กลัวตกเทรนด์ ขอพูดถึงเรื่องชาวต่างชาติที่เคยเข้ามาในไทยตั้งแต่สมัยอยุธยานิดหนึ่ง ล้อมวงเล่าสู่กันฟังเฉยๆ ไม่มีเจตนาอะไรแอบแฝงเด้อสิบอกไห่
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คอนสแตนติน ฟอลคอล
หากไม่นับเอาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสียแล้ว ชาวต่างชาติท่านหนึ่งที่พลิกผันตัวขึ้นจุดสูงสูดของการเมืองสมัยอยุธยาและสั่นคลอนการเมืองและการศาสนาอยุธยาเป็นอย่างมากก็คือ คอนแสตนติน ฟอลคอล จากกะลาสีธรรมดาๆ คนหนึ่งไต่เต้าขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดที่ “เจ้าพระยาวิชาเยนทร์” ในอยุธยาเวลานั้นนับว่าน่าทึ่งทีเดียว ในระหว่างที่สมเด็จพระนารายณ์ไปประทับอยู่ที่เมืองลพบุรี ผู้ที่สำเร็จราชการแทนพระองค์ในอยุธยาก็คือเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ท่านนี้ แต่เมื่อพระเพทราชาทำการปราบดาภิเษกแล้ว เจ้าพระยาฯ สัญชาติกรีกท่านนี้ก็โดนประหาร
มารี กีมาร์ เดอปิน่า
ชื่อนี้อาจจะไม่คุ้นหู แต่ถ้าบอกว่า “ท้าวทองกีบม้า” (กีบม้า สันนิษฐานว่าน่าจะมาจาก middle name ของนางที่ว่า “กีมาร์” คนอยุธยาจึงพยายามเรียกให้คุ้นลิ้นว่า “กีบม้า”) เป็นภรรยาของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ เป็นที่ไว้วางพระทัยของสมเด็จพระนารายณ์ให้เป็นต้นห้องเครื่องขนมหวานของพระองค์ หลังจากเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ถูกประหารชีวิตแล้ว นางตกเป็นที่หมายปองของขุนหลวงสรศักดิ์(ต่อมาคือสมเด็จพระเจ้าเสือ)ซึ่งมียศเป็นอุปราช ณ เวลานั้น ความงามของนางตกเป็นที่หมายปองของทหารและอำมาตย์(ลูกครึ่งญี่ปุ่นผสมโปรตุเกสก็คงหน้าตาสวยนะ)หลายท่าน นางพยายามหลบหนีออกจากอยุธยาโดยชาวต่างชาติด้วยกัน แต่สุดท้ายก็ถูกจับได้และถูกกุมขังอยู่สองปี ออกมาก็รับใช้ทำหน้าที่ในห้องครัวหลวง ชีวิตนางลุ่มๆ ดอนๆ นางถูกยกย่องให้เป็น “ราชินีขนมไทย” ชีวิตเธออาจจะยิ่งกว่านิยายละครเสียอีก
ยามาดะ นางามาซะ
รับใช้อยุธยาในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม มีกองกำลังทหารญี่ปุ่นที่เข้มแข็งและมีระเบียบวินัยจนเป็นที่ครั่นคร้ามและหวาดระแวงในบรรดาขุนนางอำมาตย์น้อยใหญ่ ท่านไต่เต้าจากอดีตคนหามแคร่ให้กับขุนนางในญี่ปุ่นแล้วขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดที่ ออกญาเสนาภิมุข เหตุการร์ด้านการเมืองของอยุธยาหลังรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ มีการแย่งชิงกันเป็นใหญ่ทั้งฝ่ายราชวงศ์และฝ่ายขุนนาง ยามาดะเห็นและอยู่ในเหตุการณ์เกือบตลอด จนเป็นที่เกรงใจและอิจฉาจากฝ่ายราชสำนักและขุนนาง สุดท้ายท่านถูกส่งออกนอกอยุธยา(นัยว่าเป็นการกีดกันทางเกมส์การเมือง)ไปเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ทำความดีความชอบให้อยุธยาไม่น้อยในการควบคุมหัวเมืองทางใต้ไม่ให้กระด้างกระเดื่องต่ออยุธยา สุดท้ายท่านก็สิ้นอย่างปริศนา เมื่อทางอยุธยาส่งคนจากอยุธยาไปดูแลบาดแผลที่ท่านได้รับจากการต่อสู้ ท่านล้มป่วยอยู่นครรศรีธรรมราชหลายเดือนเพราะพิษบาดแผล แต่พอทางอยุธยาส่งคนไปรักษาท่านไม่กี่สัปดาห์ท่านก็สิ้น??
