คนทั่วไปมักคิดว่า คนแก่คนอายุมากจะต้องมีความสงบสุขุมรอบคอบเยือกเย็น มีสติสัมปะชัญญะที่ดี เพราะคนส่วนใหญ่คิดกันว่าคนอายุมากขึ้นต้องพัฒนาจิตใจและสติปัญญามากขึ้นไปตามอายุ
แต่แท้ที่จริงแล้วไม่ใช่ความจริงทั้งหมดเพราะสิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับการตั้งทิศทางจิตใจไปในทางที่ถูกหรือผิดด้วย เพราะแม้ว่าเด็กอายุ 5 ขวบ พูดจาอ่านออกเขียนได้มากกว่าเด็ก 1 ขวบ คนวัย 25 ปีรับรู้เรื่องราวและเข้าใจสิ่งจากต่างๆได้มากกว่าเด็ก 5 ขวบ แต่ทำไมบางคนเมื่ออายุ 30-40 ปีขึ้นไปกลายเป็นคนบ้าไม่รู้เรื่องไม่รู้ราว นั่นเป็นเพราะการตั้งทิศทางจิตใจไปในทางที่ผิด เอาใจไปหมกมุ่นกับสิ่งที่ไม่ดี สิ่งที่เศร้าหมอง ส่งผลให้เครียดเป็นโรคประสาท ศักยภาพทางสติปัญญาถูกทอนลง บางคนอาการหนักมากเป็นบ้าไปเลยก็มี
ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้จิตใจและสติปัญญาล้วนพัฒนาขึ้นก็คือ การฝึกฝนพัฒนาจิตใจและเจริญสติอย่างสม่ำเสมอ
เมื่อได้ฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องจากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปี จิตใจและสติปัญญาของผู้ฝึกก็จะถูกพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆไปพร้อมกับอายุที่มากขึ้นซึ่งก่อให้เกิดการรวมกันของปัญญา 3 รูปแบบ สุตมยปัญญา(ปัญญาที่เกิดจากการฟัง) จินตมยปัญญา(ปัญญาที่เกิดจากความคิด) ภาวนามยปัญญา(ปัญญาที่เกิดจากการภาวนา)
เพราะเมื่อมีอายุมากขึ้นย่อมมีประสบการณ์เรียนรู้เรื่องราวต่างๆในโลกได้มากขึ้นและคิดอ่านเหตุการณ์ต่างๆได้ลึกซึ้งขึ้น ซึ่งนั่นก็คือได้สุตมยปัญญา(ปัญญาที่เกิดจากการฟัง)และจินตมยปัญญา(ปัญญาที่เกิดจากความคิด) และเมื่อได้ฝึกอบรมจิตใจด้วยการเจริญภาวนาก็จะส่งผลให้เกิด ภาวนามยปัญญา(ปัญญาที่เกิดจากการภาวนา)ซึ่งเป็นปัญญาที่รู้เท่าทันอารมณ์สุขและทุกข์ เข้าใจความเป็นจริงของกายและใจได้ดีที่สุด
เพราะฉะนั้นควรจะรักษาสุขภาพกายและจิตให้ดีเนื่องจากทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์และส่งผลถึงกันและกันอย่างมาก ถ้าสุขภาพกายมีโรคภัยเจ็บไข้ได้ป่วยย่อมส่งผลให้จิตใจได้รับความเศร้าหมอง ถ้าสุขภาพจิตประสบภาวะความตึงเครียดเศร้าใจย่อมส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอและเจ็บไข้ได้ป่วยเช่นเดียวกัน ทุกคนจึงควรรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงและรักษาสุขภาพจิตให้มีความสุข ร่าเริงแจ่มใสดั่งดินดีเพราะหญ้าบัง หญ้ายังเพราะดินดีและเพื่อให้สมดั่งพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ
วิธีการรักษาสุขภาพกายและใจให้ดีมีหลายวิธี เช่น การสวดมนต์เจริญภาวนา การใช้ดนตรีบำบัดขับกล่อมจิตใจ การเลือกโภชนาอาหารให้ถูกต้องกับสภาพร่างกายและจิตใจหรือเลือกที่จะกระทำดีแก่คนรอบข้างและสังคมอันส่งผลให้เกิดความสุขใจแก่ผู้กระทำ ฯลฯ
เห็นได้ว่า การรักษาสุขภาพกายและใจมีหลายวิธี หากเลือกนำวิธีการต่างๆไปปฏิบัติบวกกับการฝึกฝนตนเองให้หมั่นคิดดี พูดดี ทำดีอย่างสม่ำเสมอก็จะพัฒนาให้คุณเป็นผู้มีความสุขุมรอบคอบ มีสติสัมปชัญญะที่ดียิ่งๆขึ้นไปซึ่งส่งผลให้คุณพบกับสิ่งดีๆในชีวิตนั่นเอง
ผู้ที่มีปัญญาและสงบเยือกเย็นอย่างพระอรหันต์ ท่านไม่ได้มีปัญญารู้เท่าทันความจริงจากการรอเวลาให้ผ่านไปให้ตัวท่านเองมีอายุ 80 ปีหรือ 100 ปีเพื่อการบรรลุธรรมมีปัญญาเข้าใจทุกอย่าง
ท่านอาศัยการฝึกฝนเจริญสติปัฏฐาน 4 ในยามที่ท่านล่วงรู้ในวิชาสติปัฏฐาน แล้วอาศัยความเพียรพยายามหมั่นฝึกฝนสติปัฏฐาน 4 อย่างสม่ำเสมอจนบรรลุธรรมมีปัญญาเข้าใจทุกอย่างตามความเป็นจริง
