เป็นที่ทราบกันดีว่า สหรัฐได้ออกเอกสาร รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ของประเทศไทยไว้
ที่เข้าถึงได้ล่าสุดสองฉบับ โดยเอกสารชิ้นนี้สามารถหาอ่านได้เพราะเป็นเอกสารเปิดทั่วไป
โดยในปี 2556 ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ 2 คือบัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามอง
ในขณะที่ ปี 2557 เราถูกลดลำดับลงมาอยู่อันดับที่ 3 คือ กลุ่มประเทศที่ดำเนินการไม่สอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำของกฎหมายสหรัฐอเมริกา และไม่มีความพยายามแก้ไขปัญหา
เอกสารชุดนี้ พูดถึงโรฮิงญาเพียงเล็กน้อยในปี 2556 และมีรายละเอียดอย่างมากในปี 2557
ตลอดเอกสารรายงานถึงปัญหาค้ามนุษย์ ทั้งประเทศทั้งค้าแรงงานและ ค้าประเวณีเป็นอเอกสารชิ้นหนึ่ง
ที่ควรนำมาศึกษา
โดยประเทศไทยได้มีกระแสการพูดถึงโรฮิงญาอย่างมาก ในช่วงเดือน มกราคม ปี 2556
และอีกครั้งคือปีนี้ พฤษภาคม 2558 หลังมีการพบศพ ชายและหญิงโรฮิงญาจำนวนมากที่เขาแก้ว
จนนำมาสู่การจับตามองแนวชายฝั่ง และพบแรงงานโรฮิงญาล่าสุดที่สตูล
ผมจะตัดแปะสาระสำคัญ จากเอกสารทั้งสองเล่มไว้ให้ลองอ่านกันนะครับ
รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ ประเทศไทย (กลุ่มที่ 2 บัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามอง) บางส่วน
อ่านฉบับเต็มได้ที่นี่
http://thai.bangkok.usembassy.gov/tipthaireport13-t.html
... ในช่วงปีที่ผ่านมา มีรายงานว่า ผู้แสวงที่พักพิงชาวโรฮิงญาจากพม่าถูกลักลอบเข้าประเทศไทยเพื่อผ่านไปมาเลเซียและในที่สุด ก็ถูกขายเพื่อการบังคับใช้แรงงานโดยมีเจ้าหน้าที่รัฐทั้งพลเรือนและทหารให้ความช่วยเหลือการดำเนินการดังกล่าว...
...พ.ศ. 2555 และรายงานว่า มีการสอบสวนคดีค้ามนุษย์ทั้งหมด 305 คดี เมื่อเทียบกับ 83 คดีในปี พ.ศ. 2554 แต่ได้ดำเนินคดีเพียง 27 คดีและมีการพิพากษาว่ากระทำผิดเพียง 10 รายในช่วงปีที่ผ่านมา ...
...ยังคงมีการทุจริตอย่างกว้างขวางในหมู่เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายซึ่งเป็นการส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการค้ามนุษย์ ในช่วงปีที่ผ่านมา มีการกล่าวหาว่า มีการทุจริตที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ซึ่งรวมถึงคดีการค้ามนุษย์เพื่อธุรกิจค้าประเวณีและการบังคับใช้แรงงานต่างด้าว มีรายงานที่น่าเชื่อถือระบุว่า เจ้าหน้าที่ที่ฉ้อฉลให้ความคุ้มครองซ่องโสเภณี..
...แหล่งข่าวจากสื่อรายงานว่า กองทัพบกทำการสอบสวนข้าราชการทหารสองนายที่ถูกกล่าวหาว่าลักลอบนำเข้าผู้แสวงหาที่พักพิงชาวโรฮิงญา โดยข้าราชการทหารทั้งสองถูกสั่งพักราชการขณะรอผลการสืบสวน...
รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ประจำปี พ.ศ. 2557 บางส่วน
อ่านฉบับเต็มได้ที่นี่
http://thai.bangkok.usembassy.gov/tipthaireport14-t.html
... ยังคงมีรายงานว่า เจ้าหน้าที่รัฐของไทยทั้งพลเรือนและทหารได้รับผลประโยชน์จากการลักลอบนำเข้าผู้แสวงที่พักพิงชาวโรฮิงญาจากพม่าและบังคลาเทศ (ที่เข้าประเทศไทยเพื่อผ่านไปมาเลเซียหรืออินโดนีเซีย) รวมทั้งสมรู้ร่วมคิดกันในการขายผู้แสวงที่พักพิงชาวโรฮิงญาเหล่านี้เพื่อการบังคับใช้แรงงานบนเรือประมง เจ้าหน้าที่กองทัพเรือและถูกกล่าวหาว่า ผลักดันเรือบรรทุกผู้แสวงที่พักพิงชาวโรฮิงญาซึ่งมุ่งหน้าไปมาเลเซียให้เข้าเขตไทยแทนและให้ความสะดวกในการส่งตัวผู้แสวงที่พักพิงบางคนไปให้นักค้ามนุษย์หรือนายหน้าเพื่อขายไปเป็นแรงงานบังคับใช้บนเรือประมง นอกจากนี้ สื่อยังรายงานว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจไทยบางคนทำการอย่างเป็นระบบในการโยกย้ายชายชาวโรฮิงญาจากศูนย์กักกันในไทยและนำไปขายให้นักค้ามนุษย์หรือนายหน้าซึ่งจะส่งชายเหล่านี้ไปภาคใต้ของไทยและถูกบังคับใช้แรงงานเป็นคนทำอาหารและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในค่ายต่างๆ หรือถูกขายไปเป็นแรงงานบังคับใช้ในไร่นาหรือบริษัทขนส่งทางเรือ นักค้ามนุษย์ (รวมทั้งนายหน้าจัดหาแรงงาน) ซึ่งนำคนต่างด้าวเข้ามาในไทยโดยทั่วๆ ไปทำงานตามลำพังหรือทำงานแบบกลุ่มที่ไม่ได้จัดตั้งเป็นทางการ ในขณะที่นักค้ามนุษย์ที่หลอกคนไทยไปค้าในต่างประเทศจะทำงานเป็นกลุ่มที่จัดตั้งเป็นทางการมากกว่า นายหน้าจัดหาแรงงานซึ่งโดยมากทำงานแบบไม่มีกฎหมายหรือระเบียบกำกับและทั้งที่เป็นคนไทยและคนต่างชาติทำหน้าที่เป็นคนกลางระหว่างแรงงานที่หางานกับนายจ้าง บางคนช่วยอำนวยความสะดวกหรือมีส่วนในการค้ามนุษย์โดยร่วมมือกับนายจ้างและบางครั้งก็ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายด้วย..
