ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 19
พระยา หรือที่โบราณมักสะกด พรญา พระญา หรือ พญา นั้น เดิมเป็นคำนำหน้าของกษัตริย์หรือเจ้าผู้ครองเมืองต่างๆ ครับ
สำหรับเจ้าพระยา พิจารณาจากหลักฐานมีมาตั้งแต่ก่อนสมัยปลายอยุทธยานานมากครับ พบหลักฐานทั้งในพระราชกำหนดกฎหมายและพงศาวดารหลายตอน เท่าที่ศึกษายังไม่เคยเห็นนักประวัติศาสตร์กระแสหลักบอกว่าเจ้าพระยาครับเพิ่งมีสมัยอยุทธยาตอนปลาย ส่วนมากจะเป็นกระแสรองมากกว่า โดยมักอ้างอิงจากการวิเคราะห์ของศาสตราจารย์พิเศษขจร สุขพานิช ซึ่งเคยเสนอว่ายศเจ้าพระยามีในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แต่ความจริงขัดแย้งกับหลักฐานอื่นๆ จำนวนมาก
สมัยอยุทธยาตอนต้น "เจ้าพระญา" นั้นปรากฏใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์หรือเจ้านาย พบในจารึกสุโขทัยหลายหลักรวมถึงพื้นเมืองของล้านนาเรียกกษัตริย์ว่า "เจ้าพรญา" และยังพบในจดหมายเหตุของจีน
เช่น สมเด็จพระรามราชาธิราช ปรากฏพระนามในพระราชพงศาวดารว่า "สมเดจเจาพรญารามเจ้า" หรือ "สมเดจพระรามเจ้า"
คำว่า "สมเด็จเจ้าพระญา" ในสมัยอยุทธยาตอนต้นจึงปรากฏว่าใช้เฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน
สำหรับบรรดาศักดิ์ก่อนสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เทียบจากกฎหมายเก่า และพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับปลีกที่กล่าวถึงรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราช (เจ้าสามพญา) พบว่า
- ขุน มักใช้กับขุนนางระดับสูง เช่น เสนาบดีจตุสดมภ์ แม่ทัพ เจ้าเมือง
- เจ้าขุนหลวง มักใช้กับเสนาบดีชั้นผู้ใหญา เช่น เจ้าขุนหลวงสพฤานครบาล ในพระราชบัญญัติ พ.ศ. 1904
- พรญา ใช้สำหรับเจ้านาย กษัตริย์ผู้ครองเมือง หรือเจ้าประเทศราชเมืองเหนือ เช่น พรญาบาลเมืองเจ้าเมืองสองแคว พรญารามราชเจ้าเมืองสุโขทัย พรญาแสนสอยดาวเจ้าเมืองกำแพงเพชร (แต่ในจารึกลานเงินที่พบในเมืองกำแพงเพชร พ.ศ. 1963 เรียกเจ้าผู้ครองกำแพงเพชรว่า 'สเดจพ่อพรญาสอย' ) และอาจจะมอบให้ขุนนางที่มีความชอบเป็นพิเศษ เช่น "พรญาเทพมงคล" ซึ่งพงศาวดารระบุว่าเป็น "พฤทธามาตย์" (คือเป็นขุนนางผู้ใหญ่หรืออาวุโส) เมื่อถึงแก่กรรมสมเด็จพระบรมราชาธิราชโปรดให้เอาทองในพระคลังมาทำเป็นโกศให้
- เจ้าพรญา ใช้กับเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ หรือ กษัตริย์ผู้ครองเมือง เช่น เจ้าพรญาพระนครอินทร์ เจ้าพรญาแพรก พระโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ครองกรุงศรียโศธรปุระ บางครั้งก็มี "สมเด็จ" นำหน้า เจ้าพรญาแก้ว เจ้านายเขมรที่ถูกจับมากรุงศรีอยุทธยา หรือ เจ้าพรญายาด เชื้อพระวงศ์เขมรก่อกบฏตั้งตนเป็นกษัตริย์
จนสมัยพระบรมไตรโลกนาถเป็นต้น ถึงเริ่มปรากฏการเรียกขุนนางระดับสูงหรือพญามหานครว่าเจ้าพระยา พระยา/ออกญา เช่น บานแพนกของพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน กล่าวถึง "เจ้าพญาธรรมาธิบดีศรีรัตนมลเทียรบาล" เสนาบดีกรมวังว่าเป็นผู้กราบทูลสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถให้ตั้งลำดับศักดิ์ของพระราชวงศ์
จารึกฐานพระอิศวรเมืองกำแพงเพชร พ.ศ. 2058 รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดี กล่าวถึง "เจ้าพรญาศรีธรรมโศกราช" ซึ่งเป็นราชทินนามของเจ้าเมืองสุโขทัยตามพระไอยการเก่าตำแหน่งนาหัวเมืองฉบับอยุธยา ว่าเป็นผู้ประดิษฐานรูปพระอิศวรนี้ไว้ในเมืองกำแพงเพชร ให้การอุปถัมภ์ศาสนาพุทธ พราหมณ์ เทพกรรม ซ่อมแปลงพระมหาธาตุในเมืองนอกเมือง ซ่อมแซมท่อปู่พญาร่วงเป็นทางลำเลียงน้ำให้นา
ในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ มีการพระราชทานยศ "เจ้าพระยา" ให้กับบรรดาผู้ก่อการที่ช่วยพระองค์ได้เสวยราชสมบัติ ในคราวนั้นจริงน่าจะเป็นบรรดาศักดิ์ที่ตั้งเป็นกรณีพิเศษให้สมกับความชอบ คือ
- ขุนพิเรนทรเทพ เป็น สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ครองเมืองพิษณุโลก หลักฐานบางแห่งเรียกว่า ออกญาธรรมราชา ออกญาพิษณุโลก
- ขุนอินทรเทพ เป็น เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช
- หลวงศรียศบ้านลานตากฟ้า เป็น เจ้าพระยามหาเสนาบดี สมุหพระกลาโหม
- หมื่นราชเสน่หาในราชการ เป็น เจ้าพระยามหาเทพ
- พระยาพิชัย เป็น เจ้าพระยาพิชัย
- พระยาสวรรคโลก เป็น เจ้าพระยาสวรรคโลก
เจ้าพระยาในเวลานั้น อาจจะให้เฉพาะขุนนางที่มีความชอบเป็นกรณีพิเศษจริงๆ ส่วนมากก็เฉพาะตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี เพราะเท่าที่ดูมาแต่ละสมัยนับนิ้วได้เลยครับ ไม่ได้มากมายอะไรเป็นพิเศษ เพิ่งมาเฟ้อมากในสมัยธนบุรีหรือรัตนโกสินทร์ครับ
จารึกวัดพระธาตุศรีสองรัก กล่าวถึงเหตุการทำสัญญาเป็นพันธมิตรระหว่างอยุทธยากับล้านช้างเมื่อ พ.ศ. 2103 รัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ระบุชื่อขุนนางฝ่ายอยุทธยาคนหนึ่งว่า "เจาพฺระญามหาเสนาปตี" คือเจ้าพระยามหาเสนาบดีสมุหพระกลาโหม สอดคล้องกับพระราชพงศาวดารที่ระบุว่าสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงแต่งตั้งหลวงศรียศบ้านลานตากฟ้าเป็นเจ้าพระยามหาเสนาบดี
รัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
- เจ้าพระยาจักรี เสียชีวิตในกบฏญาณพิเชียร พ.ศ. 2124
- เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ ปรากฏชื่อในเหตุการณ์เจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงละแวก และศึกนันทบุเรง พ.ศ. 2129-2130
- เจ้าพระยามหาเสนา ปรากฏชื่อในศึกนันทบุเรง
- เจ้าพระยาสุโขทัย เจ้าพระยากำแพงเพชร สันนิษฐานว่าเพราะเป็นพญามหานคร หรืออาจเป็นเชื้อสายพญามหานครเมืองเหนือมาก่อน เลยโปรดให้เป็นเจ้าพระยา
รัชกาลสมเด็จพระนเรศ
- เจ้าพระยาสรศรี เจ้าเมืองพิษณุโลก เดิมเป็นพระยาไชยบูรณ์ปลัดขวาเมืองพิษณุโลก และเป็นข้าหลวงเดิมที่ช่วยราชการสงครามมามาก
- เจ้าพระยาอัครมหาเสนาธิบดีศรีสมุหพระกลาโหม เดิมเป็นพระราชมนู
- เจ้าพระยาจักรี ปรากฏชื่อในสงครามตีเมืองเมาะตะมะ เข้าใจว่าเป็นคนเดียวกับพระยาจักรีที่ไปตีเมืองตะนาวศรีที่มีความชอบเลยได้เลื่อนบรรดาศักดิ์
- เจ้าพระยาสีหราชเดโช ปรากฏชื่อในช่วงที่สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จไกล่เกลี่ยจลาจลในล้านนาเมื่อ พ.ศ. 2143
- เจ้าพระยาสวรรคโลก แต่คนนี้น่าจะเป็นเจ้าเขมรมากกว่า เพราะเป็นผู้ไปรับพระศรีสุพรรณมาธิราชส่งกลับไปครองเมืองละแวก
รัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ
- เจ้าพระยาธรรมาธิบดี ช่วงราชาภิเษก
- เจ้าพระยาจักรี ช่วงราชาภิเษก
รัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
พระตำราบรมราชูทิศเพื่อกัลปนา พ.ศ.๒๑๕๓ กล่าวถึง เจ้าพญารามณรงค เจ้าพญาเมืองนครศรีธรรมราช
สำหรับตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีในพระตำรากลับใช้บรรดาศักดิ์ "เจ้าขุนหลวง" เหมือนสมัยอยุทธยาตอนต้น คือ