จริงหรือไม่ที่คนแก่หรือผู้สูงอายุมีความสุขุมเยือกเย็น มีสติสัมปชัญญะที่ดีเสมอไป
แต่แท้ที่จริงแล้วไม่ใช่ความจริงทั้งหมดเพราะสิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับการตั้งทิศทางจิตใจไปในทางที่ถูกหรือผิดด้วย เพราะแม้ว่าเด็กอายุ 5 ขวบ พูดจาอ่านออกเขียนได้มากกว่าเด็ก 1 ขวบ คนวัย 25 ปีรับรู้เรื่องราวและเข้าใจสิ่งจากต่างๆได้มากกว่าเด็ก 5 ขวบ แต่ทำไมบางคนเมื่ออายุ 30-40 ปีขึ้นไปกลายเป็นคนบ้าไม่รู้เรื่องไม่รู้ราว นั่นเป็นเพราะการตั้งทิศทางจิตใจไปในทางที่ผิด เอาใจไปหมกมุ่นกับสิ่งที่ไม่ดี สิ่งที่เศร้าหมอง ส่งผลให้เครียดเป็นโรคประสาท ศักยภาพทางสติปัญญาถูกทอนลง บางคนอาการหนักมากเป็นบ้าไปเลยก็มี
ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้จิตใจและสติปัญญาล้วนพัฒนาขึ้นก็คือ การฝึกฝนพัฒนาจิตใจและเจริญสติอย่างสม่ำเสมอ
เมื่อได้ฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องจากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปี จิตใจและสติปัญญาของผู้ฝึกก็จะถูกพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆไปพร้อมกับอายุที่มากขึ้นซึ่งก่อให้เกิดการรวมกันของปัญญา 3 รูปแบบ สุตมยปัญญา(ปัญญาที่เกิดจากการฟัง) จินตมยปัญญา(ปัญญาที่เกิดจากความคิด) ภาวนามยปัญญา(ปัญญาที่เกิดจากการภาวนา)
เพราะเมื่อมีอายุมากขึ้นย่อมมีประสบการณ์เรียนรู้เรื่องราวต่างๆในโลกได้มากขึ้นและคิดอ่านเหตุการณ์ต่างๆได้ลึกซึ้งขึ้น ซึ่งนั่นก็คือได้สุตมยปัญญา(ปัญญาที่เกิดจากการฟัง)และจินตมยปัญญา(ปัญญาที่เกิดจากความคิด) และเมื่อได้ฝึกอบรมจิตใจด้วยการเจริญภาวนาก็จะส่งผลให้เกิด ภาวนามยปัญญา(ปัญญาที่เกิดจากการภาวนา)ซึ่งเป็นปัญญาที่รู้เท่าทันอารมณ์สุขและทุกข์ เข้าใจความเป็นจริงของกายและใจได้ดีที่สุด
เพราะฉะนั้นควรจะรักษาสุขภาพกายและจิตให้ดีเนื่องจากทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์และส่งผลถึงกันและกันอย่างมาก ถ้าสุขภาพกายมีโรคภัยเจ็บไข้ได้ป่วยย่อมส่งผลให้จิตใจได้รับความเศร้าหมอง ถ้าสุขภาพจิตประสบภาวะความตึงเครียดเศร้าใจย่อมส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอและเจ็บไข้ได้ป่วยเช่นเดียวกัน ทุกคนจึงควรรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงและรักษาสุขภาพจิตให้มีความสุข ร่าเริงแจ่มใสดั่งดินดีเพราะหญ้าบัง หญ้ายังเพราะดินดีและเพื่อให้สมดั่งพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ
วิธีการรักษาสุขภาพกายและใจให้ดีมีหลายวิธี เช่น การสวดมนต์เจริญภาวนา การใช้ดนตรีบำบัดขับกล่อมจิตใจ การเลือกโภชนาอาหารให้ถูกต้องกับสภาพร่างกายและจิตใจหรือเลือกที่จะกระทำดีแก่คนรอบข้างและสังคมอันส่งผลให้เกิดความสุขใจแก่ผู้กระทำ ฯลฯ
เห็นได้ว่า การรักษาสุขภาพกายและใจมีหลายวิธี หากเลือกนำวิธีการต่างๆไปปฏิบัติบวกกับการฝึกฝนตนเองให้หมั่นคิดดี พูดดี ทำดีอย่างสม่ำเสมอก็จะพัฒนาให้คุณเป็นผู้มีความสุขุมรอบคอบ มีสติสัมปชัญญะที่ดียิ่งๆขึ้นไปซึ่งส่งผลให้คุณพบกับสิ่งดีๆในชีวิตนั่นเอง
ผู้ที่มีปัญญาและสงบเยือกเย็นอย่างพระอรหันต์ ท่านไม่ได้มีปัญญารู้เท่าทันความจริงจากการรอเวลาให้ผ่านไปให้ตัวท่านเองมีอายุ 80 ปีหรือ 100 ปีเพื่อการบรรลุธรรมมีปัญญาเข้าใจทุกอย่าง
ท่านอาศัยการฝึกฝนเจริญสติปัฏฐาน 4 ในยามที่ท่านล่วงรู้ในวิชาสติปัฏฐาน แล้วอาศัยความเพียรพยายามหมั่นฝึกฝนสติปัฏฐาน 4 อย่างสม่ำเสมอจนบรรลุธรรมมีปัญญาเข้าใจทุกอย่างตามความเป็นจริง