.. รัฐบาลไม่ได้ดำเนินคดีอาญากับเจ้าของเรือ ไต้ก๋งหรือเจ้าหน้าที่รัฐที่สมรู้ร่วมคิดฐานค้าแรงงานในอุตสาหกรรมการประมง ด้วยความร่วมมือด้านการสืบสวนจากองค์การนอกภาครัฐ รัฐบาลดำเนินคดีและพิพากษาลงโทษนายหน้าจัดหาแรงงานชาวพม่าที่มีส่วนช่วยในการบังคับใช้แรงงานชายชาวพม่าในอุตสาหกรรมการประมง โดยรายหนึ่งถูกพิพากษาจำคุก 33 ปีและอีกรายถูกพิพากษาจำคุก 3 ปี 6 เดือน ผู้สมรู้ร่วมคิดชาวไทยที่เป็นเจ้าของท่าเรือซึ่งกักขังเหยื่ออย่างน้อย 14 คนไม่ถูกดำเนินคดีอาญาแต่อย่างใดในการมีส่วนร่วมกระทำมิชอบเหล่านี้ แต่ถูกพิพากษาจำคุก 3 เดือนฐานให้ที่พักพิงแก่คนงานที่ไม่มีเอกสาร ไม่มีรายงานจากรัฐบาลว่าได้ทำการสืบสวน ดำเนินคดีและพิพากษาเจ้าหน้าที่รัฐหรือบุคคลทั่วไปที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนทำให้ผู้แสวงหาที่พักพิงชาวโรฮิงญาต้องอยู่ในสภาพแรงงานบังคับใช้ในในอุตสาหกรรมการประมงของไทย
ไม่มีรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับคดีที่ศาลฎีกาพิจารณาคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเมื่อ พ.ศ. 2552 และศาลอุทธรณ์ยืนคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในปี พ.ศ. 2554 ซึ่งวินิจฉัยว่า ผู้ต้องหาสองคนมีความผิดฐานค้ามนุษย์จำนวน 73 คนเพื่อเป็นแรงงานบังคับใช้ในโรงงานแกะกุ้งแห่งหนึ่ง ผู้กระทำผิดทั้งสองคนยังได้รับการประกันตัวเป็นอิสระอยู่ในช่วงเวลาการทำรายงานนี้เป็นปีที่สอง รัฐบาลระบุความผิดกรณีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดหางานที่ผิดกฎหมายและการหน่วงเหนี่ยวค่าจ้างเป็นคดีแพ่งภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน แทนที่จะกำหนดให้เป็นคดีอาญาภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551...
... แม้รัฐบาลรายงานว่า ได้ดำเนินการสืบสวนข้าราชการทหารที่สมรู้ร่วมคิดการค้ามนุษย์โดยแสวงประโยชน์จากผู้แสวงหาที่พักพิงชาวโรฮิงญา แต่ผู้สังเกตการณ์อ้างว่า รัฐบาลไม่ได้ทำการสอบสวนอย่างถ้วนถี่ ในเดือนธันวาคม 2556 กองทัพเรือฟ้องร้องผู้สื่อข่าวสองรายของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับหนึ่งในข้อหาหมิ่นประมาทเนื่องจากได้ตีพิมพ์รายงานที่กล่าวหาว่า ข้าราชการพลเรือนและข้าราชการทหารสังกัดกองทัพเรือมีส่วนพัวพันในการค้ามนุษย์..
... ถึงแม้ว่าตลอดทั้งปีจะมีรายงานจากสื่อและองค์การนอกภาครัฐว่า ประชากรกลุ่มดังกล่าวบางคนถูกบังคับใช้แรงงานในประเทศไทย แต่รัฐบาลกลับไม่ได้ระบุว่าชาวโรฮิงญาคนใดเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ ผู้เชี่ยวชาญเน้นย้ำว่า เหยื่อชาวโรฮิงญาอาจลังเลที่จะแสดงตัวว่าตนคือเหยื่อการค้ามนุษย์เพราะกลัวถูกส่งตัวกลับประเทศต้นทาง กฎหมายของไทยไม่ได้เสนอทางเลือกที่ถูกกฎหมายทางอื่นนอกเหนือจากการถูกส่งตัวกลับสำหรับเหยื่อค้ามนุษย์ซึ่งอาจต้องเผชิญกับการถูกแก้แค้นหรือชีวิตที่ยากลำบากในประเทศเดิมของตน ...
