✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋ พระศาสดาตรัสวิธีสงัดจาก กามจากอกุศลธรรม ✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอนุรุทธะว่า
ดีแล้วๆ อนุรุทธะ
ถูกละ ที่เธอตรึกมหาปุริสวิตกว่า
ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อยมิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก
ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ
ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน
ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม
ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง
ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม
ดูกรอนุรุทธะ ! ถ้าอย่างนั้น เธอจงตรึกมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ นี้ว่า
ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า
ผู้ยินดีในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า
ดูกรอนุรุทธะ ! ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้
ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ
ปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึก
มหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักบรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตก
วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก
๘ ประการนี้ ในการนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ในกาลใดแล เธอ
จักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักบรรลุ
จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ
ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก
๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้มีปรกติได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่ง
ฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของ
บุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก เราอาศัย
อะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความปรารถนา
น้อยย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีความปรารถนาน้อย เป็นผู้
สันโดษย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้สันโดษ เป็นผู้สงัด
ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้สงัด เป็นผู้ปรารภความเพียร
ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า ปรารภความเพียร เป็นผู้มีสติ
ตั้งมั่นย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีสติตั้งมั่น เป็นผู้มีจิตมั่นคง
ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้มีจิตมั่นคง เป็นผู้มีปัญญา
ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีปัญญา เป็นผู้ชอบใจในธรรมที่
ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้าย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้ชอบใจ
ในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของ
บุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ดังนี้ เรา
อาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่
ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช
บริขาร ตามมีตามได้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้
สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของ
บุคคลผู้ชอบใจการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา
เดียรถีย์ และสาวกแห่งเดียรถีย์ เข้าไปหาภิกษุนั้น ภิกษุมีจิตน้อมไป โอนไป
เงื้อมไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดีในเนกขัมมะ ย่อมกล่าวกถาอันปฏิสังยุต
ด้วยถ้อยคำตามสมควร ในสมาคมนั้นโดยแท้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ธรรมนี้ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ดังนี้
เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร
มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อม
แห่งกุศลธรรม มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ข้อที่
เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของ
บุคคลผู้เกียจคร้าน ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น
มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง ระลึกนึกถึง
กิจที่ทำคำที่พูดแม้นานได้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคล
ผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง
มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง ดังนี้
เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่
ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาความเกิดและ
ความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ข้อที่เรากล่าวว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม
ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรม
ที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคล
ผู้ชอบใจในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า เรา
อาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแล่นไป
เลื่อมใส ตั้งมั่นอยู่ในความดับกิเลสเป็นเครื่องเนิ่นช้า ย่อมหลุดพ้น ข้อที่เรา
กล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้
เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรม
ที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้
กล่าวแล้ว ฯ
เปิดธรรมที่ถูกปิด ✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋ พระศาสดาตรัสวิธีสงัด จาก กาม จาก อกุศลธรรม ✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอนุรุทธะว่า
ดีแล้วๆ อนุรุทธะ
ถูกละ ที่เธอตรึกมหาปุริสวิตกว่า
ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อยมิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก
ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ
ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน
ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม
ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง
ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม
ดูกรอนุรุทธะ ! ถ้าอย่างนั้น เธอจงตรึกมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ นี้ว่า
ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า
ผู้ยินดีในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า
ดูกรอนุรุทธะ ! ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้
ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ
ปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึก
มหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักบรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตก
วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก
๘ ประการนี้ ในการนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ในกาลใดแล เธอ
จักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักบรรลุ
จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ
ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก
๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้มีปรกติได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่ง
ฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของ
บุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก เราอาศัย
อะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความปรารถนา
น้อยย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีความปรารถนาน้อย เป็นผู้
สันโดษย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้สันโดษ เป็นผู้สงัด
ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้สงัด เป็นผู้ปรารภความเพียร
ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า ปรารภความเพียร เป็นผู้มีสติ
ตั้งมั่นย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีสติตั้งมั่น เป็นผู้มีจิตมั่นคง
ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้มีจิตมั่นคง เป็นผู้มีปัญญา
ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีปัญญา เป็นผู้ชอบใจในธรรมที่
ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้าย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้ชอบใจ
ในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของ
บุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ดังนี้ เรา
อาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่
ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช
บริขาร ตามมีตามได้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้
สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของ
บุคคลผู้ชอบใจการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา
เดียรถีย์ และสาวกแห่งเดียรถีย์ เข้าไปหาภิกษุนั้น ภิกษุมีจิตน้อมไป โอนไป
เงื้อมไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดีในเนกขัมมะ ย่อมกล่าวกถาอันปฏิสังยุต
ด้วยถ้อยคำตามสมควร ในสมาคมนั้นโดยแท้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ธรรมนี้ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ดังนี้
เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร
มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อม
แห่งกุศลธรรม มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ข้อที่
เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของ
บุคคลผู้เกียจคร้าน ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น
มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง ระลึกนึกถึง
กิจที่ทำคำที่พูดแม้นานได้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคล
ผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง
มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง ดังนี้
เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่
ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาความเกิดและ
ความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ข้อที่เรากล่าวว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม
ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรม
ที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคล
ผู้ชอบใจในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า เรา
อาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแล่นไป
เลื่อมใส ตั้งมั่นอยู่ในความดับกิเลสเป็นเครื่องเนิ่นช้า ย่อมหลุดพ้น ข้อที่เรา
กล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้
เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรม
ที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้
กล่าวแล้ว ฯ