***ขออนุญาตทาง
psychologist cafe มาลงไว้ให้ชาวบอร์ดสุขภาพจิตได้อ่านกัน น่านสนใจ***
เคยอ่านเนื้อข่าวคดีฆ่าตัวตายไหมครับ !?
แล้วเราก็มักจะพบประโยคบอกเล่าจากปากของญาติสนิทมิตรสหายของผู้ตายในทำนองที่ว่า...
- ปกติผู้ตายเป็นคนอารมณ์ดี
- เพื่อนบ้านประหลาดใจ ปกติเขาเป็นคนร่าเริง
- ไม่มีทีท่าว่าจะฆ่าตัวตายเพราะก่อนหน้านี้ก็ดูปกติดี
- ญาติไม่ทราบว่าผู้ตายมีปัญหาอะไรเพราะเมื่อเช้าก็คุยกันปกติดี
- ผู้ตายเป็นคนสนุกสนาน จึงคิดไม่ออกว่าสาเหตุใดที่ทำให้ฆ่าตัวตาย
บางคนถึงขั้นแคลงใจว่าอาจจะเป็นการฆาตกรรมแน่ๆ แต่แล้วเมื่อสืบประจักษ์พยานโดยละเอียด นิติเวชชันสูตรพลิกศพก็ไม่พบบาดแผลอื่น ดูวงจรปิดก็แล้ว ก็ไม่เห็นมีพิรุธใดๆ ที่จะทำให้เชื่อว่ามีคนอื่นมากระทำให้ตาย สุดท้ายก็ต้องจบคดีตามหลักฐานว่าฆ่าตัวตายนั่นแหละครับ ต่อให้ไม่มีใครคิดว่าคนที่ร่าเริงขนาดนี้จะคิดแบบนี้ได้
ซึ่งคนสนิทมักจะไม่ค่อยเชื่อหรอก คือยังไปติดใจตรงที่เรื่องบุคลิกนิสัยของผู้ตายซึ่งดูไม่น่าจะทำให้เขากระทำการอย่างนั้น แต่เอาเข้าจริงๆ แล้ว อยากบอกว่า ตามหลักจิตวิทยา "คนฆ่าตัวตายไม่จำเป็นต้องมีบุคลิกไม่ร่าเริง" นะครับ ทั้งนี้ วินาทีที่ความคิดฆ่าตัวตายมันเกิดขึ้น ส่วนมากมักเกิดในตอนที่คนเราอยู่ตามลำพังมากกว่า ฉะนั้นไอ้ตอนที่เขาได้ออกไปอยู่ต่อหน้าผู้คน ตอนอยู่กับเพื่อนกับฝูงมันก็จะแฮปปี้อย่างที่เห็นๆ มีไมตรียิ้มแย้มตามปรกติวิสัยอยู่แล้ว นั่นจึงไม่ใช่เรื่องที่จะไปเหมารวมได้เลยว่า "คนร่าเริงที่เราเห็นเมื่อกลางวัน จะไม่ได้เป็นคนซึมเศร้าในเวลากลางคืน" ... มันไม่แน่ไม่นอนจริงๆ ครับ พอต่างที่ ต่างวาระ มันก็มีปัจจัยต่างๆ ที่เป็นตัวอิทธิพลไปเสริมการตัดสินใจของเขาได้ เช่น บางคนปากบอกไม่เป็นไรๆ แต่ลึกๆ แล้วขี้น้อยใจก็มี.. บางคนยิ้มกว้างเห็นฟัน แต่ภายในใจกลับเครียดจนคิ้วขมวดหลบในก็มี.. บางคนเพื่อนเยอะ แต่กลับชอบไปคิดว่าไม่มีใครสนใจ ไม่มีใครเห็นอยู่ตลอดเวลา ก็มี.. บางคนครอบครัวแตกแยก มีปัญหา คิดว่านอกจากครอบครัวแล้วไม่ควรค่าให้ใครรักด้วย ฯลฯ
