💶💶💶---มองต้นเหตุวิกฤตกรีซ จากนโยบายรัฐ ผลที่อาจตามมาต่อการค้าและเศรษฐกิจไทย---💶💶💶



สาเหตุของวิกฤติเศรษฐกิจกรีซนั้น เริ่มมาจาก การขาดดุลภาครัฐของรัฐบาล โดยในปีพ.ศ. 2552 การขาดดุลการคลังของกรีซอยู่ที่ 12.7% ของ GDP ซึ่งสูงกว่าระดับที่เหมาะสมที่ทางกลุ่มสหภาพยุโรปกำหนดไว้ถึงประมาณ 4 เท่าตัว (เพดานของ The Stability and Growth Pact (SGP) โดยกลุ่มสหภาพยุโรปกำหนดไว้ที่ระดับไม่เกิน 3% ของ GDP)

การขาดดุลภาครัฐของรัฐบาลนั้นส่งผลให้หนี้ของภาครัฐของกรีซเพิ่มสูงขึ้นถึงกว่า 170% ของ GDP

เศรษฐกิจของกรีซมีความเปราะบางมาก ซึ่งปัญหาหลักเกิดจากการส่งออกไม่ได้ และการที่รัฐบาลใช้จ่ายเกินตัว

หลังจากที่กรีซใช้เงินยูโรเป็นเงินสกุลหลักของประเทศเมื่อ พ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นการเปิดประตูเข้าสู่ตลาดการเงินโลก ทำให้กรีซสามารถกู้ยืมเงินได้ง่ายขึ้น เพราะนักลงทุนมีความเชื่อมั่นในเงินยูโร โดยตั้งแต่กรีซได้เป็นสมาชิกยูโรโซน( เหมือนตอน bibf )รัฐบาลกรีซก็ใช้เงินอย่างสุรุ่ยสุร่าย ขึ้นเงินเดือนให้ข้าราชการสูงๆ มีโครงการต่างๆ มากมาย เพราะหาเงินได้ง่ายๆ ด้วยการก่อหนี้ ค่าใช้จ่ายภาครัฐจึงสูงมาก ในขณะที่ รายได้จากการเก็บภาษีนั้นไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

เกิดเหตุการณ์ค่าเงินยูโรแข็งค่าเกิดขึ้น ทำให้ความสามารถในการส่งออกลดลง แต่กรีซไม่สามารถทำอะไรกับค่าเงินได้ เพราะเป็นเงินสกุลร่วมที่ใช้ร่วมกัน 16 ชาติ อีกทั้งยังทำให้การดำเนินนโยบายการเงินการคลังของกรีซไม่คล่องตัวเท่าที่ควร จริงๆ แล้ว เมื่อเศรษฐกิจทรุดตัวลง ค่าเงินควรจะอ่อน แต่เมื่อผูกกับยูโรซึ่งแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์

ฐานะการคลังของประเทศซึ่งย่ำแย่ตั้งแต่ใช้เงินถึง 9,000 – 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในการเป็นเจ้าภาพจัดโอลิมปิกในปี 2547 และมีการขาดดุลงบประมาณ 3.2% ของจีดีพีมาตั้งแต่ปีนั้นยิ่งทำให้เศรษฐกิจกรีซทรุดตัวมากขึ้น

อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นอันเนื่องมาจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกในปี 2551 ทำให้รัฐบาลมีภาระจ่ายดอกเบี้ยมากขึ้นและเมื่อค่าเงินแข็งขึ้น การนำเข้าสินค้าของกรีซก็เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมในประเทศมีการแข่งขันอย่างดุเดือดขึ้น อีกทั้งกรีซมีรายได้จากการบริการเดินเรือและการท่องเที่ยวเป็นหลัก โดยมีแรงงานถึง 60% อยู่ในภาคบริการ เมื่อเศรษฐกิจโลกทรุดตัว การค้าโลกลดลงเป็นอย่างมาก ภาคการท่องเที่ยวและ อุตสาหกรรมเดินเรือจึงถูกกระทบ 

