สวัสดีกันอีกครั้งค่ะ หนึ่งเดือนหลังจากโพสต์ทริปแอฟริกาจบไป ทริปนี้เป็นทริปปุ๊ปปํปที่ไม่ได้เตรียมตัวเลยจริงๆ เพราะจับผลัดจับผลูรู้ล่วงหน้าแค่ไม่ถึงสองอาทิตย์ ก่อนวันที่จะเดินทาง
ในความเป็นจริง จขกทยังไม่คิดจะมาประเทศนี้นะเนื่องจากการเดินทางที่ค่อนข้างยุ่งยาก เพราะ เรื่องแรกที่นี่ไม่สามารถมา backpack เองได้ทุกอย่างจะต้องทำผ่าน tour operator เนื่องจากประเทศ ภูฏาน (Bhutan) นั้นจำกัดนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศเพียงราว 20,000 คนต่อปีเพื่อเลี่ยงรับมลพิษทางความเจริญที่มีมากเกินไป (แต่ก่อนนั้นจำกัดนักเที่ยวเที่ยวแค่หลักพันต้นเท่านั้น) และค่าเหยียบแผ่นดินที่ต้องจ่าย 200$ (หน้า low season จำได้ไม่แน่นอนแต่มี 6 เดือน) และ 250$ (หน้า high ช่วง Sep-Nov) เป็นรายวัน ฟังไม่ผิดค่ะนี่คือต้องจ่ายรายวันซึ่งจำนวน 65$ จะจ่ายเป็นค่าบำรุงการศึกษา พัฒนาชุมชน ซึ่งปกติทำให้ค่าทัวร์ภูฏาน ราว 6 วัน 5 คืน และค่าวีซ่าอีก 40$ ทำให้ทัวร์มีราคาสูงมากทะลุ 50,000 บาทไปเลย นี่คือเหตุผลที่จขกทไม่เคยคิดจะมา แต่เผอิญจขกทได้มีโอกาสมาทำงาน เลยได้อานิสงค์ใช้โอกาสนี้ในการเที่ยวด้วยเลย
ภูมิประเทศและผู้คน
มารู้จักภูฏานกันก่อนสักเล็กน้อย ภูฏานเป็นประเทศเล็กๆ (มาก) เป็นประเทศ landlocked country คือ ประเทศที่ไม่มีทางออกทางทะเล มีอาณาเขตติดกับเนปาล ฑิเบตและรัฐดาเจอริ่งและสิกขิมของอินเดีย จึงไม่น่าแปลกใจ เพราะที่นี่ได้รับอิทธิพล มาจากทั้งสามประเทศ ตัวอักษรที่ทางภูฏาน ใช้หน้าตาเหมือนกับ ตัวอักษรเนปาลยังกับแกะ แต่จขกทก็อ่านไม่ออกหรอกนะเลยไม่ใจว่าเหมือนกันเลยรึป่าว ในขณะที่หน้าตาคล้ายกับผู้คน ทางเนปาลที่กาฏมัณฑุ และคนที่อยู่ในโซนทิเบต และคนอินเดียที่อยู่ในรัฐสิกขิมหรือแถวเลห์ ลาดักส์
อากาศหนาวเย็นเลขตัวเดียวต้นๆในตอนกลางคืน กลางวันแดดแรงเอาเรื่องค่ะ คนที่เพิ่งลงเครื่องต้องเดินช้าๆทำอะไรช้าๆเพื่อให้ร่างกายปรับตัว ควรติดยา diamox เพราะเราสามารถเป็น altitude sickness ได้ บางคนอาจเป็นแค่เลือดกำเดาพุ่งหรืออาจจะหนัก ถึงขั้นหายใจไม่ออกเข้า icu ก็มี
อาหารการกิน
อาหารการกินคล้ายกับเนปาลแต่รสชาติประหลาดคือจืดมาก และอาหารหลักคือ ชีสผัดพริก ซึ่งจขกทเป็นคอชีสนะแต่อันนี้จขกทขอบาย และสรุปคร่าวๆว่ายังหาของอร่อยทานไม่ได้ สรุปจขกท เน้นไปร้านอาหารอินเดียเอา เพราะ ทานพวก tikka masala ได้ (แกงไก่หรือชีสส่วนผสมหลักเป็นมะเขือเทศ) รสชาติใช้ได้อยู่ไม่ก็ทานโมโม่ (เป็นคล้ายๆเกี๊ยวนึ่งสอดไส้ผักหรือเนื้อต่างๆ) เป็นไส้มังสวิรัติก็อร่อยดีค่ะ