...มติคณะรัฐมนตรีเมื่อ พ.ศ. 2548 กำหนดให้เหยื่อการค้ามนุษย์ในประเทศไทยที่เป็นบุคคลไร้สัญชาติอาจได้รับสถานะผู้พักอาศัยถาวรเป็นกรณีไป อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยยังไม่ได้รายงานว่าได้ให้สถานะผู้พักอาศัยถาวรแก่เหยื่อการค้ามนุษย์ที่เป็นชาวต่างชาติหรือบุคคลไร้สัญชาติคนใด กฎหมายไทยคุ้มครองเหยื่อจากการดำเนินคดีในการกระทำความผิดที่เป็นผลมาจากการถูกค้ามนุษย์ อย่างไรก็ตาม กระบวนการคัดแยกเหยื่อของรัฐบาลไทยมีข้อบกพร่องร้ายแรง อีกทั้งความพยายามเชิงรุกของทางการในการจับกุมและส่งตัวผู้ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายกลับประเทศทำให้เหยื่อเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อซ้ำอีกและถูกปฏิบัติเช่นเดียวกับอาชญากร กระบวนการคัดแยกเหยื่อที่ไม่เพียงพออาจส่งผลให้เหยื่อบางคนถูกปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้ฝ่าฝืนกฎหมายหลังจากที่ตำรวจเข้าตรวจค้นสถานที่ค้าประเวณี เป็นไปได้ว่ามีเหยื่อการค้ามนุษย์ซึ่งไม่ได้รับการคัดแยกออกไปและรวมอยู่ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว 190,144 คนที่อาจถูกทางการดำเนินคดีทางกฎหมายเพราะขาดเอกสารในช่วงปีที่ผ่านมา รวมถึงอาจอยู่ในกลุ่มชายชาวโรฮิงญาที่ถูกกักกันตัวในสถานกักกันซึ่งบางครั้งก็แออัดเกินไป...
..คำแนะนำสำหรับเป้าหมายและวัตถุประสงค์จำเพาะเพื่อส่งเสริมความพยายามการปราบปรามการค้ามนุษย์ของรัฐบาลไทยสำหรับปีหน้า ..
..6. ไทยควรยุติการดำเนินคดีอาญาข้อหาหมิ่นประมาทต่อนักวิจัยหรือผู้สื่อข่าวที่รายงานเรื่องการค้ามนุษย์..
..8. ไทยควรอนุญาตให้เหยื่อการค้ามนุษย์ทุกคนที่มิใช่เยาวชนซึ่งรวมถึงเหยื่อการค้ามนุษย์เพื่อการค้าประเวณีให้เดินทาง ทำงานและพำนักนอกเขตที่พักพิงได้ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของไทย
เปิดเอกสารค้ามนุษย์ สหรัฐมองไทย กรณีโรฮิงญา
ที่เข้าถึงได้ล่าสุดสองฉบับ โดยเอกสารชิ้นนี้สามารถหาอ่านได้เพราะเป็นเอกสารเปิดทั่วไป
โดยในปี 2556 ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ 2 คือบัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามอง
ในขณะที่ ปี 2557 เราถูกลดลำดับลงมาอยู่อันดับที่ 3 คือ กลุ่มประเทศที่ดำเนินการไม่สอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำของกฎหมายสหรัฐอเมริกา และไม่มีความพยายามแก้ไขปัญหา
เอกสารชุดนี้ พูดถึงโรฮิงญาเพียงเล็กน้อยในปี 2556 และมีรายละเอียดอย่างมากในปี 2557
ตลอดเอกสารรายงานถึงปัญหาค้ามนุษย์ ทั้งประเทศทั้งค้าแรงงานและ ค้าประเวณีเป็นอเอกสารชิ้นหนึ่ง
ที่ควรนำมาศึกษา
โดยประเทศไทยได้มีกระแสการพูดถึงโรฮิงญาอย่างมาก ในช่วงเดือน มกราคม ปี 2556
และอีกครั้งคือปีนี้ พฤษภาคม 2558 หลังมีการพบศพ ชายและหญิงโรฮิงญาจำนวนมากที่เขาแก้ว
จนนำมาสู่การจับตามองแนวชายฝั่ง และพบแรงงานโรฮิงญาล่าสุดที่สตูล
ผมจะตัดแปะสาระสำคัญ จากเอกสารทั้งสองเล่มไว้ให้ลองอ่านกันนะครับ
รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ ประเทศไทย (กลุ่มที่ 2 บัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามอง) บางส่วน
อ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ http://thai.bangkok.usembassy.gov/tipthaireport13-t.html
... ในช่วงปีที่ผ่านมา มีรายงานว่า ผู้แสวงที่พักพิงชาวโรฮิงญาจากพม่าถูกลักลอบเข้าประเทศไทยเพื่อผ่านไปมาเลเซียและในที่สุด ก็ถูกขายเพื่อการบังคับใช้แรงงานโดยมีเจ้าหน้าที่รัฐทั้งพลเรือนและทหารให้ความช่วยเหลือการดำเนินการดังกล่าว...
