จำได้ว่าหลังๆมานี้เริ่มเห็นหลายคนสนใจที่จะดื่มชาร้อนแบบอินเดียกันมากขึ้น ชาร้อนแบบนี้คนอินเดียเรียกกันว่า garam chai (การัมไจ) ค่ะ ความจริงแล้วมันก็คือชาดำใส่นมที่ผสมเครื่องเทศลงไปด้วยเพื่อเพิ่มกลิ่นหอม แล้วก็ปรุงรสด้วยน้ำตาลอีกเล็กน้อยเพื่อความกลมกล่อมค่ะ ด้วยความที่อินเดียเป็นประเทศที่ค่อนข้างใหญ่และมีประชากรที่แตกต่างกันอยู่เยอะ สูตรของชาก็จะแตกต่างกันไปตามรัฐหรือภาค ตามหมู่บ้าน และก็ตามแต่ละครอบครัวจะปรุงสูตรของตัวเองค่ะ บางบ้านจะใส่เครื่องเทศบางตัวแต่บางตัวก็ไม่ใส่ แถบเหนือใส่กัน 6-7 อย่างก็มี แต่ทางใต้ใส่แค่ 2 อย่าง อะไรแบบนี้เป็นต้น และจำนวนที่ใส่ก็จะแตกต่างกันไปตามความชอบอีกเช่นกันค่ะ สำหรับเครื่องเทศที่นิยมใช้กันมากก็ได้แก่ cardamom หรือกระวานเทศ กานพลู พริกไทยดำ อบเชย โป๊ยกั๊ก ขิงแก่ ยี่หร่า หรือบางคนอาจจะใช้ผงรวมเครื่องเทศที่เรียกกันว่า garam masala แทนก็ได้เหมือนกันค่ะ รวมทั้งการเตรียมเครื่องเทศก็แตกต่างกันตามสะดวกค่ะ บางคนอาจจะใช้แบบหยิบสดๆจากถุงเลยแล้วแค่ทุบให้พอบุบ เตรียมกันก่อนต้มแค่ไม่กี่นาทีนั่นแหละ หรือบางคนก็นิยมปั่นเก็บไว้เป็นผงๆเก็บไว้ใช้ได้ทั้งวีคหรือทั้งเดือน จะทำทีก็ตักมาใช้เป็นคราวๆไปค่ะ
เอาละ เกริ่นกันมานานพอดูแล้ว ทีนี้มาดูสูตรของเราบ้างค่ะ เป็นสูตรที่เราได้มาจากแฟนเราเองนะ เขาเคยทำให้กินแล้วเราติดใจรสนี้ก็เลยยึดถือทำกินมาเรื่อยๆ แต่นี่เป็นครั้งแรกที่เราจะลองต้มด้วยตัวเองทั้งหมดค่ะ
1. black tea - ในส่วนของชาจะต้องเลือกที่เป็นชาดำล้วนๆ ไม่มีแต่งรสแต่งกลิ่นผลไม้อะไรผสมเลยนะคะ และต้องไม่ใช่เอิร์ลเกรย์ด้วยนะ ของเราได้แบรนด์ Just a Minute มาจาก Tops ค่ะ ตอนนี้เขาจัดโปรฯ buy 1 get 1 อยู่ในราคา 49 บาทเอง กล่องนึงมี 20 ซอง คุ้มอยู่นะ แต่ชาแบรนด์ที่แฟนเราและเพื่อนๆอินเดียของเราหลายคนแนะนำมากที่สุดก็จะมี Taj Mahal กับ Red Lable ค่ะ ทั้งสองแบรนด์นี้เป็นแบรนด์ลูกในเครือใหญ่เดียวกันแหละ เราเองไม่แน่ใจว่าต่างกันยังไงนะ เราเคยลองแต่ของ Red Lable แต่ Taj นี่ยังไม่เคย ก่อนหน้านี้เราใช้ black tea กล่องขาวของ Erawan ที่ได้มากับกระเช้าปีใหม่ มันเป็น breakfast ceylon อะค่ะ ก็ออกมาโอเคดี ไม่ได้ต่างกับ Red Lable กี่มากน้อย แต่แบรนด์ที่ไม่แนะนำอย่างยิ่งเลยก็คือ Lipton ค่ะ รสชาติวายป่วงสุดๆ