ขอบคุณภาพจาก google
ศาสนาและการปกครอง
ศาสนานั้นนับถือพุทธ (สายทิเบต) นิกายตันตระ แห่งสุดท้ายของโลก มีลามะเป็นผู้นำทาง จิตวิญญาณ มีประมุขทางศาสนาสูงสุด เช่นเดียวกับพระสังฆราชบ้านเรา ซึ่งทีตำแหน่งเทียบเท่ากษัตริย์ในระบบปกครองทางโลก สถาปัตยกรรมคือแบบพุทธฑิเบต ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม โชว์รูมรถ ห้าง หรือสิ่งก่อสร้างใหม่ก็ต้องคงสถาปัตยกรรมแบบเดิมไว้ เก๋ดี
สถาปัตยกรรมแบบพุทธธิเบต
เท่าที่สังเกตได้คนภูฎานยึดหลักศาสนาในการดำเนินชีวิตกันค่อนข้างมากเลยทำให้คนทุกคนที่เจอใจเย็นนะ อารมณ์ดี ตัวอย่างง่ายๆเรื่องขับรถประเทศนี้ไม่มีไฟจราจรจ้า แล้วถนนที่นี่พูดเลยว่าหลุมบ่อฝุ่นเยอะ การขับรถสวนกันแซงกัน (อย่างมีมารยาท) ตรงโค้งหักศอกแสนจะเสียวไส้ แต่ก็ขับกันได้ตามที่กฏหมายกำหนอดคือ 60 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง ทั้งๆที่ไม่มี cctv คอยจับนะแต่ขับกันระยะทางนี้ตลอด จริงๆคือต้องเคร่งและซื่อสัตย์ กับตัวเองและกฏพอสมควรนะ หมา วัวนอนชิวกลางถนน รถก็แย่งกันวิ่งหลบพัลวัล เออ ก็แปลกๆดีประเทศนี้
ภูฏานมีการดำเนินนโยบายการปกครองประเทศแบบใช้ Gross National Happiness ( GNH) ในการพัฒนาขับเคลื่อนประเทศ และเป็นประเทศแรกในโลกที่ใช้ดัชนีมวลความสุขในการชี้วัดการพัฒนาประเทศ ภูฏานปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์เป็นประมุข อย่างที่รู้กันกษัติรย์ปัจจุบันคือ กษัตริย์จิ๊กมี่
การแลกเงิน
การแลกเงิน 100$ หรือ 3500 บาทไทย จะแลกได้ประมาณ 6,500 Ngultrum เงินบ้านเรามีค่ามากกว่าบ้านเขา ถ้า 1 บาทไทยก็ 2 Ngultrum จริงแค่นี้ก้อพออยู่ได้นะจ้ะ สามารถแลก USD ซึ่งเป็นสกุลเงินที่ใช้กันแพร่หลายหรือไม่ก็เอาเงินไทยมาแลกก็ได้ (เงินไทยเห็นแลกได้แค่ในทิมพู ในพาโรไม่ได้) ฉะนั้น USD จะเซฟกว่า ในภูฏานตามร้านขายของมักจะรับแลกอันนี้ต้องไปถามคนท้องถิ่นที่ทำงานในโรงแรมโดยเฉพาะพวกแท๊กซี่นี่รู้ดี
จิปาถะ
ภูฏานเป็นประเทศที่ถูกเรียกว่าดินแดน แห่งมังกรสายฟ้า (Land of Thunder Dragon) เหตุผลเพราะเป็นมี มังกรสายฟ้า ที่เรียกว่า druk ที่อยู่บนธงชาติเป็นสัญลักษณ์ในธงประจำชาติ เรื่อง polygamy เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ใน สังคมภูฏาน และมีเรตหย่าร้างกันค่อนข้างสูง ที่จขกทชื่นชอบมากคือการที่ชาวภูฏานจะนิยมใส่ชุดประจำชาติ ในชีวิตประจำวันไม่ว่าทำงานหรือเรียนชุดที่ผู้หญิงใส่ครึ่งบนคล้ายฮันบกของเกาหลีด้านล่างเป็นผ้าถุง เรียกว่า kira ส่วนชุดผู้ชายที่ผูกเอวเป็นกระโปรงนั้นเรียกว่า Gho จขกทไปรอบนี้อยากลองใส่นะแต่มันหนาวเกินไป