ย้อนวิกฤติกรีซ!สาเหตุหนึ่งเกิดจากทุ่มงบทหารเกินตัว-ใช้เงินแสนล้านซื้อเรือดำน้ำ

กรีซเริ่มเผชิญปัญหาความไม่มั่นคงทางการเงินมาตั้งแต่ช่วงปี 2010 แม้ว่าภาครัฐจะรู้ (หรือไม่รู้) ในเรื่องนี้ แต่ยังคงทุ่มงบจำนวนมากในการเสริมเขี้ยวเล็บให้กับกองทัพ ทั้งที่กรีซเป็นประเทศขนาดเล็กมีประชากรเพียง 11 ล้านคน แต่กลับเป็นประเทศที่นำเข้าอาวุธสงครามสูงที่สุดในแถบยุโรปหรือคิดเป็นอันดับ 5 ของโลก หากคิดเป็นสัดส่วน GDP จะพบว่ากรีซมีการใช้งบประมาณทางทหารเกือบสูงที่สุดในยุโรป


ขณะที่เมื่อปี 2010 กรีซซื้อเรือดำน้ำใหม่ 2 ลำจากเยอรมนีมูลค่า 1.3 พันล้านยูโร เรือรบขนาดใหญ่ 6 ลำและเฮลิคอปเตอร์ค้นหาและกู้ภัยอีก 15 ลำจากฝรั่งเศส รวมถึงเครื่องบินรบ F-16 อีกกว่า 20 ลำจากสหรัฐ ที่คิดเป็นมูลค่าสูงกว่า 1.5 พันล้านยูโร ซึ่งพูดได้ว่ากรีซเป็นประเทศที่มีรถถังมากถึง 1,300 คัน มากกว่าประเทศอังกฤษถึงสองเท่า
ด้านสำนักข่าวนิวยอร์กไทมส์รายงานว่า ในปีที่ผ่านมานั้นรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของกรีซทุ่มเงินกว่า 4 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.2แสนล้านบาท) ในการซื้อเรือดำน้ำที่ยังต่อไม่เสร็จ ถูกปล่อยทิ้งร้างไว้ในกรุงเอเธนส์

โดยสำนักข่าวบิซิเนสอินไซด์เดอร์เผยว่า สาเหตุที่รัฐบาลกรีซทุ่มงบประมาณมหาศาลให้กับกองทัพมากที่สุดแม้ประชาชนกำลังเผชิญกับความยากแค้น มาจากเหตุผล 3 ประการ 1. งบประมาณเหล่านั้นเป็นเงินเดือนให้กับบุคลากรกองทัพ 2. การเมืองระดับภูมิภาค 3. ความกดดันจากการเมืองภายในประเทศ ทั้งนี้ งบประมาณสำหรับกองทัพนั้นเป็นโครงการที่ถูกกล่าวหาว่ามีการคอร์รัปชั่นมากที่สุด

สรุปปัญหาของกรีซ รายได้และค่าใช้จ่าย
รายได้อันดับหนึ่งของประเทศ คือการท่องเที่ยว และการเดินเรือ
ขณะที่มีประชากรเพียง 11 ล้านคน แต่มีข้าราชการถึง 1 ล้านคน เท่ากับข้าราชการ 1 คนต่อประชากร 10 คน ถือเป็นสัดส่วนที่สูงมาก รายจ่ายประจำก็แทบไม่เหลืองบลงทุนเลย

- รายจ่ายภาครัฐอันดับหนึ่งคือเงินเดือนข้าราชการ และมีการขึ้นเรื่อยๆแถมด้วยโบนัส
- ค่าใช้จ่ายบำนาญ และสวัสดิการผู้ตกงาน
- การจัดซื้ออาวุธทางการทหารที่เกินตัว และคอรัปชั่นสูงมาก
- การจัด Olympic ที่สร้างหนี้อีกมหาศาล
- การใช้เงินยูโร ด้วยความไม่พร้อม ทำให้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและมีแต่กู้มาใช้จ่าย
- การหลบเลี่ยงภาษี tax evasion ( ขอบคุณ คุณผึ้งน้อยพเนจรครับ )

การใช้เงินยูโร ทำให้ Greece ไม่มีเสรีภาพในการกำหนดนโยบายค่าเงิน ถ้าเป็นเงินสกุลพื้นฐานเงินควรอ่อนค่าตามภาวะอ่อนแอของประเทศ สามารถช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยว และการค้าได้บ้าง

