กระทรวงสาธารณสุข เชิดชู 130 องค์กรที่ได้ดำเนินการพื้นที่ปลอดโฟม 100% จำนวน 9,492 แห่งทั่วประเทศ พร้อมเสริมสร้างความเข้มแข็งภาคีเครือข่ายด้านสุขาภิบาลอาหาร เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่องค์กรอื่น เตรียมขยายให้ครอบคลุมในพื้นที่ให้มากยิ่งขึ้น
ภาพประกอบจากอินเตอร์เนท
ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายเกี่ยวกับการรณรงค์ลด ละ เลิกการใช้โฟม (No Foam) ให้กรมอนามัยเป็นหน่วยงานนำร่องในการลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟม (No Foam) บรรจุอาหารในกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีผู้ประกอบการค้าอาหารในโรงอาหารและตลาดนัด รวม 311 ราย และสามารถดำเนินการเป็นองค์กรปลอดภาชนะโฟมบรรจุอาหาร 100% เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2557
สำหรับในปี 2558 นี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ขยายพื้นที่การรณรงค์ไปยังหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน ศูนย์วิชาการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบนำร่อง 5 แห่ง ตลอดจนหน่วยงานภาคเอกชนที่ร่วมลงนามความร่วมมือจำนวน 14 แห่ง อาทิบริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล (Top) , บริษัท เดอะมอลล์กรุ๊ป จำกัด ,บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด(7-11), เคเอฟซี , พิชช่า- ฮัท , บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน),บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด,บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด,บริษัท นิตยาไก่ย่าง จำกัด, ตลาดเสรีมาเก็ต สาขาศูนย์การค้าพาราไดซ์ และสาขาเดอะไนน์ พระราม 9 เป็นต้น
โดยได้กำหนดเกณฑ์การประเมินองค์กรหรือพื้นที่ปลอดโฟมบรรจุอาหารอย่างน้อย 3 เดือนติดต่อกัน และต้องใช้ภาชนะทดแทนโฟมที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ซึ่งผลการประเมินมีหน่วยงาน 130 องค์กรทั่วประเทศ ผ่านเกณฑ์การประเมินเป็นพื้นที่ปลอดโฟม 100% รวมทั้งสิ้นจำนวน 9,492 แห่ง อาทิ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 8 แห่ง, โรงพยาบาล 44 แห่ง, เทศบาล 3 แห่ง, มหาวิทยาลัยขอนแก่น(ตลาดมอดินแดง), ชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี, ถนนคนเดินเซราะกราว จังหวัดบุรีรัมย์, ตลาดนัด ตลาดน้ำบ้านดอน จังหวัดสุราษฏร์ธานี, ลานคนเดินเทศบาลเมืองชมุพร, ศูนย์อาหารกรมราชทัณฑ์, ตลาดสุขใจ จังหวัดนครปฐม เป็นต้น
ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ กล่าวต่อว่า การลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีนั้น กรมอนามัยได้ดำเนินการภายใต้ 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
1) สร้างเขตพื้นที่ปลอดการใช้โฟมใส่อาหาร เช่น ทุกกรม ในกระทรวงสาธารณสุข ไม่มีการใช้โฟม โดยใช้ จาน ชาม ใส่อาหาร เมื่อต้องการห่อกลับที่ใช้วัสดุที่ทำจากธรรมชาติ เช่น ชานอ้อย กล่องกระดาษ หรือกล่องพลาสติกชีวภาพ อีกทั้งได้ขอความร่วมมือจากหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศร่วมรณรงค์ลด ละ เลิกการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารเพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่หน่วยงานราชการอื่น
2) ทดแทนโฟมด้วยการใช้วัสดุธรรมชาติดั้งเดิม เช่น ใบตอง ใบบัวสำหรับห่อข้าวหรือขนม ทดแทนผลิตภัณฑ์ที่ทำจากธรรมชาติ เช่น ชานอ้อย ชานอ้อยผสมเยื่อไผ่ มันสำปะหลังซึ่งย่อยสลายตามธรรมชาติได้ในเวลา 45 วัน ต่างจากโฟมที่ใช้เวลาย่อยสลายถึง 1,000 ปี และทดแทนด้วยบรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน มอก.