ภาพนี้ถ่ายจากสนามบิน เห็นชุดชายหญิงไหมค่ะ ไกลหน่อย
และภาพบนคือ druk หรือมังกรสายฟ้าค่ะ ขอบคุณภาพจาก google
เศรษฐกิจหลักของภูฏานคือการผลิต hydroelectricity (พลังงานไฟฟ้าจากน้ำ) ขายส่งให้กับอินเดีย และอันดับต่อมาคือ การท่องเที่ยว พืชเศรษฐกิจหลักคือ ปลูกข้าว และผลไม้เช่น แอปเปิ้ล และมันฝรั่ง คนที่นี่สามารถดื่มเหล้าได้หลังบ่ายโมงเป็นต้นไป แต่ดื่มแล้วห้ามขับรถ เช่นเดียวกับดื่มแล้วห้ามสูบบุหรี่
การเดินทางมาภูฏานนั้น มีเพียงสองสายการบินคือ Druk Air และ Bhutan Airline เพิ่งเข้าใจว่าทำไมมีแค่สองสายการบินเพราะนักบินของประเทศนี้เท่านั้นที่สามารถขับผ่านเข้ามาลงจอดสนามบินได้เนื่องจากสนามบินที่นี่ไม่มีเสารับส่งสัญญาณเครื่องบิน จะไปไหนมาไหนแค่นักบินภูฏานเท่านั้นที่มีความเคยชินกับภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อนแบบนี้
คนส่วนมากที่นี่นิยมรถ taxi ซึ่งมีราคาไม่ค่อยแพงนะ เทียบกับเมืองไทย ที่นี่แปลกมากไม่มีไฟเขียวไฟแดงถึงแยกขับกันเอง เดากันเอง แต่มารยาทการขับรถคนที่นี่ดีเลยค่ะใจดี แต่ก้อมีแอบงงนิดหน่อย
ชื่อคนภูฏานทั้งชายหญิงชื่อซ้ำกันเยอะมากซะจนบางทีงงเอง common names คือ Dolji, Tshering, Wangchuck
รถที่นี่เห็นใช้สองยี่ห้อหลักคือ suzuki และ hyundai ส่วนรถ 6 ล้อนิยมใช้ยี่ห้อ Tata ของอินเดียเพราะภูฏานเองมีความสัมพันธ์ที่ดีมากกับอินเดีย และคนอินเดียถือเป็นนักท่องเที่ยว อันดับ 1 ของภูฏานด้วย
เทคโนโลยี
สมัย smartphone คงอยากรู้กันว่า Bhutan มี pocket wifi ไหม อันนี้ จขกทไม่แน่ใจ แต่ที่ตอบได้คือ wifi ช้ามากและอืดมากทำใจเลยนะถ้าใครติด social อาจจะหงุดหงิดได้
เนื่องจาก จขกท จะทำงานที่ Thimphu เป็นหลัก งั้นเรามาดูว่ามีอะไรเที่ยวในทิมพูกันก่อนเลยค่ะ
THIMPHU (ทิมพู)
ทิมพูเป็นเมืองหลวงใหม่ตั้งแต่กลางช่วงปี 1970s และเป็นที่พำนักของกษัติรย์คนปัจจุบัน (ลำดับที่ 5 ของ House of Wangchuk ถ้าเขียนผิดขออภัย) และข้าราชการระดับสูงกระทรวงต่าง ง่ายๆคือเป็น Administrative area (ศูนย์กลางบริหารราชการ) ในความคิด จขกท ทิมพูเป็นเมืองที่มีความทันสมัยที่สุดและมีที่เที่ยวไม่กี่ที่ตามลำดับต่อไปนี้:
