฐิชนิดที่หล่อเลี้ยงทิฏฐิเดิมให้แน่นแฟ้น
อยู่เสมอไป : นี้เรียกได้ว่า ผัสสะหรือเวทนาสร้างทิฏฐิ แล้วก็หล่อเลี้ยงทิฏฐินั้นไว้. ถ้า
ปราศจากผัสสะหรือเวทนาเสียอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมไม่มีทางที่จะเกิดทิฏฐิได้.)
ทิฏฐิให้เกิดเวทนาชนิดที่ล้วนแต่เป็นทุกขสมุทัย
เหล่าใด เป็นพวก สัสสตวาท ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยวัตถุ
(ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ) ๔ ประการ ก็ดี,
สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวก เอกัจจสัสสติกเอกัจจอสัสสติกวาท
(ย่อมบัญญัตอัตตาและโลกว่าเที่ยงบางอย่างไม่เที่ยงบางอย่าง ด้วยวัตถุ ๔ ประการ)
ก็ดี,
สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกอันตานันติกวาท (ย่อมบัญญัติซึ่ง
โลกว่ามีที่สุดหรือไม่มีที่สุด ด้วยวัตถุ ๔ ประการ) ก็ดี,
สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกอมราวิกเขปิกวาท (เมื่อถูกถาม
ปัญหาในที่นั้น ๆ ย่อมถึงความส่ายแห่งวาจาอันดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยวัตถุ ๔
ประการ) ก็ดี,
สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกอธิจจสมุปปันนิกวาท (ย่อมบัญญัติ
อัตตาและโลกว่าเกิดเองลอย ๆ ด้วยวัตถุ ๒ ประการ) ก็ดี,
สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกปุพพันตกัปปิกวาท (มีปุพพันตนานุ-
ทิฏฐิ ปรารภขันธ์อันมีแล้วในกาลก่อน ย่อม กล่าวบัญญัติซึ่งอธิมุตติบท
(ทางแห่งความหลุดพ้นอย่างยิ่งของสัตว์ตามทิฏฐิแห่งตน ๆ) มีอย่างเป็นอเนก ด้วยวัตถุ
๑๘ ปรการ) ก็ดี;
สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกอุทธมาฆตนิกสัญญีวาท (ย่อมบัญญัติ
อัตตาหลังจากตายแล้วว่ามีสัญญา ด้วยวัตถุ ๑๖ ประการ) ก็ดี.
สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกอุทธมาฆตนิกอสัญญีวาท (ย่อมบัญญัติ
อัตตาหลังจากตายแล้วว่าไม่มีสัญญา ด้วยวัตถุ ๘ ประการ) ก็ดี,
สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวก อุทธมาฆตนิกเนวสัญญีนาสัญญีวาท
(ย่อมบัญญัติอัตตาหลังจากตายแล้ว ว่ามีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้ ด้วย
วัตถุ ๘ ประการ) ก็ดี,
สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกอุจเฉทวาท (ย่อมบัญญัติซึ่งความ
ขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มี แห่งสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยวัตถุ ๗ ประการ) ก็ดี,
สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกทิฏฐธัมมนิพพานวาท (ย่อมบัญญัติ
ซึ่งปรมทิฏฐธัมมนิพพานวาท(นิพพานในปัจจุบัน) แก่สัตว์ที่มีอยู่ ด้วยวัตถุ ๕ ประการ) ก็ดี,
สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกอปรันตกัปปิกวาท (มีอปรันตานุทิฏฐิ
ปรารภขันธ์มีส่วนสุดในเบื้องหน้า ย่อมกล่าวบัญญัติซึ่งอธิมุตติบท (ทางแห่งความน้อม
ใจเชื่อของสัตว์) มีประการต่าง ๆ เป็นอเนก ด้วยวัตถุ ๔๔ ประการ) ก็ดี;
แม้สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวก ปุพพันตกัปปิกวาท ก็ดี อปรันต-
กัปปิกวาท ก็ดี เป็นพวก ปุพพันตาปรันตกัปปิกวาท ก็ดี ล้วนแต่เป็นผุ้มีปุพพันตา-
ปรันตานุทิฏฐิ ปรารภขันธ์ทั้งที่มีแล้วในกาลก่อนและขันธ์อันมีในเบื้องหน้า
ย่อมกล่าวบัญญัติอธิมุตติบท มีอย่างเป็นอเนก ด้วยวัตถุ(ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ) ๖๒ ประการ;
สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นทั้งหมด รู้สึกแล้วต่อเวทนาตามทิฏฐิ
