ประเทศไทยไม่ได้เป็นภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติ ปี 2494 และไม่มีกฎหมายรับรองสถานภาพของผู้อพยพ และผู้แสวงหาลี้ภัย ในกรณีที่บุคคลเหล่านั้นถูกจับกุม พวกเขามักจะถูกคุมขังเป็นระยะเวลานานกว่าจะได้รับการยินยอมให้สามารถเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย หรือถูกส่งกลับไปยังประเทศของตน ในบางกรณี ผู้อพยพจากศรีลังกา และเนปาล รวมทั้งชาวโรฮิงญาถูกคุมขังอยู่เป็นระยะเวลานานกว่าสองปี เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ผู้อพยพ 94 คน และผู้แสวงหาการลี้ภัยสองคนจากชุมชนอาห์มาดิยาห์ในปากีสถาน ได้รับการประกันตัวออกไป ภายหลังจากที่บางคนถูกคุมขังอยู่เป็นระยะเวลานานเกือบหกเดือน
ที่มา :
http://www.hrw.org/node/259697
จะสังเกตุได้ว่า Human right watch ได้ลงบันทึกในลักษณะนี้ ไว้ตั้งแต่ปี 2012
https://www.hrw.org/world-report/2012/country-chapters/thailand โดยหากเปลี่ยนปีจาก 12 เป็น 13 14 ก็ยังเขียนแบบเดียวกันคือ Thailand is not a party to the 1951 Refugee Convention and has no law that recognizes refugee status. นั่นหมายความว่า
ไทยไม่ได้เป็นภาคี ของ อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย https://www.unhcr.or.th/th/refugee/convention
หรือเปล่า?
World report 2012 (event ปี 11)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ทางการไทยยังคงละเมิดหลักการระหว่างประเทศที่ห้ามบังคับส่งตัวผู้อพยพ และผู้แสวงหาการลี้ภัยกลับไปยังประเทศที่บุคคลเหล่านั้นอาจจะถูกลงโทษ นูร์ มูฮัมหมัด ชาวอุยกูร์ ถูกจับเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม และถูกนำตัวมาที่ห้องกักขังสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ด้วยข้อหาเข้าเมืองผิดกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติการเข้าเมือง แต่แทนที่เขาจะถูกนำตัวไปส่งฟ้องศาลตามบทบัญญัติของกฎหมายไทย เขากลับถูกนำตัวไปมอบให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลจีน และได้หายตัวไปนับจากนั้นเป็นต้นมา ทั้งนี้ ประวัติของรัฐบาลจีนในการใช้อำนาจกักขัง และการกระทำทารุณกรรมต่อชนเผ่าอุยกูร์ ทำให้เชื่อว่า มูฮัมหมัดเสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นอย่างยิ่ง
ทางการไทย "ผลักดันกลับ" เรือที่บรรทุกชาวโรฮิงญาจากพม่า และบังคลาเทศอย่างน้อยสองครั้งในปี 2554 ทั้งๆ ที่มีการกล่าวหาว่า การกระทำลักษณะดังกล่าวได้นำไปสู่การเสียชีวิตของบุคคลหลายร้อยคนเมื่อปี 2541 และ 2542ทั้งนี้ หลังจากได้จัดหาเสบียงอาหารที่จำเป็น และน้ำให้แก่เรือที่บรรทุกชาวโรฮิงญาแล้ว ทางการไทยก็ลากเรือเหล่านั้นออกไปปล่อยให้ลอยลำในน่านน้ำสากล โดยมีเหตุการณ์ที่เรือลำหนึ่ง ซึ่งบรรทุกชาวโรฮิงญา 911 คนถูกจับที่จังหวัดตรัง เมื่อวันที่ 22 มกราคม และภายหลังจากที่มีการจัดฉากการส่งตัวชาวโรงฮิงญาเหล
นั้นกลับไปพม่าผ่านทางจังหวัดระนองก็ปรากฏว่า เรือลำดังกล่าวถูกผลักดันกลับออกสู่ทะเล และลอยไปเกยฝั่งที่หมู่เกาะนิโคบาร์ของอินเดีย หลังจากนั้น เรือลำอีกลำหนึ่งที่บรรทุกชาวโรฮิงญา 129 คนก็ถูกผลักดันกลับสู่ทะเล และลอยลำไปจนถึงจังหวัดอาเจะห์ อินโดนีเซีย อดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ กล่าวเมื่อวันที่ 21 มีนาคม ว่า "...ทุกประเทศมีสิทธิ์ที่จะผลักดันบุคคลออกไป เราปฏิบัติตามขั้นตอนมาตรฐานเพื่อให้มั่นใจได้ว่าพวกเขาจะมีอาหาร และน้ำในปริมาณที่เพียงพอ"