อองเดร คู เปลซี เดอ ริเซอลิเออ
เหตุการประจันบานทางเรือที่ยิ่งใหญ่อันเป็นเกียรติประวัติของชาวราชนาวีตราบปัจจุบันนี้ก็คือเหตุการณ์วิกฤติ รศ.๑๑๒ ที่มีพลเรือตรีพระยาชลยุทธโยธิน หรือนายอองเดร คู เปลซี เดอ ริเซอลิเอด เป็นรองผู้บัญชาการรบ และนำเรือรบสยามออกไปประจันบานกับเรือรบฝรั่งเศสที่ทันสมัยกว่าที่ปากเจ้าพระยา ต่อมาได้รับตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารเรือ
".....ทหารทั้งฝ่ายบกและเรือไทย ต่างก็พร้อมกันระดมทำลายเรือรบฝรั่งเศสตามแผนของพระยาชลยุทธโยธิน คือจะสั่งคนพร้อมอาวุธอย่างเงียบๆ เข้าบุกปล้นทำลายเรือรบฝรั่งเศสทั้งสามลำ ความจริงตอนที่กำลังชุลมุนยิงต่อสู้กันนั้น พระยาชลยุทธโยธินได้สั่งการให้เรือรบไทยไล่กวดเข้าชนเรือฝรั่งเศสให้จงได้ แล้วพระยาชลยุทธโยธินนั่งรถไฟสายปากน้ำเข้ากรุงเทพฯ เพื่อจะนำเรือพระที่นั่งมหาจักรีออกไปช่วยรบอีกลำหนึ่ง แต่กระทรวงต่างประเทศห้ามไว้เสียก่อน...." นี่คือบางเหตุการณ์ที่ถูกบันทึกเอาไว้ ผลของยุทธนาวีที่ป้อมพระจุลฯ ครานั้น จากหนังสือ คดีพระยอดเมืองขวาง ปฐมเหตุแห่งคดี ถาวร สุจริตกุล หน้า ๑๗๘ ท่านพระยาชลยุทธฯ ท่านนี้มีสายเลือดฝรั่งเศสผสมเดนมาร์ก
ดร ฟรานซิส บี แยร์
สยามตกเป็นเบี้ยล่างอังกฤษมาตั้งรัชสมัยของสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ร.๔ ด้วยสนธิสัญญาเบาริ่ง จนถึงรัชกาลที่๖ เราจึงปลดแอกสนธิสัญญาเบาริ่งของอังกฤษได้ จากนักกฏหมายที่ชื่อฟราสซิส บี แยร์ท่านนี้ เขารับใช้ร.๖ จนถึงรัชสมัย ร.๗ มีส่วนช่วยในการให้คำปรึกษาด้านกฏหมาย และโดยเฉพาะด้านกฏหมายรัฐธรรมนูญ ในช่วงนั้นมีกฏหมายรัฐธรรมนูญที่เขียนขึ้นมาจากหลายฝ่าย เช่น รัฐนูญฉบับใต้ตุ่ม(เขียนต้องเอาไปซ่อนไว้ใต้ตุ่มก่อน) รัฐธรรมนูญของท่านปรีดี ส่วนทางฝ่ายสมเด็จพระปกเกล้าฯ ท่านก็ให้ฟรานซิส บี แยร์ร่างขึ้น ชื่อรัฐธรรมนูญฉบับพระยากัลยาณไมตรี ซึ่งเป็นยศและศักดิ์ที่สยามมอบให้ฟราน ซิส บิ แยร์ และให้เกียรติท่านนี้โดยการตั้งชื่อถนนในกรุงเทพฯ อีกด้วย ถนนกัลยาณไมตรี
อนึ่ง สำหรับตำแหน่ง "พระยากัลยาณไมตรี" นั้นในประวัติศาสตร์ไทยมีสองท่านที่เป็นชาวต่างชาติคือสัญชาติอเมริกันทั้งสองท่าน นอกจาก ดร. ฟรานซิน บี แยร์แล้ว ก็มีอีท่านหนึ่งก็คื เจนส์ ไอเวอร์สัน เวสเตนการ์ด ซึ่งเข้ารับราชการสมัยรัชกาลที่ห้าเป็นที่ปรึกษาของพระองค์ด้านการต่างประเทศ ก้าวหน้าในหน้าที่การงานจนได้รับบรรดาศํกดิ์เป็น "พระยา" ที่พระยากัลยาณไมตรี