นานาปัญหาเหล่านี้ที่มนุษย์คนหนึ่งพึงจะประสบ ให้คุณตำรวจมาสืบสวนสอบสวนคนใกล้ชิด ก็ได้แต่เดาสาเหตุกันไปล่ะครับ อย่างเช่นถ้าวัยรุ่นก็อาจเดาว่าความรัก/เกรด ถ้าผู้ใหญ่หน่อยก็เรื่องเงิน/งาน/ครอบครัว แต่ใครเล่าจะรู้ว่าจริงๆ มันเพราะอะไร เขาจึงเลือกละทิ้งสิ่งที่รักที่สุดของตนเองได้ นั่นคือชีวิตตัวเอง ไม่ว่าจะมีเหตุผลอะไร หรือจะมีปมอะไรมากกว่านั้น เราก็ไม่รู้ คนที่รู้ดีที่สุดก็ดันตายไปซะแล้วไง ซึ่งถ้าหากเขาพอจะตระหนักรู้เท่าทันอารมณ์ชั่ววูบของตัวเองและควบคุมมันได้สักหน่อย เขาก็คงจะยังมีชีวิตมาเล่าสู่กันฟังให้นักจิตวิทยารับรู้ถึงปัญหาแล้วว่าแท้จริง สิ่งที่กำลังรบกวนจิตใจอยู่ ณ ขณะนี้คืออะไร และเราจะแก้ไขกันได้อย่างไร เชื่อมั่นได้เลยว่าไม่ว่ามันจะมืดแปดด้าน ก็ย่อมมีด้านที่ 9 อยู่เสมอ เพียงเปิดใจ ใช้สติ และความคิดนิดหนึ่งก็จะเจอ ทุกปัญหามีทางออกแน่นอนครับ ซึ่งไม่ใช่บนดาดฟ้าหรือในยาฆ่าหญ้าเป็นแน่
นอกจากจะมีโรคซึมเศร้าแล้ว ยังมีโรคไบโพลาร์ (คือร่าเริงสลับซึมเศร้า) อันนี้ก็ร้ายแรงถึงขั้นฆ่าตัวตาย ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ 2 ขั้วสลับกัน ระหว่างซึมเศร้ากับรื่นเริงผิดปกติ มีสถิติเผยว่ากลุ่มเสี่ยงที่สุดคือ กลุ่มอายุ 20-30 ปี ซึ่งเป็นวัยหัวเลี้ยวหัวต่อของการเรียน การทำงาน อาการมักเริ่มจากขยันผิดปกติ คึกคัก แล้วเปลี่ยนเป็นซึมเศร้า ร้องไห้ หากปล่อยไว้ภายใน 2-3 สัปดาห์ อารมณ์จะรุนแรง ก้าวร้าว จนญาติรับมือไม่ไหว สำหรับโรคนี้มี "ยา" รักษานะครับ ต้องพามาโรงพยาบาล มารับยา มากินยา เพราะอาการผิดปรกตินี้มาจากสารสื่อประสาทในสมองที่บกพร่อง จำเป็นต้องใช้ยาช่วยทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตเหมือนคนทั่วไป ประการสำคัญคือคนรอบข้างและครอบครัวต้องช่วยดูแลเรื่องการกินยาสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายหรือการทำกิจกรรมคลายเครียด ให้กำลังใจเรื่องเรียนและทำงาน เฝ้าระวังเรื่องการใช้ยากระตุ้นหรือสารมึนเมา เช่น เหล้า หรือ กาแฟ ที่มีคาเฟอีนสูง ซึ่งมีผลต่อระบบสมอง
สุดท้าย การใส่ใจกันและกัน คอยสังเกตอารมณ์และพฤติกรรม รับรู้การเปลี่ยนแปลงหรือความผิดปกติของอีกฝ่าย และการพูดคุยถามไถ่สารทุกข์สุขดิบ ระบายกันอยู่เสมอ ก็พอจะช่วยแบ่งเบาลงได้พอสมควรครับ และสมัยนี้โรงพยาบาลก็มีแผนกจิตเวชเปิดให้ประชาชนได้ตบเท้าเข้าไปใช้บริการกันมากขึ้นกว่าแต่ก่อน จึงอยากให้ตระหนักรู้ตนเองว่าถ้าเรามี "ความเจ็บป่วยทางใจ" ก็เหมือนกับ "เจ็บป่วยทางกาย" มันจำเป็นต้องได้รับการรักษาไม่ต่ากันครับ อย่าปล่อยให่เรื้อรัง หรือมองว่าแค่นี้เอง เดี๋ยวก็หาย แต่กลับกลายเป็นการสะสมความเครียดในใจ ฉะนั้นเมื่อจิตใจมันเสีย ก็ควรได้รับการซ่อมแซมไปตามอาการครับ ทั้งนี้ทั้งนั้น "การซ่อมแซม" คือการทำให้ของที่ชำรุดมันกลับมาดีได้คล้ายเดิม มิใช่ทำให้มันเป็นของใหม่หมดจด ส่งผลให้อาจยังคงมีเศษเสี้ยวอดีตที่ฝังใจอยู่ แต่เราก็รู้เท่าทันแล้วว่าจะไม่ไปสะกิดโดนสะเก็ดแผลนั้นให้มันเปิดออกมาอีก และถ้าหากมันชำรุดมากเกินไป หรือชำรุดด้วยความถี่บ่อยๆ การซ่อมแซมก็คือการทำให้กับมาดีตามอาการ (ว่ากันว่าอาชีพหมอ คืออาชีพแห่งการแก้ไข คือคนไข้มาหาเราเพราะปลายทาง ก็ต้องรักษาให้ไปตามอาการ และพยายามหาต้นทางให้เจอเพื่อควบคุมมันไม่ให้มีผลกระทบให้เกิดอีก) จะเห็นว่าการแก้ไข มันก็ไม่เท่ากับ "การป้องกัน" ดังนั้น เจ้าตัวจึงต้องหมั่นดูแลรักษาสุขภาพจิตวันละนิด ชีวิตจะได้สดใส อย่าลืมว่า "กันไว้ดีกว่าแก้" ในทุกกรณีครับ
CREDIT https://www.facebook.com/PsychologistCafe/photos/a.1510948479145891.1073741828.1509818395925566/1625030781070993/?type=1
" ปกติแล้วผู้ตายเป็นคนอารมณ์ดี "
เคยอ่านเนื้อข่าวคดีฆ่าตัวตายไหมครับ !?
แล้วเราก็มักจะพบประโยคบอกเล่าจากปากของญาติสนิทมิตรสหายของผู้ตายในทำนองที่ว่า...
- ปกติผู้ตายเป็นคนอารมณ์ดี
- เพื่อนบ้านประหลาดใจ ปกติเขาเป็นคนร่าเริง
- ไม่มีทีท่าว่าจะฆ่าตัวตายเพราะก่อนหน้านี้ก็ดูปกติดี
- ญาติไม่ทราบว่าผู้ตายมีปัญหาอะไรเพราะเมื่อเช้าก็คุยกันปกติดี
- ผู้ตายเป็นคนสนุกสนาน จึงคิดไม่ออกว่าสาเหตุใดที่ทำให้ฆ่าตัวตาย
บางคนถึงขั้นแคลงใจว่าอาจจะเป็นการฆาตกรรมแน่ๆ แต่แล้วเมื่อสืบประจักษ์พยานโดยละเอียด นิติเวชชันสูตรพลิกศพก็ไม่พบบาดแผลอื่น ดูวงจรปิดก็แล้ว ก็ไม่เห็นมีพิรุธใดๆ ที่จะทำให้เชื่อว่ามีคนอื่นมากระทำให้ตาย สุดท้ายก็ต้องจบคดีตามหลักฐานว่าฆ่าตัวตายนั่นแหละครับ ต่อให้ไม่มีใครคิดว่าคนที่ร่าเริงขนาดนี้จะคิดแบบนี้ได้