2. cardamom - ตัวนี้เรียกอีกอย่างว่ากระวานเทศค่ะ เป็นเครื่องเทศตัวสำคัญในการสร้างกลิ่นให้การัมไจเลยแหละ แต่ราคาจะค่อนข้างแพงอยู่สักหน่อยและไม่ได้หาซื้อได้ทั่วไป จะต้องไปหาตามร้านขายของอินเดียค่ะ เช่นที่พาหุรัดหรือร้านเป็งหลีที่ตลาดอโศก สำหรับร้านเป็งหลีนี้เพื่อนในกลุ่มวัฒนธรรมอินเดียเขาแนะนำเรามาค่ะ การเดินทางไม่ยาก ขึ้นจากใต้ดินหรือลงบีทีเอสมาให้เดินไปทางที่จะไป Terminal 21 พอสุดร้านพิซซ่าจะเจอกับตรอกเล็กๆ ที่หน้าตรอกจะมีป้ายว่าร้านกาแฟน้องอะไรสักอย่างอยู่ในซอยนี้ ให้เดินตรงเข้าไปเลยค่ะ จะเจอรถเข็นกาแฟอยู่ เดินเลี้ยวไปตามทาง keep ขวาไว้จนถึงตัวตลาดค่ะ แล้วก็จะเจอร้านเองละ เป็นคล้ายๆมินิมาร์ทติดแอร์น่ะค่ะ ขายเครื่องปรุงทั้งแบบไทยแบบอินเดียครบครันค่ะ เราซื้อ cardamom แบบถุงเล็กมาค่ะ 20 บาท ส่วนถุง 100 กรัมนี่ขายที่ 80 บาทค่ะ
3. cloves - หรือกานพลูนั่นเอง ไม่ใช่เครื่องเทศที่หาซื้อยากอะไร ในซูเปอร์ทั่วไปน่าจะมีกันหมด เราซื้อจากเป็งหลีเหมือนกัน ซองละ 20 ค่ะ กานพลูนี่ดีนะ ถ้าปวดฟันก็เอาไปคาบๆซุกๆไว้แถวซี่ที่ปวด จะหายปวดเลย ทำให้ปากหอมด้วยละ
4. garam masala - จริงๆก็เป็น mixed spices นี่ละค่ะ เขารวมเครื่องเทศไว้หลายอย่าง ทั้งพริกไทยดำ อบเชย ลูกผักชี ยี่หร่า ลูกจันทน์เทศ โป๊ยกั๊ก กานพลู เราซื้อมาแบบกล่องเล็กค่ะ 35 บาท ปริมาณ 100 กรัมก็ไม่น้อยนะคะ ใช้ทำอาหารได้ด้วยเหมือนกัน สามารถหาซื้อได้ที่ร้านชำอินเดียทั่วไปเลยค่ะ มีแน่นอนทุกร้าน เป็นของเบสิคที่ต้องมีขายเลยก็ว่าได้
5. นมจืด - ใช้นมของอะไรก็ได้ แต่ขอให้เป็นแบบไม่ต้องพร่องมันเนยนะคะ บางคนบอกว่าเมจิฝาทองหรือโฟร์ไมสท์รุ่นพรีเมียมเนี่ยดีที่สุด แต่เราชอบนมโชคชัยมากกว่าค่ะ ติดกินแบรนด์นี้มานานแล้วเลยไม่เปลี่ยน
6. น้ำตาล - ใช้น้ำตาลทรายเป็นหลักนะคะ จะเอาแบบฟอกหรือไม่ฟอกอันนี้แล้วแต่เลย แต่ไม่ควรใช้สารให้ความหวานแบบอื่นๆนะ รสที่ได้จะไม่เหมือนกันแน่นอนค่ะ เคยลองมาแล้ว
วิธีทำก็ไม่ยากไม่ง่ายค่ะ เริ่มต้นที่การเตรียมเครื่องเทศกันก่อนเลย สูตรที่เราทำนี้ใช้ cardamom 3 เม็ด กานพลู 5 เม็ด และผง garam masala 1/2 ช้อนชาค่ะ บุบเครื่องเทศให้พอแหลก มันจะได้ส่งกลิ่นหอมค่ะ จากนั้นต้มชากันต่อเลยด้วย น้ำ 3/4 ถ้วยค่ะ ใช้ถ้วยที่จะดื่มนั่นละตวงเอา ถ้าใครใช้ชาที่มาในถุงก็ให้ใช้ 2 ถุงและแกะถุงแล้วเทชาลงไปต้มเลย ถ้าใช้ชาแบบที่มาในขวดหรือซองแบบอื่นๆก็ให้กะเอาให้มันเท่ากับชา 