ดร โรแลง ยัคแมงส์
เหตุการณ์วิกฤติ รศ 112 ที่ฝรั่งเศสพยายามบุรุกไทยตามที่เอ่ยไว้ข้างบนนั้นเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้พระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ห้าทรงกลุ้มพระทัยถึงกับหลั่งพระเนตร ฝรั่งเศสพยายามทุกวิถีทางที่จะเอารัดเอาเปรียบไทยในตอนนั้น ส่วนไทยทำได้ดีที่สุดก็คือพยายามให้ฝรั่งเศสเอารัดเอาเปรียบน้อยที่สุด หนึ่งในนั้นก็คือการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายต่างประเทศจากยุโรป ศาลไทยในตอนนั้นก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับของชาติตะวันตก ดร.โรแลง ยัคแมงส์ ได้ถูกว่าจ้างให้มาทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในด้านนี้รวมไปถึงการจัดระเบียบกฏหมายสยามให้เป็นที่ยอมรับของชาติตะวันตกด้วย การพยายาม “ผ่อนหนักให้เป็นเบา” ในเหตุการณ์วิกฤติ รศ 112 เขาก็มีส่วนตรงนี้ไม่น้อยที่ทำให้ฝรั่งเศสเอารัดเอาเปรียบไทยน้อยที่สุด คุณงามความดีตรงนี้ ทำให้เขาได้รับพระราชทานบรรดศักดิ์เป็น เจ้าพระยาอภัยราชาฯ ซึ่งน่าจะเป็นชาวยุโรปคนที่สองที่ได้รับตำแหน่งสูงสุดหลังจากรัชสมัยของพระนารายณ์มหาราชที่ทรงแต่งตั้งฟอลคอน แสตนตินเป็น “เจ้าพระยาวิชาเยนทร์”
ความจริงแล้ว ดร.โรแลง ยัคแมงส์ ท่านนี้ในอดีตท่านเคยเป็นถึงเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยที่ประเทศเบลเยี่ยมมาแล้ว และเคยได้รับเลือกเป็นถึง “เป็นนายกสภากฎหมายนานาประเทศ” มาแล้ว แต่ท่านกลายเป็นบุคคลล้มละลายเมื่อตอนท่านไปเซ็นค้ำประกันธุรกิจน้องชายท่านซึ่งต่อมาธุรกิจนั้นถูกยึด กล่าวอีกว่า ก่อนหน้าที่ท่านจะรับปากมารับใช้แผ่นดินสยามไม่กี่วันนั้น ทางประเทศอียิปต์ก็ประสงค์จะได้ตัวท่านไปช่วยงานด้านกฏหมายประเทศอียิปต์ แต่ท่านได้รับปากกับสมเด็จฯ กรมพระยาเทววงศ์วโรปการเรื่องที่จะมารับราชการในสยามไว้แล้ว จึงบอกปัดทางรัฐบาลอียิปต์ไป
เอาไว้เท่านี้ครับ....ขอข้าม แหม่มแอนนา ที่เข้ามารัชสมัยร.๔ ไปโดยไม่เอ่ยถึงนะครับเดี๋ยวเป็นประเด็น
.......บทบาทของชาวต่างชาติที่ให้คุณ/ให้โทษ สมัยอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์.....
