ภูฏาน ดินแดนที่ได้ชื่อว่า ดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า ดินแดนที่ให้ความสำคัญกับความสุขมวลรวมประชาชาติ
มากกว่าผลผลิตมวลรวมประชาชาติดั่งประเทศอื่นๆยึดถือกัน
ที่นี่คือดินแดนในฝันของใครหลายๆคน เพราะขึ้นชื่อในความงดงามของธรรมชาติ
และผู้คนที่ยังคงยึดมั่นในศาสนาและธำรงรักษาวัฒนธรรมของตนเองไว้อย่างเหนียวแน่น
หลังจากได้มีโอกาสไปเยือนภูฏานเป็นครั้งแรก ผมขอมาร่วมแบ่งปันความประทับใจ
ถึงสาเหตุว่าทำไมถึงประทับใจในประเทศเล็กๆอันสงบเงียบแห่งนี้ครับ
1. Tiger’s Nest Temple
วัดถ้ำเสือ หรือรู้จักกันอีกชื่อหนึ่งคือ วิหารตั๊กซัง (Taktsang Palphug Monastery)
สถานที่แห่งนี้นับเป็นสุดยอดของจุดหมายการมาเยือนดินแดนมังกรสายฟ้าอย่างภูฏาน
ด้วยทัศนียภาพอันน่าตื่นตาของอารามที่สร้างขึ้นติดหน้าผาสูง เสมือนล่องลอยอยู่บนวิมานสวรรค์
วิหารตั๊กซังนับเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่มิใช่เพียงนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเดินทางมาชมเท่านั้น
ที่นี่ยังเป็นจุดหมายของชาวภูฏานที่เดินทางมาแสวงบุญสักการะองค์ คุรุปัทมะสัมภวะ
พระผู้นำพระพุทธศาสนามาสู่ดินแดนภูฏาน ตามตำนานเชื่อกันว่า
ครั้งหนึ่งองค์คุรุปัทมะสัมภวะหรือในอีกชื่อหนึ่งคือ กูรู ริมโปเช (Guru Rinpoche)
ได้ขี่เสือขึ้นมาปฏิบัติกรรมฐานภายในถ้ำบนหน้าผาแห่งนี้เป็นเวลา 3 ปี 3 เดือน 3 สัปดาห์ 3 วัน 3 ชั่วโมง
2. Punakha Dzong
พูนาคา อดีตราชธานีแห่งราชอาณาจักรภูฏาน พูนาคาซอง นับเป็นศูนย์กลางการปกครองของเมืองแต่ครั้งอดีต
ซอง (Dzong) นับเป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของภูฏานและดินแดนในแถบทิเบต คือเป็นทั้งป้อมปราการ
พระราชวัง และวิหาร รวมอยู่ภายในกลุ่มอาคารเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการโจมตีจากกองทัพศัตรูซึ่งส่วนใหญ่
คือกองทัพจากทิเบตที่อยู่ทางตอนเหนือ
พูนาคาซอง ได้ชื่อว่าเป็นซองที่สวยที่สุดของภูฏาน ตั้งอยู่ ณ จุดบรรจบกันของแม่น้ำโพ (Pho Chhu)
และแม่น้ำโม (Mo Chhu) หรือก็คือแม่น้ำบิดา และแม่น้ำมารดาตามลำดับ พูนาคาซอง สร้างขึ้นโดย
ซับดรุง งาวัง นัมเกล (Zhabdrung Ngawang Namgyal) พระลามะผู้รวบรวมและสถาปนาอาณาจักรภูฏาน
ขึ้นในช่วงคริสตศวรรษที่ 17
ในอดีตพูนาคาซอง มีสถานะเป็นที่ทำการรัฐ ศูนย์กลางศาสนจักรและพระราชวังฤดูหนาว สลับกับเมืองทิมพู
ทั้งนี้เนื่องจากพูนาคาอยู่ในพื้นที่ต่ำ มีอากาศอบอุ่นกว่าเมืองทิมพูที่เป็นราชธานีแห่งฤดูร้อน
พูนาคาดำรงสถานะเมืองหลวงแห่งฤดูหนาวจนถึงปี พ.ศ.2498 ราชธานีของภูฏานจึงได้ย้ายมาอยู่ทิมพูอย่างถาวร