3) ปฏิเสธการใช้โฟมทุกรูปแบบ โดยหลีกเลี่ยงการใช้ โฟมด้วยวิธีต่างๆ เช่น ไม่ซื้ออาหารประเภทใส่กล่องโฟม (Say No To Foam)
"
ทั้งนี้ ได้เพิ่มมาตรการทางด้านกฏหมายโดยอาศัยตามความในมาตรา 10(5) แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 กรมอนามัยได้ออกคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข เรื่อง แนวทางการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟม (Polystyrene) บรรจุอาหาร พ.ศ. 2558 เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ราชการส่วนท้องถิ่น ดำเนินการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารอันจะเป็นการคุ้มครองสุขภาพของประชาชนและป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจะเกิดขึ้น ตามคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข คือ
1) ไม่ใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารที่มีอุณหภูมิสูงเกิน 60 องศาเซลเซียสและไม่ใช้บรรจุอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง
2) สนับสนุน ส่งเสริมการใช้วัสดุธรรมชาติ หรือ ภาชนะที่ทำมาจากวัสดุธรรมชาติ และ
3) กรมอนามัยทำหน้าที่ประสานงาน สนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ และแนวทางการรณรงค์ฯ และในปี 2559 จะขยายให้ครอบคลุมในพื้นที่ให้มากยิ่งขึ้น เช่น หน่วยงานภาครัฐที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข หน่วยงานราชการต่างๆองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา โรงเรียน ชุมชน อำเภอ จังหวัดปลอดโฟม ห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร Franchise สถานีบริการน้ำมัน ศูนย์อาหาร และตลาดสดอีกด้วย” อธิบดีกรมอนามัย กล่าวปิดท้าย
ที่มา : นสพ. คมชัดลึก ฉบับวันที่ 15 มิถุนายน 2558, หน้า 9
"สธ. ชู 130 องค์กรต้นแบบ สร้างพื้นที่ปลอดโฟม 100%"
ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายเกี่ยวกับการรณรงค์ลด ละ เลิกการใช้โฟม (No Foam) ให้กรมอนามัยเป็นหน่วยงานนำร่องในการลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟม (No Foam) บรรจุอาหารในกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีผู้ประกอบการค้าอาหารในโรงอาหารและตลาดนัด รวม 311 ราย และสามารถดำเนินการเป็นองค์กรปลอดภาชนะโฟมบรรจุอาหาร 100% เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2557
สำหรับในปี 2558 นี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ขยายพื้นที่การรณรงค์ไปยังหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน ศูนย์วิชาการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบนำร่อง 5 แห่ง ตลอดจนหน่วยงานภาคเอกชนที่ร่วมลงนามความร่วมมือจำนวน 14 แห่ง อาทิบริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล (Top) , บริษัท เดอะมอลล์กรุ๊ป จำกัด ,บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด(7-11), เคเอฟซี , พิชช่า- ฮัท , บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน),บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด,บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด,บริษัท นิตยาไก่ย่าง จำกัด, ตลาดเสรีมาเก็ต สาขาศูนย์การค้าพาราไดซ์ และสาขาเดอะไนน์ พระราม 9 เป็นต้น