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คอนสแตนติน ฟอลคอล
หากไม่นับเอาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสียแล้ว ชาวต่างชาติท่านหนึ่งที่พลิกผันตัวขึ้นจุดสูงสูดของการเมืองสมัยอยุธยาและสั่นคลอนการเมืองและการศาสนาอยุธยาเป็นอย่างมากก็คือ คอนแสตนติน ฟอลคอล จากกะลาสีธรรมดาๆ คนหนึ่งไต่เต้าขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดที่ “เจ้าพระยาวิชาเยนทร์” ในอยุธยาเวลานั้นนับว่าน่าทึ่งทีเดียว ในระหว่างที่สมเด็จพระนารายณ์ไปประทับอยู่ที่เมืองลพบุรี ผู้ที่สำเร็จราชการแทนพระองค์ในอยุธยาก็คือเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ท่านนี้ แต่เมื่อพระเพทราชาทำการปราบดาภิเษกแล้ว เจ้าพระยาฯ สัญชาติกรีกท่านนี้ก็โดนประหาร
มารี กีมาร์ เดอปิน่า
ชื่อนี้อาจจะไม่คุ้นหู แต่ถ้าบอกว่า “ท้าวทองกีบม้า” (กีบม้า สันนิษฐานว่าน่าจะมาจาก middle name ของนางที่ว่า “กีมาร์” คนอยุธยาจึงพยายามเรียกให้คุ้นลิ้นว่า “กีบม้า”) เป็นภรรยาของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ เป็นที่ไว้วางพระทัยของสมเด็จพระนารายณ์ให้เป็นต้นห้องเครื่องขนมหวานของพระองค์ หลังจากเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ถูกประหารชีวิตแล้ว นางตกเป็นที่หมายปองของขุนหลวงสรศักดิ์(ต่อมาคือสมเด็จพระเจ้าเสือ)ซึ่งมียศเป็นอุปราช ณ เวลานั้น ความงามของนางตกเป็นที่หมายปองของทหารและอำมาตย์(ลูกครึ่งญี่ปุ่นผสมโปรตุเกสก็คงหน้าตาสวยนะ)หลายท่าน นางพยายามหลบหนีออกจากอยุธยาโดยชาวต่างชาติด้วยกัน แต่สุดท้ายก็ถูกจับได้และถูกกุมขังอยู่สองปี ออกมาก็รับใช้ทำหน้าที่ในห้องครัวหลวง ชีวิตนางลุ่มๆ ดอนๆ นางถูกยกย่องให้เป็น “ราชินีขนมไทย” ชีวิตเธออาจจะยิ่งกว่านิยายละครเสียอีก
ยามาดะ นางามาซะ
รับใช้อยุธยาในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม มีกองกำลังทหารญี่ปุ่นที่เข้มแข็งและมีระเบียบวินัยจนเป็นที่ครั่นคร้ามและหวาดระแวงในบรรดาขุนนางอำมาตย์น้อยใหญ่ ท่านไต่เต้าจากอดีตคนหามแคร่ให้กับขุนนางในญี่ปุ่นแล้วขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดที่ ออกญาเสนาภิมุข เหตุการร์ด้านการเมืองของอยุธยาหลังรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ มีการแย่งชิงกันเป็นใหญ่ทั้งฝ่ายราชวงศ์และฝ่ายขุนนาง ยามาดะเห็นและอยู่ในเหตุการณ์เกือบตลอด จนเป็นที่เกรงใจและอิจฉาจากฝ่ายราชสำนักและขุนนาง สุดท้ายท่านถูกส่งออกนอกอยุธยา(นัยว่าเป็นการกีดกันทางเกมส์การเมือง)ไปเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ทำความดีความชอบให้อยุธยาไม่น้อยในการควบคุมหัวเมืองทางใต้ไม่ให้กระด้างกระเดื่องต่ออยุธยา สุดท้ายท่านก็สิ้นอย่างปริศนา เมื่อทางอยุธยาส่งคนจากอยุธยาไปดูแลบาดแผลที่ท่านได้รับจากการต่อสู้ ท่านล้มป่วยอยู่นครรศรีธรรมราชหลายเดือนเพราะพิษบาดแผล แต่พอทางอยุธยาส่งคนไปรักษาท่านไม่กี่สัปดาห์ท่านก็สิ้น??
