การกลับชาติมาเกิดและระลึกชาติได้ของลามะในภูฏานมีมานานหลายร้อยปีจนถึงปัจจุบัน
เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงและรับรู้เป็นปกติในดินแดนแห่งนี้
There can be miracle, when you believe.
ปาฏิหาริย์เกิดขึ้นได้ หากที่แห่งนั้นมีศรัทธา
ผมระลึกชาติได้ เวลาผมพูดแบบนี้ ใครๆ คงมีสายตาที่มองผมเหมือนตัวประหลาด หรือไม่ก็คิดว่าผมเพี้ยนไปแล้ว ลองมาฟังเรื่องของผมก่อน แล้วคุณค่อยตัดสินใจว่าจะเชื่อหรือไม่
ผมชื่อสันติ เป็นช่างภาพอาชีพ ผมถ่ายภาพวิวทิวทัศน์เป็นหลัก ที่ผมเลือกแนวนี้เพราะมันเป็นโอกาสที่ผมจะได้ท่องเที่ยวไปในโลกกว้าง ดูแล้ว
ช่างเป็นอาชีพที่น่าใฝ่ฝันสำหรับทุกคน ครับ สำหรับผมมันเป็นความสุขจริงๆ ไม่ใช่แค่เพียงได้เดินทางไปยังดินแดนต่างๆ เพื่อเก็บความงามตาม
ธรรมชาติเท่านั้น แต่ผลงานที่ออกมายังนำพารายได้ก้อนโตมาให้อีกด้วย
นอกจากเงินและการได้เดินทางไปท่องโลกแล้ว ความใฝ่ฝันของผมไม่ได้หยุดอยู่เพียงเท่านี้ แต่ผมยังอยากมีชื่อเสียง ความฝันของผมและ
ตากล้องมืออาชีพหลายคน คือ ผลงานที่ได้รับพิจารณาให้ลงพิมพ์ในนิตยสาร National Geographic ยังไงครับ
การท่องเที่ยวโลกกว้างของผมยังมีอีกเหตุผลหนึ่ง ผมกำลังมองหาดินแดนแห่งหนึ่งที่ผมเคยเห็นในความฝัน มันเป็นฝันที่เกิดขึ้นซ้ำๆ จนผม
แปลกใจ
ทุกครั้งที่ฝัน ผมเห็นภาพตัวเองยืนอยู่ริมแม่น้ำสายหนึ่ง เป็นแม่น้ำที่ไม่กว้างนัก อีกฟากฝั่งแม่น้ำคือขุนเขาสูงที่มีบ้านเรือนตั้งอยู่ประปราย ลดหลั่น
กันไปตามความลาดชันของภูเขาที่ทะมึนมืดเป็นสีเทาอยู่ในคืนเดือนแรม แสงไฟวับแวมของบ้านเรือนเหล่านั้น แต่งแต้มอยู่มุมนั้นมุมนี้ของเทือกเขา
ดูไม่ต่างจากท้องฟ้าคืนมืดที่พร่างพราวไปด้วยดวงดาวน้อยใหญ่
ช่างเป็นภาพงดงามที่ผูกพันหัวใจของผมอย่างบอกไม่ถูก มันติดตรึงอยู่ในใจผมมาตลอด แม้ยามหลับและยามตื่น จนผมอยากจะค้นหาดินแดนที่มีแม่น้ำสายนี้ให้เจอ ซึ่งมันไม่ใช่แม่น้ำในเมืองไทยอย่างแน่นอน เพราะตั้งแต่ผมตั้งใจจะเสาะแสวงหา ผมก็ตระเวนไปทั่วไทย ค้นหาแม่น้ำทุกสาย
ในประเทศมาแล้ว ก็ยังไม่เจอ
ยิ่งระยะหลังมานี่ ผมเริ่มฝันบ่อยขึ้น ฝันเดิมๆ ณ จุดเดิมที่ผมไปยืนอยู่ริมแม่น้ำ เมื่อตื่นขึ้นมาผมจะพยายามนึกย้อนทวนถึงรายละเอียดในฝันที่อาจจะนำพาเบาะแสบางอย่างมาให้ผมได้รู้ว่า สถานที่แห่งนี้คือที่ไหน แต่มันก็เหมือนเดิม เหมือนผมกำลังดูหนังที่ฉายซ้ำๆ ถามว่าผมเบื่อไหม ไม่เลย
เพราะในฝันนั่น ผมเกิดความรู้สึกอิ่มเอมอย่างบอกไม่ถูก เป็นความสุขสงบที่ผมได้มายืนริมฝั่งแม่น้ำแห่งนี้ ....และอยากให้เป็นเช่นนี้เรื่อยไป