แต่องค์พระสังฆราชยังคงประทับอยู่ที่พูนาคาซองในฤดูหนาวเช่นเดิม รวมถึงพระราชพิธีสำคัญๆของภูฏาน
ก็ยังคงจัดให้มีขึ้นที่ซองแห่งนี้ เช่น พระราชพิธีอภิเษกสมรสของสมเด็จพระราชาธิบดี
จิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ที่จัดขึ้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2554
3. Countryside
ชนบทแห่งแดนมังกรสายฟ้า ด้วยวิถีขีวิตของชาวภูฏานยังคงเป็นสังคมเกษตรกรรม
และสภาพภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยเทือกเขาสูง ดังนั้นเพียงออกจากตัวเมืองไปเพียงไม่กี่กิโลเมตร
เราก็จะได้พบกับความสวยงาม เรียบง่ายของชนบท ทั้งทุ่งนาขั้นบันได บ้านเรือนชนบทที่ผู้คนอาศัย
อยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ และทิวทัศน์ของเทือกเขาที่รายล้อมรอบด้าน
4. Paro Rinpung Dzong
พาโร รินปูซอง ซองที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของภูฏาน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2187
ด้วยรับสั่งของ ซับดรุง งาวัง นัมเกล (Zhabdrung Ngawang Namgyal)
หลังจากที่สามารถผนวกพาโรเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร คำว่า รินปูซอง
แปลว่า ป้อมปราการแห่งกองอัญมณี นับเป็นป้อมปราการที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของภูฏาน
ปัจจุบันภายในซองยังคงถูกใช้เป็นที่ทำการรัฐ วัด และโรงเรียนสำหรับพระลามะที่พำนักอยู่กว่า 200 รูป
ตัวอาคารของรินปูซอง ตั้งอยู่บนเนินเขาริมแม่น้ำพาโร มีลักษณะเป็นป้อมปราการสูงใหญ่
ทั้งนี้ในอดีตถูกใช้ในการสู้รบกับกองทัพทิเบตที่ล่องมาตามลำน้ำ ซึ่งในวันที่ฟ้าเปิดจะสามารถ
มองเห็นรินปูซองที่มีเทือกเขาปกคลุมด้วยหิมะขาวโพลนเป็นพื้นหลัง เป็นภาพที่งดงามงามมาก
5. Bhutanese cuisine
อาหารภูฏาน นับได้ว่าเป็นอาหารที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แม้จะได้รับอิทธิพลจากทิเบต
แต่สิ่งสำคัญที่แตกต่างคืออาหารที่นี่เป็นอาหารที่เน้นความเผ็ด ทั้งจากพริกแห้งและพริกสด
โดยเฉพาะ พริกคลุกชีส (Chili Cheese) เครื่องเคียงที่แทบจะมิขาดจากมื้ออาหารภูฏาน
นอกจากนี้ยังมีแกงเนื้อและเนื้อผัดพริกที่หอมด้วยเครื่องเทศ ซึ่งที่ภูฏานจะไม่มีการเลี้ยงสัตว์
เพื่อนำเนื้อมาเป็นอาหาร ดังนั้นเนื้อสัตว์ทั้งหมดจึงถูกนำเข้ามาจากอินเดียทั้งสิ้น
รวมถึงเนื้อปลาที่แม้ภูฏานจะอุดมไปด้วยแม่น้ำลำธารที่เต็มไปด้วยฝูงปลาหลากหลายพันธุ์
แต่การตกปลาที่นี่เป็นความผิดทางกฎหมาย เนื่องจากเป็นสิ่งผิดบาปตามข้อห้ามทางศาสนา
เดี๋ยวมาต่อกันครับ
แวะพูดคุยทักทายกันได้ที่
https://www.facebook.com/NaiNokHook
หรือที่เวปไซท์
http://www.nainokhook.com/
