ขออนุญาตขยายความสักนิดนะครับ ก่อนที่ผมจะลืมเรื่องแปลกๆ แบบนี้ไปเสียก่อนน่ะครับ
คือเรื่องมันเริ่มมาจากกรณี พระเวสสันดร บริจาคลูกเมียไปเป็นทาสของผู้อื่น ซึ่งผมเห็นว่า ไม่บริสุทธิ์ ไม่ใช่ธรรมขาวล้วน
แต่มีกรรมดำปะปนอยู่ เนื่องจาก การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้ลูกเมียเป็นทุกข์เดือดร้อน น้ำตานองหน้า ถือว่าเป็นการเบียดเบียนผู้อื่น เป็นอกุศลกรรมบท
ทีนี้ ก็มีชาวพุทธล้าหลังบางกลุ่ม พยายามโต้แย้งว่า การยกลูกเมียไปเป็นทาสคนอื่น ไม่ผิดบาป ไม่เป็นการเบียดเบียนอะไร บางคนพูดในทำนองว่า
การเป็นข้าทาสคนอื่น ไม่ลำบาก ไม่ได้ทุกข์อะไร ทุกข์ในวัฏฏสงสาร หนักหนากว่าเยอะ ....... ว่าไปนั่น
สุดท้าย ผมถามท่านคันโตนา ว่าท่านมีหลักฐานยืนยันไหม ว่ากัณหาชินามีความยินดีในการกระทำของพระเวสสันดร
ไม่ใช่ว่าเป็นการจำยอม หรือ จำใจยินยอม เพราะขัดพ่อตนเองไม่ได้ ?
พอเรื่องมาถึงตรงนี้ ก็มีเรื่องแปลกๆ เกิดขึ้น คือแทนที่ท่านคันโตนา จะนำหลักฐานคำพูดของกัณหาชินา มาแสดงให้เห็นว่ามีความยินดี
ในการกระทำของพระเวสสันดรจริงๆ กลับไม่เป็นอย่างนั้นนะครับ แต่ท่านคันโตนา ไปยกข้อความของท่านอุบลวรรณา มาอ้างเป็นคำตอบเฉยเลย
ทั้งนี้ ท่านคันโตนา พยายามพูดแบบคลุมเคลือ ในทำนองว่า กัณหาชินา นี่แหละ ที่มาเกิดเป็น ท่านอุบลวรรณา
ตรงนี้เป็นประเด็นปัญหาในด้านตรรกะเหตุผล ครับท่าน
1 ถ้ามองในแง่ประวัติศาสตร์ กัณหาชินา กับท่านอุบลวรรณา เป็นบุคคล คนละคนกัน ดังนั้น การบอกว่า ความคิด คำพูดของท่านอุบลวรรณา
ก็คือ ความคิดและคำพูดของกัณหาชินา จึงไม่สมเหตุผล และเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว ใครพูดด้วยตรรกะแบบนี้ ถ้าไม่เพราะโง่เขลา ก็ต้องเป็นเพราะบ้า เสียสติ
2 แต่ถ้าเรายอมรับว่า ปุพเพนิวาสานุสติญาณ(การระลึกชาติ) มีจริงและเป็นจริง ตรรกะของท่านคันโตนา ก็ยังมีปัญหาในลักษณะวิปลาส อยู่ดีน่ะครับ
คือถ้าพิจารณา ในมุมมองของท่านอุบลวรรณา อาศัยการระลึกชาติ เราอาจพอรับฟังได้บ้าง หากคนในปัจจุบันจะอ้างถึงเหตุการณ์ในอดีต แล้วกล่าวว่า
ตนเคยเป็นบุคคลนั้น ในอดีต และได้เคยคิด หรือกล่าวอย่างนี้ๆ
แต่ถ้าพิจารณา ในมุมมองของกัณหาชินา แม้อาศัยจุตูปปาตญาณ ก็ไม่อาจกล่าวว่า ในอนาคต ตนจะเป็นคนนั้นคนนี้
และจะคิด หรือพูด อย่างนั้นอย่างนี้ ได้เลย เพราะทั้งหมดที่กล่าว เป็นเรื่องราวในอนาคต ที่ยังไม่เกิดขึ้นเลยในมุมมองของกัณหาชินา
ดังนั้น แม้ต่อให้อ้างอภิญญาญาณ ก็ยังไม่สมเหตุผลอยู่ดี หากจะอ้างว่า คำพูดของท่านอุบลวรรณา เป็น คำพูดของกัณหาชินาด้วย
ซึ่งก็เหมือนกับที่เราไม่สามารถกล่าวว่า คำพูด หรือคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็คือคำพูด หรือคำสอนของพระเวสสันดร นั่นแหละครับท่าน
คือผมอยากจะบอกท่านชาวพุทธว่า เราไม่สามารถอ้างเรื่องการระลึกชาติ หรือกฏแห่งกรรม แล้วมาสร้างตรรกะย้อนแย้งแบบนี้ได้หรอกครับ
เพราะมันไม่สมเหตุผล ไม่มีหลักการ หรือหลักธรรมใดๆรองรับ มันจึงเป็นได้แค่ตรรกะวิปลาส ที่ใช้โต้แย้งอะไรไม่ได้ เท่านั้นเองครับท่าน