เพราะฉะนั้น ผมจะต้องค้นหาสถานที่นี้ให้เจอ ผมจึงมุ่งมั่นที่จะออกเดินทางไปยังประเทศต่างๆ เพื่อทำงานถ่ายภาพของผม และค้นหาสถานที่แห่งนี้จนกว่าจะเจอแม้จะต้องพลิกโลกใบนี้ก็ตาม และผมเชื่อมั่นตัวเองอย่างยิ่งว่าผมจะค้นพบมันในที่สุด
ผมเดินทางไปยุโรปและอเมริกามาหมดแล้ว จนผมคิดว่าไม่น่าจะใช่ ผมควรมองหาประเทศเล็กๆ ที่ห่างไกลความเจริญ หรืออาจจะเป็นดินแดนใน
แถบอเมริกาใต้ ซึ่งผมยังไม่เคยไป
แล้ววันหนึ่งผมก็ได้รับการติดต่อจากนิตยสารฉบับหนึ่งที่ต้องการจ้างฟรีแลนซ์อย่างผมให้ไปถ่ายทำสารคดีที่ประเทศภูฏาน
“ภูฏานหรือครับ ช่วงนี้มีอะไรหรือเปล่า” ผมถาม เพราะต้องเตรียมทำการบ้านก่อนเดินทาง ถ้าจะให้ผมทำสารคดี หมายถึง ผมต้องเขียนเรื่องประกอบด้วยไม่ใช่เพียงแต่ถ่ายภาพ
“คือเป็นสารคดีทั่วไปเพื่อแนะนำประเทศนี้ เรามั่นใจว่าคุณน่าจะทำได้ นอกเหนือจากการถ่ายภาพ”
“ครับ ผมเขียนสารคดีประกอบภาพได้ เพียงแต่นึกสงสัยว่ามีเทศกาลพิเศษอะไรที่นั่นหรือเปล่า เพราะถ้าพูดถึงสารคดีแนะนำประเทศทั่วๆ ไป มีนิตยสารอื่นเขาทำเรื่องภูฏานกันเยอะแล้ว เกรงว่าความน่าสนใจอาจจะลดลง” สำหรับผมแล้วเรื่องทำสารคดีท่องเที่ยวทั่วไป เป็นเรื่องง่ายเกินไป ผมอยากมองหาบางสิ่งบางอย่างที่พิเศษมากไปกว่านี้
“ที่คุณพูดก็ถูก แต่เราเป็นนิตยสารน้องใหม่ ทุนของเรายังไม่สูงนัก ต้องสารภาพว่าถ้าจะส่งคุณไปทำสารคดีช่วงที่ประเทศนี้มีงานสำคัญหรือมีเทศกาล ทุกอย่างจะแพงไปหมด เราสู้ค่าใช้จ่ายไม่ไหว”
ผมนิ่งฟังอย่างเห็นใจ พร้อมกันนั้นในใจก็นึกแย้งว่าหากลงทุนทำสารคดีในช่วงเวลาพิเศษของประเทศนั้นๆ ก็เท่ากับเป็นการโปรโมทนิตยสารตัวเอง แทนที่จะมาเสียน้อยเสียยากแบบนี้ แต่เอาเถอะ สำหรับผมแล้ว ยังไงก็ได้ ถ้าเป็นความต้องการของผู้ว่าจ้าง
“คือทางเราเห็นว่า ฝีมือถ่ายภาพของคุณอยู่ระดับแถวหน้าแบบนี้ ก็เท่ากับสร้างจุดสนใจให้คนอ่าน อีกทั้งมุมมองที่แตกต่างเป็นความสามารถพิเศษในตัวคุณที่เราคิดว่าสารคดีชุดนี้ไม่น่าจะออกมาธรรมดา”
ใช่ ผมไม่เคยทำงาน 'ธรรมดา'
ผมขอบคุณเขาในคำชมแล้วเริ่มเข้าใจแล้วว่า เขาตั้งใจจะลงทุนในตัวผมมากกว่าเพราะเขาเสนออัตราค่าตอบแทนที่ค่อนข้างสูงกว่าปกติที่ผมเคยได้รับ ผมตอบตกลงและเตรียมวางแผนที่จะทำสารคดีชุดนี้ให้ออกมาแตกต่างอย่างแน่นอน อีกทั้งประเทศภูฏาน เป็นความสนใจของผมอยู่พอดี ผมมองหาโอกาสเหมาะๆ ที่จะไปเยือนประเทศนี้อยู่แล้ว ผมจึงตกลงใจรับงานนี้
----------------- * --------------------