นโยบายการรัดเข็มขัดของ IMF กับการตัดลดงบประมาณที่ Greece สร้างหนี้ไว้ ไม่เป็นผลดีต่อนักการเมืองที่หวังผลเพียงคะแนนนิยม จริงๆ model Iceland
ที่ปลดหนี้และฟื้นตัวได้เร็ว. มาจากคำแนะนำนักเศรษฐศาสตร์ Nobel. และวินัยของประชาชน ก็ตวรมาปับใช้กับ greece ได้ แต่จะยอมกันไหม?
Timeline ไม่ว่าผลจะ yes or no

เจ้าหนี้ทั้งหลายของ Greece และจำนวนเงิน

มาดูรายงานการค้าการลงทุนไทย-อียู เดือนมกราคม – สิงหาคม 2557
Post on:02 ต.ค. 2557

            – สถิติการค้าระหว่างไทยและ 3 ประเทศสมาชิกอียูคู่ค้าหลักในช่วงเดือน ม.ค. – ส.ค. 57
            1. เยอรมนี: มูลค่าการค้า 5,493 ล้านยูโรส่งออก 2,348 ล้านยูโรนำเข้า 3,146 ล้านยูโรไทยขาดดุลการค้า 798 ล้านยูโร   
                        – สินค้าส่งออกหลัก 3 อันดับคือ 1) สินค้าอุตสาหกรรม 2) สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 3) สินค้าเกษตรกรรม
                        – สินค้านำเข้าหลัก 3 อันดับคือ 1) สินค้าทุน 2) สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 3) ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง
            2. อังกฤษ: มูลค่าการค้า 3,536 ล้านยูโร ส่งออก 2,100 ล้านยูโร นำเข้า 1,436 ล้านยูโร ไทยได้เปรียบดุลการค้า 664 ล้านยูโร           
                        – สินค้าส่งออกหลัก 3 อันดับคือ 1) สินค้าอุตสาหกรรม 2) สินค้าเกษตรกรรม 3) สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร
                        – สินค้านำเข้าหลัก 3 อันดับคือ 1) สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 2) สินค้าทุน 3) สินค้าอุปโภคบริโภค
            3. เนเธอร์แลนด์: มูลค่าการค้า 2,918 ล้านยูโร ส่งออก 2357 ล้านยูโรนำเข้า 557 ล้านยูโร ได้เปรียบดุลการค้า 1,803 ล้านยูโร
                        – สินค้าส่งออกหลัก 3 อันดับคือ 1) สินค้าอุตสาหกรรม 2) สินค้าเกษตรกรรม 3) สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร
                        – สินค้านำเข้าหลัก 3 อันดับคือ 1) สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 2สินค้าทุน 3) สินค้าอุปโภคบริโภค
การลงทุน (ปี 2556)
            การลงทุนโดยตรงจากอียูในปี 2556 มีมูลค่าลงทุนติดลบ 300 ล้านยูโรเมื่อเทียบกับปี 2555 ที่มีมูลค่าการลงทุน 1,496 ล้านยูโร โดยภาพรวมการลงทุนในปี 2556 ประเทศสมาชิกอียูที่มีเงินทุนไหลเข้าไทยมากที่สุด ได้แก่ สหราชอาณาจักร เยอรมนี อิตาลี และฝรั่งเศส ตามลำดับ นอกจากนี้ ในปี 2556 ปริมาณการลงทุนจาก อียูลดลงทั้งจำนวนโครงการและมูลค่าการลงทุนในขั้นการยื่นขอรับการส่งเสริม และลดลงในแง่ของจำนวนโครงการแต่เพิ่มขึ้นในแง่ของมูลค่าการลงทุนในขั้นอนุมัติส่งเสริมการลงทุน โดยปี 2556 ในขั้นได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน อียูเป็นผู้ลงทุนอันดับ 3 ของไทย ทั้งในแง่จำนวนโครงการและมูลค่าการลงทุน รองจากญี่ปุ่น และอาเซียน โดยเยอรมนีเป็นประเทศสมาชิกอียูที่เข้ามาลงทุนมากที่สุดในแง่จำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติคือ 28 โครงการ ในขณะที่เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศสมาชิกที่เข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุดในแง่มูลค่าการลงทุนคือ 807 ล้านยูโร
            การลงทุนส่วนใหญ่เป็นโครงการร่วมทุน และโครงการส่วนใหญ่เป็นโครงการขนาดเล็กมูลค่าต่ำกว่า 1.22 ล้านยูโรคิดเป็นอัตราร้อยละ 62 ของจำนวนโครงการทั้งหมดจากอียูที่ยื่นขอรับการส่งเสริม โดยสาขาการลงทุนส่วนใหญ่ที่อยู่ในสาขาบริการและสาธารณูปโภค (ซึ่งเป็นสาขาที่มีมูลค่าเงินลงทุนมากที่สุดด้วย) คิดเป็นอัตราร้อยละ 36 รองลงมาคือ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่อัตราร้อยละ 26 และอุตสาหกรรมผลิตโลหะที่อัตราร้อยละ 21
**********************
สนับสนุนข้อมูลโดย  สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์

