คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
เป็นที่น่าตั้งข้อสังเกตุนะครับ ท่าน จขกท
โดยปกติ ยังไม่เคยพบเห็น คุณสมาชิกหมายเลข 1167953 ตั้งกระทู้ เพื่อแสดงธรรม
แต่มักจะเห็น เขามีพฤติกรรมเข้ามา(สอด) ในกระทู้ต่างๆ โดยนำพระสูตร มาแสดง
พร้อมกับทักท้วง ติติง สรรเสริญ ว่าไปตามบท ที่เขาแสดงออกให้เห็น
ในกรณีนี้ กระทู้ต้นเรื่องนั้น นำมาจากพระไตรปิฏกแปล
ตามด้วย ความเห็นเพิ่มเติมที่ท่าน จขกท แสดงไว้ในความคิดเห็นที่ 1
ซึ่งแน่นอนว่า ความเห็นเพิ่มเติมที่ท่าน จขกท แสดงไว้นั้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ผู้ที่ติดตามการเขียน การตอบกระทู้ ของท่าน จขกท ก็พอจะทราบได้ว่า
ท่าน จขกท หมายพาดพิงถึงบุคคลใด ?
ประเด็น ที่นำมาเป็นข้อสังเกตุ
ความคิดเห็นที่ สมาชิกหมายเลข 1167953
นำข้อมูลธรรม มาแสดงในความคิดเห็นที่ 3 นั้น เกี่ยวข้องอะไร กับกระทู้ไหม ?
สัพพลหุสสูตร องฺ.อฏฺฐก. ๒๓ / [๑๓๐]
กรณีด่าบริภาษ (อกฺโกสกปริภาสโก) ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ใส่ความอริยะ (อริยูปวาที)
เหตุที่ฟังธรรมแล้ว เข้าใจผิด ไม่อาจหยั่งลงในนิยามแห่งความถูกต้องได้
http://www.84000.org/tipitaka/read/?22/151-153
ธรรม ของพระพุทธศาสดา และพุทธสาวก ที่ปรากฏ มาในพระไตรปิฏก ล้วนมีคุณประโยชน์
แต่แม้กระนั้น พระพุทธเจ้าก็ทรงกล่าวไว้ว่า บุคคลบางพวกเรียนธรรมแล้วก็ทำตนดุจงูพิษ
บุรุษเปล่าเรียนธรรม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ธรรม ในความคิดเห็นที่ 3 นั้น
ผมก็ไม่เห็นว่า จะเกี่ยวข้องหรือสอดคล้องกับ พระสูตรในต้นกระทู้แต่ประการใด
แล้วถ้าเช่นนั้น สมาชิกหมายเลขนี้ นำมาแสดงเพื่ออะไร ?
เป็นไปได้ไหมว่า
จะนำมาเตือน ท่าน จขกท ที่ท่าน จขกท ไปเขียนแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมไว้ ในความคิดเห็นที่ 1
แล้วมีการกล่าวพาดพิง ที่อาจสื่อไปถึงผู้ที่สอนบิดเบือน
ซึ่งผู้ที่สอนบิดเบือนนั้น เป็นนักบวชที่สมาชิกหมายเลข 1167953 ให้ความเคารพนับถือพร้อมทั้งคอยแก้ต่าง ให้อยู่บ่อย ๆ
จึงได้ นำ ธรรม มาเตือน ท่าน จขกท
หรือว่า จะนำพระธรรม มาทิ่มแทงท่าน จขกท ถ้าเป็นกรณีนี้ ก็อาจถือได้ว่า เป็นผู้มีความมักโกรธ
หรือว่า นำมาเตือน นักบวชที่ตนเคารพ
ว่า การกล่าวจาบจ้วงพระอริยะ ตาม พยสนสูตรนั้น พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า อย่างนี้ ๆ
มีผลถึงเป็นบ้า และ ไปอบาย ... นรก ฯลฯ
หรือว่า จะนำมาเตือนตนเอง
ที่ไปกล่าวจาบจ้วง พระภิกษุ ผู้แปลพระไตรปิฏกบาลี(อักษรไทย) เป็น พระไตรปิฏกแปลไทย
แต่แปลแล้ว ไม่ถูกใจตน หรือแปลไม่ถูก ตามที่ตนคิด .. ว่า แปลจับยัด
(สุภาพไหม ผู้อ่าน ก็ตีความหมายเอา)
ถ้าต้องการแสดงธรรม ก็ตั้งกระทู้ขึ้นเอง แล้วก็นำเสนอ ว่า ธรรมข้อนี้ ๆ ว่าอย่างนี้ หรืออะไรก็ว่าไป
แต่ นี้ จะว่าแสดงธรรมก็ไม่น่าใช่
ตามประวัติและพฤติกรรม คงเป็นการนำมา ตำหนิเตือนใจ ท่าน จขกท
ไม่พึงใจ ที่ท่าน จขกท ไปพาดพิงบุคคลที่เขาเคารพบูชา
ถ้าเป็นเช่นนี้
บุคคลเช่นนี้ ระงับความโกรธได้แล้วหรือยังคุณ offserver ว่าอย่างไร ?
