พระอภิธรรม บอกว่า อสังขตธาตุ เป็น นามธรรม อะไรคือเหตุผลให้กล่าวเช่นนั้นครับท่าน ?

[๘๔๔] บรรดาธรรมเหล่านั้น นามธรรม เป็นไฉน?
             เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ และอสังขตธาตุ นี้เรียกว่า
นามธรรม.
             รูปธรรม เป็นไฉน?
             มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นั้น นี้เรียกว่า รูปธรรม.

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=34&A=7290&Z=7582

แต่ปัญหา ก็คือ ในปฏิจจสมุปบาท บอกว่า รูปนาม เป็นธรรมที่มีเหตุมีปัจจัย
ซึ่ง พระอภิธรรม ในอีกส่วนหนึ่งก็บอกเช่นนั้น ครับท่าน

         [๗๐๑] ธรรมมีปัจจัย เป็นไฉน?
             ขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมมีปัจจัย.
             ธรรมไม่มีปัจจัย เป็นไฉน?
             อสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีปัจจัย.
             [๗๐๒] ธรรมเป็นสังขตะ เป็นไฉน?
             ธรรมที่มีปัจจัยเหล่านั้นอันใดเล่า ธรรมเหล่านั้นนั่นแหละชื่อว่า ธรรมเป็นสังขตะ.
             ธรรมเป็นอสังขตะ นั้น เป็นไฉน?
             ธรรมที่ไม่มีปัจจัยนั้นอันใดเล่า ธรรมนั้นนั่นแหละชื่อว่า ธรรมเป็นอสังขตะ.

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=34&A=6042&Z=6260

ในอีกที่หนึ่ง พระอภิธรรม ก็บอกว่า อสังขตธาตุ ไม่ใช่ จิต ไม่ใช่ เจตสิก น่ะครับ

         [๗๖๗] ธรรมเป็นจิต เป็นไฉน?
             จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ
มโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นจิต.
             ธรรมไม่เป็นจิต เป็นไฉน?
             เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิต.
             [๗๖๘] ธรรมเป็นเจตสิก เป็นไฉน?
             เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเจตสิก.
             ธรรมไม่เป็นเจตสิก เป็นไฉน?
             จิต รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเจตสิก.

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=34&A=6742&Z=6822

สรุปก็คือ พระอภิธรรม ท่านบอกว่า อสังขตธาตุ ไม่ใช่ จิต ไม่ใช่เจตสิก แต่เป็นนาม น่ะครับท่าน
จริงเท็จเป็นประการใด ?
และเหตุผลที่แท้จริง คืออะไร ?
ท่านใดที่เชี่ยวชาญอภิธรรม ช่วยอธิบายด้วยเถิดครับ

เม่าฝึกจิต

ขอบพระคุณครับท่าน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่