1. Memorial Choden Stupa สถูปกลางเมืองทิมพู จขกทผ่านแต่ไม่ได้เข้าไป ถ่ายรูปก็ไม่ทันอีกเพราะรถแล่นไวมาก
2. Buddha Dorderma พระใหญ่ จขกทไม่สนใจเพราะคิดว่าปะติมากรรมบ้านเราสวยกว่า เลยนั่งรถผ่านแต่เก็บภาพได้จากไกลๆ
3. Tashicchodhzong Dzong คือ ป้อมปราการ แต่ ณ ปัจจุบันเป็นแบ่งกันคนละครึ่งสำหรับ ฝั่งศาสนาและฝั่งทางโลก ในนั้นมีอาคารทำงานของกษัตริย์และหน่วยงานรัฐบาล และอีกส่วนนึงเป็น Monastery เปิดให้เข้าชมหลัง 5 โมงเย็น คือหลังเวลาราชการ Dzong นี้สร้างขึ้นในปี 1216 โดยลามะ Gyalwa Lhanangp และมีการสร้างปรับปรุงหลายครั้ง จนใหญ่ในปัจจุบัน แต่จขกทไม่ได้เข้า เพราะ การเข้า Dzong เสียค่าเข้าชม และ Dzong มีในทุกเมือง จขกท เลยเลือกไปอันที่เป็น highlight ใน Punakha ค่ะ
4. View Point จุดจอดรถไว้ชมวิว Dzong จอดริมถนนแล้วถ่ายเลย ได้ภาพมาวิวไกลๆ
5. Changangkha Lhakhang วัดเก่าแก่ที่สุดของทิมพู สร้างในศตวรรษที่ 12 บนที่ที่เลือกแล้วโดย ลามะ Phajo Drukgom Shigpo วัดนี้ เป็นที่นิยมของชาวภูฎานที่เข้ามาสวดภาวนาและยังสามารถเห็นวิวโดยรอบของทิมพูอีกด้วย เวลาภาวนาเสร็จแล้วคนจะไปหมุนล้อที่เหมือนมีคำสวดติดอยู่ อารมณ์คล้ายไปวัด แล้วต้องตีระฆังบ้านเรานั่นเอง
ในขณะที่ของที่เมืองทิมพูนั้นไม่ค่อยหลากหลายค่ะ เหมือนงานหัตถกรรมบ้านเรา ถนนเส้นใหญ่มีอยู่เส้นนึง คือสามารถเดินซื้อของหรือดูของได้ตรง Craft Bazaar
ที่สังเกตง่ายๆคือเริ่มเดินจากถนนที่มีร้านอาหารเกาหลีแห่งเดียวในทิมพูชื่อ San Maru เดินตรงมาเรื่อยๆ จนเจอวงเวียนที่มีตำรวจโบกมืออยู่กลางป้อม (ภาพที่ลงไปแล้วข้างบน) เพราะทิมพูเป็นเมืองหลวงเดียวในโลกที่ไม่มีไฟจราจร
เดินตรงต่อไปจะเจอ clock tower square ด้านซ้ายมือเส้นนี้มีร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านขายของมากมายเต็มถนนเส้นหลัก และตรงจตุรัสหอนาฬิกาเป็นจุดจัดงานอีเว้นต์ของเมือง วันที่จขกทเดินสำรวจนี่เค้ามีจัดถ่ายทอดสดเวทีการประกวดอะไรสักอย่าง season 3 ด้วย สรุป First Impression ของทิมพู จขกทบอกเลยว่า จขกทมาอยู่สองสามวันใน ตัวเมืองหลวงเนี่ยได้ความรู้สึกแบบเหมือนครั้งเดินทางไปพม่ามาก ผู้คนคนชรา หนุ่มสาว นิยมทานหมากและบ้วนกันตรงถนนนั่นแหละ สรุปว่า จขกทมองตัวเองว่าอินดี้แล้วนะ แต่ประเทศนี้คือ แบบอินดี้กว่า จขกทเองอีก
