บุคคล ๕ จำพวกที่สมบูรณ์ด้วยทิฐิเชื่อมั่นในโลกนี้ อีก ๕ จำพวกละโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น

[๖๓]  เยเกจิ ภิกฺขเว
มยิ นิฏฺคตา สพฺเพ เต ทิฏฺิสมฺปนฺนา
ปญฺจนฺนํ   อิธ   นิฏฺา   ปญฺจนฺนํ อิธ  วิหาย  นิฏฺา  
กตเมสํ  ปญฺจนฺนํ  อิธ  นิฏฺา

สตฺตกฺขตฺตุปรมสฺส  
โกลํโกลสฺส  
เอกพีชิสฺส  
สกทาคามิสฺส
โย  จ  ทิฏฺเว  ธมฺเม  อรหา
อิเมสํ ปญฺจนฺนํ อิธ นิฏฺา

กตเมสํ ปญฺจนฺนํ   อิธ วิหาย  นิฏฺา    
อนฺตราปรินิพฺพายิสฺส    
อุปหจฺจปรินิพฺพายิสฺส
อสงฺขารปรินิพฺพายิสฺส        
สสงฺขารปรินิพฺพายิสฺส        
อุทฺธํโสตสฺส อกนิฏฺคามิโน    
อิเมสํ    ปญฺจนฺนํ  อิธ  วิหาย  นิฏฺา  

เยเกจิ  ภิกฺขเว  มยิ  นิฏฺคตา  
สพฺเพ  เต  ทิฏฺิสมฺปนฺนา  เตสํ  ทิฏฺิสมฺปนฺนานํ
อิเมสํ ปญฺจนฺนํ อิธ นิฏฺา อิเมสํ ปญฺจนฺนํ อิธ วิหาย นิฏฺาติ ฯ

หมายเหตุ
1.เชิงอรรถ : ๑ ม. ยุ. เตสํ ทิฏฺิสมฺปนฺนานนฺติ อตฺถิ ฯ
2.เชิงอรรถ : ๒ ม. ยุ. สตฺตกฺขตฺตุปรมสฺส ฯ  สพฺพตฺถาปิ อีทิสเมว ฯ



http://budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=24&item=63&Roman=0




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต


นิฏฐาสูตร
             [๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเชื่อมั่นในเรา
บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิ
บุคคล ๕ จำพวกที่สมบูรณ์ด้วยทิฐิเชื่อมั่นในโลกนี้
อีก ๕ จำพวกละโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น

บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหนเชื่อมั่นในโลกนี้ คือ
พระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ ๑
พระโสดาบันผู้โกลังโกละ ๑
พระโสดาบันผู้เอกพีชี ๑
พระสกทาคามี ๑
พระอรหันต์ในปัจจุบัน ๑
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้เชื่อมั่นในโลกนี้ ฯ
            
           บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน ละโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น
คือพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้ละโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น


ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเชื่อมั่นในเรา
บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิ

บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิ ๕ จำพวกเหล่านี้นั้น เชื่อมั่นในโลกนี้

บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้ละโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น ฯ

จบสูตรที่ ๓

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔  บรรทัดที่ ๒๘๕๔ - ๒๘๖๘.  หน้าที่  ๑๒๓.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=2854&Z=2868&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=63
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่