เฉพาะอย่าง ๆ ของตน ๆ ขึ้นมา (ปฏิสํเวทเทนฺติ๑) เพราะการถูกต้องแล้วๆ(ซึ่งอารมณ์)ด้วย
ผัสสายตนะ ๖ ประการ, ย่อมเสวยเวทนา(อันเกิดจากสัมผัสนั้น) เพราะเวทนาแห่งสมณราหมณ์ทั้งหลาย
เหล่านั้นเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา; เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน; เพราะมี
อุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดภพ; เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงเกิดชาติ; เพราะมี
ชาติเป็นปัจจัย จึงเกิด ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสทั้งหลาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งความเกิด ความดับ
คุณและโทษ ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ (อัตถังคมะ) ซึ่งรสอร่อย (อัสสาทะ) ซึ่งโทษอันต่ำทราม(อาทีนวะ)
ซึ่งทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปให้พ้นจาก (นิสสรณะ) แห่งผัสสายตนะ ๖ หล่านั้น ;
ภิกษุนี้ ชื่อว่าย่อมรู้ชัด (ซึ่งเรื่องอันเกี่ยวกับผัสสายตนะหกประการนั้น)
เมื่อนั้น ภิกษุนี้ย่อมรู้ชัดยิ่งกว่าสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดนั่นเทียว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือ
พราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์
ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์
ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด
ถูกทิฏฐิ ๖๒ อย่างเหล่านี้แหละเป็นดุจข่ายปกคลุมไว้ อยู่ในข่ายนี้เอง เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้
ติดอยู่ในข่ายนี้ถูกข่ายปกคลุมไว้ เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้ เปรียบเหมือนชาวประมงหรือลูกมือ
ชาวประมงผู้ฉลาด ใช้แหตาถี่ทอดลงยังหนองน้ำอันเล็ก เขาคิดอย่างนี้ว่า บรรดาสัตว์ตัวใหญ่ๆ
ในหนองนี้ทั้งหมด ถูกแหครอบไว้ อยู่ในแห เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในแห ติดอยู่ในแห ถูกแหครอบไว้
เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในแห ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย. สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้น
ที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต
ก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต
กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ถูกทิฏฐิ ๖๒ เหล่านี้แหละเป็น
ดุจข่ายปกคลุมไว้ อยู่ในข่ายนี้เอง เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้ ติดอยู่ในข่ายนี้ ถูกข่ายปกคลุมไว้
เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้.
- สี. ที. ๙/๙๐/๕๗
(คำ ว่า "รู้สึก" (ปฏิสํเวเทนฺติ) ในที่นี้ เป็นความรู้สึกต่อธัมมารมณ์ด้วยมโน, เมื่อคนมี
ทิฏฐิอยู่อย่างไร ถูกต้องๆ แล้ว(ซึ่งอารมณ์)ด้วยผัสสายตนะทั้ง 6 การเสวยเวทนาของเขา
ย่อมทำ ให้เกิดความรู้สึกชนิดที่เป็นไปตามอำนาจแห่งทิฏฐิที่เขามีอยู่;
ดังนั้นเมื่อมีทิฏฐิต่างกัน แม้อารมณ์ที่มีมากระทบจะเป็นอย่างเดียวกัน
เขาย่อมเกิดความรู้สึกต่ออารมณ์ต่างกันไปตามทิฏฐิของเขา; ดังนั้น เวทนาที่มาจากอารมณ์
เดียวกัน จึงมีความหมายต่างกันได้ เป็นเหตุให้มีทิฏฐิชนิดที่หล่อเลี้ยงทิฏฐิเดิมให้แน่นแฟ้น
อยู่เสมอไป : นี้เรียกได้ว่า ผัสสะหรือเวทนาสร้างทิฏฐิ แล้วก็หล่อเลี้ยงทิฏฐินั้นไว้. ถ้า
ปราศจากผัสสะหรือเวทนาเสียอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมไม่มีทางที่จะเกิดทิฏฐิได้.)