หน้าแรก
คอมมูนิตี้
ห้อง
แท็ก
คลับ
ห้อง
แก้ไขปักหมุด
ดูทั้งหมด
เกิดข้อผิดพลาดบางอย่าง
ลองใหม่
แท็ก
แก้ไขปักหมุด
ดูเพิ่มเติม
เกิดข้อผิดพลาดบางอย่าง
ลองใหม่
{room_name}
{name}
{description}
กิจกรรม
แลกพอยต์
อื่นๆ
ตั้งกระทู้
เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก
เว็บไซต์ในเครือ
Bloggang
Pantown
PantipMarket
Maggang
ติดตามพันทิป
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้
เกี่ยวกับเรา
กฎ กติกา และมารยาท
คำแนะนำการโพสต์แสดงความเห็น
นโยบายเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล
สิทธิ์การใช้งานของสมาชิก
ติดต่อทีมงาน Pantip
ติดต่อลงโฆษณา
ร่วมงานกับ Pantip
Download App Pantip
Pantip Certified Developer
ม ห า ปุ ริ ส วิ ต ก ๘
กระทู้คำถาม
มหาสติปัฏฐาน 4
พระไตรปิฎก
ปฏิบัติธรรม
ศาสนาพุทธ
วิปัสสนากรรมฐาน
(๑)
ธรรมนี้เป็นธรรม
... ของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ๑
ดูกร ภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
มีความปรารถนาน้อย
ย่อม
ไม่ปรารถนา
ว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีความปรารถนาน้อย
เป็นผู้
สันโดษ
ย่อม
ไม่ปรารถนา
ว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้สันโดษ
เป็นผู้
สงัด
ย่อม
ไม่ปรารถนา
ว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้สงัด
เป็นผู้
ปรารภความเพียร
ย่อม
ไม่ปรารถนา
ว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า ปรารภความเพียร
เป็นผู้
มีสติตั้งมั่น
ย่อม
ไม่ปรารถนา
ว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีสติตั้งมั่น
เป็นผู้
มีจิตมั่นคง
ย่อม
ไม่ปรารถนา
ว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้มีจิตมั่นคง
เป็นผู้
มีปัญญา
ย่อม
ไม่ปรารถนา
ว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีปัญญา
เป็นผู้
ชอบใจในธรรมที่ ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ย่อม
ไม่ปรารถนา
ว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
______________________________________________________________________________________________
(๒)
... ของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ๑
ดูกรภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรม วินัยนี้
เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช บริขาร ตามมีตามได้
______________________________________________________________________________________________
(๓)
... ของบุคคลผู้สงบสงัด มิใช่ของบุคคลผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ ๑
ดูกรภิกษุ ท.! พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา
เดียรถีย์ และสาวกแห่งเดียรถีย์ เข้าไปหาภิกษุนั้น
ภิกษุมีจิตน้อมไป โอนไป เงื้อมไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดีในเนกขัมมะ
ย่อมกล่าวกถาอันปฏิสังยุต ด้วยถ้อยคำตามสมควร ในสมาคมนั้นโดยแท้
______________________________________________________________________________________________
(๔)
... ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน ๑
ดูกรภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปรารภความเพียร
เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม
มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
______________________________________________________________________________________________
(๕)
... ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม ๑
ดูกรภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง
ระลึกนึกถึงกิจที่ทำคำที่พูดแม้นานได้
______________________________________________________________________________________________
(๖)
... ของบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ๑
ดูกรภิกษุ ท.! ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้
เพราะสงัดจากกามอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงเข้าถึง
ปฐมฌาน
,
อันประกอบด้วยวิตกวิจาร,มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่;
เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลงจึงเข้าถึง
ทุติยฌาน
, เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน
ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่
อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา, มีสติและสัมปชัญญะ, และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย,
ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า“เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปรกติสุข” ดังนี้เธอย่อม เข้าถึง
ตติยฌาน
แล้วแลอยู่;
เพราะละสุขเสียได้, เพราะละทุกข์เสียได้, เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน,
เธอย่อมเข้าถึง
จตุตฌาน
, ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข, มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่
______________________________________________________________________________________________
(๗)
... ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม ๑
ดูกรภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่อง
พิจารณาความเกิดและความดับ
เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
______________________________________________________________________________________________
(๘)
... ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า
มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า ๑
ดูกรภิกษุท. ! จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแล่นไปเลื่อมใส ตั้งมั่นอยู่ในความดับกิเลสเป็นเครื่องเนิ่นช้า ย่อมหลุดพ้น
______________________________________________________________________________________________
" ผล ของ มหา ปุริส วิตก ๘ "
https://ppantip.com/topic/38877047
ปรับปรุงจากกะทู้เดิม : " ม ห า ปุ ริ ส วิ ต ก ๘ "
https://ppantip.com/topic/38254833
แก้ไขข้อความเมื่อ
▼
กำลังโหลดข้อมูล...
