มรรค แปลว่า ทาง , อริยมรรค หมายถึง หนทางอันประเสริฐ ซึ่งก็คือวิธีปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ หรือวิธีปฏิบัติเพื่อความไม่เกิดขึ้นของความทุกข์ โดยบางครั้งก็เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ที่หมายถึง ทางสายกลาง คือเป็นการปฏิบัติที่ไม่ตึงและไม่หย่อนไปทางใดทางหนึ่ง หรือบางทีก็เรียกว่า จิตตภาวณา ที่หมายถึง การทำจิตให้เจริญ ซึ่งก็คือการสร้างสมาธิและปัญญาให้เพิ่มมากขึ้น
อริยมรรค หรือมรรคนี้ แม้จะเป็นหนทางเดียวแต่ก็มีองค์ประกอบอยู่ถึง ๘ ประการ ที่เรียกว่า มรรคมีองค์ ๘ ซึ่งองค์ประกอบทั้ง ๘ นั้นก็ได้แก่
๑. สัมมาทิฎฐิ ความเห็นถูกต้อง
๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริถูกต้อง
๓. สัมมาวาจา การพูดจาถูกต้อง
๔. สัมมากัมมันตะ การกระทำทางกายถูกต้อง
๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพถูกต้อง
๖. สัมมาวายามะ ความเพียรถูกต้อง
๗. สัมมาสติ การระลึกถูกต้อง
๘. สัมมาสมาธิ สมาธิถูกต้อง
คำว่า สัมมา หมายถึง ถูกต้อง หรือ ชอบ คือหมายถึงถูกต้องตามวิธีดับทุกข์ ซึ่งจะตรงข้ามกับคำว่า มิจฉา ที่หมายถึง ผิด คือหมายถึงไม่ถูกต้องตามวิธีดับทุกข์ โดยมรรคนี้เรียกได้ว่าเป็น สัมมามรรค คือเป็นหนทางที่ถูกต้องที่ดับทุกข์ได้ ส่วนหนทางอื่นนอกนั้นจะเป็น มิจฉามรรค คือเป็นหนทางที่ผิดที่ดับทุกข์ไม่ได้
อริยมรรคมีองค์ ๘ ไม่มีเรื่องศรัทธา
อริยมรรค หรือมรรคนี้ แม้จะเป็นหนทางเดียวแต่ก็มีองค์ประกอบอยู่ถึง ๘ ประการ ที่เรียกว่า มรรคมีองค์ ๘ ซึ่งองค์ประกอบทั้ง ๘ นั้นก็ได้แก่
๑. สัมมาทิฎฐิ ความเห็นถูกต้อง
๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริถูกต้อง
๓. สัมมาวาจา การพูดจาถูกต้อง
๔. สัมมากัมมันตะ การกระทำทางกายถูกต้อง
๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพถูกต้อง
๖. สัมมาวายามะ ความเพียรถูกต้อง
๗. สัมมาสติ การระลึกถูกต้อง
๘. สัมมาสมาธิ สมาธิถูกต้อง
คำว่า สัมมา หมายถึง ถูกต้อง หรือ ชอบ คือหมายถึงถูกต้องตามวิธีดับทุกข์ ซึ่งจะตรงข้ามกับคำว่า มิจฉา ที่หมายถึง ผิด คือหมายถึงไม่ถูกต้องตามวิธีดับทุกข์ โดยมรรคนี้เรียกได้ว่าเป็น สัมมามรรค คือเป็นหนทางที่ถูกต้องที่ดับทุกข์ได้ ส่วนหนทางอื่นนอกนั้นจะเป็น มิจฉามรรค คือเป็นหนทางที่ผิดที่ดับทุกข์ไม่ได้