สายการบิน Bhutan Airline เป็นหนึ่งในสองสายการบินของประเทศนี้ ผมไม่เห็นเครื่องบินของสายการบินอื่นเลย น่าจะเป็นเพราะสภาพภูมิประเทศที่เป็นช่องเขาแคบขนาบสองข้างรันเวย์ ทำให้ไม่เอื้อให้เครื่องบินลำใหญ่ลงจอดได้ และคงเป็นนโยบายของทางการที่จะจำกัดทุกสิ่งทุกอย่างให้อยู่ในขอบเขตที่รัฐบาลดูแลได้ คือทุกคนต้องใช้สายการบินของภูฏานเท่านั้น อีกทั้งเป็นการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว ที่หากมากกว่านี้ สนามบินและบริการต่างๆ คงไม่อาจรองรับได้
ผมชอบนะที่รัฐบาลของประเทศนี้คิดแบบนี้ ดูไม่โลภมากดี ไม่จำเป็นต้องกอบโกยรายได้เข้าประเทศโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่ตามมา โดยเฉพาะด้านสังคมและวัฒนธรรมจากชาติตะวันตกที่พยายามคืบคลานเข้ามาครอบงำผู้คนในประเทศนี้
อาคารที่ทำการของสนามบินมีขนาดเล็กจนผมแปลกใจ เมื่อเปรียบเทียบกับสนามบินสุวรรณภูมิอันแสนจะอลังการของไทยแล้ว ผมถามตัวเองว่ามีแค่นี้เองหรือ อาคารสองชั้นที่มีขนาดใหญ่เท่ากับบ้านเศรษฐีระดับกลางของเมืองไทยแต่งดงามด้วยการระบายสีสันที่ตัวอาคารด้วยลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมภูฏาน
ผมผ่านขั้นตอนพิธีการเข้าประเทศและได้รับกระเป๋าเดินทางออกมาเมื่อเวลา 10 โมงเช้า อากาศที่นี่สดชื่นเย็นสบายจริงๆ ช่วงนี้เริ่มเข้าฤดูร้อน ทำให้ผมไม่ต้องเตรียมเครื่องกันหนาวมากนัก ผมมองหาไกด์ท้องถิ่นที่ติดต่อมาล่วงหน้าแล้วว่าจะมารับ
นั่นเอง ผมเห็นชื่อผมแล้วที่ป้ายกระดาษในมือผู้ชายร่างสันทัดในชุดพื้นเมือง เขาเข้ามาทักทายเมื่อผมแสดงตัวว่าคือคนที่เขาตั้งใจมารับ
“ผมชื่อเก้นท์ เป็นไกด์ประจำตัวของคุณ” แล้วเขาก็พาผมไปที่รถขนาดยี่สิบที่นั่ง มีนักท่องเที่ยวต่างชาตินั่งรออยู่ก่อนแล้ว 5 คน ผมจำได้ทันทีว่าคนเหล่านี้มาเครื่องบินลำเดียวกับผม เก้นท์ให้เรารอผู้โดยสารอีกสองคน ทั้งหมดในรถคันนี้เราจะมีนักท่องเที่ยว 8 คน เป็นฝรั่งทั้งหมด ยกเว้นผม คนไทยผิวเข้มๆ และหน้าตาที่ดูไม่แตกต่างจากคนพื้นเมืองที่นี่มากนัก
จริงซิ ผมเริ่มสังเกตรูปร่างหน้าตาชาวภูฏาน ผมว่าพวกเขาหน้าตาคล้ายคนไทยนะ คือออกแนวจีน แต่ตาโต จมูกโด่งและผิวสีเข้ม ยิ่งมองไปรอบๆ ที่มีชาวภูฏานอยู่รอบบริเวณก็ยิ่งแปลกใจที่ใบหน้าที่นอกจากจะคล้ายคนจีนและอยู่ในเขตหนาวเช่นนี้แล้ว น่าจะผิวขาวแต่กลับไม่ขาว
ผู้โดยสารครบแล้ว เก้นท์เริ่มนำผ้าพันคอสีขาวเป็นไหมจีนนิ่มๆ มาแจกทุกคนและอธิบายว่า ผ้าผืนนี้คือสิ่งที่ชาวภูฏานมอบให้เพื่อแสดงการต้อนรับแขกผู้มาเยือน ผมพิจารณาผ้าพันคอผืนนี้มีลายทออยู่ในตัว เป็นตราสัญลักษณ์ของประเทศ 8 อย่าง ที่เก้นท์อธิบายให้ความรู้ว่าแต่ละอย่างหมายถึงอะไร
จากนั้นเราจึงเริ่มออกเดินทาง ไกด์แจ้งถึงโปรแกรมการท่องเที่ยวว่าจะไปที่ไหนบ้าง เมืองท่องเที่ยวหลักๆ ของภูฏานมี 3 เมืองคือ