▼
แสดงความคิดเห็น
กระทู้ที่คุณอาจสนใจ
เมื่อเห็นอย่างนี้เป็นพาลธรรม แล้วอริยธรรมเป็นไฉน
พาลธรรม พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่ออัตตามีอยู่ บริขารที่เนื่อง ด้วยอัตตามีก็พึงมีว่า ของเรา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า: ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อบริขารเนื่องอัตตามีอยู่ อัตตา
สมาชิกหมายเลข 8486991
มรณสติในพระไตรปิฎก/ ธรรมธาตุ Daddy
☠️ มรณะสติ ☠️ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ที่พักก่อด้วยอิฐชื่อ นาทิกะ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า 🌚ดูกรภิกษุทั้งหลาย มรณสติอันบ
บ้านต้นคูน
อานาปานสติอย่างอาชาไนย ด้วยพุทธวจน จิตของเธอ น้อมไป เอนไป เงื้อมไปในวิเวกสิ้นกาลนาน
พุทธวจน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ในกาลใด ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดและ ความดับสูญแห่งทุกขธรรมทั้งปวง ตามความเป็นจริง ก็ในกาลนั้นแล ภิกษุนั้น เป็นผู้เห็นกาม เมื่อเธอเห็นกามแล้ว ความพอใจ ความเสน่หา ความหม
aunemaek2
ยุคสมัยนี้!พวกอลัชชีขี้อวดเป็นพระอริยะบุคคลจนถึงพระอรหันต์เต็มบ้านเต็มเมือง อย่างไร้คุณสมบัติ
คุณสมบัติ ๕ ข้อแรกของพระอริยะบุคคล #สากัจฉสูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประกา
สมาชิกหมายเลข 7840764
สิ่งที่พระพุทธเจ้าพยากรณ์ไว้ ตอนนี้ได้มาถึงแล้ว
ว่า สิ่งที่เป็นพุทธภาษิตต้องลบเลือนไปและมีคำแต่งใหม่โดยสาวกจะเข้ามาแทนที่.. ....ใสนอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต&
สมาชิกหมายเลข 8337078
ในสมัยพุทธกาลก็เคยมีมาแล้ว ระหว่างพวกปัญญากับ พวกฌาน
๓๑๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาจุนทะอยู่ที่นิคมชื่อสัญชาติในแคว้น เจดีย์ ครั้งนั้น ท่านพระมหาจุนทะเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหาจุนทะแ
สะพานหมุนติ้ว
เปิดธรรมที่ถูกปิด การทำสมาธิ
พุทธวจน สมัยใด อริยสาวกตั้งใจ ใส่ใจ รวมเข้าไว้ด้วยใจทั้งหมด เงี่ยโสตลงฟังธรรม สมัยนั้น นิวรณ์ ๕ไม่มี ผู้เงี่ยโสตลงสดับ ย่อมได้ฟังธรรม ครั้นฟังธรรมแล้ว ย่อมทรงจำธรรมไว้, ย่อมใคร่ครวญพิจารณาซึ่งเนื้อค
อนิจจังสังขารไม่เที่ยง
เปิดธรรมที่ถูกปิด หิริ ความละอายต่อการแสวงหากาม โอตตัปปะ ความเห็นภัยของสงสารวัฎฎะ
พุทธวจน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อม อยู่เป็นสุข ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือ ความไม่โกรธ ๑ ความไม่ผูกโกรธไว้ ๑ ... วามไม่ลบหลู่คุณท่าน ๑ ความไม่ตีเสมอ ๑ ... ความไม่ริษยา ๑คว
อนิจจังสังขารไม่เที่ยง
เปิดธรรมที่ถูกปิด ธรรมเครื่องอุ่นใจ รสพระธรรมที่รู้ได้เฉพาะตน ควรชักนำผู้อื่นให้เข้าถึงธรรม
พุทธวจน เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ได้อรรถรส ธรรมรส วิมุติรส ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล อริยสาวกสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติ
อนิจจังสังขารไม่เที่ยง
กรุณาช่วยแจงบทนี้ให้หน่อย โดยเฉพาะเรื่อง "สิกขาไม่เป็นอันบอกคืน"
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ ลักษณะสิกขาที่ไม่เป็นอันบอกคืน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การกระทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอัน บอกคืน เป็นอย่างไร? กล่าวบอกคืนด้ว
สมาชิกหมายเลข 2818034
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
มหาสติปัฏฐาน 4
พระไตรปิฎก
ปฏิบัติธรรม
ศาสนาพุทธ
วิปัสสนากรรมฐาน
บนสุด
ล่างสุด
อ่านเฉพาะข้อความเจ้าของกระทู้
หน้า:
หน้า
จาก
แชร์ :
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
ยอมรับ
ม ห า ปุ ริ ส วิ ต ก ๘
ดูกร ภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีความปรารถนาน้อย
เป็นผู้สันโดษ ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้สันโดษ
เป็นผู้สงัด ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้สงัด
เป็นผู้ปรารภความเพียร ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า ปรารภความเพียร
เป็นผู้มีสติตั้งมั่น ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีสติตั้งมั่น