-เจ้าขุนหลวงมหาอำมาตยาธิบดีศรีรักษาองคสมุหพระกลาโหม เข้าใจว่าคือพระมหาอำมาตย์ในพงศาวดารที่ไล่กบฏญี่ปุ่นไปจากพระราชวังหลวง ซึ่งพงศาวดารกล่าว่าได้เลื่อนเป็น "เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์" (พระเจ้าปราสาททอง) แต่เมื่อคำนวณอายุพระเจ้าปราสาททองจากหลักฐานร่วมสมัยพบว่าในเวลานั้นมีพระชนม์เพียง 9-10 ขวบเท่านั้น คงไปปราบกบฎแล้วเป็นเจ้าพระยาไม่ได้ พงศาวดารน่าจะเขียนคลาดเคลื่อน
-เจ้าขุนหลวงมหาเสนาธิบดีศรีองครักษสมุหนายก
นอกจากนี้ยังมีบรรดาศักดื "เจ้าพขุนหลวง" (เจ้าพ่อขุนหลวง) สำหรับเจ้าเมืองพัทลุงในเวลานั้นด้วย
สำเนาหนังสือครั้งกรุงเก่าว่าด้วยการพระราชทานที่กัลปนา ที่ดินเมืองพัทลุง กล่าวถึงเหตุการณ์มรรัชสมัยของกษัตริย์ที่ใช้พระนามว่า 'พระบาทสมเด็จพระเอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว' (ซึ่งมีหลายองค์มาก) ได้ระบุเจ้าพระยาที่เข้าเฝ้าไว้หลายตำแหน่ง ได้แก่
-เจ้าพระยาธรรมาธิบดีศรีรัตนมณเฑียรบาล อรรคมหาเสนาบดี อภัยพิริยปรากรมพาหุมหาอำมาตย์
-เจ้าพระยามหาเสนาธิบดีอภัยพิริยปรากรมพาหุ สมุหพระกลาโหม
-เจ้าพระยาพลเทพราชเสนาบดีศรีชัยนพรัตนเกษตราธิบดี อภัยพิริยปรากรมพาหุ
-เจ้าพระยานนทเสนเสนาบดีศรีรัตนมณเฑียรบาลอรรคมหาเสนาบดี อภัยพิริยปรากรมพาหุ
-เจ้าพระยาศรีธรรมอภัยเดชะ
-เจ้าพระยาพัทลุง
ในขณะที่สมุหนายกเป็น ออกญาจักรีศรีองค์รักษ์สมุหนายก
"เอกาทศรฐอิศวร" องค์นี้ สันนิษฐานว่าคือพระเจ้าทรงธรรม (ซึ่งปรากฎหลักฐานว่าใช้พระนาม ‘เอกาทศรุทรอิศวร’ ) เพราะมีการระบุศักราชต่อว่า "ศุภมัศดุ ๑๕๓๕ ศกอุสุภสังวัจฉรผัคคุณมาสสุกรปักเข ปัณณรสมีดิถีพุทธวาเร" ตรงกับ พ.ศ. ๒๑๕๖ รัชกาลพระเจ้าทรงธรรม
รัชกาลสมเด็จพระเชษฐาธิราช - สมเด็จพระอาทิตยวงศ์
-เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์
รัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
- พระราชพงศาวดารระบุว่า จมื่นสรรเพชญ์ภักดีที่ลอบส่งหนังสือไปแจ้งความพระองค์ว่าพระเชษฐาธิราชจะคิดร้ายมีความชอบ จึงเลื่อนเป็น "เจ้าพระยาราชภักดี" จางวางกรมพระคลังมหาสมบัติ
- จดหมายเหตุวันวลิตสมัยพระเจ้าปราสาททองระบุว่า ทรงตั้งออกญาพระคลังแต่มีความชอบให้ช่วยให้พระองค์ได้ราชสมบัติให้เป็นออกญาสวรรคโลก แล้วเลื่อนเป็น "เจ้าพญาพิษณุโลก" (Thiauphia Pouckelouck) แต่โดยมากจะเรียก "ออกญาพิษณุโลก"
แต่ผมสันนิษฐานว่าทั้งสองคนน่าจะเป็นคนเดียวกัน เพราะวันวลิตบอกว่าออกญาพระคลังเคยเป็นหัวหน้ามหาดเล็กในสมัยพระเจ้าทรงธรรมมาก่อน และบทบาทตรงกับจมื่นสรรเพชญ์ภักดีในพงศาวดารมาก จึงสันนิษฐานว่าพงศาวดารน่าจะผิด ออกญาพระคลังที่วันวลิตบันทึกอาจเป็นพระยาราชภักดี เจ้ากรมพระคลังมหาสมบัติ และคงอยู่ในตำแหน่งนี้มาตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเชษฐาธิราชแล้ว ต่อมาเมื่อถึงรัชกาลพระเจ้าปราสาททองจึงเลื่อนเป็นพระยาสวรรคโลก และเจ้าพระยาพิษณุโลกตามลำดับ
จดหมายออกญาพระคลังในรัชกาลพระเจ้าปราสาททองส่งไปเมืองปัตตาเวียเมื่อ พ.ศ. 2184 กล่าวถึง t’Jau phia ramaraet, seu Jaky bodun tra reu tsiaey mahay soere jaky body ry soet ja na ley abaya bra Cromma ph hou thiauphia souar Colock (เจ้าพญารามราชแสนญาธิบดินทรฤๅไชยมไหยสุริยาธิบดีศรีสัชนาลัยอภัยพิริยกรมภาหุ เจ้าพญาสวรรคโลก)
รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์
สมุดไทยเรื่องส่งคนไปยุโรปเมื่อ พ.ศ. 2222 เรียกเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ว่า "เจ้าพรญาศรีธรรมราชเดชชาติอำมาตยานุชิตพิพิทรัตณราชโกษาธีบดีอภยพีรีปรากรํมภาหุะ"
จดหมายของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ถึงผู้อำนวยการบริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศส พ.ศ. 2223 ลงนามเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า Chao Peya, Sery Terrama, Racha Chady, Ammatraga, Nuchitra, Pipitra, Rattana, Ratconsta, Tibody Apay Pery Bora Croumma Pahoua
จดหมายเหตุลาลูแบร์กล่าวถึง เจ้าพระยามหาอุปราช (Tchaoù Pa-yà Ma-ha Obarat)
- พระราชพงศาวดารที่ชำระสมัยรัตนโกสินทร์กล่าวถึง เจ้าพระยาสุรสงครามว่าเป็นผู้มีส่วนช่วยเหลือพระเพทราชาลวงฟอลคอนมากำจัด
จดหมายเหตุหมอแกมป์เฟอร์ พ.ศ. 2232 กล่าวถึง เจ้าพญาธารมา (Tsjau peja Taramã) เสนาบดีกรมวัง
จดหมายของโกษาปานส่งไปปัตตาเวียใน พ.ศ. 2232 ลงนามในภาษาดัตช์ว่า "Tsjau Pija Sirderma Ratditsjah Tsjadiamata Taya Noetsjit Pipid Zadua Koesa Tiboedi Oepi Piri Iber Akramma Pahokh Tsjau Kija Pakelangh"
จดหมายโกษาปานที่ส่งไปฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2236 ลงนามเป็นภาษาไทยว่า "เจ้าพระญาศรีธรรมราช" มาจากราชทินนามเต็มของโกษาธิบดีคือ "ออกพญาศรีธรรมราชเดชะชาติอำมาตยานุชิตพิพิทรัตนราชโกษาธิบดีอะภัยรีพิริยะกรมภาหุ"
จะเห็นได้ว่าหลักฐานที่กล่าวถึงบรรดาศักดิ์เจ้าพระยาในสมัยอยุทธยามีจำนวนมากครับ
สำหรับเจ้าพระยา พิจารณาจากหลักฐานมีมาตั้งแต่ก่อนสมัยปลายอยุทธยานานมากครับ พบหลักฐานทั้งในพระราชกำหนดกฎหมายและพงศาวดารหลายตอน เท่าที่ศึกษายังไม่เคยเห็นนักประวัติศาสตร์กระแสหลักบอกว่าเจ้าพระยาครับเพิ่งมีสมัยอยุทธยาตอนปลาย ส่วนมากจะเป็นกระแสรองมากกว่า โดยมักอ้างอิงจากการวิเคราะห์ของศาสตราจารย์พิเศษขจร สุขพานิช ซึ่งเคยเสนอว่ายศเจ้าพระยามีในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แต่ความจริงขัดแย้งกับหลักฐานอื่นๆ จำนวนมาก
สมัยอยุทธยาตอนต้น "เจ้าพระญา" นั้นปรากฏใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์หรือเจ้านาย พบในจารึกสุโขทัยหลายหลักรวมถึงพื้นเมืองของล้านนาเรียกกษัตริย์ว่า "เจ้าพรญา" และยังพบในจดหมายเหตุของจีน
เช่น สมเด็จพระรามราชาธิราช ปรากฏพระนามในพระราชพงศาวดารว่า "สมเดจเจาพรญารามเจ้า" หรือ "สมเดจพระรามเจ้า"
คำว่า "สมเด็จเจ้าพระญา" ในสมัยอยุทธยาตอนต้นจึงปรากฏว่าใช้เฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน
สำหรับบรรดาศักดิ์ก่อนสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เทียบจากกฎหมายเก่า และพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับปลีกที่กล่าวถึงรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราช (เจ้าสามพญา) พบว่า
- ขุน มักใช้กับขุนนางระดับสูง เช่น เสนาบดีจตุสดมภ์ แม่ทัพ เจ้าเมือง
- เจ้าขุนหลวง มักใช้กับเสนาบดีชั้นผู้ใหญา เช่น เจ้าขุนหลวงสพฤานครบาล ในพระราชบัญญัติ พ.ศ. 1904
- พรญา ใช้สำหรับเจ้านาย กษัตริย์ผู้ครองเมือง หรือเจ้าประเทศราชเมืองเหนือ เช่น พรญาบาลเมืองเจ้าเมืองสองแคว พรญารามราชเจ้าเมืองสุโขทัย พรญาแสนสอยดาวเจ้าเมืองกำแพงเพชร (แต่ในจารึกลานเงินที่พบในเมืองกำแพงเพชร พ.ศ. 1963 เรียกเจ้าผู้ครองกำแพงเพชรว่า 'สเดจพ่อพรญาสอย' ) และอาจจะมอบให้ขุนนางที่มีความชอบเป็นพิเศษ เช่น "พรญาเทพมงคล" ซึ่งพงศาวดารระบุว่าเป็น "พฤทธามาตย์" (คือเป็นขุนนางผู้ใหญ่หรืออาวุโส) เมื่อถึงแก่กรรมสมเด็จพระบรมราชาธิราชโปรดให้เอาทองในพระคลังมาทำเป็นโกศให้