...พ.ศ. 2555 และรายงานว่า มีการสอบสวนคดีค้ามนุษย์ทั้งหมด 305 คดี เมื่อเทียบกับ 83 คดีในปี พ.ศ. 2554 แต่ได้ดำเนินคดีเพียง 27 คดีและมีการพิพากษาว่ากระทำผิดเพียง 10 รายในช่วงปีที่ผ่านมา ...
...ยังคงมีการทุจริตอย่างกว้างขวางในหมู่เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายซึ่งเป็นการส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการค้ามนุษย์ ในช่วงปีที่ผ่านมา มีการกล่าวหาว่า มีการทุจริตที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ซึ่งรวมถึงคดีการค้ามนุษย์เพื่อธุรกิจค้าประเวณีและการบังคับใช้แรงงานต่างด้าว มีรายงานที่น่าเชื่อถือระบุว่า เจ้าหน้าที่ที่ฉ้อฉลให้ความคุ้มครองซ่องโสเภณี..
...แหล่งข่าวจากสื่อรายงานว่า กองทัพบกทำการสอบสวนข้าราชการทหารสองนายที่ถูกกล่าวหาว่าลักลอบนำเข้าผู้แสวงหาที่พักพิงชาวโรฮิงญา โดยข้าราชการทหารทั้งสองถูกสั่งพักราชการขณะรอผลการสืบสวน...
รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ประจำปี พ.ศ. 2557 บางส่วน
อ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ http://thai.bangkok.usembassy.gov/tipthaireport14-t.html
... ยังคงมีรายงานว่า เจ้าหน้าที่รัฐของไทยทั้งพลเรือนและทหารได้รับผลประโยชน์จากการลักลอบนำเข้าผู้แสวงที่พักพิงชาวโรฮิงญาจากพม่าและบังคลาเทศ (ที่เข้าประเทศไทยเพื่อผ่านไปมาเลเซียหรืออินโดนีเซีย) รวมทั้งสมรู้ร่วมคิดกันในการขายผู้แสวงที่พักพิงชาวโรฮิงญาเหล่านี้เพื่อการบังคับใช้แรงงานบนเรือประมง เจ้าหน้าที่กองทัพเรือและถูกกล่าวหาว่า ผลักดันเรือบรรทุกผู้แสวงที่พักพิงชาวโรฮิงญาซึ่งมุ่งหน้าไปมาเลเซียให้เข้าเขตไทยแทนและให้ความสะดวกในการส่งตัวผู้แสวงที่พักพิงบางคนไปให้นักค้ามนุษย์หรือนายหน้าเพื่อขายไปเป็นแรงงานบังคับใช้บนเรือประมง นอกจากนี้ สื่อยังรายงานว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจไทยบางคนทำการอย่างเป็นระบบในการโยกย้ายชายชาวโรฮิงญาจากศูนย์กักกันในไทยและนำไปขายให้นักค้ามนุษย์หรือนายหน้าซึ่งจะส่งชายเหล่านี้ไปภาคใต้ของไทยและถูกบังคับใช้แรงงานเป็นคนทำอาหารและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในค่ายต่างๆ หรือถูกขายไปเป็นแรงงานบังคับใช้ในไร่นาหรือบริษัทขนส่งทางเรือ นักค้ามนุษย์ (รวมทั้งนายหน้าจัดหาแรงงาน) ซึ่งนำคนต่างด้าวเข้ามาในไทยโดยทั่วๆ ไปทำงานตามลำพังหรือทำงานแบบกลุ่มที่ไม่ได้จัดตั้งเป็นทางการ ในขณะที่นักค้ามนุษย์ที่หลอกคนไทยไปค้าในต่างประเทศจะทำงานเป็นกลุ่มที่จัดตั้งเป็นทางการมากกว่า นายหน้าจัดหาแรงงานซึ่งโดยมากทำงานแบบไม่มีกฎหมายหรือระเบียบกำกับและทั้งที่เป็นคนไทยและคนต่างชาติทำหน้าที่เป็นคนกลางระหว่างแรงงานที่หางานกับนายจ้าง บางคนช่วยอำนวยความสะดวกหรือมีส่วนในการค้ามนุษย์โดยร่วมมือกับนายจ้างและบางครั้งก็ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายด้วย..