[CR] Bhutan ย่ำดินแดนแห่งมังการสายฟ้าแบบปุ๊ปปั๊ปฉบับกระเป๋า
สวัสดีกันอีกครั้งค่ะ หนึ่งเดือนหลังจากโพสต์ทริปแอฟริกาจบไป ทริปนี้เป็นทริปปุ๊ปปํปที่ไม่ได้เตรียมตัวเลยจริงๆ เพราะจับผลัดจับผลูรู้ล่วงหน้าแค่ไม่ถึงสองอาทิตย์ ก่อนวันที่จะเดินทาง
ในความเป็นจริง จขกทยังไม่คิดจะมาประเทศนี้นะเนื่องจากการเดินทางที่ค่อนข้างยุ่งยาก เพราะ เรื่องแรกที่นี่ไม่สามารถมา backpack เองได้ทุกอย่างจะต้องทำผ่าน tour operator เนื่องจากประเทศ ภูฏาน (Bhutan) นั้นจำกัดนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศเพียงราว 20,000 คนต่อปีเพื่อเลี่ยงรับมลพิษทางความเจริญที่มีมากเกินไป (แต่ก่อนนั้นจำกัดนักเที่ยวเที่ยวแค่หลักพันต้นเท่านั้น) และค่าเหยียบแผ่นดินที่ต้องจ่าย 200$ (หน้า low season จำได้ไม่แน่นอนแต่มี 6 เดือน) และ 250$ (หน้า high ช่วง Sep-Nov) เป็นรายวัน ฟังไม่ผิดค่ะนี่คือต้องจ่ายรายวันซึ่งจำนวน 65$ จะจ่ายเป็นค่าบำรุงการศึกษา พัฒนาชุมชน ซึ่งปกติทำให้ค่าทัวร์ภูฏาน ราว 6 วัน 5 คืน และค่าวีซ่าอีก 40$ ทำให้ทัวร์มีราคาสูงมากทะลุ 50,000 บาทไปเลย นี่คือเหตุผลที่จขกทไม่เคยคิดจะมา แต่เผอิญจขกทได้มีโอกาสมาทำงาน เลยได้อานิสงค์ใช้โอกาสนี้ในการเที่ยวด้วยเลย
ภูมิประเทศและผู้คน
มารู้จักภูฏานกันก่อนสักเล็กน้อย ภูฏานเป็นประเทศเล็กๆ (มาก) เป็นประเทศ landlocked country คือ ประเทศที่ไม่มีทางออกทางทะเล มีอาณาเขตติดกับเนปาล ฑิเบตและรัฐดาเจอริ่งและสิกขิมของอินเดีย จึงไม่น่าแปลกใจ เพราะที่นี่ได้รับอิทธิพล มาจากทั้งสามประเทศ ตัวอักษรที่ทางภูฏาน ใช้หน้าตาเหมือนกับ ตัวอักษรเนปาลยังกับแกะ แต่จขกทก็อ่านไม่ออกหรอกนะเลยไม่ใจว่าเหมือนกันเลยรึป่าว ในขณะที่หน้าตาคล้ายกับผู้คน ทางเนปาลที่กาฏมัณฑุ และคนที่อยู่ในโซนทิเบต และคนอินเดียที่อยู่ในรัฐสิกขิมหรือแถวเลห์ ลาดักส์
อากาศหนาวเย็นเลขตัวเดียวต้นๆในตอนกลางคืน กลางวันแดดแรงเอาเรื่องค่ะ คนที่เพิ่งลงเครื่องต้องเดินช้าๆทำอะไรช้าๆเพื่อให้ร่างกายปรับตัว ควรติดยา diamox เพราะเราสามารถเป็น altitude sickness ได้ บางคนอาจเป็นแค่เลือดกำเดาพุ่งหรืออาจจะหนัก ถึงขั้นหายใจไม่ออกเข้า icu ก็มี
อาหารการกิน
อาหารการกินคล้ายกับเนปาลแต่รสชาติประหลาดคือจืดมาก และอาหารหลักคือ ชีสผัดพริก ซึ่งจขกทเป็นคอชีสนะแต่อันนี้จขกทขอบาย และสรุปคร่าวๆว่ายังหาของอร่อยทานไม่ได้ สรุปจขกท เน้นไปร้านอาหารอินเดียเอา เพราะ ทานพวก tikka masala ได้ (แกงไก่หรือชีสส่วนผสมหลักเป็นมะเขือเทศ) รสชาติใช้ได้อยู่ไม่ก็ทานโมโม่ (เป็นคล้ายๆเกี๊ยวนึ่งสอดไส้ผักหรือเนื้อต่างๆ) เป็นไส้มังสวิรัติก็อร่อยดีค่ะ