- เจ้าพรญา ใช้กับเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ หรือ กษัตริย์ผู้ครองเมือง เช่น เจ้าพรญาพระนครอินทร์ เจ้าพรญาแพรก พระโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ครองกรุงศรียโศธรปุระ บางครั้งก็มี "สมเด็จ" นำหน้า เจ้าพรญาแก้ว เจ้านายเขมรที่ถูกจับมากรุงศรีอยุทธยา หรือ เจ้าพรญายาด เชื้อพระวงศ์เขมรก่อกบฏตั้งตนเป็นกษัตริย์
จนสมัยพระบรมไตรโลกนาถเป็นต้น ถึงเริ่มปรากฏการเรียกขุนนางระดับสูงหรือพญามหานครว่าเจ้าพระยา พระยา/ออกญา เช่น บานแพนกของพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน กล่าวถึง "เจ้าพญาธรรมาธิบดีศรีรัตนมลเทียรบาล" เสนาบดีกรมวังว่าเป็นผู้กราบทูลสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถให้ตั้งลำดับศักดิ์ของพระราชวงศ์
จารึกฐานพระอิศวรเมืองกำแพงเพชร พ.ศ. 2058 รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดี กล่าวถึง "เจ้าพรญาศรีธรรมโศกราช" ซึ่งเป็นราชทินนามของเจ้าเมืองสุโขทัยตามพระไอยการเก่าตำแหน่งนาหัวเมืองฉบับอยุธยา ว่าเป็นผู้ประดิษฐานรูปพระอิศวรนี้ไว้ในเมืองกำแพงเพชร ให้การอุปถัมภ์ศาสนาพุทธ พราหมณ์ เทพกรรม ซ่อมแปลงพระมหาธาตุในเมืองนอกเมือง ซ่อมแซมท่อปู่พญาร่วงเป็นทางลำเลียงน้ำให้นา
ในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ มีการพระราชทานยศ "เจ้าพระยา" ให้กับบรรดาผู้ก่อการที่ช่วยพระองค์ได้เสวยราชสมบัติ ในคราวนั้นจริงน่าจะเป็นบรรดาศักดิ์ที่ตั้งเป็นกรณีพิเศษให้สมกับความชอบ คือ
- ขุนพิเรนทรเทพ เป็น สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ครองเมืองพิษณุโลก หลักฐานบางแห่งเรียกว่า ออกญาธรรมราชา ออกญาพิษณุโลก
- ขุนอินทรเทพ เป็น เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช
- หลวงศรียศบ้านลานตากฟ้า เป็น เจ้าพระยามหาเสนาบดี สมุหพระกลาโหม
- หมื่นราชเสน่หาในราชการ เป็น เจ้าพระยามหาเทพ
- พระยาพิชัย เป็น เจ้าพระยาพิชัย
- พระยาสวรรคโลก เป็น เจ้าพระยาสวรรคโลก
เจ้าพระยาในเวลานั้น อาจจะให้เฉพาะขุนนางที่มีความชอบเป็นกรณีพิเศษจริงๆ ส่วนมากก็เฉพาะตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี เพราะเท่าที่ดูมาแต่ละสมัยนับนิ้วได้เลยครับ ไม่ได้มากมายอะไรเป็นพิเศษ เพิ่งมาเฟ้อมากในสมัยธนบุรีหรือรัตนโกสินทร์ครับ
จารึกวัดพระธาตุศรีสองรัก กล่าวถึงเหตุการทำสัญญาเป็นพันธมิตรระหว่างอยุทธยากับล้านช้างเมื่อ พ.ศ. 2103 รัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ระบุชื่อขุนนางฝ่ายอยุทธยาคนหนึ่งว่า "เจาพฺระญามหาเสนาปตี" คือเจ้าพระยามหาเสนาบดีสมุหพระกลาโหม สอดคล้องกับพระราชพงศาวดารที่ระบุว่าสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงแต่งตั้งหลวงศรียศบ้านลานตากฟ้าเป็นเจ้าพระยามหาเสนาบดี
รัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
- เจ้าพระยาจักรี เสียชีวิตในกบฏญาณพิเชียร พ.ศ. 2124
- เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ ปรากฏชื่อในเหตุการณ์เจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงละแวก และศึกนันทบุเรง พ.ศ. 2129-2130
- เจ้าพระยามหาเสนา ปรากฏชื่อในศึกนันทบุเรง
- เจ้าพระยาสุโขทัย เจ้าพระยากำแพงเพชร สันนิษฐานว่าเพราะเป็นพญามหานคร หรืออาจเป็นเชื้อสายพญามหานครเมืองเหนือมาก่อน เลยโปรดให้เป็นเจ้าพระยา
รัชกาลสมเด็จพระนเรศ
- เจ้าพระยาสรศรี เจ้าเมืองพิษณุโลก เดิมเป็นพระยาไชยบูรณ์ปลัดขวาเมืองพิษณุโลก และเป็นข้าหลวงเดิมที่ช่วยราชการสงครามมามาก
- เจ้าพระยาอัครมหาเสนาธิบดีศรีสมุหพระกลาโหม เดิมเป็นพระราชมนู