2 ซองอะค่ะ ต้มไปจนถึงจุดที่สีชาเริ่มออกก็ใส่เครื่องเทศทั้งหมดลงไป น้ำตาลก็ใช้ 1-3 ช้อนชาแล้วแต่ความชอบนะคะ แต่ต้องใส่นะ ถ้าไม่ใส่เลยนี่รสจะแย่อยู่ค่ะ การต้มตรงนี้ต้มถึง 4 นาทีเป็นอย่างมาก จากนั้นตวงนม 1/2 ถ้วยเทลงไปเลยค่ะ คนให้มันเข้ากัน ถึงตรงนี้สีสันเริ่มสวยงามและส่งกลิ่นหอมแล้วละ เราก็ต้มไปจนเดือดพล่านเป็นฟองจนเกือบจะล้นเลยค่ะ แค่นี้จริงๆก็เสร็จแล้ว ปิดเตาได้เลย แต่ถ้าใครชอบแบบที่มีฝานมลอยบางๆอยู่ด้านบนพอต้มจนเดือดฟู่ก็ให้ลดไฟลงแล้วค่อยๆเพิ่มไฟใหม่จนเดือดฟู่แบบนั้นอีกสัก 2-4 รอบค่ะ ก็จะได้ฝานมลอยบางๆหน้าการัมไจสมใจเลยละ ปิดเตาแล้วก็ใช้ที่กรองชากรองเอาเศษชาและเครื่องเทศออกไปค่ะ ใช้ที่กรองแบบที่ซื้อจาก Daiso นี่ละ เป็นแบบที่มีด้ามจับนะ ตัวหัวกรองก็จะคล้ายกระชอนเล็กๆ ค่อนข้างพอดีกับปากแก้วอะค่ะ กรองเอาเศษทิ้งไป เหลือแค่ชาร้อนหอมๆไหลลงสู่แก้ว
ย้ำอีกทีว่าสูตรในการทำการัมไจมันแล้วแต่คนชอบนะคะ ต้องลองกินลองปรับหารสที่ใช่ที่ลงตัวไปเรื่อยๆ ถ้าลองทำตามสูตรเราแล้วอาจจะไม่ชอบก็ไม่ว่ากันค่ะ แต่การันตีว่าพอกินได้แน่นอนไม่ถึงกับต้องเททิ้ง ฮ่าๆ ถ้ายังไม่ถูกใจก็ลองเข้ายูทิวบ์ไปดูสูตรอื่นๆเพื่อปรับใช้ได้ค่ะ แฟนเราบอกว่าจริงๆสูตรทางใต้เขาไม่ต้องใส่ผง garam masala เพิ่มอีกค่ะ ใช้แค่ cardamom เป็นหลัก เพราะถ้าใส่มากเกินไปอาจจะปวดท้องได้ ส่วนมากเขานิยมใส่ตอนดื่มในหน้าหนาวหรือตอนเป็นหวัดค่ะ สูตรของพวกเราเลยใช้แค่ 1/2 ช้อนชาพอ ไม่มากไม่น้อยค่ะ
ยังไงลองเอาไปทำกันดูนะคะ ทำไม่ยากเลย ไม่ต้องถ่อเข้าไปหาร้านอาหารอินเดียถึงพาหุรัดก็สามารถมีการัมไจหอมๆไว้ดื่มได้อย่างง่ายๆ แค่ซื้อเครื่องเทศติดบ้านไว้เท่านั้นเอง ตอนหัดทำครั้งแรกอาจจะขลุกขลักหน่อย พอทำจนคล่องก็แค่ 6-7 นาทีก็เสร็จแล้วละค่ะ
มาทำชาอินเดีย garam chai หอมๆดื่มกันเถอะ
เอาละ เกริ่นกันมานานพอดูแล้ว ทีนี้มาดูสูตรของเราบ้างค่ะ เป็นสูตรที่เราได้มาจากแฟนเราเองนะ เขาเคยทำให้กินแล้วเราติดใจรสนี้ก็เลยยึดถือทำกินมาเรื่อยๆ แต่นี่เป็นครั้งแรกที่เราจะลองต้มด้วยตัวเองทั้งหมดค่ะ
