หนังลินช์ร่วมสมัยเสมอ เขาใส่วัฒนธรรม แนวคิดหลายๆ ลงไปในหนัง นิยมสาวผมบลอน เพลงฮิต เสื้อผ้าการแต่งกาย และ-ดันสวรรค์ของประธานาธิบดีเรแกน (คนที่ปลุกชาติอเมริกันที่หลับไหลให้กลายเป็นมหาอำนาจในไม่กี่ปี เขาลดภาษีเพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัว กำจัดยาเสพติด ทุ่มงบส่วนใหญ่ให้กับทางทหาร และตัดงบด้านอื่นออก สั่งสมกำลังแสนยานุภาพ ปราบคอมมิวนิสม์ จนกระทั่งสงครามเย็นสิ้นสุดลงพร้อมการล่มสลายของรัสเซีย)
เรียกได้ว่ายุคนั้นเป็นยุคที่ความเป็นอเมริกันเฟื่องฟูอย่างสูง ผู้คน “ดู” มีความสุข เด็กๆ ห่างไกลยาเสพติด แต่เอาจริงๆแล้ว ใน Blue Velvet ต้องการบอกเราว่า “ความชั่วร้ายไมไ่ด้หายไปไหนเลย เพียงแต่เราถูกปิดตา หรือไม่ก็มองไม่เห็นเอง” มันซ่อนอยู่ในทุกชุมชน แม้แต่ในเมืองที่เงียบสงบ Lumberton บ้านเกิดของ Jeffrey เขากลับมาเพื่อดูแลกิจการของพ่อ ในขณะที่พ่อล้มป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง
ระหว่างทางกลับบ้านเขาพบ “หู” ข้างซ้ายของมนุษย์ตกอยู่ในกอหญ้า และนั่นนำพาเขาเข้าโลกอีกด้านในเมืองอันสงบเงียบแห่งนั้น นั่นอาจสื่อถึงการรับรู้ข้อมูล ข้างซ้ายอาจหมายถึงลัทธิคอมมิวนิสม์ตอนนั้นที่ถูกปราบ เพราะการค้นพบหูทางนั้นทำให้เขาได้รู้ว่ายังมีด้านมืดของสังคมอยู่ในขณะที่อยู่ในยุคของเรแกนที่ทุกอย่างดูสดใส
แมลงเป็นสัญลักษณ์ที่พบได้ตลอดทั้งเรื่อง ชวนให้นึกไปถึง Un Chien Andalou (1928) ของบุนเยล แมลงสื่อไปถึงความชั่วร้ายหรือความรุนแรงทางเพศเช่นเดียวกับที่มันถูกใช้เป็นสื่อในหนังเรื่องนี้ ซึ่งตอนจบแมลงก็ถูกคาบโดยนกโรบินซึ่งเห็นได้ชัดว่ามันเป็นของปลอม Sandy (คนรักแบบผิดๆ ของ Jeffrey) เคยเล่าความฝันของเธอ ซึ่งเธอแทนนกโรบินในความฝันว่าคือความรัก ความสุข และสันติของโลก ซึ่งนกปลอมในตอนจบอาจหมายถึงความสุขที่เราเห็นในตอนท้ายเป็นความสุขท่ามกลางเรื่องโกหก (สวรรค์ของเรแกน)
หนังยังขยี้ประเด็นเรื่องบาปของมนุษย์โดยเล่นกับทฤษฎีของฟรอยด์ เพราะคนที่เลวในเรื่องนี้ไ่ม่ได้มีแค่ตัวร้ายที่เป็นมาเฟียค้ายาเสพติด แล้วยังมีปมโอดิปุสตอนเด็ก (เขาอาจมาจาก violent home) แต่ตัวพระเอกเองก็แย่งแฟนชาวบ้าน แล้วก็ในตอนท้ายก็ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข มันเป็นเรื่องผิด แต่เราก็ดูหนังจนจบแบบแฮปปี้เอ็นดิ้ง พระเอกภายนอกดูอินโนเซนส์มาก แซนดี้ก็เช่นกัน ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ก็ไม่มีอะไรที่ผิดไปจากหนังรักไวรุ่นทั่วไป