ขอบคุณภาพจาก google
ศาสนาและการปกครอง
ศาสนานั้นนับถือพุทธ (สายทิเบต) นิกายตันตระ แห่งสุดท้ายของโลก มีลามะเป็นผู้นำทาง จิตวิญญาณ มีประมุขทางศาสนาสูงสุด เช่นเดียวกับพระสังฆราชบ้านเรา ซึ่งทีตำแหน่งเทียบเท่ากษัตริย์ในระบบปกครองทางโลก สถาปัตยกรรมคือแบบพุทธฑิเบต ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม โชว์รูมรถ ห้าง หรือสิ่งก่อสร้างใหม่ก็ต้องคงสถาปัตยกรรมแบบเดิมไว้ เก๋ดี
สถาปัตยกรรมแบบพุทธธิเบต
เท่าที่สังเกตได้คนภูฎานยึดหลักศาสนาในการดำเนินชีวิตกันค่อนข้างมากเลยทำให้คนทุกคนที่เจอใจเย็นนะ อารมณ์ดี ตัวอย่างง่ายๆเรื่องขับรถประเทศนี้ไม่มีไฟจราจรจ้า แล้วถนนที่นี่พูดเลยว่าหลุมบ่อฝุ่นเยอะ การขับรถสวนกันแซงกัน (อย่างมีมารยาท) ตรงโค้งหักศอกแสนจะเสียวไส้ แต่ก็ขับกันได้ตามที่กฏหมายกำหนอดคือ 60 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง ทั้งๆที่ไม่มี cctv คอยจับนะแต่ขับกันระยะทางนี้ตลอด จริงๆคือต้องเคร่งและซื่อสัตย์ กับตัวเองและกฏพอสมควรนะ หมา วัวนอนชิวกลางถนน รถก็แย่งกันวิ่งหลบพัลวัล เออ ก็แปลกๆดีประเทศนี้
ภูฏานมีการดำเนินนโยบายการปกครองประเทศแบบใช้ Gross National Happiness ( GNH) ในการพัฒนาขับเคลื่อนประเทศ และเป็นประเทศแรกในโลกที่ใช้ดัชนีมวลความสุขในการชี้วัดการพัฒนาประเทศ ภูฏานปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์เป็นประมุข อย่างที่รู้กันกษัติรย์ปัจจุบันคือ กษัตริย์จิ๊กมี่
การแลกเงิน
การแลกเงิน 100$ หรือ 3500 บาทไทย จะแลกได้ประมาณ 6,500 Ngultrum เงินบ้านเรามีค่ามากกว่าบ้านเขา ถ้า 1 บาทไทยก็ 2 Ngultrum จริงแค่นี้ก้อพออยู่ได้นะจ้ะ สามารถแลก USD ซึ่งเป็นสกุลเงินที่ใช้กันแพร่หลายหรือไม่ก็เอาเงินไทยมาแลกก็ได้ (เงินไทยเห็นแลกได้แค่ในทิมพู ในพาโรไม่ได้) ฉะนั้น USD จะเซฟกว่า ในภูฏานตามร้านขายของมักจะรับแลกอันนี้ต้องไปถามคนท้องถิ่นที่ทำงานในโรงแรมโดยเฉพาะพวกแท๊กซี่นี่รู้ดี
จิปาถะ
ภูฏานเป็นประเทศที่ถูกเรียกว่าดินแดน แห่งมังกรสายฟ้า (Land of Thunder Dragon) เหตุผลเพราะเป็นมี มังกรสายฟ้า ที่เรียกว่า druk ที่อยู่บนธงชาติเป็นสัญลักษณ์ในธงประจำชาติ เรื่อง polygamy เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ใน สังคมภูฏาน และมีเรตหย่าร้างกันค่อนข้างสูง ที่จขกทชื่นชอบมากคือการที่ชาวภูฏานจะนิยมใส่ชุดประจำชาติ ในชีวิตประจำวันไม่ว่าทำงานหรือเรียนชุดที่ผู้หญิงใส่ครึ่งบนคล้ายฮันบกของเกาหลีด้านล่างเป็นผ้าถุง เรียกว่า kira ส่วนชุดผู้ชายที่ผูกเอวเป็นกระโปรงนั้นเรียกว่า Gho จขกทไปรอบนี้อยากลองใส่นะแต่มันหนาวเกินไป
ภาพนี้ถ่ายจากสนามบิน เห็นชุดชายหญิงไหมค่ะ ไกลหน่อย
และภาพบนคือ druk หรือมังกรสายฟ้าค่ะ ขอบคุณภาพจาก google
เศรษฐกิจหลักของภูฏานคือการผลิต hydroelectricity (พลังงานไฟฟ้าจากน้ำ) ขายส่งให้กับอินเดีย และอันดับต่อมาคือ การท่องเที่ยว พืชเศรษฐกิจหลักคือ ปลูกข้าว และผลไม้เช่น แอปเปิ้ล และมันฝรั่ง คนที่นี่สามารถดื่มเหล้าได้หลังบ่ายโมงเป็นต้นไป แต่ดื่มแล้วห้ามขับรถ เช่นเดียวกับดื่มแล้วห้ามสูบบุหรี่
การเดินทางมาภูฏานนั้น มีเพียงสองสายการบินคือ Druk Air และ Bhutan Airline เพิ่งเข้าใจว่าทำไมมีแค่สองสายการบินเพราะนักบินของประเทศนี้เท่านั้นที่สามารถขับผ่านเข้ามาลงจอดสนามบินได้เนื่องจากสนามบินที่นี่ไม่มีเสารับส่งสัญญาณเครื่องบิน จะไปไหนมาไหนแค่นักบินภูฏานเท่านั้นที่มีความเคยชินกับภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อนแบบนี้
คนส่วนมากที่นี่นิยมรถ taxi ซึ่งมีราคาไม่ค่อยแพงนะ เทียบกับเมืองไทย ที่นี่แปลกมากไม่มีไฟเขียวไฟแดงถึงแยกขับกันเอง เดากันเอง แต่มารยาทการขับรถคนที่นี่ดีเลยค่ะใจดี แต่ก้อมีแอบงงนิดหน่อย
ชื่อคนภูฏานทั้งชายหญิงชื่อซ้ำกันเยอะมากซะจนบางทีงงเอง common names คือ Dolji, Tshering, Wangchuck
รถที่นี่เห็นใช้สองยี่ห้อหลักคือ suzuki และ hyundai ส่วนรถ 6 ล้อนิยมใช้ยี่ห้อ Tata ของอินเดียเพราะภูฏานเองมีความสัมพันธ์ที่ดีมากกับอินเดีย และคนอินเดียถือเป็นนักท่องเที่ยว อันดับ 1 ของภูฏานด้วย
เทคโนโลยี
สมัย smartphone คงอยากรู้กันว่า Bhutan มี pocket wifi ไหม อันนี้ จขกทไม่แน่ใจ แต่ที่ตอบได้คือ wifi ช้ามากและอืดมากทำใจเลยนะถ้าใครติด social อาจจะหงุดหงิดได้
เนื่องจาก จขกท จะทำงานที่ Thimphu เป็นหลัก งั้นเรามาดูว่ามีอะไรเที่ยวในทิมพูกันก่อนเลยค่ะ
THIMPHU (ทิมพู)
ทิมพูเป็นเมืองหลวงใหม่ตั้งแต่กลางช่วงปี 1970s และเป็นที่พำนักของกษัติรย์คนปัจจุบัน (ลำดับที่ 5 ของ House of Wangchuk ถ้าเขียนผิดขออภัย) และข้าราชการระดับสูงกระทรวงต่าง ง่ายๆคือเป็น Administrative area (ศูนย์กลางบริหารราชการ) ในความคิด จขกท ทิมพูเป็นเมืองที่มีความทันสมัยที่สุดและมีที่เที่ยวไม่กี่ที่ตามลำดับต่อไปนี้:
