พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี
วัดหินหมากเป้ง
อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
...
กัมมัฏฐานมีหลายอย่าง ท่านอบรมหลายวิธี เรียกว่า กรรมฐาน ๔๐
มีอนุสติ ๑๐ อสุภะ ๑๐ เป็นต้น ให้เห็นเฉพาะตัวของเรา
ไม่ได้ดูในที่อื่น ไม่ได้เพ่งดูในที่อื่น ให้เห็นเฉพาะตัวของเราเท่านั้น
เห็นตัวของเราแล้วยังแน่วแน่ลงไปจนเห็นจิตของตนเอง
นี่เรียกว่า เพ่งมองภายใน ไม่ได้เพ่งภายนอก
เมื่อเพ่งเข้ามาพิจารณาอยู่ในตัวของเราอย่างเดียว คือ มันใกล้เข้ามา
อยู่ในตัวของเรา เฉพาะตัวของเรานี่ มันใกล้เข้ามาที่สุด
เรียกว่า พิจารณาอสุภในตัวของเรา พิจารณาความไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นเป็นของเปื่อยเน่า ปฏิกูล หรือเป็นของไม่เที่ยงถาวร
เราไม่พิจารณาก็เข้าใจว่าเป็นของเที่ยงถาวร ไม่พิจารณาก็ไม่เห็นเป็นของปฏิกูล
ทำเสริมสวยทุกสิ่งทุกประการหรูหรา ของที่ไม่ดีก็ทำให้มันดีขึ้น
คือต้องการให้มันสวยนั่นเอง ต้องการให้มันงามนั่นเอง ต้องการให้มันอยู่ถาวรนั่นเอง
คือ ปกปิดความจริงของมัน ไม่ให้เห็นตามเป็นจริง
แต่"กัมมัฏฐาน"นั้น ท่านไม่ปิด..ท่านเปิด เปิด "ของจริง" ขึ้นมาให้เห็น
พิจารณาของจริง มันปฏิกูลยังไง มันเปื่อยเน่ายังไง มันเป็นของไม่เที่ยงยังไง
ให้มันชัดด้วยตนเอง นั่นจึงเรียกว่า "กัมมัฏฐาน"
กัมมัฏฐานนั้นเพ่งภายในให้เห็นของจริง : หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี
วัดหินหมากเป้ง
อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
...
กัมมัฏฐานมีหลายอย่าง ท่านอบรมหลายวิธี เรียกว่า กรรมฐาน ๔๐
มีอนุสติ ๑๐ อสุภะ ๑๐ เป็นต้น ให้เห็นเฉพาะตัวของเรา
ไม่ได้ดูในที่อื่น ไม่ได้เพ่งดูในที่อื่น ให้เห็นเฉพาะตัวของเราเท่านั้น
เห็นตัวของเราแล้วยังแน่วแน่ลงไปจนเห็นจิตของตนเอง
นี่เรียกว่า เพ่งมองภายใน ไม่ได้เพ่งภายนอก
เมื่อเพ่งเข้ามาพิจารณาอยู่ในตัวของเราอย่างเดียว คือ มันใกล้เข้ามา
อยู่ในตัวของเรา เฉพาะตัวของเรานี่ มันใกล้เข้ามาที่สุด
เรียกว่า พิจารณาอสุภในตัวของเรา พิจารณาความไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นเป็นของเปื่อยเน่า ปฏิกูล หรือเป็นของไม่เที่ยงถาวร
เราไม่พิจารณาก็เข้าใจว่าเป็นของเที่ยงถาวร ไม่พิจารณาก็ไม่เห็นเป็นของปฏิกูล
ทำเสริมสวยทุกสิ่งทุกประการหรูหรา ของที่ไม่ดีก็ทำให้มันดีขึ้น
คือต้องการให้มันสวยนั่นเอง ต้องการให้มันงามนั่นเอง ต้องการให้มันอยู่ถาวรนั่นเอง
คือ ปกปิดความจริงของมัน ไม่ให้เห็นตามเป็นจริง
แต่"กัมมัฏฐาน"นั้น ท่านไม่ปิด..ท่านเปิด เปิด "ของจริง" ขึ้นมาให้เห็น
พิจารณาของจริง มันปฏิกูลยังไง มันเปื่อยเน่ายังไง มันเป็นของไม่เที่ยงยังไง
ให้มันชัดด้วยตนเอง นั่นจึงเรียกว่า "กัมมัฏฐาน"