เป็นผู้มีจิตมั่นคง ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้มีจิตมั่นคง
เป็นผู้มีปัญญา ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีปัญญา
เป็นผู้ชอบใจในธรรมที่ ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
______________________________________________________________________________________________
(๒) ... ของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ๑
ดูกรภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรม วินัยนี้ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช บริขาร ตามมีตามได้
______________________________________________________________________________________________
(๓) ... ของบุคคลผู้สงบสงัด มิใช่ของบุคคลผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ ๑
ดูกรภิกษุ ท.! พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา
เดียรถีย์ และสาวกแห่งเดียรถีย์ เข้าไปหาภิกษุนั้น
ภิกษุมีจิตน้อมไป โอนไป เงื้อมไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดีในเนกขัมมะ
ย่อมกล่าวกถาอันปฏิสังยุต ด้วยถ้อยคำตามสมควร ในสมาคมนั้นโดยแท้
______________________________________________________________________________________________
(๔) ... ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน ๑
ดูกรภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม
มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
______________________________________________________________________________________________
(๕) ... ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม ๑
ดูกรภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง
ระลึกนึกถึงกิจที่ทำคำที่พูดแม้นานได้
______________________________________________________________________________________________
(๖) ... ของบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ๑
ดูกรภิกษุ ท.! ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้
เพราะสงัดจากกามอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงเข้าถึงปฐมฌาน,
อันประกอบด้วยวิตกวิจาร,มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่;
เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลงจึงเข้าถึงทุติยฌาน, เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน
ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่
อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา, มีสติและสัมปชัญญะ, และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย,
ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า“เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปรกติสุข” ดังนี้เธอย่อม เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่;
เพราะละสุขเสียได้, เพราะละทุกข์เสียได้, เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน,
เธอย่อมเข้าถึงจตุตฌาน, ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข, มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่
______________________________________________________________________________________________
(๗) ... ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม ๑
ดูกรภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาความเกิดและความดับ
เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
______________________________________________________________________________________________
(๘) ... ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า
มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า ๑
ดูกรภิกษุท. ! จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแล่นไปเลื่อมใส ตั้งมั่นอยู่ในความดับกิเลสเป็นเครื่องเนิ่นช้า ย่อมหลุดพ้น
______________________________________________________________________________________________
" ผล ของ มหา ปุริส วิตก ๘ " https://ppantip.com/topic/38877047
ปรับปรุงจากกะทู้เดิม : " ม ห า ปุ ริ ส วิ ต ก ๘ " https://ppantip.com/topic/38254833