อองเดร คู เปลซี เดอ ริเซอลิเออ
เหตุการประจันบานทางเรือที่ยิ่งใหญ่อันเป็นเกียรติประวัติของชาวราชนาวีตราบปัจจุบันนี้ก็คือเหตุการณ์วิกฤติ รศ.๑๑๒ ที่มีพลเรือตรีพระยาชลยุทธโยธิน หรือนายอองเดร คู เปลซี เดอ ริเซอลิเอด เป็นรองผู้บัญชาการรบ และนำเรือรบสยามออกไปประจันบานกับเรือรบฝรั่งเศสที่ทันสมัยกว่าที่ปากเจ้าพระยา ต่อมาได้รับตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารเรือ
".....ทหารทั้งฝ่ายบกและเรือไทย ต่างก็พร้อมกันระดมทำลายเรือรบฝรั่งเศสตามแผนของพระยาชลยุทธโยธิน คือจะสั่งคนพร้อมอาวุธอย่างเงียบๆ เข้าบุกปล้นทำลายเรือรบฝรั่งเศสทั้งสามลำ ความจริงตอนที่กำลังชุลมุนยิงต่อสู้กันนั้น พระยาชลยุทธโยธินได้สั่งการให้เรือรบไทยไล่กวดเข้าชนเรือฝรั่งเศสให้จงได้ แล้วพระยาชลยุทธโยธินนั่งรถไฟสายปากน้ำเข้ากรุงเทพฯ เพื่อจะนำเรือพระที่นั่งมหาจักรีออกไปช่วยรบอีกลำหนึ่ง แต่กระทรวงต่างประเทศห้ามไว้เสียก่อน...." นี่คือบางเหตุการณ์ที่ถูกบันทึกเอาไว้ ผลของยุทธนาวีที่ป้อมพระจุลฯ ครานั้น จากหนังสือ คดีพระยอดเมืองขวาง ปฐมเหตุแห่งคดี ถาวร สุจริตกุล หน้า ๑๗๘ ท่านพระยาชลยุทธฯ ท่านนี้มีสายเลือดฝรั่งเศสผสมเดนมาร์ก
ดร ฟรานซิส บี แยร์
สยามตกเป็นเบี้ยล่างอังกฤษมาตั้งรัชสมัยของสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ร.๔ ด้วยสนธิสัญญาเบาริ่ง จนถึงรัชกาลที่๖ เราจึงปลดแอกสนธิสัญญาเบาริ่งของอังกฤษได้ จากนักกฏหมายที่ชื่อฟราสซิส บี แยร์ท่านนี้ เขารับใช้ร.๖ จนถึงรัชสมัย ร.๗ มีส่วนช่วยในการให้คำปรึกษาด้านกฏหมาย และโดยเฉพาะด้านกฏหมายรัฐธรรมนูญ ในช่วงนั้นมีกฏหมายรัฐธรรมนูญที่เขียนขึ้นมาจากหลายฝ่าย เช่น รัฐนูญฉบับใต้ตุ่ม(เขียนต้องเอาไปซ่อนไว้ใต้ตุ่มก่อน) รัฐธรรมนูญของท่านปรีดี ส่วนทางฝ่ายสมเด็จพระปกเกล้าฯ ท่านก็ให้ฟรานซิส บี แยร์ร่างขึ้น ชื่อรัฐธรรมนูญฉบับพระยากัลยาณไมตรี ซึ่งเป็นยศและศักดิ์ที่สยามมอบให้ฟราน ซิส บิ แยร์ และให้เกียรติท่านนี้โดยการตั้งชื่อถนนในกรุงเทพฯ อีกด้วย ถนนกัลยาณไมตรี
อนึ่ง สำหรับตำแหน่ง "พระยากัลยาณไมตรี" นั้นในประวัติศาสตร์ไทยมีสองท่านที่เป็นชาวต่างชาติคือสัญชาติอเมริกันทั้งสองท่าน นอกจาก ดร. ฟรานซิน บี แยร์แล้ว ก็มีอีท่านหนึ่งก็คื เจนส์ ไอเวอร์สัน เวสเตนการ์ด ซึ่งเข้ารับราชการสมัยรัชกาลที่ห้าเป็นที่ปรึกษาของพระองค์ด้านการต่างประเทศ ก้าวหน้าในหน้าที่การงานจนได้รับบรรดาศํกดิ์เป็น "พระยา" ที่พระยากัลยาณไมตรี