- เจ้าพระยาจักรี ปรากฏชื่อในสงครามตีเมืองเมาะตะมะ เข้าใจว่าเป็นคนเดียวกับพระยาจักรีที่ไปตีเมืองตะนาวศรีที่มีความชอบเลยได้เลื่อนบรรดาศักดิ์
- เจ้าพระยาสีหราชเดโช ปรากฏชื่อในช่วงที่สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จไกล่เกลี่ยจลาจลในล้านนาเมื่อ พ.ศ. 2143
- เจ้าพระยาสวรรคโลก แต่คนนี้น่าจะเป็นเจ้าเขมรมากกว่า เพราะเป็นผู้ไปรับพระศรีสุพรรณมาธิราชส่งกลับไปครองเมืองละแวก
รัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ
- เจ้าพระยาธรรมาธิบดี ช่วงราชาภิเษก
- เจ้าพระยาจักรี ช่วงราชาภิเษก
รัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
พระตำราบรมราชูทิศเพื่อกัลปนา พ.ศ.๒๑๕๓ กล่าวถึง เจ้าพญารามณรงค เจ้าพญาเมืองนครศรีธรรมราช
สำหรับตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีในพระตำรากลับใช้บรรดาศักดิ์ "เจ้าขุนหลวง" เหมือนสมัยอยุทธยาตอนต้น คือ
-เจ้าขุนหลวงมหาอำมาตยาธิบดีศรีรักษาองคสมุหพระกลาโหม เข้าใจว่าคือพระมหาอำมาตย์ในพงศาวดารที่ไล่กบฏญี่ปุ่นไปจากพระราชวังหลวง ซึ่งพงศาวดารกล่าว่าได้เลื่อนเป็น "เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์" (พระเจ้าปราสาททอง) แต่เมื่อคำนวณอายุพระเจ้าปราสาททองจากหลักฐานร่วมสมัยพบว่าในเวลานั้นมีพระชนม์เพียง 9-10 ขวบเท่านั้น คงไปปราบกบฎแล้วเป็นเจ้าพระยาไม่ได้ พงศาวดารน่าจะเขียนคลาดเคลื่อน
-เจ้าขุนหลวงมหาเสนาธิบดีศรีองครักษสมุหนายก
นอกจากนี้ยังมีบรรดาศักดื "เจ้าพขุนหลวง" (เจ้าพ่อขุนหลวง) สำหรับเจ้าเมืองพัทลุงในเวลานั้นด้วย
สำเนาหนังสือครั้งกรุงเก่าว่าด้วยการพระราชทานที่กัลปนา ที่ดินเมืองพัทลุง กล่าวถึงเหตุการณ์มรรัชสมัยของกษัตริย์ที่ใช้พระนามว่า 'พระบาทสมเด็จพระเอกาทศรฐอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว' (ซึ่งมีหลายองค์มาก) ได้ระบุเจ้าพระยาที่เข้าเฝ้าไว้หลายตำแหน่ง ได้แก่
-เจ้าพระยาธรรมาธิบดีศรีรัตนมณเฑียรบาล อรรคมหาเสนาบดี อภัยพิริยปรากรมพาหุมหาอำมาตย์
-เจ้าพระยามหาเสนาธิบดีอภัยพิริยปรากรมพาหุ สมุหพระกลาโหม
-เจ้าพระยาพลเทพราชเสนาบดีศรีชัยนพรัตนเกษตราธิบดี อภัยพิริยปรากรมพาหุ
-เจ้าพระยานนทเสนเสนาบดีศรีรัตนมณเฑียรบาลอรรคมหาเสนาบดี อภัยพิริยปรากรมพาหุ
-เจ้าพระยาศรีธรรมอภัยเดชะ
-เจ้าพระยาพัทลุง
ในขณะที่สมุหนายกเป็น ออกญาจักรีศรีองค์รักษ์สมุหนายก
"เอกาทศรฐอิศวร" องค์นี้ สันนิษฐานว่าคือพระเจ้าทรงธรรม (ซึ่งปรากฎหลักฐานว่าใช้พระนาม ‘เอกาทศรุทรอิศวร’ ) เพราะมีการระบุศักราชต่อว่า "ศุภมัศดุ ๑๕๓๕ ศกอุสุภสังวัจฉรผัคคุณมาสสุกรปักเข ปัณณรสมีดิถีพุทธวาเร" ตรงกับ พ.ศ. ๒๑๕๖ รัชกาลพระเจ้าทรงธรรม
รัชกาลสมเด็จพระเชษฐาธิราช - สมเด็จพระอาทิตยวงศ์
-เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์
รัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
- พระราชพงศาวดารระบุว่า จมื่นสรรเพชญ์ภักดีที่ลอบส่งหนังสือไปแจ้งความพระองค์ว่าพระเชษฐาธิราชจะคิดร้ายมีความชอบ จึงเลื่อนเป็น "เจ้าพระยาราชภักดี" จางวางกรมพระคลังมหาสมบัติ
- จดหมายเหตุวันวลิตสมัยพระเจ้าปราสาททองระบุว่า ทรงตั้งออกญาพระคลังแต่มีความชอบให้ช่วยให้พระองค์ได้ราชสมบัติให้เป็นออกญาสวรรคโลก แล้วเลื่อนเป็น "เจ้าพญาพิษณุโลก" (Thiauphia Pouckelouck) แต่โดยมากจะเรียก "ออกญาพิษณุโลก"