ท่านผีม้าลาย หลงไหลคลั่งไคล้เรื่องการระลึกชาติ จนตรรกะวิปลาส
คือเรื่องมันเริ่มมาจากกรณี พระเวสสันดร บริจาคลูกเมียไปเป็นทาสของผู้อื่น ซึ่งผมเห็นว่า ไม่บริสุทธิ์ ไม่ใช่ธรรมขาวล้วน
แต่มีกรรมดำปะปนอยู่ เนื่องจาก การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้ลูกเมียเป็นทุกข์เดือดร้อน น้ำตานองหน้า ถือว่าเป็นการเบียดเบียนผู้อื่น เป็นอกุศลกรรมบท
ทีนี้ ก็มีชาวพุทธล้าหลังบางกลุ่ม พยายามโต้แย้งว่า การยกลูกเมียไปเป็นทาสคนอื่น ไม่ผิดบาป ไม่เป็นการเบียดเบียนอะไร บางคนพูดในทำนองว่า
การเป็นข้าทาสคนอื่น ไม่ลำบาก ไม่ได้ทุกข์อะไร ทุกข์ในวัฏฏสงสาร หนักหนากว่าเยอะ ....... ว่าไปนั่น
สุดท้าย ผมถามท่านคันโตนา ว่าท่านมีหลักฐานยืนยันไหม ว่ากัณหาชินามีความยินดีในการกระทำของพระเวสสันดร
ไม่ใช่ว่าเป็นการจำยอม หรือ จำใจยินยอม เพราะขัดพ่อตนเองไม่ได้ ?
พอเรื่องมาถึงตรงนี้ ก็มีเรื่องแปลกๆ เกิดขึ้น คือแทนที่ท่านคันโตนา จะนำหลักฐานคำพูดของกัณหาชินา มาแสดงให้เห็นว่ามีความยินดี
ในการกระทำของพระเวสสันดรจริงๆ กลับไม่เป็นอย่างนั้นนะครับ แต่ท่านคันโตนา ไปยกข้อความของท่านอุบลวรรณา มาอ้างเป็นคำตอบเฉยเลย
ทั้งนี้ ท่านคันโตนา พยายามพูดแบบคลุมเคลือ ในทำนองว่า กัณหาชินา นี่แหละ ที่มาเกิดเป็น ท่านอุบลวรรณา
ตรงนี้เป็นประเด็นปัญหาในด้านตรรกะเหตุผล ครับท่าน
1 ถ้ามองในแง่ประวัติศาสตร์ กัณหาชินา กับท่านอุบลวรรณา เป็นบุคคล คนละคนกัน ดังนั้น การบอกว่า ความคิด คำพูดของท่านอุบลวรรณา
ก็คือ ความคิดและคำพูดของกัณหาชินา จึงไม่สมเหตุผล และเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว ใครพูดด้วยตรรกะแบบนี้ ถ้าไม่เพราะโง่เขลา ก็ต้องเป็นเพราะบ้า เสียสติ
2 แต่ถ้าเรายอมรับว่า ปุพเพนิวาสานุสติญาณ(การระลึกชาติ) มีจริงและเป็นจริง ตรรกะของท่านคันโตนา ก็ยังมีปัญหาในลักษณะวิปลาส อยู่ดีน่ะครับ
คือถ้าพิจารณา ในมุมมองของท่านอุบลวรรณา อาศัยการระลึกชาติ เราอาจพอรับฟังได้บ้าง หากคนในปัจจุบันจะอ้างถึงเหตุการณ์ในอดีต แล้วกล่าวว่า
ตนเคยเป็นบุคคลนั้น ในอดีต และได้เคยคิด หรือกล่าวอย่างนี้ๆ
แต่ถ้าพิจารณา ในมุมมองของกัณหาชินา แม้อาศัยจุตูปปาตญาณ ก็ไม่อาจกล่าวว่า ในอนาคต ตนจะเป็นคนนั้นคนนี้
และจะคิด หรือพูด อย่างนั้นอย่างนี้ ได้เลย เพราะทั้งหมดที่กล่าว เป็นเรื่องราวในอนาคต ที่ยังไม่เกิดขึ้นเลยในมุมมองของกัณหาชินา
ดังนั้น แม้ต่อให้อ้างอภิญญาญาณ ก็ยังไม่สมเหตุผลอยู่ดี หากจะอ้างว่า คำพูดของท่านอุบลวรรณา เป็น คำพูดของกัณหาชินาด้วย
ซึ่งก็เหมือนกับที่เราไม่สามารถกล่าวว่า คำพูด หรือคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็คือคำพูด หรือคำสอนของพระเวสสันดร นั่นแหละครับท่าน
คือผมอยากจะบอกท่านชาวพุทธว่า เราไม่สามารถอ้างเรื่องการระลึกชาติ หรือกฏแห่งกรรม แล้วมาสร้างตรรกะย้อนแย้งแบบนี้ได้หรอกครับ
เพราะมันไม่สมเหตุผล ไม่มีหลักการ หรือหลักธรรมใดๆรองรับ มันจึงเป็นได้แค่ตรรกะวิปลาส ที่ใช้โต้แย้งอะไรไม่ได้ เท่านั้นเองครับท่าน