 http://www2.thaieurope.net
credit : Wikipedia และ google  มติชน

แม้แต่เยอรมันในฐานะเจ้าหนี้รายใหญ่ของ Greece. ยังมีความเห็นต่างกันเรื่อง Greece  จะออกจากยูโรโซน แต่ผู้ว่าแบงค์ชาติเยอรมันมิงว่าจะเป็นหายนะต่อการคลังเยอรมันแน่นอนถ้าออกจากยูโรโซน และจริงๆ greece เองก็ไม่มีเงินจ่ายเงินเดือน ไม่มีทางจะเบี่ยวเฉยๆได้แน่
จากข้อมูลจะลองมาดูผลกระทบต่อการค้า ทางตรงและอ้อมกับไทยที่น่าจะได้รับ บรรดาเจ้าหนี้ Greece มูลค่าหลังถูกตัด gsp ก็ลดลงอยู่แล้ว ทางด้านจิตวิทยาคงหมดอารมณ์จับจ่ายแน่ๆ เพราะถูกลูกหนี้เบี้ยว จริงๆหลายบทวิเคราะห์ก็มองว่า Greece  ยังมีปัญญาใช้หนี้ ทั้งหมดได้ ดังนั้นจุดลงตัว. อาจมีการ hair cut. หนี้อีกรอบ หรือจะเห็นนบทโหดที่นำโดยเยอรมัน Greece. คงไม่สามารถ ชักดาบเฉยๆได้ ไม่งั้น โปรตุเกส สเปน อิตาลี และอื่นๆจะตามมาอีก

เดี๋ยวรอดูผลกระทบ หลักๆกับตลาดทุน ที่รับข่าวมาสักพักแล้ว แต่ที่น่ากลัวกว่า Greece ผมกลับมอง bubble ในจีนจะโหดกว่าเนี่ยสิ เศร้ากันหนัก
แนวรับจะไปอยู่ไหน ไม่สนใจมันมาพักใหญ่ แต่ดันมีแต่ข่าวร้าย เหนื่อยจริง
ภาคธุรกิจรายได้หดเรื่อยๆ. หุ้นก็ไม่เห็นทางลงจากดอยสักที
เม่าติดดอยเม่าติดดอยเม่าติดดอย
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ขอเสริมคุณพี่เอี้ยก้วยนิ๊โหน่ยนะฮะ ..

มีนาคม 2553 รัฐสภากรีซผ่านร่างรัฐบัญญัติคุ้มครองเศรษฐกิจ ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดรายจ่ายภาครัฐลงถึง 48,000 ล้านยูโร โดยการดำเนินมาตรการหลายอย่าง รวมทั้งการลดค่าจ้างภาคเอกชน เป็นเหตุให้ประชาชนนัดหยุดงานทั่วประเทศ ณ กรุงเอเธนส์เพื่อประท้วงต่อการลดค่าใช้จ่ายและการเพิ่มภาษี

ในเดือนพฤษภาคม 2553 ได้มีการบรรลุข้อตกลงกู้ยืมระหว่างกรีซ กับกลุ่มทรอยกา ซึ่งได้แก่ สหภาพยุโรป, กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และธนาคารกลางแห่งยุโรป (อีซีบี) ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวประกอบด้วยเงินกู้ทันที 45,000 ล้านยูโรที่จะได้รับในปี2553 และเงินกู้อื่น ๆ จะได้รับในภายหลัง ซึ่งคิดเป็นมูลค่าทั้งหมด 110,000 ล้านยูโร  โดยมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงถึง 5%

