....."มีแต่น้ำไม่มีเนื้อ” สำนวนนี้เกือบเป็นต้นเหตุให้มหาราชแห่งกรุงสุโขทัยโดนประหารชีวิต.....

ตรงกับวันศุกร์พอดี!  เปล่าพาดพิงถึงใครน๊า....??
___________________________________________


ย้อนประวัติศาสตร์ขึ้นไปทางภาคเหนือยุคแคว้นสุโขทัยยังรุ่งเรือง “ใครใคร่ค้าม้าค้า   ใคร่ใคร่ค้าช้างค้า” อะไรประมาณนี้   เหนือแคว้นสุโขทัยก็ยังมีแคว้นอยู่หลายแคว้นที่เด่นๆ ก็แคว้นล้านนา(เชียงใหม่เป็นเมืองหลวง)ของพญาเม็งราย  แคว้นศรีโคมคำ(พะเยาว์เป็นเมืองหลวง)ของพญางำเมืองพญาเม็งรายและพญางำเมืองสืบเชื้อสายเดียวกันคือจากปู่เจ้าลาวจก  ทั้งสองพระองค์หวุดหวิดจะทำสงครามกันเมื่อต่างฝ่ายต่างขยับขยายอาณาเขตแล้วมาชนกัน  สุดท้ายก็เจรจาตกลงกันได้อย่างสันติวิธีว่าจะไม่รุกรานกัน  



ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างพญางำเมืองกับพ่อขุนรามคำแหง   ตำนานเล่าว่าเป็นศิษย์สำนักเดียวกันที่กรุงละโว้(ลพบุรี)ก่อนทั้งสองพระองค์จะขึ้นครองราชย์  กล่าวกันว่าพระนาม “พญางำเมือง” นี้  ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย   แต่เป็นพระนามที่ประชากรในแคว้นพะเยาว์ขนานนามให้พระองค์  ด้วยว่าพระองค์ทรงมีบารมีเป็นอย่างยิ่ง  เสด็จไปไหนก็สร้างความร่มเย็นผาสุขครอบงำแสงพระอาทิตย์(คำว่า งำเป็นภาษาลาวทางเหนือและอีสานแปลว่าครอบ  ต่อมาถูกนิยมรวบนำมาใช้ร่วมกับคำว่า “ครอบ” เป็น “ครอบงำ” กลายเป็นภาษาไทยโดยปริยาย)  พญางำเมืองมีมเหสีที่สืบเชื้อพระวงศ์มาจากราชวงศ์เชียงแสนคือนาง “อั๊วเชียงแสน” (คำว่า “อั๊ว” เจอบ่อยมากในตำนานทางภาคเหนือและอีสาน  น่าจะหมายถึงตำแหน่งเจ้าหญิง)ที่สวยสดงดงาม



ย้อนลงมาที่แคว้นสุโขทัย....ยามบ้านเมืองสงบร่วมเย็น  พ่อขุนรามคำแหงเกิดระลึกถึงพระสหายเก่า  เลยเสด็จขึ้นเหนือมาเยี่ยมพญางำเมืองที่พะเยาว์อยู่หลายวัน   นางอั๊วเชียงแสนพระมเหสีของพญางำเมืองก็ลงมือทำกับข้าวกับปลาเลี้ยงพระสหายของพระสวามี    วันหนึ่งพระนางทำแกงเป็นอาหารเย็นเลี้ยงกษัตริย์ทั้งสอง  พญางำเมืองทรงช้อนตักแกงขึ้นเสวยเสร็จก็ทรงหันไปบ่นในทำนองว่า  แกงมีแต่น้ำไม่มีเนื้อ  รสชาดก็ไม่อร่อย......แค่นั้นแหละ..พระนางอั๊วเชียงแสนถึงกับน้อยอกน้อยใจ  ไม่ยอมพูดยอมจากับพญางำเมือง  ไม่ยอมแม้จะเข้าร่วมห้องบรรทมด้วย.....



ต่อมาพ่อขุนรามคำแหงได้สวมรวยเข้าไปหานางอั๊วเชียงแสนและได้เสียกัน    เมื่อพญางำเมืองทราบเรื่องเข้าถึงกับกริ้ว จับพ่อขุนรามฯ ไว้ที่เมืองพะเยาว์ (บางตำราว่าเอาสุ่มไก่ครอบไว้ แล้วให้ท่หารดูแล)  ความผิดครั้งนี้มหันต์ถึงขั้นประหารชีวิต  แต่พญางำเมืองเองก็สองจิตสองใจว่าจะประหารพระสหายดีหรือไม่   อย่ากระนั้นเลยดีกว่า....ให้พระสหายอีกพระองค์มาช่วยชำระคดีความครั้งดีก่อน   เพราะครั้นจะประหารเสีย  นอกจากคนอื่นจะหมิ่นแล้วก็อาจจะสร้างศรัตรูกับแคว้นสุโขทัยได้   จึงไปอัญเชิญพญาเม็งรายมาช่วยชำระคดีความผิดของพ่อขุนรามครั้งนี้    พญาเม็งรายได้ขอให้พญางำเมืองลดหย่อนผ่อนโทษครั้งนี้เสียเพื่อเห็นแก่ความสงบสุขของสองแคว้น  พญางำเมืองเมื่ออ่อนลงแล้ว  ยอมลดโทษไว้แค่ปรับสินไหม    ผมไปอ่านเจอในตำราของฝรั่ง  เขาเขียนว่าโทษปรับสินไหมครั้งนี้เป็นเบี้ยกองสูงเท่าพ่อขุนรามเลยทีเดียว    จากนั้นทั้งสามพระองค์ก็ทรงกรีดเลือดสาบานเป็นพระสหายกัน    ตำนานปรำปราชาวบ้านเล่าว่าทั้งสามพระองค์ทำพิธีสาบานที่ริมฝั่งแม่น้ำโดยหลังอิงกัน  ต่อมาแม่น้ำนั้นจึงถูกเรียกว่าแม่น้ำอิง  และเป็นที่มาของ "สามกษัตริย์"
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่