แต่ผมสันนิษฐานว่าทั้งสองคนน่าจะเป็นคนเดียวกัน เพราะวันวลิตบอกว่าออกญาพระคลังเคยเป็นหัวหน้ามหาดเล็กในสมัยพระเจ้าทรงธรรมมาก่อน และบทบาทตรงกับจมื่นสรรเพชญ์ภักดีในพงศาวดารมาก จึงสันนิษฐานว่าพงศาวดารน่าจะผิด ออกญาพระคลังที่วันวลิตบันทึกอาจเป็นพระยาราชภักดี เจ้ากรมพระคลังมหาสมบัติ และคงอยู่ในตำแหน่งนี้มาตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเชษฐาธิราชแล้ว ต่อมาเมื่อถึงรัชกาลพระเจ้าปราสาททองจึงเลื่อนเป็นพระยาสวรรคโลก และเจ้าพระยาพิษณุโลกตามลำดับ
จดหมายออกญาพระคลังในรัชกาลพระเจ้าปราสาททองส่งไปเมืองปัตตาเวียเมื่อ พ.ศ. 2184 กล่าวถึง t’Jau phia ramaraet, seu Jaky bodun tra reu tsiaey mahay soere jaky body ry soet ja na ley abaya bra Cromma ph hou thiauphia souar Colock (เจ้าพญารามราชแสนญาธิบดินทรฤๅไชยมไหยสุริยาธิบดีศรีสัชนาลัยอภัยพิริยกรมภาหุ เจ้าพญาสวรรคโลก)
รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์
สมุดไทยเรื่องส่งคนไปยุโรปเมื่อ พ.ศ. 2222 เรียกเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ว่า "เจ้าพรญาศรีธรรมราชเดชชาติอำมาตยานุชิตพิพิทรัตณราชโกษาธีบดีอภยพีรีปรากรํมภาหุะ"
จดหมายของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ถึงผู้อำนวยการบริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศส พ.ศ. 2223 ลงนามเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า Chao Peya, Sery Terrama, Racha Chady, Ammatraga, Nuchitra, Pipitra, Rattana, Ratconsta, Tibody Apay Pery Bora Croumma Pahoua
จดหมายเหตุลาลูแบร์กล่าวถึง เจ้าพระยามหาอุปราช (Tchaoù Pa-yà Ma-ha Obarat)
- พระราชพงศาวดารที่ชำระสมัยรัตนโกสินทร์กล่าวถึง เจ้าพระยาสุรสงครามว่าเป็นผู้มีส่วนช่วยเหลือพระเพทราชาลวงฟอลคอนมากำจัด
จดหมายเหตุหมอแกมป์เฟอร์ พ.ศ. 2232 กล่าวถึง เจ้าพญาธารมา (Tsjau peja Taramã) เสนาบดีกรมวัง
จดหมายของโกษาปานส่งไปปัตตาเวียใน พ.ศ. 2232 ลงนามในภาษาดัตช์ว่า "Tsjau Pija Sirderma Ratditsjah Tsjadiamata Taya Noetsjit Pipid Zadua Koesa Tiboedi Oepi Piri Iber Akramma Pahokh Tsjau Kija Pakelangh"
จดหมายโกษาปานที่ส่งไปฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2236 ลงนามเป็นภาษาไทยว่า "เจ้าพระญาศรีธรรมราช" มาจากราชทินนามเต็มของโกษาธิบดีคือ "ออกพญาศรีธรรมราชเดชะชาติอำมาตยานุชิตพิพิทรัตนราชโกษาธิบดีอะภัยรีพิริยะกรมภาหุ"
จะเห็นได้ว่าหลักฐานที่กล่าวถึงบรรดาศักดิ์เจ้าพระยาในสมัยอยุทธยามีจำนวนมากครับ
แสดงความคิดเห็น
.....บรรดาศักดิ์ ราชทินนาม “ขุนนาง” สมัยก่อน..../วัชรานนท์
โดยทั่วๆ ไปก็เป็นที่ทราบกันดีว่ากฏหมายว่าด้วย "บรรดาศักดิ์" / "ราชทินนาม" ถูกตราขึ้นเป็นรูปธรรมในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แต่ความเห็นส่วนตัวของผมแล้ว ผมเชื่อว่าตำแหน่งตรงนี้น่าจะมีมาก่อนหน้านั้นแล้ว หากแต่ยังไม่ได้ตราขึ้นเป็น "รูปธรรม" ที่ผมมองเช่นนี้ก็เพราะ ในสมัยที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถยังไม่ได้ขึ้นครองราชย์ มีพระญาติองค์หนึ่งของพระบรมไตรฯ ชื่อ "พระยายุทธิษฐิระ" (จะเห็นว่าแหน่ง "พระยา" ถูกใช้มาก่อนตรากฏหมายว่าด้วยบรรดาศักดิ์) ซึ่งต่อมาพระยายุทธฯ ท่านนี้ได้กลายเป็นศรัตรูกับสมเด็จพระบรมไตรฯ อนึ่ง มีนักประวัติศาสตร์บางท่านมีความเห็นต่างว่ากฏหมายว่าด้วยศักดินานี้ตราขึ้นในรัชสมัยพระณเรศวร ก็มีมุมมที่หลากหลายและแตกต่าง แต่กระแสหลัก็ยังเห็นว่าตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรฯ
คนจะเป็น "ขุนนาง" ได้ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร? และรวมถึงข้าราชบริพารที่ทำงานในพระราชวังด้วยไหม?