พาโร เมืองที่เป็นที่ตั้งของสนามบินแห่งนี้
ทิมพู เมืองหลวงของประเทศ และ
ปูนาคา คือเมืองที่เป็นที่ตั้งของ ปูนาคา ซอง สถานที่สำคัญที่จัดพิธีราชาภิเษก
ผมวางแผนจะไปทำสารคดีอย่างละเอียดเกี่ยวกับการขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์จิ๊กมี่ กษัตริย์หนุ่มหล่อขวัญใจสาวไทย ผมว่าแนวนี้ดูน่าสนใจมากกว่าเรื่องท่องเที่ยวทั่วๆ ไป
ผมนั่งรถชมวิวทิวทัศน์ที่เต็มไปด้วยภูเขาสองข้างทาง ช่างงดงามยิ่งนัก ผมยกกล้องขึ้นบันทึกภาพ บางวิวสวยมากจนอยากให้เขาจอดรถเพื่อลงไปตั้งกล้องแล้วถ่ายรูปอย่างมีคุณภาพมากกว่าจะเป็นรูปที่ถ่ายจากรถที่กำลังแล่น แล้วเริ่มนึกขึ้นได้ว่า ผมมีภารกิจที่ต้องทำ การมารวมกลุ่มกับคนอื่นแบบนี้ หากผมต้องแวะถ่ายรูป ทั้งกลุ่มต้องมาคอยกันหรือนี่ ?
ผมจะหาโอกาสถามเก้นท์ว่าคนที่ติดต่อจ้างผมมานั้นเขาติดต่อแบบไหน ผมคิดว่าผมต้องการแยกออกมาเที่ยวเดี่ยวๆ กับไกด์ส่วนตัวดีกว่า และเริ่มไม่มั่นใจว่านิตยสารรายนี้ที่จ้างผม จะใช้วิธีการประหยัดค่าใช้จ่ายหรืออย่างไรที่ต้องให้ผมมารวมกลุ่มกับนักท่องเที่ยวคนอื่น
เก้นท์เริ่มอธิบายถึงสถานที่ที่เราจะไปเที่ยวกันวันนี้ ซึ่งมีแจ้งอยู่ในโปรแกรม คือ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ และตา ซอง (Ta Dzong) แล้วจากนั้น เราจะเข้าเมืองหลวง เพื่อชม Thimphu Dzong และ ไปดูเจ้าตัวทาคิน สัตว์พิเศษรูปร่างคล้ายแพะผสมกับวัว
ความหมายของคำว่า Dzong (ซอง) คือป้อมปราการ หรือ Fort ผสมกับศาสนาสถาน หรือ Monastery
ก่อนอื่น ผมต้องทำความเข้าใจถึงประวัติศาสตร์ของภูฏานก่อนว่า แต่เดิมนั้นภูฏานแยกตัวออกมาจากทิเบต ซึ่งในยุคนั้นมีการรบพุ่ง จึงต้องมีการสร้างป้อมปราการเพื่อป้องกันข้าศึก ยามเกิดศึกสงครามประชาชนจะเข้ามาหลบภัยในสถานที่นี้
มันชวนให้ผมนึกถึงหนังฝรั่งสมัยโบราณหรือหนังคาวบอยที่มีป้อมปราการแบบนี้ คงเป็นแนวคิดเดียวกัน และภายในป้อมจะต้องมีศาสนาสถานไว้เป็นที่พึ่งทางใจสำหรับประชาชนที่เคร่งศาสนาอย่างชาวภูฏานได้กราบไหว้และทำกิจของพุทธศาสนิกชนได้อย่างไม่ขาดแม้อยู่ในช่วงสงคราม
แม้ปัจจุบัน ประเทศภูฏานจะสงบสุขไม่มีสงครามแล้วก็ตาม แต่ซองเหล่านี้ยังมีการใช้ประโยชน์คือ เป็นสถานที่ทำการของหน่วยงานราชการ ส่วนที่เป็นศาสนสถานก็ยังเป็นที่ที่ประชาชนเข้ามาสักการะ และเป็นสถานที่สำหรับนักท่องเที่ยวเข้ามาชมอีกด้วย
พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ สถานที่แรกที่พวกเราเข้ามาเยี่ยมชม ไม่ได้ใหญ่โตมากนัก สถานที่แห่งนี้จำกัดเรื่องแสงสว่างมากโดยเฉพาะแสงจากแฟลชกล้องถ่ายรูปเพราะวัตถุโบราณที่นำมาแสดงนั้น ส่วนใหญ่เป็นสิ่งของที่ระบายด้วยสีสัน อย่างเช่น หน้ากากหลายชนิด หลายขนาด ภาพวาด Mandara บนผืนผ้าขนาดต่างๆ ของเหล่านี้หากถูกแสงสว่างจะซีดจางเสียหายได้
(มีต่อ)
ผมระลึกชาติได้ (1) โดย ดรัสวันต์
ผมชื่อสันติ เป็นช่างภาพอาชีพ ผมถ่ายภาพวิวทิวทัศน์เป็นหลัก ที่ผมเลือกแนวนี้เพราะมันเป็นโอกาสที่ผมจะได้ท่องเที่ยวไปในโลกกว้าง ดูแล้ว
ช่างเป็นอาชีพที่น่าใฝ่ฝันสำหรับทุกคน ครับ สำหรับผมมันเป็นความสุขจริงๆ ไม่ใช่แค่เพียงได้เดินทางไปยังดินแดนต่างๆ เพื่อเก็บความงามตาม
ธรรมชาติเท่านั้น แต่ผลงานที่ออกมายังนำพารายได้ก้อนโตมาให้อีกด้วย
นอกจากเงินและการได้เดินทางไปท่องโลกแล้ว ความใฝ่ฝันของผมไม่ได้หยุดอยู่เพียงเท่านี้ แต่ผมยังอยากมีชื่อเสียง ความฝันของผมและ
ตากล้องมืออาชีพหลายคน คือ ผลงานที่ได้รับพิจารณาให้ลงพิมพ์ในนิตยสาร National Geographic ยังไงครับ
การท่องเที่ยวโลกกว้างของผมยังมีอีกเหตุผลหนึ่ง ผมกำลังมองหาดินแดนแห่งหนึ่งที่ผมเคยเห็นในความฝัน มันเป็นฝันที่เกิดขึ้นซ้ำๆ จนผม
แปลกใจ
ทุกครั้งที่ฝัน ผมเห็นภาพตัวเองยืนอยู่ริมแม่น้ำสายหนึ่ง เป็นแม่น้ำที่ไม่กว้างนัก อีกฟากฝั่งแม่น้ำคือขุนเขาสูงที่มีบ้านเรือนตั้งอยู่ประปราย ลดหลั่น
กันไปตามความลาดชันของภูเขาที่ทะมึนมืดเป็นสีเทาอยู่ในคืนเดือนแรม แสงไฟวับแวมของบ้านเรือนเหล่านั้น แต่งแต้มอยู่มุมนั้นมุมนี้ของเทือกเขา
ดูไม่ต่างจากท้องฟ้าคืนมืดที่พร่างพราวไปด้วยดวงดาวน้อยใหญ่
ช่างเป็นภาพงดงามที่ผูกพันหัวใจของผมอย่างบอกไม่ถูก มันติดตรึงอยู่ในใจผมมาตลอด แม้ยามหลับและยามตื่น จนผมอยากจะค้นหาดินแดนที่มีแม่น้ำสายนี้ให้เจอ ซึ่งมันไม่ใช่แม่น้ำในเมืองไทยอย่างแน่นอน เพราะตั้งแต่ผมตั้งใจจะเสาะแสวงหา ผมก็ตระเวนไปทั่วไทย ค้นหาแม่น้ำทุกสาย
ในประเทศมาแล้ว ก็ยังไม่เจอ
ยิ่งระยะหลังมานี่ ผมเริ่มฝันบ่อยขึ้น ฝันเดิมๆ ณ จุดเดิมที่ผมไปยืนอยู่ริมแม่น้ำ เมื่อตื่นขึ้นมาผมจะพยายามนึกย้อนทวนถึงรายละเอียดในฝันที่อาจจะนำพาเบาะแสบางอย่างมาให้ผมได้รู้ว่า สถานที่แห่งนี้คือที่ไหน แต่มันก็เหมือนเดิม เหมือนผมกำลังดูหนังที่ฉายซ้ำๆ ถามว่าผมเบื่อไหม ไม่เลย
เพราะในฝันนั่น ผมเกิดความรู้สึกอิ่มเอมอย่างบอกไม่ถูก เป็นความสุขสงบที่ผมได้มายืนริมฝั่งแม่น้ำแห่งนี้ ....และอยากให้เป็นเช่นนี้เรื่อยไป
เพราะฉะนั้น ผมจะต้องค้นหาสถานที่นี้ให้เจอ ผมจึงมุ่งมั่นที่จะออกเดินทางไปยังประเทศต่างๆ เพื่อทำงานถ่ายภาพของผม และค้นหาสถานที่แห่งนี้จนกว่าจะเจอแม้จะต้องพลิกโลกใบนี้ก็ตาม และผมเชื่อมั่นตัวเองอย่างยิ่งว่าผมจะค้นพบมันในที่สุด