World report 2013 (event ปี 12)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ประเทศไทยไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญาผู้ลี้ภัย ปี 2494 และไม่มีกฏหมายภายในประเทศที่ยอมรับสถานะผู้ลี้ภัย ผู้แสวงหาที่พักพิง และผู้ลี้ภัยที่ถูกจับกุมมักโดนคุมขังเป็นเวลานานจนกว่าจะได้รับอนุมัติให้ไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สาม หรือยินยอมถูกเนรเทศโดยออกค่าใช้จ่ายเอง
ประธานาธิบดีเต็ง เส่งของประเทศพม่า เรียกร้องให้ชาวพม่าพลัดถิ่นเดินทางกลับประเทศภายหลังจากที่รัฐบาลลงนามในข้อตกลงหยุดยิงเบื้องต้นกับกองกำลังติดอาวุธของกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมด แต่จนถึงขณะนี้ยังมีอุปสรรคอยู่อย่างมาก ซึ่งรวมถึงการขาดข้อตกลงทางการเมืองที่ชัดเจน ปัญหาการเก็บกู้ทุ่นระเบิด และการที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ชายแดนในฝั่งประเทศพม่า นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ยืนยันต่อสาธารณะว่า จะไม่มีการบังคับส่งกลับผู้ลี้ภัยมากกว่า 140,000 คนที่อาศัยอยู่ในค่ายตามแนวชายแดนไทย-พม่า ไม่ว่าสถานการณ๋ในประเทศพม่าจะดูเหมือนมีพัฒนาการในทางบวกเพียงใดก็ตาม
ทางการไทยยังคงดำเนินนโยบายสกัดกั้น และผลักดันเรือที่บรรทุกชาวโรฮิงญามุสลิมจากประเทศพม่า และประเทศบังคลาเทศ ถึงแม้จะมีการกล่าวหาว่า การดำเนินการดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคนเมิ่อปี 2551 และ2552 ก็ตาม
ในปี 2555 กฎหมายแรงงานของประเทศไทยให้ความคุ้มครองเพียงเล็กน้อยแก่แรงงานต่างด้าว กระบวนการขึ้นทะเบียน และตรวจสอบสัญชาติแรงงานต่างด้าวทำให้แรงงานต่างด้าวมีเอกสารรับรองสถานภาพตามกฏหมาย แต่เอกสารดังกล่าวแทบจะไม่ได้ช่วยแก้ไขการที่นายจ้างสามารถละเมิดสิทธิของแรงงานต่างด้าวได้โดยไม่ต้องรับผิด แรงงานต่างด้าวยังคงมีความเสี่ยวอย่างมากต่อการถูกเอารัดเอาเปรียบ การถูกท้ายร้ายร่างกาย การถูกกระทำรุนแรงทางเพศ และการค้ามนุษย์ ซึ่งแรงงานต่างด้าวที่เป็นผู้ชายมักจะถูกนำตัวไปทำงานบนเรือประมง
เมื่อเดือนตุลาคม 2555 เจ้าของโรงงาน และเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่นห้ามไม่ให้แรงงานต่างด้าวนับพันคนที่อาศัยอยู่ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เดินทางออกไปหางานทำนอกพื้นที่ ทั้งๆ ที่เป็นสิทธิของแรงงานต่างด้าวตามเอกสารใบอนุญาตทำงาน
ภายหลังจากที่ได้รับคำวิจารณ์จากภายในประเทศ และภายนอกประเทศอย่างรุนแรง เมื่อเดือนกรกฎาคม 2555รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผดิมชัย สะสมทรัพย์ ยอมยกเลิกแผนการที่จะส่งตัวแรงงานต่างด้าวที่ตั้งครรภ์สามถึงสี่เดือนกลับประเทศ
World report 2014 (event ปี 13)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้รัฐบาลให้คำรับรองต่อสาธารณะว่า ผู้ลี้ภัยชาวพม่าจำนวน 140,000 คนที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยชายแดนไทย-พม่าจะไม่ถูกบังคับส่งกลับโดยไม่สมัครใจ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่อาศัยในค่ายลี้ภัยประมาณร้อยละ 40 โดยไม่ได้ลงทะเบียน และประเทศไทยจำกัดไม่ให้ผู้ลี้ภัยมีเสรีภาพในการเดินทาง และห้ามไม่ให้ทำงาน
ประเทศไทยไม่ได้เป็นภาคีของอนุสัญญาผู้ลี้ภัยปี 2494 และไม่มีกฎหมายที่รับรองสถานะของผู้ลี้ภัย ผู้แสวงหาการลี้ภัย และผู้ลี้ภัยที่ถูกจับกุมมักจะต้องเผชิญกับการควบคุมตัวเป็นระยะเวลานานจนกว่าจะได้รับเลือกให้ไปตั้งถิ่นฐานในประเทศอื่น หรือยอมถูกส่งกลับโดยเสียค่าใช้จ่ายเอง