ดร โรแลง ยัคแมงส์
เหตุการณ์วิกฤติ รศ 112 ที่ฝรั่งเศสพยายามบุรุกไทยตามที่เอ่ยไว้ข้างบนนั้นเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้พระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ห้าทรงกลุ้มพระทัยถึงกับหลั่งพระเนตร ฝรั่งเศสพยายามทุกวิถีทางที่จะเอารัดเอาเปรียบไทยในตอนนั้น ส่วนไทยทำได้ดีที่สุดก็คือพยายามให้ฝรั่งเศสเอารัดเอาเปรียบน้อยที่สุด หนึ่งในนั้นก็คือการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายต่างประเทศจากยุโรป ศาลไทยในตอนนั้นก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับของชาติตะวันตก ดร.โรแลง ยัคแมงส์ ได้ถูกว่าจ้างให้มาทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในด้านนี้รวมไปถึงการจัดระเบียบกฏหมายสยามให้เป็นที่ยอมรับของชาติตะวันตกด้วย การพยายาม “ผ่อนหนักให้เป็นเบา” ในเหตุการณ์วิกฤติ รศ 112 เขาก็มีส่วนตรงนี้ไม่น้อยที่ทำให้ฝรั่งเศสเอารัดเอาเปรียบไทยน้อยที่สุด คุณงามความดีตรงนี้ ทำให้เขาได้รับพระราชทานบรรดศักดิ์เป็น เจ้าพระยาอภัยราชาฯ ซึ่งน่าจะเป็นชาวยุโรปคนที่สองที่ได้รับตำแหน่งสูงสุดหลังจากรัชสมัยของพระนารายณ์มหาราชที่ทรงแต่งตั้งฟอลคอน แสตนตินเป็น “เจ้าพระยาวิชาเยนทร์”
ความจริงแล้ว ดร.โรแลง ยัคแมงส์ ท่านนี้ในอดีตท่านเคยเป็นถึงเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยที่ประเทศเบลเยี่ยมมาแล้ว และเคยได้รับเลือกเป็นถึง “เป็นนายกสภากฎหมายนานาประเทศ” มาแล้ว แต่ท่านกลายเป็นบุคคลล้มละลายเมื่อตอนท่านไปเซ็นค้ำประกันธุรกิจน้องชายท่านซึ่งต่อมาธุรกิจนั้นถูกยึด กล่าวอีกว่า ก่อนหน้าที่ท่านจะรับปากมารับใช้แผ่นดินสยามไม่กี่วันนั้น ทางประเทศอียิปต์ก็ประสงค์จะได้ตัวท่านไปช่วยงานด้านกฏหมายประเทศอียิปต์ แต่ท่านได้รับปากกับสมเด็จฯ กรมพระยาเทววงศ์วโรปการเรื่องที่จะมารับราชการในสยามไว้แล้ว จึงบอกปัดทางรัฐบาลอียิปต์ไป
เอาไว้เท่านี้ครับ....ขอข้าม แหม่มแอนนา ที่เข้ามารัชสมัยร.๔ ไปโดยไม่เอ่ยถึงนะครับเดี๋ยวเป็นประเด็น