ตั้งแต่อดีตผ่านมา ไทยเราจะเป็นที่เเรกๆ ในอาเซียนที่มักพบโรคระบาดต่างๆ แต่เราก็ไม่ได้รับผลกระทบอะไรมากมายเลย สาเหตุมาจากอะไร
คนไทยร่วมมือกับภาครัฐฯเป็นอย่างดี
สาธารณะสุขก็ทำงานเป็นอย่างดี
ครั้งนี้วิกฤตโรคระบาดกำลังกลับมา อยากให้คนไทยมาร่วมมือกันอีกครั้ง ป้องกันตัวเองให้ดีที่สุด ไม่ต้องตระหนกตื่นตูม ไม่ต้องโทษนั่น นี่ โน่น ว่าปิดข่าว ฯลฯ นักท่องเที่ยวก็ระมัดระวังตัว มีอาการก็รีบเเจ้ง
"กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ" ใช้ได้ทุกยุค ทุกสมัย
MERS โรคติดเชื้อที่ควรสนใจ | เดลินิวส์
“โรค MERS-CoV” (เมอร์ส-คอฟ) โรคที่หลายคนก็คงจะสงสัยว่าเป็นโรคอะไร มีอันตรายอย่างไรต่อคน และเราสามารถหลีกเลี่ยงการรับเชื้อได้อย่างไรกันบ้าง คอลัมน์หมอ รามาฯ ไขปัญหาสุขภาพฉบับนี้มีข้อมูลมาฝากกัน
โรค MERS-CoV (เมอร์ส-คอฟ) ย่อมาจากคำว่า Middle East Respiratory Syndrome หรือกลุ่มอาการโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง เกิดจากการติดเชื้อในกลุ่ม โคโรน่าไวรัส (Coronavirus: CoV) ทำให้ชื่อย่อของเชื้อโรคนี้ในภาษาอังกฤษ จึงใช้คำว่า MERS-CoV นั่นเอง โคโรน่าไวรัสเป็น RNA ไวรัส ที่สามารถก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร (ซึ่งส่วนมากแล้วอาการน้อยและบางครั้งอาจรุนแรงมาก) หากยังจำกันได้ เมื่อปี ค.ศ. 2002-2003 ขณะนั้นมีโรคซาร์ส โคโรน่าไวรัส (SARS Coronavirus) เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน แต่การติดเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ล่าสุด พบว่ามีการรายงานครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2555 ที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย ต่อมาเชื้อได้แพร่กระจายไปยังประเทศใกล้เคียง ได้แก่ การ์ตา จอร์แดน ฝรั่งเศส อิตาลี และ ตูนิเซีย
เดิมทีเราเรียกไวรัสชนิดนี้ว่า “โนเวล โคโรน่า ไวรัส: Novel Corona virus) แต่ในปัจจุบัน องค์การอนามัยโลกได้ใช้ชื่อเรียกใหม่ว่า Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus หรือ โรค MERS-CoV (เมอร์ส-คอฟ) ที่สามารถพบการติดเชื้อได้ในทุกกลุ่มอายุ ซึ่งส่วนใหญ่มักพบในผู้ใหญ่ และมีอัตราการเสียชีวิตราวร้อยละ30 (ข้อมูล ณ วันที่ 24 เมษายน 2557) ความสำคัญของการพบโรคนี้ก็คือ นอกจากอัตราการเสียชีวิตที่สูงแล้ว ยังพบการแพร่กระจายจากคนสู่คน โดยเฉพาะบุคคลที่อาศัยภายในบ้านเดียวกันนั่นเอง อาการที่สังเกตได้คือ มักพบได้ตั้งแต่ไม่มีอาการจนถึงมีอาการรุนแรงแล้ว ซึ่งผู้ป่วยมักมีไข้สูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียส มีอาการไอหอบ หายใจลำบาก ในรายที่อาการรุนแรงพบว่าผู้ป่วยจะมีอาการแย่ลงอย่างรวดเร็วภายใน 1 สัปดาห์ ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจมีลักษณะของกลุ่มอาการในระบบทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลันอย่างรุนแรง คือมีอาการหอบเหนื่อยตามความรุนแรงของภาวะขาดออกซิเจน
แนวทางการรักษา เนื่องด้วยโรคนี้เป็นโรคอุบัติใหม่ ทำให้ข้อมูลการใช้ยาต้านไวรัสค่อนข้างจำกัด และยังไม่มียาต้านไวรัสจำเพาะต่อเชื้อนี้ในการรักษา จึงทำได้เพียงให้การรักษาตามอาการและการรักษาแบบประคับประคอง จนกว่าการอักเสบในระบบทางเดินหายใจจะลดน้อยลงจนหายเป็นปกติดี
สำหรับการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ ถือว่ามีความสำคัญมากที่สุด เพราะเรายังไม่มียาที่ใช้ทำลายเชื้อนี้ได้ ดังนั้น เมื่อมีอาการไข้สูง ไอ หอบ หายใจเร็ว ก็ควรให้ผู้ป่วยสวมผ้าปิดปาก-จมูก และมาพบแพทย์พร้อมแจ้งเจ้าหน้าที่หากมีประวัติเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของเชื้อ ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย การ์ตา จอร์แดน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อังกฤษ ฝรั่งเศส ตูนิเซีย เยอรมนี อิตาลี โอมาน คูเวต มาเลเซีย กรีซ และฟิลิปปินส์ ส่วนผู้ที่อยู่ใกล้ชิด ก็ให้สวมหน้ากากอนามัย และหมั่นรักษาความสะอาดมือ ทั้งผู้ป่วยเองและคนรอบข้างกันด้วย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์กำธร มาลาธรรม รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี และอาจารย์ประจำภาควิชา อายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล“
อ่านต่อที่ :