ซึ่งคนสนิทมักจะไม่ค่อยเชื่อหรอก คือยังไปติดใจตรงที่เรื่องบุคลิกนิสัยของผู้ตายซึ่งดูไม่น่าจะทำให้เขากระทำการอย่างนั้น แต่เอาเข้าจริงๆ แล้ว อยากบอกว่า ตามหลักจิตวิทยา "คนฆ่าตัวตายไม่จำเป็นต้องมีบุคลิกไม่ร่าเริง" นะครับ ทั้งนี้ วินาทีที่ความคิดฆ่าตัวตายมันเกิดขึ้น ส่วนมากมักเกิดในตอนที่คนเราอยู่ตามลำพังมากกว่า ฉะนั้นไอ้ตอนที่เขาได้ออกไปอยู่ต่อหน้าผู้คน ตอนอยู่กับเพื่อนกับฝูงมันก็จะแฮปปี้อย่างที่เห็นๆ มีไมตรียิ้มแย้มตามปรกติวิสัยอยู่แล้ว นั่นจึงไม่ใช่เรื่องที่จะไปเหมารวมได้เลยว่า "คนร่าเริงที่เราเห็นเมื่อกลางวัน จะไม่ได้เป็นคนซึมเศร้าในเวลากลางคืน" ... มันไม่แน่ไม่นอนจริงๆ ครับ พอต่างที่ ต่างวาระ มันก็มีปัจจัยต่างๆ ที่เป็นตัวอิทธิพลไปเสริมการตัดสินใจของเขาได้ เช่น บางคนปากบอกไม่เป็นไรๆ แต่ลึกๆ แล้วขี้น้อยใจก็มี.. บางคนยิ้มกว้างเห็นฟัน แต่ภายในใจกลับเครียดจนคิ้วขมวดหลบในก็มี.. บางคนเพื่อนเยอะ แต่กลับชอบไปคิดว่าไม่มีใครสนใจ ไม่มีใครเห็นอยู่ตลอดเวลา ก็มี.. บางคนครอบครัวแตกแยก มีปัญหา คิดว่านอกจากครอบครัวแล้วไม่ควรค่าให้ใครรักด้วย ฯลฯ
นานาปัญหาเหล่านี้ที่มนุษย์คนหนึ่งพึงจะประสบ ให้คุณตำรวจมาสืบสวนสอบสวนคนใกล้ชิด ก็ได้แต่เดาสาเหตุกันไปล่ะครับ อย่างเช่นถ้าวัยรุ่นก็อาจเดาว่าความรัก/เกรด ถ้าผู้ใหญ่หน่อยก็เรื่องเงิน/งาน/ครอบครัว แต่ใครเล่าจะรู้ว่าจริงๆ มันเพราะอะไร เขาจึงเลือกละทิ้งสิ่งที่รักที่สุดของตนเองได้ นั่นคือชีวิตตัวเอง ไม่ว่าจะมีเหตุผลอะไร หรือจะมีปมอะไรมากกว่านั้น เราก็ไม่รู้ คนที่รู้ดีที่สุดก็ดันตายไปซะแล้วไง ซึ่งถ้าหากเขาพอจะตระหนักรู้เท่าทันอารมณ์ชั่ววูบของตัวเองและควบคุมมันได้สักหน่อย เขาก็คงจะยังมีชีวิตมาเล่าสู่กันฟังให้นักจิตวิทยารับรู้ถึงปัญหาแล้วว่าแท้จริง สิ่งที่กำลังรบกวนจิตใจอยู่ ณ ขณะนี้คืออะไร และเราจะแก้ไขกันได้อย่างไร เชื่อมั่นได้เลยว่าไม่ว่ามันจะมืดแปดด้าน ก็ย่อมมีด้านที่ 9 อยู่เสมอ เพียงเปิดใจ ใช้สติ และความคิดนิดหนึ่งก็จะเจอ ทุกปัญหามีทางออกแน่นอนครับ ซึ่งไม่ใช่บนดาดฟ้าหรือในยาฆ่าหญ้าเป็นแน่
นอกจากจะมีโรคซึมเศร้าแล้ว ยังมีโรคไบโพลาร์ (คือร่าเริงสลับซึมเศร้า) อันนี้ก็ร้ายแรงถึงขั้นฆ่าตัวตาย ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ 2 ขั้วสลับกัน ระหว่างซึมเศร้ากับรื่นเริงผิดปกติ มีสถิติเผยว่ากลุ่มเสี่ยงที่สุดคือ กลุ่มอายุ 20-30 ปี ซึ่งเป็นวัยหัวเลี้ยวหัวต่อของการเรียน การทำงาน อาการมักเริ่มจากขยันผิดปกติ คึกคัก แล้วเปลี่ยนเป็นซึมเศร้า