1. Memorial Choden Stupa สถูปกลางเมืองทิมพู จขกทผ่านแต่ไม่ได้เข้าไป ถ่ายรูปก็ไม่ทันอีกเพราะรถแล่นไวมาก
2. Buddha Dorderma พระใหญ่ จขกทไม่สนใจเพราะคิดว่าปะติมากรรมบ้านเราสวยกว่า เลยนั่งรถผ่านแต่เก็บภาพได้จากไกลๆ
3. Tashicchodhzong Dzong คือ ป้อมปราการ แต่ ณ ปัจจุบันเป็นแบ่งกันคนละครึ่งสำหรับ ฝั่งศาสนาและฝั่งทางโลก ในนั้นมีอาคารทำงานของกษัตริย์และหน่วยงานรัฐบาล และอีกส่วนนึงเป็น Monastery เปิดให้เข้าชมหลัง 5 โมงเย็น คือหลังเวลาราชการ Dzong นี้สร้างขึ้นในปี 1216 โดยลามะ Gyalwa Lhanangp และมีการสร้างปรับปรุงหลายครั้ง จนใหญ่ในปัจจุบัน แต่จขกทไม่ได้เข้า เพราะ การเข้า Dzong เสียค่าเข้าชม และ Dzong มีในทุกเมือง จขกท เลยเลือกไปอันที่เป็น highlight ใน Punakha ค่ะ
4. View Point จุดจอดรถไว้ชมวิว Dzong จอดริมถนนแล้วถ่ายเลย ได้ภาพมาวิวไกลๆ
5. Changangkha Lhakhang วัดเก่าแก่ที่สุดของทิมพู สร้างในศตวรรษที่ 12 บนที่ที่เลือกแล้วโดย ลามะ Phajo Drukgom Shigpo วัดนี้ เป็นที่นิยมของชาวภูฎานที่เข้ามาสวดภาวนาและยังสามารถเห็นวิวโดยรอบของทิมพูอีกด้วย เวลาภาวนาเสร็จแล้วคนจะไปหมุนล้อที่เหมือนมีคำสวดติดอยู่ อารมณ์คล้ายไปวัด แล้วต้องตีระฆังบ้านเรานั่นเอง
ในขณะที่ของที่เมืองทิมพูนั้นไม่ค่อยหลากหลายค่ะ เหมือนงานหัตถกรรมบ้านเรา ถนนเส้นใหญ่มีอยู่เส้นนึง คือสามารถเดินซื้อของหรือดูของได้ตรง Craft Bazaar
ที่สังเกตง่ายๆคือเริ่มเดินจากถนนที่มีร้านอาหารเกาหลีแห่งเดียวในทิมพูชื่อ San Maru เดินตรงมาเรื่อยๆ จนเจอวงเวียนที่มีตำรวจโบกมืออยู่กลางป้อม (ภาพที่ลงไปแล้วข้างบน) เพราะทิมพูเป็นเมืองหลวงเดียวในโลกที่ไม่มีไฟจราจร
เดินตรงต่อไปจะเจอ clock tower square ด้านซ้ายมือเส้นนี้มีร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านขายของมากมายเต็มถนนเส้นหลัก และตรงจตุรัสหอนาฬิกาเป็นจุดจัดงานอีเว้นต์ของเมือง วันที่จขกทเดินสำรวจนี่เค้ามีจัดถ่ายทอดสดเวทีการประกวดอะไรสักอย่าง season 3 ด้วย สรุป First Impression ของทิมพู จขกทบอกเลยว่า จขกทมาอยู่สองสามวันใน ตัวเมืองหลวงเนี่ยได้ความรู้สึกแบบเหมือนครั้งเดินทางไปพม่ามาก ผู้คนคนชรา หนุ่มสาว นิยมทานหมากและบ้วนกันตรงถนนนั่นแหละ สรุปว่า จขกทมองตัวเองว่าอินดี้แล้วนะ แต่ประเทศนี้คือ แบบอินดี้กว่า จขกทเองอีก