ในเดือนตุลาคม 2553 สำนักงานสถิติแห่งเฮเลนนิค (The Hellenic Statistical Authority-ELSTAT) ได้รายงานผลสำรวจว่า อัตราการว่างงานของกรีซ เพิ่มสูงขึ้นเป็น 13.5 นับว่าสูงสุดในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา

ในเดือนธันวาคม 2553 กรีซมีอัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นถึง 5.2% และมีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ 65.6% ลดลงจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ 67.3% โดยความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดน้อยลงเป็นผลมาจากเศรษฐกิจของกรีซที่ยังย่ำแย่และสภาพการเงินฝืดเคืองสะท้อนภาพอุปสงค์ภายในประเทศที่อ่อนกำลังลงได้ชัดเจน


กลางปี2554กรีซยังประสบปัญหาในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจถึงจะมีมาตรการรัดเข็มขัดและพยายามแปรรูปรัฐวิสาหกิจลดจำนวนข้าราชการเพิ่มภาษีแต่ก็ยังไม่สามารถระดมเงินได้ทันและคาดว่าจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ทันกำหนดส่งผลให้ธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆในยุโรปโดยเฉพาะในเยอรมนีและฝรั่งเศสซึ่งถือพันธบัตรหรือตราสารหนี้ของกรีซเป็นมูลค่าสูงได้รับผลกระทบตามไปด้วย


กุมภาพันธ์ 2555 จากผลกระทบต่อประเทศในยูโรโซนดังกล่าว รัฐบาลกรีซจึงได้รับการอนุมัติเงินช่วยเหลือระยะสองมูลค่า 130,000 ล้านยูโร จากมติของที่ประชุมของยูโรกรุ๊ป ซึ่งจำนวนเงินส่วนหนึ่งจะเข้าสู่สถาบันการเงินกรีซไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นล้านยูโร และการปรับลดหนี้ของภาคเอกชนลงร้อยละ 53.5 ด้วยการลดอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้และออกตราสารใหม่เพิ่มเติม ที่จะมีผลให้หนี้สินภาคเอกชนลดลงประมาณ 110 ล้านยูโร จากเดิม 206 ล้านยูโร  โดยครั้งนี้รัฐบาลของประเทศสมาชิกอียู พยายามดึงธนาคารและสถาบันการเงินเอกชนเข้ามาร่วมรับภาระด้วยและกำหนดให้รัฐบาลกรีซต้องดำเนินนโยบายรัดเข็มขัดด้านการเงินและการคลังอย่างจริงจัง

ธันวาคม2555กรีซเสนอร่างกฎหมายจัดเก็บภาษีเพิ่มอีก2,500ล้านยูโร(ราว100,000ล้านบาท)ระหว่างปี2556-2557ภายใต้เงื่อนไขรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ โดยร่างกฎหมายจัดเก็บภาษีเพิ่มเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการตัดลดค่าใช้จ่าย มูลค่า 13,500 ล้านยูโร (ราว 540,000 ล้านบาท) เป็นเวลา 2 ปี เพื่อให้สามารถรับความช่วยเหลืองวดใหม่จากสหภาพยุโรป (อียู)และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)

โดยธนาคารกลางกรีซ ประเมินว่า การลดค่าใช้จ่ายและขึ้นภาษีจะทำให้เศรษฐกิจกรีซปีหน้าถดถอยเป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน เศรษฐกิจจะหดตัวรวมร้อยละ 24 โดยกรีซจะต้องดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อให้ได้เงินกู้ก้อนใหม่ 14,700 ล้านยูโร (ราว 588,000 ล้านบาท) ภายในสิ้นเดือนมีนาคม (2556) เพื่อเลี่ยงการประสบภาวะล้มละลาย


กรกฎาคม 2556 เจ้าหนี้กลุ่มทรอยกาที่ประกอบไปด้วย คณะกรรมาธิการยุโรป ธนาคารกลางยุโรป และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่า การกอบกู้เศรษฐกิจของกรีซดำเนินไปอย่างเชื่องช้าเกินไป และไม่มีความแน่นอน