[CR] 10 ความประทับใจในดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า...ภูฏาน
ภูฏาน ดินแดนที่ได้ชื่อว่า ดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า ดินแดนที่ให้ความสำคัญกับความสุขมวลรวมประชาชาติ
มากกว่าผลผลิตมวลรวมประชาชาติดั่งประเทศอื่นๆยึดถือกัน
ที่นี่คือดินแดนในฝันของใครหลายๆคน เพราะขึ้นชื่อในความงดงามของธรรมชาติ
และผู้คนที่ยังคงยึดมั่นในศาสนาและธำรงรักษาวัฒนธรรมของตนเองไว้อย่างเหนียวแน่น
หลังจากได้มีโอกาสไปเยือนภูฏานเป็นครั้งแรก ผมขอมาร่วมแบ่งปันความประทับใจ
ถึงสาเหตุว่าทำไมถึงประทับใจในประเทศเล็กๆอันสงบเงียบแห่งนี้ครับ
1. Tiger’s Nest Temple
วัดถ้ำเสือ หรือรู้จักกันอีกชื่อหนึ่งคือ วิหารตั๊กซัง (Taktsang Palphug Monastery)
สถานที่แห่งนี้นับเป็นสุดยอดของจุดหมายการมาเยือนดินแดนมังกรสายฟ้าอย่างภูฏาน
ด้วยทัศนียภาพอันน่าตื่นตาของอารามที่สร้างขึ้นติดหน้าผาสูง เสมือนล่องลอยอยู่บนวิมานสวรรค์
วิหารตั๊กซังนับเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่มิใช่เพียงนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเดินทางมาชมเท่านั้น
ที่นี่ยังเป็นจุดหมายของชาวภูฏานที่เดินทางมาแสวงบุญสักการะองค์ คุรุปัทมะสัมภวะ
พระผู้นำพระพุทธศาสนามาสู่ดินแดนภูฏาน ตามตำนานเชื่อกันว่า
ครั้งหนึ่งองค์คุรุปัทมะสัมภวะหรือในอีกชื่อหนึ่งคือ กูรู ริมโปเช (Guru Rinpoche)
ได้ขี่เสือขึ้นมาปฏิบัติกรรมฐานภายในถ้ำบนหน้าผาแห่งนี้เป็นเวลา 3 ปี 3 เดือน 3 สัปดาห์ 3 วัน 3 ชั่วโมง
2. Punakha Dzong
พูนาคา อดีตราชธานีแห่งราชอาณาจักรภูฏาน พูนาคาซอง นับเป็นศูนย์กลางการปกครองของเมืองแต่ครั้งอดีต
ซอง (Dzong) นับเป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของภูฏานและดินแดนในแถบทิเบต คือเป็นทั้งป้อมปราการ
พระราชวัง และวิหาร รวมอยู่ภายในกลุ่มอาคารเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการโจมตีจากกองทัพศัตรูซึ่งส่วนใหญ่
คือกองทัพจากทิเบตที่อยู่ทางตอนเหนือ
พูนาคาซอง ได้ชื่อว่าเป็นซองที่สวยที่สุดของภูฏาน ตั้งอยู่ ณ จุดบรรจบกันของแม่น้ำโพ (Pho Chhu)
และแม่น้ำโม (Mo Chhu) หรือก็คือแม่น้ำบิดา และแม่น้ำมารดาตามลำดับ พูนาคาซอง สร้างขึ้นโดย
ซับดรุง งาวัง นัมเกล (Zhabdrung Ngawang Namgyal) พระลามะผู้รวบรวมและสถาปนาอาณาจักรภูฏาน
ขึ้นในช่วงคริสตศวรรษที่ 17
ในอดีตพูนาคาซอง มีสถานะเป็นที่ทำการรัฐ ศูนย์กลางศาสนจักรและพระราชวังฤดูหนาว สลับกับเมืองทิมพู
ทั้งนี้เนื่องจากพูนาคาอยู่ในพื้นที่ต่ำ มีอากาศอบอุ่นกว่าเมืองทิมพูที่เป็นราชธานีแห่งฤดูร้อน
พูนาคาดำรงสถานะเมืองหลวงแห่งฤดูหนาวจนถึงปี พ.ศ.2498 ราชธานีของภูฏานจึงได้ย้ายมาอยู่ทิมพูอย่างถาวร