ร้องไห้ หากปล่อยไว้ภายใน 2-3 สัปดาห์ อารมณ์จะรุนแรง ก้าวร้าว จนญาติรับมือไม่ไหว สำหรับโรคนี้มี "ยา" รักษานะครับ ต้องพามาโรงพยาบาล มารับยา มากินยา เพราะอาการผิดปรกตินี้มาจากสารสื่อประสาทในสมองที่บกพร่อง จำเป็นต้องใช้ยาช่วยทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตเหมือนคนทั่วไป ประการสำคัญคือคนรอบข้างและครอบครัวต้องช่วยดูแลเรื่องการกินยาสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายหรือการทำกิจกรรมคลายเครียด ให้กำลังใจเรื่องเรียนและทำงาน เฝ้าระวังเรื่องการใช้ยากระตุ้นหรือสารมึนเมา เช่น เหล้า หรือ กาแฟ ที่มีคาเฟอีนสูง ซึ่งมีผลต่อระบบสมอง
สุดท้าย การใส่ใจกันและกัน คอยสังเกตอารมณ์และพฤติกรรม รับรู้การเปลี่ยนแปลงหรือความผิดปกติของอีกฝ่าย และการพูดคุยถามไถ่สารทุกข์สุขดิบ ระบายกันอยู่เสมอ ก็พอจะช่วยแบ่งเบาลงได้พอสมควรครับ และสมัยนี้โรงพยาบาลก็มีแผนกจิตเวชเปิดให้ประชาชนได้ตบเท้าเข้าไปใช้บริการกันมากขึ้นกว่าแต่ก่อน จึงอยากให้ตระหนักรู้ตนเองว่าถ้าเรามี "ความเจ็บป่วยทางใจ" ก็เหมือนกับ "เจ็บป่วยทางกาย" มันจำเป็นต้องได้รับการรักษาไม่ต่ากันครับ อย่าปล่อยให่เรื้อรัง หรือมองว่าแค่นี้เอง เดี๋ยวก็หาย แต่กลับกลายเป็นการสะสมความเครียดในใจ ฉะนั้นเมื่อจิตใจมันเสีย ก็ควรได้รับการซ่อมแซมไปตามอาการครับ ทั้งนี้ทั้งนั้น "การซ่อมแซม" คือการทำให้ของที่ชำรุดมันกลับมาดีได้คล้ายเดิม มิใช่ทำให้มันเป็นของใหม่หมดจด ส่งผลให้อาจยังคงมีเศษเสี้ยวอดีตที่ฝังใจอยู่ แต่เราก็รู้เท่าทันแล้วว่าจะไม่ไปสะกิดโดนสะเก็ดแผลนั้นให้มันเปิดออกมาอีก และถ้าหากมันชำรุดมากเกินไป หรือชำรุดด้วยความถี่บ่อยๆ การซ่อมแซมก็คือการทำให้กับมาดีตามอาการ (ว่ากันว่าอาชีพหมอ คืออาชีพแห่งการแก้ไข คือคนไข้มาหาเราเพราะปลายทาง ก็ต้องรักษาให้ไปตามอาการ และพยายามหาต้นทางให้เจอเพื่อควบคุมมันไม่ให้มีผลกระทบให้เกิดอีก) จะเห็นว่าการแก้ไข มันก็ไม่เท่ากับ "การป้องกัน" ดังนั้น เจ้าตัวจึงต้องหมั่นดูแลรักษาสุขภาพจิตวันละนิด ชีวิตจะได้สดใส อย่าลืมว่า "กันไว้ดีกว่าแก้" ในทุกกรณีครับ
CREDIT https://www.facebook.com/PsychologistCafe/photos/a.1510948479145891.1073741828.1509818395925566/1625030781070993/?type=1