โดยในการประชุมของกลุ่มรัฐมนตรีคลังยูโรโซน ที่กรุงบรัสเซลล์ มีข้อตกลงการมอบเงินช่วยเหลือกรีซจำนวน 2,500ล้านยูโร จากกองทุนช่วยเหลือยูโรโซน กับอีก 1,500 ล้านยูโรจากธนาคารกลางยุโรป จากนั้นภายในเดือนตุลาคม(ปีเดียวกัน)จะมีการโอนเงินเพิ่มเติมอีก 500 ล้านยูโรจากกองทุนช่วยเหลือและอีก 500 ล้านยูโรเท่ากันจากธนาคารกลางยุโรป ส่วนไอเอ็มเอฟ จะมอบเงินกู้งวดแรก 1,800 ล้านยูโร จากทั้งหมด 6,800 ล้านยูโร

โดยในขณะนั้น มีเจ้าหน้าที่รัฐหลายพันคนรวมตัวชุมนุมประท้วงแผนการปรับลดเจ้าหน้าที่รัฐ ตามเงื่อนไขเงินกู้ของทรอยกา เนื่องจากเห็นว่ากรีซมีอัตราว่างงานมากเกือบร้อยละ 30 และมาตรการรัดเข็มขัดโดยการปลดเจ้าหน้าที่รัฐจะเป็นการซ้ำเติมปัญหาและทำให้คนยากจนลงไปกว่าเดิม

ต่อมากรีซได้สั่งปิดสถานีโทรทัศน์"เฮเลนิคบรอดแคสติ้งคอร์ปอเรชั่น"หรือERTเพื่อให้สอดคล้องกับข้อตกลงที่ได้ทำไว้กับสหภาพยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศในการตัดลดงบประมาณอย่างการปิดรัฐวิสาหกิจโดยการปิดสถานีโทรทัศน์ดังกล่าวได้สร้างความประหลาดใจให้กับชาวกรีซซึ่งสถานีโทรทัศน์7 แห่ง สถานีวิทยุ 29 แห่ง รวมไปถึงหน้าเว็บไซต์อีกหลายเว็บถูกปิดตัวลง รวมไปถึงลูกจ้างอีก 2,650 คนถูกไล่ออกจากงาน ซึ่งนายแอนโตนิส ซามาราส นายกฯของกรีซ(ในขณะนั้น) กล่าวว่า การปิดสถานีโทรทัศน์ ERT ของรัฐนั้นเป็นแค่การปิดชั่วคราว เพื่อเห็นแก่ผลประโยชน์ของส่วนรวม



ปี 2557 ภายใต้เงื่อนไขของการรับความช่วยเหลือทางการเงินจากนานาชาติ กรีซต้องจัดทำงบประมาณเกินดุลให้ได้ถึง 4.5 เปอร์เซ็นต์ ของจีดีพีในปี 2559 ซึ่งรัฐบาลกรีซในขณะนั้นบอกว่าจะสามารถทำได้ตามเป้าหมายดังกล่าวโดยไม่ต้องใช้มาตรการรัดเข็มขัดที่ไม่ได้รับความนิยมมากไปกว่านี้แต่หวังว่าจะหันมาอาศัยความช่วยเหลือจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและระบบการจัดเก็บภาษีที่ดีขึ้น

ด้านทรอยกายืนยันว่ากรีซจะต้องตัดลดงบประมาณรายจ่ายเพิ่มอีกเนื่องจากพวกเขากังขาว่าความแข็งแกร่งของระดับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการปราบปรามบรรดาผู้ที่หลบเลี่ยงภาษีอย่างเอาจริงเอาจังคงไม่สามารถฟื้นฟูสถานะทางการเงินของกรีซได้มากเพียงพอ

นอกจากนี้กรีซและบรรดาเจ้าหนี้นานาชาติยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในประเด็นสำคัญๆอีกหลายเรื่องซึ่งรวมถึงการจัดทำงบประมาณของปี2557ยุทธศาสตร์ทางการคลังระยะกลางระหว่างปี2557-2560และกฎการเก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์ใหม่  ทั้งนี้ รัฐบาลกรีซต้องชำระหนี้พันธบัตรมูลค่า 1,850 ล้านยูโร (ราว 79,000 ล้านบาท) ภายในต้นเดือนมกราคมปี2558



มกราคม 2558 นายอเล็กซิส ซิปราส ผู้นำพรรคไซรีซา ได้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของกรีซ โดยนายซิปราสได้เป็นผู้นำพรรครัฐบาลผสมหลังคว้าชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไปของกรีซ

โดยก่อนหน้านี้ พรรคไซริซา ได้ชูนโยบายหาเสียงว่าจะต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัด ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ชาวกรีกต้องแบกรับ แลกกับแพ็กเกจเงินกู้ช่วยเหลือจากนานาชาติ  อาจทำให้เกิดความขัดแย้งในอนาคตระหว่างกรีซกับกลุ่มเจ้าหนี้ จนนำไปสู่การแยกตัวจากยูโรโซนได้  

ทั้งนี้ ในอดีตระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งปี 2555 นายซีปราสเคยโจมตีพรรครัฐบาลขณะนั้นอย่างรุนแรงที่ยอมดำเนินมาตรการรัดเข็มขัดตามใบสั่งจากเจ้าหนี้ และการได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดทำให้เขาเป็นที่กล่าวขวัญไปทั่วโลก  ว่าเป็นนายกฯกรีซที่กล้างัดข้อกับกับไอเอ็มเอฟ และสหภาพยุโรป

ความกังวลเรื่องกรีซจะออกจากยูโรโซน ที่เริ่มซาลงหลังจากรัฐบาลกรีซชุดใหม่สัญญาว่าจะไม่ยกเลิกหนี้ครึ่งหนึ่งตามที่เคยลั่นวาจาไว้ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งได้กลับมาเป็นประเด็นถกเถียงกันในยุโรปอีกครั้งหลังจากนายอลันกรีนสแปนอดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด ออกมาทำนายว่ากรีซจะต้องออกจากยูโรโซนอย่างแน่นอน มิเช่นนั้นก็จะไม่สามารถหลุดพ้นจากวิกฤตหนี้ได้ ทำให้ทั่วโลกหันกลับมาหวั่นวิตกกับวิกฤตยูโรโซน และเริ่มการประเมินความเสี่ยงอย่างจริงจังอีกครั้งว่าหากกรีซต้องหลุดจากกลุ่มประเทศผู้ใช้เงินสกุลยูโรจริงๆจะเกิดอะไรขึ้นกับกรีซและยุโรป

ทั้งนี้โดยเมื่อปีที่เเล้วนายอันโตนิสซามาราส อดีตนายกรัฐมนตรีผู้เป็นฝ่ายโปรยุโรป เคยกล่าวไว้ว่าหากกรีซออกจากยูโรโซน คุณภาพชีวิตของชาวกรีกจะตกต่ำลงถึงร้อยละ 80 ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ กิจการต่างๆจะล้มละลาย และธนาคารจะต้องอายัดบัญชีเงินฝากของประชาชนเพื่อไม่ให้แบงก์ล้ม ขณะที่ราคาสินค้านำเข้าจากยุโรปจะแพงขึ้น 2-4 เท่า เนื่องจากสกุลเงินของกรีซจะอ่อนค่าจนไม่ต่างจากกระดาษ แม้แต่ธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งน่าจะได้รับประโยชน์จากการที่ค่าเงินกรีซอ่อน ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติจับจ่ายใช้สอยได้คล่องมือขึ้น ก็อาจได้รับผลกระทบจากความวุ่นวายทางการเมืองที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจที่หนักหนาสาหัส


กุมภาพันธ์2558 มีการประชุมระหว่างรัฐมนตรีคลังของกรีซกับประเทศยูโรโซน  เพื่อหาทางออกเกี่ยวกับการแก้ไขวิกฤติ หนี้ของกรีซ  ซึ่งในการประชุมดังกล่าวได้ปิดฉากลงในเวลาอันรวดเร็วโดยไร้ความคืบหน้า ด้วยท่าทีที่แข็งกร้าวของทั้งสองฝ่าย

เดือนมีนาคม 2558 ทางการสหภาพยุโรปได้เปิดการหารือกับนายอเล็กซิส ซีปราส นายกรัฐมนตรีกรีซ เกี่ยวกับการจัดการปัญหาหนี้ของกรีซ โดยสมาชิกอียูหลายประเทศ รวมทั้งเยอรมนียืนกรานหนักแน่นว่ากรีซจะต้องทำตามเงื่อนไขของอียูอย่างเคร่งครัด โดยอียูได้ตัดสินใจขยายเวลาเงินกู้มูลค่า 240,000 ล้านยูโรให้กับกรีซ ซึ่งยอมยืดกำหนดเวลาชำระหนี้ของกรีซออกไปอีก 4 เดือน ด้านรัฐบาลกรีซอ้างว่า เป็นเงื่อนไขของฝ่ายอียูในการเข้ามาตรวจสอบการบริหารเงินกู้ของกรีซนั้นอยู่เหนือบทบาทของการเข้ามาตรวจสอบข้อเท็จจริงและเหล่าเจ้าหนี้พยายามเข้าแทรกแซงการเมืองกรีซ