.. รัฐบาลไม่ได้ดำเนินคดีอาญากับเจ้าของเรือ ไต้ก๋งหรือเจ้าหน้าที่รัฐที่สมรู้ร่วมคิดฐานค้าแรงงานในอุตสาหกรรมการประมง ด้วยความร่วมมือด้านการสืบสวนจากองค์การนอกภาครัฐ รัฐบาลดำเนินคดีและพิพากษาลงโทษนายหน้าจัดหาแรงงานชาวพม่าที่มีส่วนช่วยในการบังคับใช้แรงงานชายชาวพม่าในอุตสาหกรรมการประมง โดยรายหนึ่งถูกพิพากษาจำคุก 33 ปีและอีกรายถูกพิพากษาจำคุก 3 ปี 6 เดือน ผู้สมรู้ร่วมคิดชาวไทยที่เป็นเจ้าของท่าเรือซึ่งกักขังเหยื่ออย่างน้อย 14 คนไม่ถูกดำเนินคดีอาญาแต่อย่างใดในการมีส่วนร่วมกระทำมิชอบเหล่านี้ แต่ถูกพิพากษาจำคุก 3 เดือนฐานให้ที่พักพิงแก่คนงานที่ไม่มีเอกสาร ไม่มีรายงานจากรัฐบาลว่าได้ทำการสืบสวน ดำเนินคดีและพิพากษาเจ้าหน้าที่รัฐหรือบุคคลทั่วไปที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนทำให้ผู้แสวงหาที่พักพิงชาวโรฮิงญาต้องอยู่ในสภาพแรงงานบังคับใช้ในในอุตสาหกรรมการประมงของไทย
ไม่มีรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับคดีที่ศาลฎีกาพิจารณาคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเมื่อ พ.ศ. 2552 และศาลอุทธรณ์ยืนคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในปี พ.ศ. 2554 ซึ่งวินิจฉัยว่า ผู้ต้องหาสองคนมีความผิดฐานค้ามนุษย์จำนวน 73 คนเพื่อเป็นแรงงานบังคับใช้ในโรงงานแกะกุ้งแห่งหนึ่ง ผู้กระทำผิดทั้งสองคนยังได้รับการประกันตัวเป็นอิสระอยู่ในช่วงเวลาการทำรายงานนี้เป็นปีที่สอง รัฐบาลระบุความผิดกรณีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดหางานที่ผิดกฎหมายและการหน่วงเหนี่ยวค่าจ้างเป็นคดีแพ่งภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน แทนที่จะกำหนดให้เป็นคดีอาญาภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551...
... แม้รัฐบาลรายงานว่า ได้ดำเนินการสืบสวนข้าราชการทหารที่สมรู้ร่วมคิดการค้ามนุษย์โดยแสวงประโยชน์จากผู้แสวงหาที่พักพิงชาวโรฮิงญา แต่ผู้สังเกตการณ์อ้างว่า รัฐบาลไม่ได้ทำการสอบสวนอย่างถ้วนถี่ ในเดือนธันวาคม 2556 กองทัพเรือฟ้องร้องผู้สื่อข่าวสองรายของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับหนึ่งในข้อหาหมิ่นประมาทเนื่องจากได้ตีพิมพ์รายงานที่กล่าวหาว่า ข้าราชการพลเรือนและข้าราชการทหารสังกัดกองทัพเรือมีส่วนพัวพันในการค้ามนุษย์..