"ขุนนาง" คือสามัญชนที่มีโอกาสได้รับเข้าไปรับใช้พระเจ้าแผ่นดินและมีศักดินาที่ 400ไร่ขึ้นไป ต่ำกว่า400ไร่ไม่เรียกว่าขุนนาง ยกเว้นข้าราชบริพารในกรมมหาดเล็กแม้จะมีศักดินาต่ำก็จัดว่าเป็นขุนนางเพราะข้าราชการเหล่านี้จะได้รับการเลือกสรรจากพระเจ้าแผ่นดินโดยตรงซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลูกหลานของเสนาบดีหรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่ไว้วางพระทัยได้
ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศกำหนดคุณสมบัติผู้ที่จะเป็นขุนนางเอาไว้๔ประการ ชาติวุฒิ (มีญาติเป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่มาก่อน) วัยวุฒิ (อายุ31 ขึ้นไป) คุณวุฒิ และปัญญาวุฒิ นอกจากนี้ยังต้องมี "ฉันทาธิบดี" (ถวายสิ่งที่มีพระราชประสงค์) "วิริยาธิบดี" (มีความเพียรในหน้าที่ราชการ) "จิตาธิบดี" (กล้าหาญในสงคราม) และสุดท้าย "วิมังสาธิบดี" (มีความแยบคายในการพิพากษาและอุบายในราชการ)
และเพื่อความมั่นคงของราชบัลลังก์ มีการกำหนดเอาไว้เป็นกฏเหล็กว่า ห้ามขุนนางระดับเจ้าเมืองไปมาหาสู่กันเว้นไว้แต่มีพระบรมราชานุญาต ห้ามขุนนางที่มีศักดินาตั้งแต่ 800 - 10000 คบหาพระราชโอรสหรือพระธิดา ห้ามขุนนางที่มีศักดินา 1600 - 100000 ไปมามาหาสู่กันในเรือนหรือที่สงัด หรือลักลอบเจรจากันสองต่อสอง หากละเมิดต้องโทษประหารชีวิต
ส่วนโทษที่ไม่ใช่การประหารชีวิตก็ให้พิจาณาตามบรรดาศักดิ์ เช่นโทษการวิวาทะกันในเขตพระราชวัง คนที่มีบรรดาศักดิ์สูงจะได้รับโทษน้อยกว่าคนที่มีบรรดาศักดิต่ำกว่า (งงล่ะสิ??) ถือว่าเป็นการที่ "ผู้น้อย" ไปละเมิด "ผู้ใหญ่" แต่อีกทางหนึ่ง ถ้าเป็นความผิดเกี่ยบกับการรับผิดชอบในหน้าที่ราชการ หรือความผิดทางอาญา ขุนนางที่มีศักดินาสูงกว่าจะได้รับการลงโทษหนักกว่าขุนนางชั้นผู้น้อย
ตำแหน่ง พระ พระยา เจ้าพระยา สมเด็จเจ้าพระยา.??? มีที่มาอย่างไร?
คหสต. เท่าที่อ่านๆ พงศาวดาร จดหมายเหตุ หนังสือประวัติศาสตร์มาหลายๆ เล่ม ตำแหน่งขุนนางแรกเริ่มเดิมที เรายังใช้ แม่ทัพ นายกอง หมื่น พัน นายร้อย นายสิบ (ทางภาคเหนือเขามีตำแหน่ง "แสน" ด้วยนะครับ) ต่อมาเราก็รับอิทธิพลจากเขมร อินเดียเรื่องนี้ โดยนำแหน่ง พระ พระยา เข้ามาใช้ ส่วนตำแหน่ง "เจ้าพระยา" นั้น กระแสหลัก คือนักประวัติศาสตร์ไทยและฝรั่งบอกว่าพึ่งจะนำมาในช่วงอยุธยาตอนปลาย ธนบุรี และ รัตนโกสินทร์ อย่างไรก็ดี....ก็มีข้อมูลให้น่าถกต่อว่า ในรัชสมัยพระณเรศวร มีการแต่ง "เจ้าพระยา" ชัยบูรณ์ ให้เป็น "เจ้าพระยา" สูรศรี (เจ้าพระยาสุรสีห์) ไปครองเมืองพิษณุโลก อ้าว...ไหนว่ากระแสหลักบอกว่าตำแหน่ง "เจ้าพระยา" พึ่งจะนำมาใช้ในสมัยปลายอยุธยา แต่ทำไมความถึงไปปรากฏในพงศาวดารว่ามีแต่งตั้งตำแหน่ง "เจ้าพระยา" มาตั้งแต่สมัยพระณเรศวร.....อันนี้น่าถก
ปล. ผมจะไม่แท็กห้องประวัติศาสตร์นะครับ กลัวเจ้าหน้าที่พันทิปปลดแท็กห้องรดน. ที่ต้ั้งห้องรดน. เพราะต้องการทำตัวเป็นกระเบื้องล่อหยกอย่างคุณ CNCK ออกมา ถกกันเรื่องนี้ ความจริงคุณ cnck ก็บอกไว้โดยไม่มีการร้องขอตั้งแต่เมือวานว่าจะออกมาเขียนให้ความรู้ นี่ผมยัง 50/50 ว่าจะเชื่อไม่เชื่อดี เพราะที่ผ่านๆ มาแกก็บอกว่าจะเขียนนู่นทำนี่ ก็ไม่ค่อยให้เห็นสักที