แต่องค์พระสังฆราชยังคงประทับอยู่ที่พูนาคาซองในฤดูหนาวเช่นเดิม รวมถึงพระราชพิธีสำคัญๆของภูฏาน
ก็ยังคงจัดให้มีขึ้นที่ซองแห่งนี้ เช่น พระราชพิธีอภิเษกสมรสของสมเด็จพระราชาธิบดี
จิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ที่จัดขึ้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2554
3. Countryside
ชนบทแห่งแดนมังกรสายฟ้า ด้วยวิถีขีวิตของชาวภูฏานยังคงเป็นสังคมเกษตรกรรม
และสภาพภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยเทือกเขาสูง ดังนั้นเพียงออกจากตัวเมืองไปเพียงไม่กี่กิโลเมตร
เราก็จะได้พบกับความสวยงาม เรียบง่ายของชนบท ทั้งทุ่งนาขั้นบันได บ้านเรือนชนบทที่ผู้คนอาศัย
อยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ และทิวทัศน์ของเทือกเขาที่รายล้อมรอบด้าน
4. Paro Rinpung Dzong
พาโร รินปูซอง ซองที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของภูฏาน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2187
ด้วยรับสั่งของ ซับดรุง งาวัง นัมเกล (Zhabdrung Ngawang Namgyal)
หลังจากที่สามารถผนวกพาโรเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร คำว่า รินปูซอง
แปลว่า ป้อมปราการแห่งกองอัญมณี นับเป็นป้อมปราการที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของภูฏาน
ปัจจุบันภายในซองยังคงถูกใช้เป็นที่ทำการรัฐ วัด และโรงเรียนสำหรับพระลามะที่พำนักอยู่กว่า 200 รูป
ตัวอาคารของรินปูซอง ตั้งอยู่บนเนินเขาริมแม่น้ำพาโร มีลักษณะเป็นป้อมปราการสูงใหญ่
ทั้งนี้ในอดีตถูกใช้ในการสู้รบกับกองทัพทิเบตที่ล่องมาตามลำน้ำ ซึ่งในวันที่ฟ้าเปิดจะสามารถ
มองเห็นรินปูซองที่มีเทือกเขาปกคลุมด้วยหิมะขาวโพลนเป็นพื้นหลัง เป็นภาพที่งดงามงามมาก
5. Bhutanese cuisine
อาหารภูฏาน นับได้ว่าเป็นอาหารที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แม้จะได้รับอิทธิพลจากทิเบต
แต่สิ่งสำคัญที่แตกต่างคืออาหารที่นี่เป็นอาหารที่เน้นความเผ็ด ทั้งจากพริกแห้งและพริกสด
โดยเฉพาะ พริกคลุกชีส (Chili Cheese) เครื่องเคียงที่แทบจะมิขาดจากมื้ออาหารภูฏาน
นอกจากนี้ยังมีแกงเนื้อและเนื้อผัดพริกที่หอมด้วยเครื่องเทศ ซึ่งที่ภูฏานจะไม่มีการเลี้ยงสัตว์
เพื่อนำเนื้อมาเป็นอาหาร ดังนั้นเนื้อสัตว์ทั้งหมดจึงถูกนำเข้ามาจากอินเดียทั้งสิ้น
รวมถึงเนื้อปลาที่แม้ภูฏานจะอุดมไปด้วยแม่น้ำลำธารที่เต็มไปด้วยฝูงปลาหลากหลายพันธุ์
แต่การตกปลาที่นี่เป็นความผิดทางกฎหมาย เนื่องจากเป็นสิ่งผิดบาปตามข้อห้ามทางศาสนา
เดี๋ยวมาต่อกันครับ
แวะพูดคุยทักทายกันได้ที่ https://www.facebook.com/NaiNokHook
หรือที่เวปไซท์ http://www.nainokhook.com/