http://www.dailynews.co.th/article/239695
สังเกตไหม...ไม่ว่าจะมีโรคระบาดอะไรหนักแค่ไหน ไทยเราก็ป้องกันได้
คนไทยร่วมมือกับภาครัฐฯเป็นอย่างดี
สาธารณะสุขก็ทำงานเป็นอย่างดี
ครั้งนี้วิกฤตโรคระบาดกำลังกลับมา อยากให้คนไทยมาร่วมมือกันอีกครั้ง ป้องกันตัวเองให้ดีที่สุด ไม่ต้องตระหนกตื่นตูม ไม่ต้องโทษนั่น นี่ โน่น ว่าปิดข่าว ฯลฯ นักท่องเที่ยวก็ระมัดระวังตัว มีอาการก็รีบเเจ้ง
"กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ" ใช้ได้ทุกยุค ทุกสมัย
MERS โรคติดเชื้อที่ควรสนใจ | เดลินิวส์
“โรค MERS-CoV” (เมอร์ส-คอฟ) โรคที่หลายคนก็คงจะสงสัยว่าเป็นโรคอะไร มีอันตรายอย่างไรต่อคน และเราสามารถหลีกเลี่ยงการรับเชื้อได้อย่างไรกันบ้าง คอลัมน์หมอ รามาฯ ไขปัญหาสุขภาพฉบับนี้มีข้อมูลมาฝากกัน
โรค MERS-CoV (เมอร์ส-คอฟ) ย่อมาจากคำว่า Middle East Respiratory Syndrome หรือกลุ่มอาการโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง เกิดจากการติดเชื้อในกลุ่ม โคโรน่าไวรัส (Coronavirus: CoV) ทำให้ชื่อย่อของเชื้อโรคนี้ในภาษาอังกฤษ จึงใช้คำว่า MERS-CoV นั่นเอง โคโรน่าไวรัสเป็น RNA ไวรัส ที่สามารถก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร (ซึ่งส่วนมากแล้วอาการน้อยและบางครั้งอาจรุนแรงมาก) หากยังจำกันได้ เมื่อปี ค.ศ. 2002-2003 ขณะนั้นมีโรคซาร์ส โคโรน่าไวรัส (SARS Coronavirus) เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน แต่การติดเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ล่าสุด พบว่ามีการรายงานครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2555 ที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย ต่อมาเชื้อได้แพร่กระจายไปยังประเทศใกล้เคียง ได้แก่ การ์ตา จอร์แดน ฝรั่งเศส อิตาลี และ ตูนิเซีย
เดิมทีเราเรียกไวรัสชนิดนี้ว่า “โนเวล โคโรน่า ไวรัส: Novel Corona virus) แต่ในปัจจุบัน องค์การอนามัยโลกได้ใช้ชื่อเรียกใหม่ว่า Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus หรือ โรค MERS-CoV (เมอร์ส-คอฟ) ที่สามารถพบการติดเชื้อได้ในทุกกลุ่มอายุ ซึ่งส่วนใหญ่มักพบในผู้ใหญ่ และมีอัตราการเสียชีวิตราวร้อยละ30 (ข้อมูล ณ วันที่ 24 เมษายน 2557) ความสำคัญของการพบโรคนี้ก็คือ นอกจากอัตราการเสียชีวิตที่สูงแล้ว ยังพบการแพร่กระจายจากคนสู่คน โดยเฉพาะบุคคลที่อาศัยภายในบ้านเดียวกันนั่นเอง อาการที่สังเกตได้คือ มักพบได้ตั้งแต่ไม่มีอาการจนถึงมีอาการรุนแรงแล้ว ซึ่งผู้ป่วยมักมีไข้สูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียส มีอาการไอหอบ หายใจลำบาก ในรายที่อาการรุนแรงพบว่าผู้ป่วยจะมีอาการแย่ลงอย่างรวดเร็วภายใน 1 สัปดาห์ ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจมีลักษณะของกลุ่มอาการในระบบทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลันอย่างรุนแรง คือมีอาการหอบเหนื่อยตามความรุนแรงของภาวะขาดออกซิเจน
แนวทางการรักษา เนื่องด้วยโรคนี้เป็นโรคอุบัติใหม่ ทำให้ข้อมูลการใช้ยาต้านไวรัสค่อนข้างจำกัด และยังไม่มียาต้านไวรัสจำเพาะต่อเชื้อนี้ในการรักษา จึงทำได้เพียงให้การรักษาตามอาการและการรักษาแบบประคับประคอง จนกว่าการอักเสบในระบบทางเดินหายใจจะลดน้อยลงจนหายเป็นปกติดี
สำหรับการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ ถือว่ามีความสำคัญมากที่สุด เพราะเรายังไม่มียาที่ใช้ทำลายเชื้อนี้ได้ ดังนั้น เมื่อมีอาการไข้สูง ไอ หอบ หายใจเร็ว ก็ควรให้ผู้ป่วยสวมผ้าปิดปาก-จมูก และมาพบแพทย์พร้อมแจ้งเจ้าหน้าที่หากมีประวัติเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของเชื้อ ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย การ์ตา จอร์แดน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อังกฤษ ฝรั่งเศส ตูนิเซีย เยอรมนี อิตาลี โอมาน คูเวต มาเลเซีย กรีซ และฟิลิปปินส์ ส่วนผู้ที่อยู่ใกล้ชิด ก็ให้สวมหน้ากากอนามัย และหมั่นรักษาความสะอาดมือ ทั้งผู้ป่วยเองและคนรอบข้างกันด้วย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์กำธร มาลาธรรม รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี และอาจารย์ประจำภาควิชา อายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล“
อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/article/239695