โดยได้กำหนดเกณฑ์การประเมินองค์กรหรือพื้นที่ปลอดโฟมบรรจุอาหารอย่างน้อย 3 เดือนติดต่อกัน และต้องใช้ภาชนะทดแทนโฟมที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ซึ่งผลการประเมินมีหน่วยงาน 130 องค์กรทั่วประเทศ ผ่านเกณฑ์การประเมินเป็นพื้นที่ปลอดโฟม 100% รวมทั้งสิ้นจำนวน 9,492 แห่ง อาทิ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 8 แห่ง, โรงพยาบาล 44 แห่ง, เทศบาล 3 แห่ง, มหาวิทยาลัยขอนแก่น(ตลาดมอดินแดง), ชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี, ถนนคนเดินเซราะกราว จังหวัดบุรีรัมย์, ตลาดนัด ตลาดน้ำบ้านดอน จังหวัดสุราษฏร์ธานี, ลานคนเดินเทศบาลเมืองชมุพร, ศูนย์อาหารกรมราชทัณฑ์, ตลาดสุขใจ จังหวัดนครปฐม เป็นต้น
ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ กล่าวต่อว่า การลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีนั้น กรมอนามัยได้ดำเนินการภายใต้ 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
1) สร้างเขตพื้นที่ปลอดการใช้โฟมใส่อาหาร เช่น ทุกกรม ในกระทรวงสาธารณสุข ไม่มีการใช้โฟม โดยใช้ จาน ชาม ใส่อาหาร เมื่อต้องการห่อกลับที่ใช้วัสดุที่ทำจากธรรมชาติ เช่น ชานอ้อย กล่องกระดาษ หรือกล่องพลาสติกชีวภาพ อีกทั้งได้ขอความร่วมมือจากหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศร่วมรณรงค์ลด ละ เลิกการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารเพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่หน่วยงานราชการอื่น
2) ทดแทนโฟมด้วยการใช้วัสดุธรรมชาติดั้งเดิม เช่น ใบตอง ใบบัวสำหรับห่อข้าวหรือขนม ทดแทนผลิตภัณฑ์ที่ทำจากธรรมชาติ เช่น ชานอ้อย ชานอ้อยผสมเยื่อไผ่ มันสำปะหลังซึ่งย่อยสลายตามธรรมชาติได้ในเวลา 45 วัน ต่างจากโฟมที่ใช้เวลาย่อยสลายถึง 1,000 ปี และทดแทนด้วยบรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน มอก.
3) ปฏิเสธการใช้โฟมทุกรูปแบบ โดยหลีกเลี่ยงการใช้ โฟมด้วยวิธีต่างๆ เช่น ไม่ซื้ออาหารประเภทใส่กล่องโฟม (Say No To Foam)
"ทั้งนี้ ได้เพิ่มมาตรการทางด้านกฏหมายโดยอาศัยตามความในมาตรา 10(5) แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 กรมอนามัยได้ออกคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข เรื่อง แนวทางการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟม (Polystyrene) บรรจุอาหาร พ.ศ. 2558 เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ราชการส่วนท้องถิ่น ดำเนินการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารอันจะเป็นการคุ้มครองสุขภาพของประชาชนและป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจะเกิดขึ้น ตามคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข คือ
1) ไม่ใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารที่มีอุณหภูมิสูงเกิน 60 องศาเซลเซียสและไม่ใช้บรรจุอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง
2) สนับสนุน ส่งเสริมการใช้วัสดุธรรมชาติ หรือ ภาชนะที่ทำมาจากวัสดุธรรมชาติ และ
3) กรมอนามัยทำหน้าที่ประสานงาน สนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ และแนวทางการรณรงค์ฯ และในปี 2559 จะขยายให้ครอบคลุมในพื้นที่ให้มากยิ่งขึ้น เช่น หน่วยงานภาครัฐที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข หน่วยงานราชการต่างๆองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา โรงเรียน ชุมชน อำเภอ จังหวัดปลอดโฟม ห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร Franchise สถานีบริการน้ำมัน ศูนย์อาหาร และตลาดสดอีกด้วย” อธิบดีกรมอนามัย กล่าวปิดท้าย
ที่มา : นสพ. คมชัดลึก ฉบับวันที่ 15 มิถุนายน 2558, หน้า 9