1. black tea - ในส่วนของชาจะต้องเลือกที่เป็นชาดำล้วนๆ ไม่มีแต่งรสแต่งกลิ่นผลไม้อะไรผสมเลยนะคะ และต้องไม่ใช่เอิร์ลเกรย์ด้วยนะ ของเราได้แบรนด์ Just a Minute มาจาก Tops ค่ะ ตอนนี้เขาจัดโปรฯ buy 1 get 1 อยู่ในราคา 49 บาทเอง กล่องนึงมี 20 ซอง คุ้มอยู่นะ แต่ชาแบรนด์ที่แฟนเราและเพื่อนๆอินเดียของเราหลายคนแนะนำมากที่สุดก็จะมี Taj Mahal กับ Red Lable ค่ะ ทั้งสองแบรนด์นี้เป็นแบรนด์ลูกในเครือใหญ่เดียวกันแหละ เราเองไม่แน่ใจว่าต่างกันยังไงนะ เราเคยลองแต่ของ Red Lable แต่ Taj นี่ยังไม่เคย ก่อนหน้านี้เราใช้ black tea กล่องขาวของ Erawan ที่ได้มากับกระเช้าปีใหม่ มันเป็น breakfast ceylon อะค่ะ ก็ออกมาโอเคดี ไม่ได้ต่างกับ Red Lable กี่มากน้อย แต่แบรนด์ที่ไม่แนะนำอย่างยิ่งเลยก็คือ Lipton ค่ะ รสชาติวายป่วงสุดๆ
2. cardamom - ตัวนี้เรียกอีกอย่างว่ากระวานเทศค่ะ เป็นเครื่องเทศตัวสำคัญในการสร้างกลิ่นให้การัมไจเลยแหละ แต่ราคาจะค่อนข้างแพงอยู่สักหน่อยและไม่ได้หาซื้อได้ทั่วไป จะต้องไปหาตามร้านขายของอินเดียค่ะ เช่นที่พาหุรัดหรือร้านเป็งหลีที่ตลาดอโศก สำหรับร้านเป็งหลีนี้เพื่อนในกลุ่มวัฒนธรรมอินเดียเขาแนะนำเรามาค่ะ การเดินทางไม่ยาก ขึ้นจากใต้ดินหรือลงบีทีเอสมาให้เดินไปทางที่จะไป Terminal 21 พอสุดร้านพิซซ่าจะเจอกับตรอกเล็กๆ ที่หน้าตรอกจะมีป้ายว่าร้านกาแฟน้องอะไรสักอย่างอยู่ในซอยนี้ ให้เดินตรงเข้าไปเลยค่ะ จะเจอรถเข็นกาแฟอยู่ เดินเลี้ยวไปตามทาง keep ขวาไว้จนถึงตัวตลาดค่ะ แล้วก็จะเจอร้านเองละ เป็นคล้ายๆมินิมาร์ทติดแอร์น่ะค่ะ ขายเครื่องปรุงทั้งแบบไทยแบบอินเดียครบครันค่ะ เราซื้อ cardamom แบบถุงเล็กมาค่ะ 20 บาท ส่วนถุง 100 กรัมนี่ขายที่ 80 บาทค่ะ
3. cloves - หรือกานพลูนั่นเอง ไม่ใช่เครื่องเทศที่หาซื้อยากอะไร ในซูเปอร์ทั่วไปน่าจะมีกันหมด เราซื้อจากเป็งหลีเหมือนกัน ซองละ 20 ค่ะ กานพลูนี่ดีนะ ถ้าปวดฟันก็เอาไปคาบๆซุกๆไว้แถวซี่ที่ปวด จะหายปวดเลย ทำให้ปากหอมด้วยละ
4. garam masala - จริงๆก็เป็น mixed spices นี่ละค่ะ เขารวมเครื่องเทศไว้หลายอย่าง ทั้งพริกไทยดำ อบเชย ลูกผักชี ยี่หร่า ลูกจันทน์เทศ โป๊ยกั๊ก กานพลู เราซื้อมาแบบกล่องเล็กค่ะ 35 บาท ปริมาณ 100 กรัมก็ไม่น้อยนะคะ ใช้ทำอาหารได้ด้วยเหมือนกัน สามารถหาซื้อได้ที่ร้านชำอินเดียทั่วไปเลยค่ะ มีแน่นอนทุกร้าน เป็นของเบสิคที่ต้องมีขายเลยก็ว่าได้
5. นมจืด - ใช้นมของอะไรก็ได้ แต่ขอให้เป็นแบบไม่ต้องพร่องมันเนยนะคะ บางคนบอกว่าเมจิฝาทองหรือโฟร์ไมสท์รุ่นพรีเมียมเนี่ยดีที่สุด แต่เราชอบนมโชคชัยมากกว่าค่ะ ติดกินแบรนด์นี้มานานแล้วเลยไม่เปลี่ยน