ผมเดินทางไปยุโรปและอเมริกามาหมดแล้ว จนผมคิดว่าไม่น่าจะใช่ ผมควรมองหาประเทศเล็กๆ ที่ห่างไกลความเจริญ หรืออาจจะเป็นดินแดนใน
แถบอเมริกาใต้ ซึ่งผมยังไม่เคยไป
แล้ววันหนึ่งผมก็ได้รับการติดต่อจากนิตยสารฉบับหนึ่งที่ต้องการจ้างฟรีแลนซ์อย่างผมให้ไปถ่ายทำสารคดีที่ประเทศภูฏาน
“ภูฏานหรือครับ ช่วงนี้มีอะไรหรือเปล่า” ผมถาม เพราะต้องเตรียมทำการบ้านก่อนเดินทาง ถ้าจะให้ผมทำสารคดี หมายถึง ผมต้องเขียนเรื่องประกอบด้วยไม่ใช่เพียงแต่ถ่ายภาพ
“คือเป็นสารคดีทั่วไปเพื่อแนะนำประเทศนี้ เรามั่นใจว่าคุณน่าจะทำได้ นอกเหนือจากการถ่ายภาพ”
“ครับ ผมเขียนสารคดีประกอบภาพได้ เพียงแต่นึกสงสัยว่ามีเทศกาลพิเศษอะไรที่นั่นหรือเปล่า เพราะถ้าพูดถึงสารคดีแนะนำประเทศทั่วๆ ไป มีนิตยสารอื่นเขาทำเรื่องภูฏานกันเยอะแล้ว เกรงว่าความน่าสนใจอาจจะลดลง” สำหรับผมแล้วเรื่องทำสารคดีท่องเที่ยวทั่วไป เป็นเรื่องง่ายเกินไป ผมอยากมองหาบางสิ่งบางอย่างที่พิเศษมากไปกว่านี้
“ที่คุณพูดก็ถูก แต่เราเป็นนิตยสารน้องใหม่ ทุนของเรายังไม่สูงนัก ต้องสารภาพว่าถ้าจะส่งคุณไปทำสารคดีช่วงที่ประเทศนี้มีงานสำคัญหรือมีเทศกาล ทุกอย่างจะแพงไปหมด เราสู้ค่าใช้จ่ายไม่ไหว”
ผมนิ่งฟังอย่างเห็นใจ พร้อมกันนั้นในใจก็นึกแย้งว่าหากลงทุนทำสารคดีในช่วงเวลาพิเศษของประเทศนั้นๆ ก็เท่ากับเป็นการโปรโมทนิตยสารตัวเอง แทนที่จะมาเสียน้อยเสียยากแบบนี้ แต่เอาเถอะ สำหรับผมแล้ว ยังไงก็ได้ ถ้าเป็นความต้องการของผู้ว่าจ้าง
“คือทางเราเห็นว่า ฝีมือถ่ายภาพของคุณอยู่ระดับแถวหน้าแบบนี้ ก็เท่ากับสร้างจุดสนใจให้คนอ่าน อีกทั้งมุมมองที่แตกต่างเป็นความสามารถพิเศษในตัวคุณที่เราคิดว่าสารคดีชุดนี้ไม่น่าจะออกมาธรรมดา”
ใช่ ผมไม่เคยทำงาน 'ธรรมดา'
ผมขอบคุณเขาในคำชมแล้วเริ่มเข้าใจแล้วว่า เขาตั้งใจจะลงทุนในตัวผมมากกว่าเพราะเขาเสนออัตราค่าตอบแทนที่ค่อนข้างสูงกว่าปกติที่ผมเคยได้รับ ผมตอบตกลงและเตรียมวางแผนที่จะทำสารคดีชุดนี้ให้ออกมาแตกต่างอย่างแน่นอน อีกทั้งประเทศภูฏาน เป็นความสนใจของผมอยู่พอดี ผมมองหาโอกาสเหมาะๆ ที่จะไปเยือนประเทศนี้อยู่แล้ว ผมจึงตกลงใจรับงานนี้
ผมชอบนะที่รัฐบาลของประเทศนี้คิดแบบนี้ ดูไม่โลภมากดี ไม่จำเป็นต้องกอบโกยรายได้เข้าประเทศโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่ตามมา โดยเฉพาะด้านสังคมและวัฒนธรรมจากชาติตะวันตกที่พยายามคืบคลานเข้ามาครอบงำผู้คนในประเทศนี้
อาคารที่ทำการของสนามบินมีขนาดเล็กจนผมแปลกใจ เมื่อเปรียบเทียบกับสนามบินสุวรรณภูมิอันแสนจะอลังการของไทยแล้ว ผมถามตัวเองว่ามีแค่นี้เองหรือ อาคารสองชั้นที่มีขนาดใหญ่เท่ากับบ้านเศรษฐีระดับกลางของเมืองไทยแต่งดงามด้วยการระบายสีสันที่ตัวอาคารด้วยลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมภูฏาน
ผมผ่านขั้นตอนพิธีการเข้าประเทศและได้รับกระเป๋าเดินทางออกมาเมื่อเวลา 10 โมงเช้า อากาศที่นี่สดชื่นเย็นสบายจริงๆ ช่วงนี้เริ่มเข้าฤดูร้อน ทำให้ผมไม่ต้องเตรียมเครื่องกันหนาวมากนัก ผมมองหาไกด์ท้องถิ่นที่ติดต่อมาล่วงหน้าแล้วว่าจะมารับ
นั่นเอง ผมเห็นชื่อผมแล้วที่ป้ายกระดาษในมือผู้ชายร่างสันทัดในชุดพื้นเมือง เขาเข้ามาทักทายเมื่อผมแสดงตัวว่าคือคนที่เขาตั้งใจมารับ
“ผมชื่อเก้นท์ เป็นไกด์ประจำตัวของคุณ” แล้วเขาก็พาผมไปที่รถขนาดยี่สิบที่นั่ง มีนักท่องเที่ยวต่างชาตินั่งรออยู่ก่อนแล้ว 5 คน ผมจำได้ทันทีว่าคนเหล่านี้มาเครื่องบินลำเดียวกับผม เก้นท์ให้เรารอผู้โดยสารอีกสองคน ทั้งหมดในรถคันนี้เราจะมีนักท่องเที่ยว 8 คน เป็นฝรั่งทั้งหมด ยกเว้นผม คนไทยผิวเข้มๆ และหน้าตาที่ดูไม่แตกต่างจากคนพื้นเมืองที่นี่มากนัก
จริงซิ ผมเริ่มสังเกตรูปร่างหน้าตาชาวภูฏาน ผมว่าพวกเขาหน้าตาคล้ายคนไทยนะ คือออกแนวจีน แต่ตาโต จมูกโด่งและผิวสีเข้ม ยิ่งมองไปรอบๆ ที่มีชาวภูฏานอยู่รอบบริเวณก็ยิ่งแปลกใจที่ใบหน้าที่นอกจากจะคล้ายคนจีนและอยู่ในเขตหนาวเช่นนี้แล้ว น่าจะผิวขาวแต่กลับไม่ขาว
ผู้โดยสารครบแล้ว เก้นท์เริ่มนำผ้าพันคอสีขาวเป็นไหมจีนนิ่มๆ มาแจกทุกคนและอธิบายว่า ผ้าผืนนี้คือสิ่งที่ชาวภูฏานมอบให้เพื่อแสดงการต้อนรับแขกผู้มาเยือน ผมพิจารณาผ้าพันคอผืนนี้มีลายทออยู่ในตัว เป็นตราสัญลักษณ์ของประเทศ 8 อย่าง ที่เก้นท์อธิบายให้ความรู้ว่าแต่ละอย่างหมายถึงอะไร
จากนั้นเราจึงเริ่มออกเดินทาง ไกด์แจ้งถึงโปรแกรมการท่องเที่ยวว่าจะไปที่ไหนบ้าง เมืองท่องเที่ยวหลักๆ ของภูฏานมี 3 เมืองคือ
พาโร เมืองที่เป็นที่ตั้งของสนามบินแห่งนี้
ทิมพู เมืองหลวงของประเทศ และ
ปูนาคา คือเมืองที่เป็นที่ตั้งของ ปูนาคา ซอง สถานที่สำคัญที่จัดพิธีราชาภิเษก
ผมวางแผนจะไปทำสารคดีอย่างละเอียดเกี่ยวกับการขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์จิ๊กมี่ กษัตริย์หนุ่มหล่อขวัญใจสาวไทย ผมว่าแนวนี้ดูน่าสนใจมากกว่าเรื่องท่องเที่ยวทั่วๆ ไป
ผมนั่งรถชมวิวทิวทัศน์ที่เต็มไปด้วยภูเขาสองข้างทาง ช่างงดงามยิ่งนัก ผมยกกล้องขึ้นบันทึกภาพ บางวิวสวยมากจนอยากให้เขาจอดรถเพื่อลงไปตั้งกล้องแล้วถ่ายรูปอย่างมีคุณภาพมากกว่าจะเป็นรูปที่ถ่ายจากรถที่กำลังแล่น แล้วเริ่มนึกขึ้นได้ว่า ผมมีภารกิจที่ต้องทำ การมารวมกลุ่มกับคนอื่นแบบนี้ หากผมต้องแวะถ่ายรูป ทั้งกลุ่มต้องมาคอยกันหรือนี่ ?
