ในความคิดเห็นส่วนตัว คิดว่าการที่คนเราปลูกฝังวัฒนธรรมและความเชื่อกันมาตั้งแต่เกิด เป็นการบ่มเพาะจิตใต้สำนึกให้เราทำตามในสิ่งที่คนรุ่นก่อนๆ คิดว่าดี โดยไม่ต้องคิดว่าเพราะอะไร แต่ให้ทำตามไปก่อน ดังนั้นคำกล่าวที่ว่า วัฒนธรรมและความเชื่อเป็นสิ่งที่ต้องคู่กับความจริงเสมอ ถึงไม่ถูกเสมอไป เพราะในกรณีที่ผู้กระทำยังไม่รู้ความจริง ก็จะไม่สามารถตัดสินได้ว่าอะไรควรทำหรือไม่ควรทำ ถ้าไม่มีวัฒนธรรมและความเชื่อมาประกอบการคิด ยกตัวอย่างเช่น เราอาจจะถูกสอนมาตอนเด็กว่าเป็นเด็กนักเรียนให้แต่งตัวถูกระเบียบตามกฏของโรงเรียน เราก็ทำตามกันไป แต่พอโตขึ้นมาก็คิดได้ว่านั่นเป็นกุศโลบายให้เรารู้จักทำตามกฏเกณฑ์เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยเมื่ออยู่ในสังคมหมู่มาก (ซึ่งกฏบางอย่างเราอาจจะไม่เห็นด้วยก็ได้)
แต่ไม่ได้บอกว่าให้เชื่ออย่างไร้เหตุผล เมื่อคนเรามีความรู้และวิจารณญาณที่เพียงพอก็จะสามารถคิดได้ว่าวัฒนธรรมและความเชื่อนั้นควรทำหรือไม่ เพราะอะไร และสิ่งที่คนรุ่นก่อนๆ คิดว่าดีนั้น ตอนนี้อาจจะไม่ดีแล้วก็ได้ อย่างไรก็ตามการคิดนั้นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง เป็นเหตุเป็นผล และมีมนุษยธรรม
คนเราบางทีก็อาจจะตึงหรือหย่อนเกินไป พอบอกให้เชื่อก็งมงายไม่รู้จักคิด พอบอกว่าให้คิดนอกกรอบก็คิดฟุ้งจนไม่พอดี ถ้านำหลักธรรมะมาคิดด้วยก็อาจจะช่วยได้ เพราะพุทธศาสนาสอนให้คนเข้าใจสรรพสิ่งตามหลักความจริง (ส่วนถ้าอยากรู้ว่าพระพุทธเจ้ามีจริงหรือไม่ ก็คงต้องลองหาความจริงเอาเอง ^.^)
วัฒนธรรมและความเชื่อเป็นสิ่งที่ต้องคู่กับความจริงเสมอ จริงหรือ?
ในความคิดเห็นส่วนตัว คิดว่าการที่คนเราปลูกฝังวัฒนธรรมและความเชื่อกันมาตั้งแต่เกิด เป็นการบ่มเพาะจิตใต้สำนึกให้เราทำตามในสิ่งที่คนรุ่นก่อนๆ คิดว่าดี โดยไม่ต้องคิดว่าเพราะอะไร แต่ให้ทำตามไปก่อน ดังนั้นคำกล่าวที่ว่า วัฒนธรรมและความเชื่อเป็นสิ่งที่ต้องคู่กับความจริงเสมอ ถึงไม่ถูกเสมอไป เพราะในกรณีที่ผู้กระทำยังไม่รู้ความจริง ก็จะไม่สามารถตัดสินได้ว่าอะไรควรทำหรือไม่ควรทำ ถ้าไม่มีวัฒนธรรมและความเชื่อมาประกอบการคิด ยกตัวอย่างเช่น เราอาจจะถูกสอนมาตอนเด็กว่าเป็นเด็กนักเรียนให้แต่งตัวถูกระเบียบตามกฏของโรงเรียน เราก็ทำตามกันไป แต่พอโตขึ้นมาก็คิดได้ว่านั่นเป็นกุศโลบายให้เรารู้จักทำตามกฏเกณฑ์เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยเมื่ออยู่ในสังคมหมู่มาก (ซึ่งกฏบางอย่างเราอาจจะไม่เห็นด้วยก็ได้)
แต่ไม่ได้บอกว่าให้เชื่ออย่างไร้เหตุผล เมื่อคนเรามีความรู้และวิจารณญาณที่เพียงพอก็จะสามารถคิดได้ว่าวัฒนธรรมและความเชื่อนั้นควรทำหรือไม่ เพราะอะไร และสิ่งที่คนรุ่นก่อนๆ คิดว่าดีนั้น ตอนนี้อาจจะไม่ดีแล้วก็ได้ อย่างไรก็ตามการคิดนั้นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง เป็นเหตุเป็นผล และมีมนุษยธรรม
คนเราบางทีก็อาจจะตึงหรือหย่อนเกินไป พอบอกให้เชื่อก็งมงายไม่รู้จักคิด พอบอกว่าให้คิดนอกกรอบก็คิดฟุ้งจนไม่พอดี ถ้านำหลักธรรมะมาคิดด้วยก็อาจจะช่วยได้ เพราะพุทธศาสนาสอนให้คนเข้าใจสรรพสิ่งตามหลักความจริง (ส่วนถ้าอยากรู้ว่าพระพุทธเจ้ามีจริงหรือไม่ ก็คงต้องลองหาความจริงเอาเอง ^.^)