หน่วยงานรัฐมักจะสกัดกั้น และผลักดันเรือที่บรรทุกชาวโรฮิงญามาจากประเทศพม่า รัฐบาลไทยถือว่า ชาวโรฮิงญาทั้งหมดที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยทางเรือเป็นบุคคลที่หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย และมักจะสกัดกั้นชาวโรฮิงญาเหล่านั้น ระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือนตุลาคม ชาวโรฮิงญามากกว่า 2,000 คนถูกควบคุมตัว โดยผู้ชายชาวโรฮิงญาถูกนำตัวไปไว้ในห้องขังขนาดเล็กที่มีสภาพย่ำแย่ และแออัดอย่างมาก ทั้งนี้ มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 8คนระหว่างถูกควบคุมตัวที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา ผู้ชายชาวโรฮิงญาที่กลัวว่าจะถูกส่งตัวกลับไปเผชิญการประหัตประหารในประเทศพม่า หรือถูกควบคุมตัวอย่างไม่สิ้นสุดในประเทศไทยได้ทำการประท้วงขึ้นที่ห้องควบคุมตัวของด่านตรวจคนเข้าเมืองหลายแห่งในจังหวัดภาคใต้ อนึ่ง พวกค้ามนุษย์สามารถเข้าถึง และพยายามล่อลวงผู้หญิง และเด็กชาวโรฮิงญาออกมาจากที่พักพิงที่รัฐบาลจัดไว้
กฎหมายแรงงานของประเทศไทยให้ความคุ้มครองเพียงเล็กน้อยต่อแรงงานต่างด้าว การขึ้นทะเบียน และพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวช่วยให้แรงงานต่างด้าวมีเอกสารทางกฎหมาย แต่แทบไม่สามารถป้องกันไม่ให้แรงงานต่างด้าวถูกนายจ้างละเมิดสิทธิได้เลย แรงงานตามบ้านยังคงไม่ได้รับมาตรการคุ้มครองสำคัญๆ เช่น ค่าจ้างขั้นต่ำ การจำกัดชั่วโมงทำงาน และการลาคลอดบุตร แรงงานต่างด้าวยังคงมีความเสี่ยงอย่างมากต่อการถูกเอารัดเอาเปรียบ แรงงานต่างด้าวที่เป็นผู้หญิงเผชิญกับความรุนแรงทางเพศ และการค้าแรงงาน ส่วนแรงงานต่างด้าวที่เป็นผู้ชายเผชิญกับการเอารัดเอาเปรียบอย่างรุนแรง ซึ่งรวมถึงการถูกค้าเป็นแรงงานบนเรือประมง
จะเห็นได้ว่า ประเทศไทย ไม่ได้มีการเอาจริงเอาจังเรื่องของผู้อพยพ และผู้ลี้ถัย มาตั้งแต่สมัยก่อนหน้านี้แล้ว
ซึ่งเป็นที่เข้าใจได้ ที่เห็นใครตอบกระทู้ไว้ว่า UNHCR ไม่ได้มีสาขาที่เมืองไทย อาจจะเพราะไทยยังไม่ได้เป็นภาคี
ซึ่งก็ไม่แปลกที่เราเคยเข้าใจว่า UN หรือ UNHCR ไม่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณา การส่งตัวกลับ
ของชาย อุยกูร์ ในประเทศไทย
ซึ่งคิดว่า จีน ก็คงไม่ได้ลงนามเช่นกัน คำถามคือ
เราจะรู้ได้ไง ว่ามีใครลงนามแล้วบ้าง?
ประเทศไทยไม่ได้เป็นภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติ ปี 2494
ที่มา : http://www.hrw.org/node/259697
จะสังเกตุได้ว่า Human right watch ได้ลงบันทึกในลักษณะนี้ ไว้ตั้งแต่ปี 2012 https://www.hrw.org/world-report/2012/country-chapters/thailand โดยหากเปลี่ยนปีจาก 12 เป็น 13 14 ก็ยังเขียนแบบเดียวกันคือ Thailand is not a party to the 1951 Refugee Convention and has no law that recognizes refugee status. นั่นหมายความว่า ไทยไม่ได้เป็นภาคี ของ อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย https://www.unhcr.or.th/th/refugee/convention
หรือเปล่า?
World report 2012 (event ปี 11)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
World report 2013 (event ปี 12)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
World report 2014 (event ปี 13)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จะเห็นได้ว่า ประเทศไทย ไม่ได้มีการเอาจริงเอาจังเรื่องของผู้อพยพ และผู้ลี้ถัย มาตั้งแต่สมัยก่อนหน้านี้แล้ว
ซึ่งเป็นที่เข้าใจได้ ที่เห็นใครตอบกระทู้ไว้ว่า UNHCR ไม่ได้มีสาขาที่เมืองไทย อาจจะเพราะไทยยังไม่ได้เป็นภาคี
ซึ่งก็ไม่แปลกที่เราเคยเข้าใจว่า UN หรือ UNHCR ไม่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณา การส่งตัวกลับ
ของชาย อุยกูร์ ในประเทศไทย
ซึ่งคิดว่า จีน ก็คงไม่ได้ลงนามเช่นกัน คำถามคือ เราจะรู้ได้ไง ว่ามีใครลงนามแล้วบ้าง?