นี้เป็นข้อสังเกตุนะครับ ท่าน จขกท.
อ้อ..เขาคงไม่มาตอบ เพราะเขายกตนขึ้นที่สูง
โดยหมายเอาเองว่า ถ้ามาตอบจะเป็นการให้อาหารกับคนพาล !!
ไปเถิด ไปหากะลา มาตักน้ำใส่
แล้วชะโงกดูบ้าง ว่า เงาที่ปรากฏในนั้น ยังดูสง่างามอยู่ไหม
.
โดยปกติ ยังไม่เคยพบเห็น คุณสมาชิกหมายเลข 1167953 ตั้งกระทู้ เพื่อแสดงธรรม
แต่มักจะเห็น เขามีพฤติกรรมเข้ามา(สอด) ในกระทู้ต่างๆ โดยนำพระสูตร มาแสดง
พร้อมกับทักท้วง ติติง สรรเสริญ ว่าไปตามบท ที่เขาแสดงออกให้เห็น
ในกรณีนี้ กระทู้ต้นเรื่องนั้น นำมาจากพระไตรปิฏกแปล
ตามด้วย ความเห็นเพิ่มเติมที่ท่าน จขกท แสดงไว้ในความคิดเห็นที่ 1
ซึ่งแน่นอนว่า ความเห็นเพิ่มเติมที่ท่าน จขกท แสดงไว้นั้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ผู้ที่ติดตามการเขียน การตอบกระทู้ ของท่าน จขกท ก็พอจะทราบได้ว่า
ท่าน จขกท หมายพาดพิงถึงบุคคลใด ?
ประเด็น ที่นำมาเป็นข้อสังเกตุ
ความคิดเห็นที่ สมาชิกหมายเลข 1167953
นำข้อมูลธรรม มาแสดงในความคิดเห็นที่ 3 นั้น เกี่ยวข้องอะไร กับกระทู้ไหม ?
สัพพลหุสสูตร องฺ.อฏฺฐก. ๒๓ / [๑๓๐]
กรณีด่าบริภาษ (อกฺโกสกปริภาสโก) ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ใส่ความอริยะ (อริยูปวาที)
เหตุที่ฟังธรรมแล้ว เข้าใจผิด ไม่อาจหยั่งลงในนิยามแห่งความถูกต้องได้
http://www.84000.org/tipitaka/read/?22/151-153
ธรรม ของพระพุทธศาสดา และพุทธสาวก ที่ปรากฏ มาในพระไตรปิฏก ล้วนมีคุณประโยชน์
แต่แม้กระนั้น พระพุทธเจ้าก็ทรงกล่าวไว้ว่า บุคคลบางพวกเรียนธรรมแล้วก็ทำตนดุจงูพิษ
บุรุษเปล่าเรียนธรรม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ธรรม ในความคิดเห็นที่ 3 นั้น
ผมก็ไม่เห็นว่า จะเกี่ยวข้องหรือสอดคล้องกับ พระสูตรในต้นกระทู้แต่ประการใด
แล้วถ้าเช่นนั้น สมาชิกหมายเลขนี้ นำมาแสดงเพื่ออะไร ?
เป็นไปได้ไหมว่า
จะนำมาเตือน ท่าน จขกท ที่ท่าน จขกท ไปเขียนแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมไว้ ในความคิดเห็นที่ 1
แล้วมีการกล่าวพาดพิง ที่อาจสื่อไปถึงผู้ที่สอนบิดเบือน
ซึ่งผู้ที่สอนบิดเบือนนั้น เป็นนักบวชที่สมาชิกหมายเลข 1167953 ให้ความเคารพนับถือพร้อมทั้งคอยแก้ต่าง ให้อยู่บ่อย ๆ
จึงได้ นำ ธรรม มาเตือน ท่าน จขกท
หรือว่า จะนำพระธรรม มาทิ่มแทงท่าน จขกท ถ้าเป็นกรณีนี้ ก็อาจถือได้ว่า เป็นผู้มีความมักโกรธ
หรือว่า นำมาเตือน นักบวชที่ตนเคารพ
ว่า การกล่าวจาบจ้วงพระอริยะ ตาม พยสนสูตรนั้น พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า อย่างนี้ ๆ
มีผลถึงเป็นบ้า และ ไปอบาย ... นรก ฯลฯ
หรือว่า จะนำมาเตือนตนเอง
ที่ไปกล่าวจาบจ้วง พระภิกษุ ผู้แปลพระไตรปิฏกบาลี(อักษรไทย) เป็น พระไตรปิฏกแปลไทย
แต่แปลแล้ว ไม่ถูกใจตน หรือแปลไม่ถูก ตามที่ตนคิด .. ว่า แปลจับยัด
(สุภาพไหม ผู้อ่าน ก็ตีความหมายเอา)
ถ้าต้องการแสดงธรรม ก็ตั้งกระทู้ขึ้นเอง แล้วก็นำเสนอ ว่า ธรรมข้อนี้ ๆ ว่าอย่างนี้ หรืออะไรก็ว่าไป
แต่ นี้ จะว่าแสดงธรรมก็ไม่น่าใช่
ตามประวัติและพฤติกรรม คงเป็นการนำมา ตำหนิ
ไม่พึงใจ ที่ท่าน จขกท ไปพาดพิงบุคคลที่เขาเคารพบูชา
ถ้าเป็นเช่นนี้
บุคคลเช่นนี้ ระงับความโกรธได้แล้วหรือยังคุณ offserver ว่าอย่างไร ?
นี้เป็นข้อสังเกตุนะครับ ท่าน จขกท.
อ้อ..เขาคงไม่มาตอบ เพราะเขายกตนขึ้นที่สูง
โดยหมายเอาเองว่า ถ้ามาตอบจะเป็นการให้อาหารกับคนพาล !!
ไปเถิด ไปหากะลา มาตักน้ำใส่
แล้วชะโงกดูบ้าง ว่า เงาที่ปรากฏในนั้น ยังดูสง่างามอยู่ไหม
.
แสดงความคิดเห็น
๛ แน่จอมเทวดา เราจงเอาชนะกันด้วยการกล่าวคำสุภาษิตเถิด ๛
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
สุภาษิตชยสูตรที่ ๕
[๘๗๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล ฯลฯ
[๘๗๘] พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างพวกเทวดากับอสูร
ได้ประชิดกันแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสกะท้าวสักกะจอมเทวดาว่า
แน่จอมเทวดา เราจงเอาชนะกันด้วยการกล่าวคำสุภาษิตเถิด ฯ
ท้าวสักกะจอมเทวดาตรัสว่า แน่ะท้าวเวปจิตติ ตกลงเราจงเอาชนะกันด้วยการกล่าวคำสุภาษิต ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พวกเทวดาและพวกอสูรได้ร่วมกันตั้งผู้ตัดสินว่า ผู้ตัดสินเหล่านี้จักรู้ทั่วถึงคำสุภาษิต คำทุพภาษิต ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสกะท้าวสักกจอมเทวดาว่า แน่ะจอมเทวดา ท่านจงตรัสคาถา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวเวปจิตติตรัสเช่นนี้ ท้าวสักกะจอมเทวดาได้ตรัสกะท้าวเวปจิตติจอมอสูรว่า
แน่ะท้าวเวปจิตติในเทวโลกนี้ท่านเป็นเทพมาก่อน ท่านจงกล่าวคาถาเถิด ฯ
[๘๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวสักกะตรัสเช่นนี้แล้ว ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสคาถานี้ว่า
พวกคนพาลยิ่งกริ้วโกรธ ถ้าหากบุคคลไม่ตัดรอนเสีย ฉะนั้น
นักปราชญ์ผู้มีปัญญา จึงควรกำจัดคนพาลเสียด้วยอาญา
อันรุนแรง ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสคาถาแล้ว เหล่าอสูรพากันอนุโมทนา พวกเทวดาต่างก็พากันนิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแลท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวกะท้าวสักกะจอมเทวดาว่า แน่ะจอมเทวดา ท่านจงกล่าวคาถาเถิด ฯ
[๘๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวเวปจิตติตรัสเช่นนี้แล้ว ท้าวสักกะจอมเทวดาได้ตรัสคาถานี้ว่า ฯ
ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติระงับไว้ได้ เราเห็นว่าการ