เดือนพฤษภาคม2558 กรีซกับเจ้าหนี้ทั้ง3ฝ่าย ซึ่งรวมถึงธนาคารกลางยุโรปและIMFยังไม่สามารถตกลงกันได้เรื่องเงินกู้มูลค่า7,200 ล้านยูโรกันได้ ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายของแพ็กเกจเงินช่วยเหลือ 240,000 ล้านยูโร โดยเจ้าหนี้ปฏิเสธที่จะอนุมัติเงินก้อนดังกล่าว

ด้านผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนชาวกรีก พบว่า 3 ใน 4 ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของยูโรโซนต่อไป และเกินครึ่งต้องการให้รัฐบาลบรรลุข้อตกลงกับเจ้าหนี้ แม้ว่าจะหมายถึงการต้องแบกรับการรัดเข็มขัดที่หนักขึ้น ดังนั้นหากนายซีปราส นายกฯไม่สามารถตกลงกับเจ้าหนี้ได้ย่อมส่งผลต่อคะแนนเสียง

27 มิถุนายน 2558  นายกรัฐมนตรีอเล็กซิส ซีปราส ประกาศใช้มาตรการลงประชามติซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 5 ก.ค นี้ เพื่อพิจารณาว่า กรีซควรรับข้อเสนอให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อกู้วิกฤตหนี้หรือไม่ ซึ่งกลุ่มเจ้าหนี้ทั้งสหภาพยุโรปและธนาคารกลางยุโรป ระบุในที่ประชุมสุดยอดผู้นำอียูในเบลเยี่ยมว่าจะยืดเวลาช่วยเหลือไปอีก 5 เดือนเเละหากว่ากรีซทำตามเเผนปฎิรูปการเงิน  กลุ่มเจ้าหนี้ก็พร้อมที่จะอนุมัติเงินกู้ช่วยเหลือราว 68,000 ล้านบาทให้ในทันทีรวมถึงจะพิจารณาอนุมัติเงินกู้งวดสุดท้ายอีก 270,000 ล้านบาท จากงบประมาณช่วยเหลือทั้งสิ้น 9 ล้านล้านบาท

ด้านนายซีปราส ยืนกรานว่า ข้อเสนอดังกล่าวสร้างความอับอายให้กรีซเเละได้ประณามข้อเรียกร้องของกลุ่มเจ้าหนี้ว่ามากเกินกว่าจะรับได้ เเละนายกฯกรีซยังยืนยันไม่ทำตามข้อเสนอ เเม้จะต้องชำระหนี้กว่า 56,000 ล้านบาทภายในวันที่ 30 มิ.ย.นี้ก็ตาม

28 มิถุนายน 2558  ชาวกรีกทั่วประเทศ แห่พากันไปถอนเงินจากตู้เอทีเอ็มของธนาคาร ด้วยความตื่นตระหนกและกังวล เนื่องจากนายกฯกรีซประกาศชัดเจนว่า รัฐสภามีมติเห็นชอบให้มีการลงประชามติ เกี่ยวกับโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กรีซยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกับบรรดาเจ้าหนี้ได้ โดยนายสตาฟรอส โคคอส ประธานสหภาพพนักงานธนาคาร เผยว่า ตั้งแต่วันเสาร์ที่ผ่านมา(27 มิ.ย.) มีเงินสดถูกถอนออกไปราว 1,300 ล้านยูโร หรือประมาณ 48,954 ล้านบาท  ซึ่งมีเพียง 40% เท่านั้นที่ยังมีเงินสดเหลืออยู่ในตู้เอทีเอ็ม
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
เศรษฐกิจของกรีซมีความเปราะบางมาก ซึ่งปัญหาหลักเกิดจากการส่งออกไม่ได้ และการที่รัฐบาลใช้จ่ายเกินตัว

คุ้นๆ นะครับ อิอิ เหมือนแถวนี้ๆ ตอนนี้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่