6. น้ำตาล - ใช้น้ำตาลทรายเป็นหลักนะคะ จะเอาแบบฟอกหรือไม่ฟอกอันนี้แล้วแต่เลย แต่ไม่ควรใช้สารให้ความหวานแบบอื่นๆนะ รสที่ได้จะไม่เหมือนกันแน่นอนค่ะ เคยลองมาแล้ว
วิธีทำก็ไม่ยากไม่ง่ายค่ะ เริ่มต้นที่การเตรียมเครื่องเทศกันก่อนเลย สูตรที่เราทำนี้ใช้ cardamom 3 เม็ด กานพลู 5 เม็ด และผง garam masala 1/2 ช้อนชาค่ะ บุบเครื่องเทศให้พอแหลก มันจะได้ส่งกลิ่นหอมค่ะ จากนั้นต้มชากันต่อเลยด้วย น้ำ 3/4 ถ้วยค่ะ ใช้ถ้วยที่จะดื่มนั่นละตวงเอา ถ้าใครใช้ชาที่มาในถุงก็ให้ใช้ 2 ถุงและแกะถุงแล้วเทชาลงไปต้มเลย ถ้าใช้ชาแบบที่มาในขวดหรือซองแบบอื่นๆก็ให้กะเอาให้มันเท่ากับชา 2 ซองอะค่ะ ต้มไปจนถึงจุดที่สีชาเริ่มออกก็ใส่เครื่องเทศทั้งหมดลงไป น้ำตาลก็ใช้ 1-3 ช้อนชาแล้วแต่ความชอบนะคะ แต่ต้องใส่นะ ถ้าไม่ใส่เลยนี่รสจะแย่อยู่ค่ะ การต้มตรงนี้ต้มถึง 4 นาทีเป็นอย่างมาก จากนั้นตวงนม 1/2 ถ้วยเทลงไปเลยค่ะ คนให้มันเข้ากัน ถึงตรงนี้สีสันเริ่มสวยงามและส่งกลิ่นหอมแล้วละ เราก็ต้มไปจนเดือดพล่านเป็นฟองจนเกือบจะล้นเลยค่ะ แค่นี้จริงๆก็เสร็จแล้ว ปิดเตาได้เลย แต่ถ้าใครชอบแบบที่มีฝานมลอยบางๆอยู่ด้านบนพอต้มจนเดือดฟู่ก็ให้ลดไฟลงแล้วค่อยๆเพิ่มไฟใหม่จนเดือดฟู่แบบนั้นอีกสัก 2-4 รอบค่ะ ก็จะได้ฝานมลอยบางๆหน้าการัมไจสมใจเลยละ ปิดเตาแล้วก็ใช้ที่กรองชากรองเอาเศษชาและเครื่องเทศออกไปค่ะ ใช้ที่กรองแบบที่ซื้อจาก Daiso นี่ละ เป็นแบบที่มีด้ามจับนะ ตัวหัวกรองก็จะคล้ายกระชอนเล็กๆ ค่อนข้างพอดีกับปากแก้วอะค่ะ กรองเอาเศษทิ้งไป เหลือแค่ชาร้อนหอมๆไหลลงสู่แก้ว
ย้ำอีกทีว่าสูตรในการทำการัมไจมันแล้วแต่คนชอบนะคะ ต้องลองกินลองปรับหารสที่ใช่ที่ลงตัวไปเรื่อยๆ ถ้าลองทำตามสูตรเราแล้วอาจจะไม่ชอบก็ไม่ว่ากันค่ะ แต่การันตีว่าพอกินได้แน่นอนไม่ถึงกับต้องเททิ้ง ฮ่าๆ ถ้ายังไม่ถูกใจก็ลองเข้ายูทิวบ์ไปดูสูตรอื่นๆเพื่อปรับใช้ได้ค่ะ แฟนเราบอกว่าจริงๆสูตรทางใต้เขาไม่ต้องใส่ผง garam masala เพิ่มอีกค่ะ ใช้แค่ cardamom เป็นหลัก เพราะถ้าใส่มากเกินไปอาจจะปวดท้องได้ ส่วนมากเขานิยมใส่ตอนดื่มในหน้าหนาวหรือตอนเป็นหวัดค่ะ สูตรของพวกเราเลยใช้แค่ 1/2 ช้อนชาพอ ไม่มากไม่น้อยค่ะ
ยังไงลองเอาไปทำกันดูนะคะ ทำไม่ยากเลย ไม่ต้องถ่อเข้าไปหาร้านอาหารอินเดียถึงพาหุรัดก็สามารถมีการัมไจหอมๆไว้ดื่มได้อย่างง่ายๆ แค่ซื้อเครื่องเทศติดบ้านไว้เท่านั้นเอง ตอนหัดทำครั้งแรกอาจจะขลุกขลักหน่อย พอทำจนคล่องก็แค่ 6-7 นาทีก็เสร็จแล้วละค่ะ