ความสัมพันธ์ระหว่างพระเอกกับโดโรธี นักร้องไนท์คลับ ดำเนินไปในทางตรงกันข้าม มันเต็มไปด้วยความใคร่และมาโซคิสม์ (นึกไม่ออก ให้นึกถึงจัน คุณบุญเลื่อง และไฮซินน์) หรือพูดให้ง่ายโดโรธีเป็นที่ปลดปล่อยแรงขับจากจิตใต้สำนึกของพระเอกนั่นเอง
ตัวโดโรธี มีนิสัยติดเซ็กส์แบบมาโซคิสม์ ซึ่งเธอก็บอกเองว่า “He put his disease in me.” ตอนนี้ทำให้นึกถึงหนังของ Antichrist (2009) ของ Lars von Trier ซึ่งก็เป็นไปทำนองเดียวกัน ผู้เป็นแม่ในทั้งสองเรื่องก็เสียลูกไปเหมือนกัน ส่วนหนึ่งนอกจากเธอจะติดอาการดังกล่าวมาจากแฟรงค์ เจ้ามาเฟียแล้ว เธอก็คงรู้สึกผิดกับลุกและอาจจะอยากทำโทษตัวเองก็เป็นได้ ซึ่งพูดไปตอนโดโรธีเอามืดขู่พระเอกเพื่อที่จะมีเซ็กส์ก็คล้ายๆ นอร์แมนใน Psycho (1960) เหมือนกันเพราะทั้งสองคนก็ถุกขับเคลื่อนด้วยจิตใต้สำนึกเหมือนกัน
ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับภาพยนตร์ทางเฟสได้เลยน่ะครับ
https://www.facebook.com/survival.king
Tempy Movies Review รีวิวหนัง: Blue Velvet {David Lynch}, 1986
หนังลินช์ร่วมสมัยเสมอ เขาใส่วัฒนธรรม แนวคิดหลายๆ ลงไปในหนัง นิยมสาวผมบลอน เพลงฮิต เสื้อผ้าการแต่งกาย และ-ดันสวรรค์ของประธานาธิบดีเรแกน (คนที่ปลุกชาติอเมริกันที่หลับไหลให้กลายเป็นมหาอำนาจในไม่กี่ปี เขาลดภาษีเพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัว กำจัดยาเสพติด ทุ่มงบส่วนใหญ่ให้กับทางทหาร และตัดงบด้านอื่นออก สั่งสมกำลังแสนยานุภาพ ปราบคอมมิวนิสม์ จนกระทั่งสงครามเย็นสิ้นสุดลงพร้อมการล่มสลายของรัสเซีย)
เรียกได้ว่ายุคนั้นเป็นยุคที่ความเป็นอเมริกันเฟื่องฟูอย่างสูง ผู้คน “ดู” มีความสุข เด็กๆ ห่างไกลยาเสพติด แต่เอาจริงๆแล้ว ใน Blue Velvet ต้องการบอกเราว่า “ความชั่วร้ายไมไ่ด้หายไปไหนเลย เพียงแต่เราถูกปิดตา หรือไม่ก็มองไม่เห็นเอง” มันซ่อนอยู่ในทุกชุมชน แม้แต่ในเมืองที่เงียบสงบ Lumberton บ้านเกิดของ Jeffrey เขากลับมาเพื่อดูแลกิจการของพ่อ ในขณะที่พ่อล้มป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง
ระหว่างทางกลับบ้านเขาพบ “หู” ข้างซ้ายของมนุษย์ตกอยู่ในกอหญ้า และนั่นนำพาเขาเข้าโลกอีกด้านในเมืองอันสงบเงียบแห่งนั้น นั่นอาจสื่อถึงการรับรู้ข้อมูล ข้างซ้ายอาจหมายถึงลัทธิคอมมิวนิสม์ตอนนั้นที่ถูกปราบ เพราะการค้นพบหูทางนั้นทำให้เขาได้รู้ว่ายังมีด้านมืดของสังคมอยู่ในขณะที่อยู่ในยุคของเรแกนที่ทุกอย่างดูสดใส
แมลงเป็นสัญลักษณ์ที่พบได้ตลอดทั้งเรื่อง ชวนให้นึกไปถึง Un Chien Andalou (1928) ของบุนเยล แมลงสื่อไปถึงความชั่วร้ายหรือความรุนแรงทางเพศเช่นเดียวกับที่มันถูกใช้เป็นสื่อในหนังเรื่องนี้ ซึ่งตอนจบแมลงก็ถูกคาบโดยนกโรบินซึ่งเห็นได้ชัดว่ามันเป็นของปลอม Sandy (คนรักแบบผิดๆ ของ Jeffrey) เคยเล่าความฝันของเธอ ซึ่งเธอแทนนกโรบินในความฝันว่าคือความรัก ความสุข และสันติของโลก ซึ่งนกปลอมในตอนจบอาจหมายถึงความสุขที่เราเห็นในตอนท้ายเป็นความสุขท่ามกลางเรื่องโกหก (สวรรค์ของเรแกน)
หนังยังขยี้ประเด็นเรื่องบาปของมนุษย์โดยเล่นกับทฤษฎีของฟรอยด์ เพราะคนที่เลวในเรื่องนี้ไ่ม่ได้มีแค่ตัวร้ายที่เป็นมาเฟียค้ายาเสพติด แล้วยังมีปมโอดิปุสตอนเด็ก (เขาอาจมาจาก violent home) แต่ตัวพระเอกเองก็แย่งแฟนชาวบ้าน แล้วก็ในตอนท้ายก็ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข มันเป็นเรื่องผิด แต่เราก็ดูหนังจนจบแบบแฮปปี้เอ็นดิ้ง พระเอกภายนอกดูอินโนเซนส์มาก แซนดี้ก็เช่นกัน ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ก็ไม่มีอะไรที่ผิดไปจากหนังรักไวรุ่นทั่วไป
ความสัมพันธ์ระหว่างพระเอกกับโดโรธี นักร้องไนท์คลับ ดำเนินไปในทางตรงกันข้าม มันเต็มไปด้วยความใคร่และมาโซคิสม์ (นึกไม่ออก ให้นึกถึงจัน คุณบุญเลื่อง และไฮซินน์) หรือพูดให้ง่ายโดโรธีเป็นที่ปลดปล่อยแรงขับจากจิตใต้สำนึกของพระเอกนั่นเอง
ตัวโดโรธี มีนิสัยติดเซ็กส์แบบมาโซคิสม์ ซึ่งเธอก็บอกเองว่า “He put his disease in me.” ตอนนี้ทำให้นึกถึงหนังของ Antichrist (2009) ของ Lars von Trier ซึ่งก็เป็นไปทำนองเดียวกัน ผู้เป็นแม่ในทั้งสองเรื่องก็เสียลูกไปเหมือนกัน ส่วนหนึ่งนอกจากเธอจะติดอาการดังกล่าวมาจากแฟรงค์ เจ้ามาเฟียแล้ว เธอก็คงรู้สึกผิดกับลุกและอาจจะอยากทำโทษตัวเองก็เป็นได้ ซึ่งพูดไปตอนโดโรธีเอามืดขู่พระเอกเพื่อที่จะมีเซ็กส์ก็คล้ายๆ นอร์แมนใน Psycho (1960) เหมือนกันเพราะทั้งสองคนก็ถุกขับเคลื่อนด้วยจิตใต้สำนึกเหมือนกัน
ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับภาพยนตร์ทางเฟสได้เลยน่ะครับ https://www.facebook.com/survival.king