ผมจะหาโอกาสถามเก้นท์ว่าคนที่ติดต่อจ้างผมมานั้นเขาติดต่อแบบไหน ผมคิดว่าผมต้องการแยกออกมาเที่ยวเดี่ยวๆ กับไกด์ส่วนตัวดีกว่า และเริ่มไม่มั่นใจว่านิตยสารรายนี้ที่จ้างผม จะใช้วิธีการประหยัดค่าใช้จ่ายหรืออย่างไรที่ต้องให้ผมมารวมกลุ่มกับนักท่องเที่ยวคนอื่น
เก้นท์เริ่มอธิบายถึงสถานที่ที่เราจะไปเที่ยวกันวันนี้ ซึ่งมีแจ้งอยู่ในโปรแกรม คือ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ และตา ซอง (Ta Dzong) แล้วจากนั้น เราจะเข้าเมืองหลวง เพื่อชม Thimphu Dzong และ ไปดูเจ้าตัวทาคิน สัตว์พิเศษรูปร่างคล้ายแพะผสมกับวัว
ความหมายของคำว่า Dzong (ซอง) คือป้อมปราการ หรือ Fort ผสมกับศาสนาสถาน หรือ Monastery
ก่อนอื่น ผมต้องทำความเข้าใจถึงประวัติศาสตร์ของภูฏานก่อนว่า แต่เดิมนั้นภูฏานแยกตัวออกมาจากทิเบต ซึ่งในยุคนั้นมีการรบพุ่ง จึงต้องมีการสร้างป้อมปราการเพื่อป้องกันข้าศึก ยามเกิดศึกสงครามประชาชนจะเข้ามาหลบภัยในสถานที่นี้
มันชวนให้ผมนึกถึงหนังฝรั่งสมัยโบราณหรือหนังคาวบอยที่มีป้อมปราการแบบนี้ คงเป็นแนวคิดเดียวกัน และภายในป้อมจะต้องมีศาสนาสถานไว้เป็นที่พึ่งทางใจสำหรับประชาชนที่เคร่งศาสนาอย่างชาวภูฏานได้กราบไหว้และทำกิจของพุทธศาสนิกชนได้อย่างไม่ขาดแม้อยู่ในช่วงสงคราม
แม้ปัจจุบัน ประเทศภูฏานจะสงบสุขไม่มีสงครามแล้วก็ตาม แต่ซองเหล่านี้ยังมีการใช้ประโยชน์คือ เป็นสถานที่ทำการของหน่วยงานราชการ ส่วนที่เป็นศาสนสถานก็ยังเป็นที่ที่ประชาชนเข้ามาสักการะ และเป็นสถานที่สำหรับนักท่องเที่ยวเข้ามาชมอีกด้วย
พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ สถานที่แรกที่พวกเราเข้ามาเยี่ยมชม ไม่ได้ใหญ่โตมากนัก สถานที่แห่งนี้จำกัดเรื่องแสงสว่างมากโดยเฉพาะแสงจากแฟลชกล้องถ่ายรูปเพราะวัตถุโบราณที่นำมาแสดงนั้น ส่วนใหญ่เป็นสิ่งของที่ระบายด้วยสีสัน อย่างเช่น หน้ากากหลายชนิด หลายขนาด ภาพวาด Mandara บนผืนผ้าขนาดต่างๆ ของเหล่านี้หากถูกแสงสว่างจะซีดจางเสียหายได้