ระงับไว้ได้ของผู้นั้น เป็นเครื่องตัดรอนคนพาล ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อท้าวสักกะจอมเทวดาได้ภาษิตคาถาแล้ว พวกเทวดาพากันอนุโมทนา เหล่าอสูรต่างก็นิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทวดาตรัสกะท้าวเวปจิตติจอมอสูรว่า ดูกรท้าวเวปจิตติ ท่านจงตรัสคาถาเถิด ฯ
[๘๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวสักกะตรัสเช่นนี้ ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสคาถานี้ว่า
ดูกรท้าววาสวะ เราเห็นโทษของการอดกลั้นนี่แหละ เพราะ
ว่าเมื่อใดคนพาลสำคัญเห็นผู้นั้นว่า ผู้นี้อดกลั้นต่อเราเพราะ
ความกลัว เมื่อนั้น คนพาลผู้ทรามปัญญายิ่งข่มขี่ผู้นั้น
เหมือนโคยิ่งข่มขี่โคตัวแพ้ที่หนีไป ฉะนั้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวเวปจิตติจอมอสูรภาษิตคาถาแล้ว เหล่าอสูรพากันอนุโมทนา พวกเทวดาต่างก็นิ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสกะท้าวสักกะจอมเทวดาว่า แน่ะจอมเทวดา ท่านจงตรัสคาถาเถิด ฯ
[๘๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวเวปจิตติจอมอสูรตรัสเช่นนี้ ท้าวสักกะจอมเทวดาได้ตรัสคาถาเหล่านี้ว่า
บุคคลจงสำคัญเห็นว่า ผู้นี้อดกลั้นต่อเราเพราะความกลัวหรือ
หาไม่ก็ตามที ประโยชน์ทั้งหลายมีประโยชน์ของตนเป็น
อย่างยิ่ง ประโยชน์ยิ่งกว่าขันติไม่มี ผู้ใดแลเป็นคนมีกำลัง
อดกลั้นต่อคนทุรพลไว้ได้ ความอดกลั้นไว้ได้ของผู้นั้น
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่าเป็นขันติอย่างยิ่ง คนทุรพลย่อมจะอด
ทนอยู่เป็นนิตย์ บัณฑิตทั้งหลายเรียกกำลังของผู้ที่มีกำลังอย่าง
คนพาลว่ามิใช่กำลัง ไม่มีผู้ใดที่จะกล่าวโต้ต่อผู้ที่มีกำลังอัน
ธรรมคุ้มครองแล้วได้เลย เพราะความโกรธนั้น โทษอันลามก
จึงมีแก่ผู้ที่โกรธตอบผู้ที่โกรธแล้ว บุคคลผู้ไม่โกรธตอบผู้ที่
โกรธแล้ว ย่อมชื่อว่าชนะสงครามซึ่งเอาชนะได้ยาก ผู้ใดรู้ว่า
ผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติระงับไว้ได้ ผู้นั้นชื่อว่าประพฤติ
ประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายตนและคนอื่น คนผู้ที่
ไม่ฉลาดในธรรม ย่อมสำคัญเห็นผู้ที่รักษาประโยชน์ของ
ทั้งสองฝ่าย คือ ของตนและคนอื่น ว่าเป็นคนโง่ ดังนี้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวสักกะจอมเทวดาได้ภาษิตคาถาเหล่านี้แล้ว พวกเทวดาพากันอนุโมทนา เหล่าอสูรต่างก็นิ่ง ฯ
[๘๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ผู้ตัดสินทั้งของพวกเทวดาและพวกอสูรได้กล่าวคำนี้ว่า
ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสคาถาทั้งหลายแล้วแล แต่คาถาเหล่านั้นมีความเกี่ยวเกาะด้วยอาชญา มีความเกี่ยวเกาะด้วยศาตรา
เพราะเหตุเช่นนี้ จึงมีความหมายมั่น ความแก่งแย่ง ความทะเลาะวิวาท
ท้าวสักกะจอมเทวดาได้ตรัสคาถาทั้งหลายแล้วแล ก็คาถาเหล่านั้นไม่เกี่ยวเกาะด้วยอาชญา ไม่เกี่ยวเกาะด้วยศาตรา
เพราะเหตุเช่นนี้ จึงมีความไม่หมายมั่น ความไม่แก่งแย่ง ความไม่ทะเลาะวิวาท
ท้าวสักกะจอมเทวดาชนะเพราะได้ตรัสคำสุภาษิต ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชัยชนะด้วยการกล่าวคำสุภาษิตได้เป็นของท้าวสักกะจอมเทวดาด้วยประการฉะนี้แล ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๗๑๗๔ - ๗๒๔๒. หน้าที่ ๓๐๙ - ๓๑๒.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=7174&Z=7242&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=877
ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย ได้ที่ :-
[877-883] http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali.php?B=15&A=877&Z=883