... ถึงแม้ว่าตลอดทั้งปีจะมีรายงานจากสื่อและองค์การนอกภาครัฐว่า ประชากรกลุ่มดังกล่าวบางคนถูกบังคับใช้แรงงานในประเทศไทย แต่รัฐบาลกลับไม่ได้ระบุว่าชาวโรฮิงญาคนใดเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ ผู้เชี่ยวชาญเน้นย้ำว่า เหยื่อชาวโรฮิงญาอาจลังเลที่จะแสดงตัวว่าตนคือเหยื่อการค้ามนุษย์เพราะกลัวถูกส่งตัวกลับประเทศต้นทาง กฎหมายของไทยไม่ได้เสนอทางเลือกที่ถูกกฎหมายทางอื่นนอกเหนือจากการถูกส่งตัวกลับสำหรับเหยื่อค้ามนุษย์ซึ่งอาจต้องเผชิญกับการถูกแก้แค้นหรือชีวิตที่ยากลำบากในประเทศเดิมของตน ...
...มติคณะรัฐมนตรีเมื่อ พ.ศ. 2548 กำหนดให้เหยื่อการค้ามนุษย์ในประเทศไทยที่เป็นบุคคลไร้สัญชาติอาจได้รับสถานะผู้พักอาศัยถาวรเป็นกรณีไป อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยยังไม่ได้รายงานว่าได้ให้สถานะผู้พักอาศัยถาวรแก่เหยื่อการค้ามนุษย์ที่เป็นชาวต่างชาติหรือบุคคลไร้สัญชาติคนใด กฎหมายไทยคุ้มครองเหยื่อจากการดำเนินคดีในการกระทำความผิดที่เป็นผลมาจากการถูกค้ามนุษย์ อย่างไรก็ตาม กระบวนการคัดแยกเหยื่อของรัฐบาลไทยมีข้อบกพร่องร้ายแรง อีกทั้งความพยายามเชิงรุกของทางการในการจับกุมและส่งตัวผู้ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายกลับประเทศทำให้เหยื่อเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อซ้ำอีกและถูกปฏิบัติเช่นเดียวกับอาชญากร กระบวนการคัดแยกเหยื่อที่ไม่เพียงพออาจส่งผลให้เหยื่อบางคนถูกปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้ฝ่าฝืนกฎหมายหลังจากที่ตำรวจเข้าตรวจค้นสถานที่ค้าประเวณี เป็นไปได้ว่ามีเหยื่อการค้ามนุษย์ซึ่งไม่ได้รับการคัดแยกออกไปและรวมอยู่ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว 190,144 คนที่อาจถูกทางการดำเนินคดีทางกฎหมายเพราะขาดเอกสารในช่วงปีที่ผ่านมา รวมถึงอาจอยู่ในกลุ่มชายชาวโรฮิงญาที่ถูกกักกันตัวในสถานกักกันซึ่งบางครั้งก็แออัดเกินไป...
..คำแนะนำสำหรับเป้าหมายและวัตถุประสงค์จำเพาะเพื่อส่งเสริมความพยายามการปราบปรามการค้ามนุษย์ของรัฐบาลไทยสำหรับปีหน้า ..
..6. ไทยควรยุติการดำเนินคดีอาญาข้อหาหมิ่นประมาทต่อนักวิจัยหรือผู้สื่อข่าวที่รายงานเรื่องการค้ามนุษย์..
..8. ไทยควรอนุญาตให้เหยื่อการค้ามนุษย์ทุกคนที่มิใช่เยาวชนซึ่งรวมถึงเหยื่อการค้ามนุษย์เพื่อการค้าประเวณีให้เดินทาง ทำงานและพำนักนอกเขตที่พักพิงได้ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของไทย