ขนมไทยโบราณ
1. ขนมบุหลันดั้นเมฆ เป็นหนึ่งในบรรดาขนมไทยชาววัง ที่มีชื่อ หน้าตาและสีสัน ที่สวยงาม เกิดจากการจินตนาการออกแบบสีและรูปทรงจากการฟังบทเพลงพระราชนิพนธ์ "บุหลันลอยเลื่อน" โดยแทนสีเหลืองที่อยู่ตรงกลาง เป็น บุหลันหรือดวงจันทร์ (ทำจากไข่แดง) และแทนสีฟ้าครามที่อยู่ล้อมรอบ เป็น ท้องฟ้า
(จากน้ำอัญชัน)
2. ขนมเกสรชมพู ขนมชนิดนี้คือมะพร้าวขูด ไม่ใช่ข้าวเหนียว เพราะมีหลายคนเข้าใจผิดเป็น "ข้าวเหนียวแก้ว" ซึ่งที่จริงแล้วคือมะพร้าวขูดกวนกับวุ้น รับรองว่ารสชาติ รสมะพร้าว "มันติดปาก หอมติดใจ และ หวานติดปลายลิ้น"
3. ขนมโพรงแสม มีลักษณะคล้ายทองม้วนแต่ต่างตรงที่เคลือบน้ำตาล หรือน้ำแตงโม ราดพันรอบๆ
โดยที่ความกรอบ หอม หวาน และมัน เข้ากันอย่างลงตัว ส่วนใหญ่นิยมใช้เป็นขนมมงคลในพิธีสมรส
ซึ่งแทนความหมาย ถึงความแข็งแรงมั่นคงของเสาบ้าน และให้บ่าวสาวมีความรักที่ยืนยาวหวานหอม
4. ขนมหม้อตาล หรือ ที่เรียกว่าขนม "หม้อเงิน หม้อทอง" เป็นขนมที่นิยมใช้ในงานพิธีมงคลสมรส
เพราะชื่อและรูปทรง มีความหมายถึง หม้อที่เต็มไปด้วยเงินทอง เต็มไปด้วยสีสันของน้ำตาล ความหวาน
ช่วยส่งเสริมให้บ่าวสาวรักกันยาวนาน ร่ำรวย
5. ขนมเทียนสลัดงา หรือ ขนมงาสลัด เป็นขนมที่ให้ความหมายเป็นสิริมงคล เพราะเทียนนั้นแทนการ
ส่องแสง สว่างไสวรุ่งโรจน์ ส่วนตัวข้าวเหนียวแก้ว ก็จะให้ความเหนียวแน่นเป็นปึกแผ่น และตัวงานั้นหมายถึง ความเจริญงอกงามนั่นเอง
6. ขนมพันตอง เป็นขนมที่ต้องทานคู่กันทั้ง 2 ห่อ คือ ห่อของไส้ มีส่วนผสมของมะพร้าวกับน้ำตาลปี๊ปปั้นเป็นก้อนกลมๆ และอีกห่อเป็นส่วนของแป้ง ประกอบด้วยหัวกะทิ แป้งข้าวเจ้า เกลือ ความเค็มของแป้งกะทิและไส้มะพร้าวออกหวานนิด ตัดกันอร่อยกลมกล่อมอย่างลงตัว
7. ขนมดอกลำเจียก หรือ ขนมเกสรลำเจียก ตัวขนมมีลักษณะคล้ายดอกลำเจียกที่ออกดอกอย่างเต็มที่ ตัวกลีบเกสรแตกออก ส่งกลิ่นหอมหวนชวนถวิลหา ตัวไส้หวานมันมะพร้าว ถูกห่อด้วยแป้งข้าวเจ้าน้ำใบเตยอบด้วยควันเทียน นุ่มๆหอมๆ เคี้ยวเพลินๆ
8. ขนมโคกะทิ เป็นขนมที่ได้รับวิวัฒนาการดัดแปลงจาก ขนมโค โดยขนมโคเดี่ยวๆ จะกินแบบแห้ง แต่พอเติมน้ำกะทิลงไป ก็จะกลายเป็นขนมโคกะทิ และยังมีลักษณะคล้ายขนมหัวล้าน ซึ่งขนมหัวล้านกับขนมโคนั้น มีความแตกต่างกันที่ไส้ข้างใน หากเป็นขนมโคหรือโคกะทิจะเป็นไส้มะพร้าวผัดน้ำตาลพอหอมๆกลิ่นไหม้ๆ แต่ถ้าเป็นขนมหัวล้านจะเป็นไส้ถั่วเขียวรสชาติหวานๆมันๆ
9. ขนมไข่ปลา เอกลักษณ์อยู่ที่รูปทรงและสีสัน ถูกประดิษฐ์ออกมาคล้ายคลึงกับไข่ปลาสีเหลืองและด้วยรสชาติความเหนียวนุ่ม หวาน มัน หอมเนื้อตาล ซึ่งต้องกินคู่กับ มะพร้าวขูดเค็มๆมันๆ เข้ากันกำลังดี ที่สำคัญใช้แป้งเดียวกับที่ทำขนมตาล จึงทำง่ายไม่ยุ่งยาก
10. ขนมสามเกลอ ความเก๋ของขนมสามเกลออยู่ตรงที่ เป็นขนมสำหรับเสี่ยงทายในวันแต่งงาน โดยจะดูได้จากการนำลงไปทอด 3 ลูกเรียงกันถ้าทอดแล้วยังติดกันอยู่ 3 ลูก ถือว่าบ่าวสาวจะรักใคร่กลมเกลียวกัน แต่ถ้าทอดแล้วติดกัน 2 ลูก อาจจะมีลูกยากหรือไม่มีเลย และถ้าไม่ติดกันเลยซักลูก แปลว่าชีวิตสมรสจะไม่มีความสุข แต่ถ้าทอดแล้วพองฟูจะถือว่าเป็นคู่ที่เหมาะสมราวกิ่งทองกับใบหยก
อาหารไทยโบราณ
1. น้ำพริกลงเรือ คิดค้นโดยเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ แห่งวังสวนสุนันทา ตามตำนานเล่าว่าเจ้านายของพระองค์ทรงพายเรือเล่น แล้วเมื่อถึงพลบค่ำก็ทรงโปรดจะเสวยในเรือ เจ้าจอมไม่ได้ตระเตรียมอะไรไว้บนเรือก่อน พบอะไรในห้องเครื่องก็นำมาผัดผสมกันอย่างง่ายๆ น้ำพริกลงเรือสูตรดั้งเดิมจึงเป็นการนำน้ำพริกกับปลามาผัดรวมกับหมูหวาน โปะด้วยไข่แดงเค็ม
2. ข้าวแช่ แต่เดิมเป็นอาหารของชาวมอญถูกนำมาประยุกต์ให้เป็นอาหารชาววังเมื่อมีการจัดทำข้าวแช่เสวยถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ซึ่งพระองค์ทรงโปรดมาก ข้าวแช่ชาววังสูตรดั้งเดิมปรุงโดยการนำข้าวสารที่ดีที่สุดไปซาวถึง 7 ครั้ง จากนั้นนำมาแช่น้ำเย็นลอยดอกไม้ให้มีกลิ่นหอม รับประทานคู่กับเครื่องเคียงอย่างลูกกะปิทอด พริกหยวกสอด เนื้อเค็มฝอยผัดหวาน ผักกาดเค็มผัดหวาน ปลาแห้งผัดหวาน รวมถึงผักสดแกะสลัก
3. หรุ่ม อาหารชาววังที่ปรากฏอยู่ในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในรัชกาลที่2 ถือเป็นของว่างอย่างหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันหารับประทานได้ยากเนื่องจากมีขั้นตอนในการทำยุ่งยาก เริ่มจากผัดหัวหอมและหมูบดเข้ากับกระเทียม รากผักชีและพริกไทยโขลก จากนั้นห่อด้วยไข่ที่เหวี่ยงบนกระทะจนกลายเป็นร่างแหให้เป็นสี่เหลี่ยมพอดีคำ
4. ถุงทอง อาหารว่างยอดนิยมที่นอกจากมีรสชาติอร่อยแล้วยังมีชื่อที่เป็นสิริมงคลด้วย ทำโดยใช้แป้งแผ่นห่อไส้ที่ประกอบด้วยหมูสับ กุ้งสับ เห็ดหอม แห้ว น้ำตาล รากผักชี กระเทียม น้ำปลา และซีอิ๊วขาว มาผัดรวมกันให้เป็นถุงขนาดพอดีคำ แต่บางสูตรอาจจะเป็นไส้สดก็ได้ เสิร์ฟคู่กับน้ำจิ้มบ๊วยหรือน้ำจิ้มไก่
5. ม้าฮ่อ คือ ของว่างไทยโบราณ แต่เดิมเป็นขนมเคียงกินแกล้มกับผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวจัด นิยมทำในเทศกาลงานบุญและเป็นอาหารในพิธีต่างๆ ตามความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น โดยเฉพาะชุมชนชาวไทยเชื้อสายมอญ ม้าฮ่อ คือผลไม้รสเปรี้ยว หั่นเป็นชิ้นพอดีคำโรยด้วยไส้คล้ายกับสาคูไส้หมู เพียงแต่ม้าฮ่อจะไม่ใส่หัวผักกาดแห้ง ส่วนประกอบสำคัญได้แก่ หมูสับ กุ้งสับ ถั่วลิสงคั่ว หอมแดง ผัดกับเครื่องเทศ ปรุงรสหวานเค็ม โดยกวนให้เหนียว แล้วปั้นเป็นก้อนกลม จากนั้นนำมาวางไว้บนชิ้นสับปะรดหรือ ส้มที่หั่นเป็นชิ้นพอดีคำ นำไส้ใส่ส้มผ่าซีก จะเรียกชื่อใหม่ว่า มังกรคาบแก้ว
ปล. ผิดพลาดประการใด ขออภัยด้วยนะคะ
คุณรู้จักอาหารไทยมากแค่ไหน
1. ขนมบุหลันดั้นเมฆ เป็นหนึ่งในบรรดาขนมไทยชาววัง ที่มีชื่อ หน้าตาและสีสัน ที่สวยงาม เกิดจากการจินตนาการออกแบบสีและรูปทรงจากการฟังบทเพลงพระราชนิพนธ์ "บุหลันลอยเลื่อน" โดยแทนสีเหลืองที่อยู่ตรงกลาง เป็น บุหลันหรือดวงจันทร์ (ทำจากไข่แดง) และแทนสีฟ้าครามที่อยู่ล้อมรอบ เป็น ท้องฟ้า
(จากน้ำอัญชัน)
2. ขนมเกสรชมพู ขนมชนิดนี้คือมะพร้าวขูด ไม่ใช่ข้าวเหนียว เพราะมีหลายคนเข้าใจผิดเป็น "ข้าวเหนียวแก้ว" ซึ่งที่จริงแล้วคือมะพร้าวขูดกวนกับวุ้น รับรองว่ารสชาติ รสมะพร้าว "มันติดปาก หอมติดใจ และ หวานติดปลายลิ้น"
3. ขนมโพรงแสม มีลักษณะคล้ายทองม้วนแต่ต่างตรงที่เคลือบน้ำตาล หรือน้ำแตงโม ราดพันรอบๆ
โดยที่ความกรอบ หอม หวาน และมัน เข้ากันอย่างลงตัว ส่วนใหญ่นิยมใช้เป็นขนมมงคลในพิธีสมรส
ซึ่งแทนความหมาย ถึงความแข็งแรงมั่นคงของเสาบ้าน และให้บ่าวสาวมีความรักที่ยืนยาวหวานหอม
4. ขนมหม้อตาล หรือ ที่เรียกว่าขนม "หม้อเงิน หม้อทอง" เป็นขนมที่นิยมใช้ในงานพิธีมงคลสมรส
เพราะชื่อและรูปทรง มีความหมายถึง หม้อที่เต็มไปด้วยเงินทอง เต็มไปด้วยสีสันของน้ำตาล ความหวาน
ช่วยส่งเสริมให้บ่าวสาวรักกันยาวนาน ร่ำรวย
5. ขนมเทียนสลัดงา หรือ ขนมงาสลัด เป็นขนมที่ให้ความหมายเป็นสิริมงคล เพราะเทียนนั้นแทนการ
ส่องแสง สว่างไสวรุ่งโรจน์ ส่วนตัวข้าวเหนียวแก้ว ก็จะให้ความเหนียวแน่นเป็นปึกแผ่น และตัวงานั้นหมายถึง ความเจริญงอกงามนั่นเอง
6. ขนมพันตอง เป็นขนมที่ต้องทานคู่กันทั้ง 2 ห่อ คือ ห่อของไส้ มีส่วนผสมของมะพร้าวกับน้ำตาลปี๊ปปั้นเป็นก้อนกลมๆ และอีกห่อเป็นส่วนของแป้ง ประกอบด้วยหัวกะทิ แป้งข้าวเจ้า เกลือ ความเค็มของแป้งกะทิและไส้มะพร้าวออกหวานนิด ตัดกันอร่อยกลมกล่อมอย่างลงตัว
7. ขนมดอกลำเจียก หรือ ขนมเกสรลำเจียก ตัวขนมมีลักษณะคล้ายดอกลำเจียกที่ออกดอกอย่างเต็มที่ ตัวกลีบเกสรแตกออก ส่งกลิ่นหอมหวนชวนถวิลหา ตัวไส้หวานมันมะพร้าว ถูกห่อด้วยแป้งข้าวเจ้าน้ำใบเตยอบด้วยควันเทียน นุ่มๆหอมๆ เคี้ยวเพลินๆ
8. ขนมโคกะทิ เป็นขนมที่ได้รับวิวัฒนาการดัดแปลงจาก ขนมโค โดยขนมโคเดี่ยวๆ จะกินแบบแห้ง แต่พอเติมน้ำกะทิลงไป ก็จะกลายเป็นขนมโคกะทิ และยังมีลักษณะคล้ายขนมหัวล้าน ซึ่งขนมหัวล้านกับขนมโคนั้น มีความแตกต่างกันที่ไส้ข้างใน หากเป็นขนมโคหรือโคกะทิจะเป็นไส้มะพร้าวผัดน้ำตาลพอหอมๆกลิ่นไหม้ๆ แต่ถ้าเป็นขนมหัวล้านจะเป็นไส้ถั่วเขียวรสชาติหวานๆมันๆ
9. ขนมไข่ปลา เอกลักษณ์อยู่ที่รูปทรงและสีสัน ถูกประดิษฐ์ออกมาคล้ายคลึงกับไข่ปลาสีเหลืองและด้วยรสชาติความเหนียวนุ่ม หวาน มัน หอมเนื้อตาล ซึ่งต้องกินคู่กับ มะพร้าวขูดเค็มๆมันๆ เข้ากันกำลังดี ที่สำคัญใช้แป้งเดียวกับที่ทำขนมตาล จึงทำง่ายไม่ยุ่งยาก
10. ขนมสามเกลอ ความเก๋ของขนมสามเกลออยู่ตรงที่ เป็นขนมสำหรับเสี่ยงทายในวันแต่งงาน โดยจะดูได้จากการนำลงไปทอด 3 ลูกเรียงกันถ้าทอดแล้วยังติดกันอยู่ 3 ลูก ถือว่าบ่าวสาวจะรักใคร่กลมเกลียวกัน แต่ถ้าทอดแล้วติดกัน 2 ลูก อาจจะมีลูกยากหรือไม่มีเลย และถ้าไม่ติดกันเลยซักลูก แปลว่าชีวิตสมรสจะไม่มีความสุข แต่ถ้าทอดแล้วพองฟูจะถือว่าเป็นคู่ที่เหมาะสมราวกิ่งทองกับใบหยก
อาหารไทยโบราณ
1. น้ำพริกลงเรือ คิดค้นโดยเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ แห่งวังสวนสุนันทา ตามตำนานเล่าว่าเจ้านายของพระองค์ทรงพายเรือเล่น แล้วเมื่อถึงพลบค่ำก็ทรงโปรดจะเสวยในเรือ เจ้าจอมไม่ได้ตระเตรียมอะไรไว้บนเรือก่อน พบอะไรในห้องเครื่องก็นำมาผัดผสมกันอย่างง่ายๆ น้ำพริกลงเรือสูตรดั้งเดิมจึงเป็นการนำน้ำพริกกับปลามาผัดรวมกับหมูหวาน โปะด้วยไข่แดงเค็ม
2. ข้าวแช่ แต่เดิมเป็นอาหารของชาวมอญถูกนำมาประยุกต์ให้เป็นอาหารชาววังเมื่อมีการจัดทำข้าวแช่เสวยถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ซึ่งพระองค์ทรงโปรดมาก ข้าวแช่ชาววังสูตรดั้งเดิมปรุงโดยการนำข้าวสารที่ดีที่สุดไปซาวถึง 7 ครั้ง จากนั้นนำมาแช่น้ำเย็นลอยดอกไม้ให้มีกลิ่นหอม รับประทานคู่กับเครื่องเคียงอย่างลูกกะปิทอด พริกหยวกสอด เนื้อเค็มฝอยผัดหวาน ผักกาดเค็มผัดหวาน ปลาแห้งผัดหวาน รวมถึงผักสดแกะสลัก
3. หรุ่ม อาหารชาววังที่ปรากฏอยู่ในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในรัชกาลที่2 ถือเป็นของว่างอย่างหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันหารับประทานได้ยากเนื่องจากมีขั้นตอนในการทำยุ่งยาก เริ่มจากผัดหัวหอมและหมูบดเข้ากับกระเทียม รากผักชีและพริกไทยโขลก จากนั้นห่อด้วยไข่ที่เหวี่ยงบนกระทะจนกลายเป็นร่างแหให้เป็นสี่เหลี่ยมพอดีคำ
4. ถุงทอง อาหารว่างยอดนิยมที่นอกจากมีรสชาติอร่อยแล้วยังมีชื่อที่เป็นสิริมงคลด้วย ทำโดยใช้แป้งแผ่นห่อไส้ที่ประกอบด้วยหมูสับ กุ้งสับ เห็ดหอม แห้ว น้ำตาล รากผักชี กระเทียม น้ำปลา และซีอิ๊วขาว มาผัดรวมกันให้เป็นถุงขนาดพอดีคำ แต่บางสูตรอาจจะเป็นไส้สดก็ได้ เสิร์ฟคู่กับน้ำจิ้มบ๊วยหรือน้ำจิ้มไก่
5. ม้าฮ่อ คือ ของว่างไทยโบราณ แต่เดิมเป็นขนมเคียงกินแกล้มกับผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวจัด นิยมทำในเทศกาลงานบุญและเป็นอาหารในพิธีต่างๆ ตามความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น โดยเฉพาะชุมชนชาวไทยเชื้อสายมอญ ม้าฮ่อ คือผลไม้รสเปรี้ยว หั่นเป็นชิ้นพอดีคำโรยด้วยไส้คล้ายกับสาคูไส้หมู เพียงแต่ม้าฮ่อจะไม่ใส่หัวผักกาดแห้ง ส่วนประกอบสำคัญได้แก่ หมูสับ กุ้งสับ ถั่วลิสงคั่ว หอมแดง ผัดกับเครื่องเทศ ปรุงรสหวานเค็ม โดยกวนให้เหนียว แล้วปั้นเป็นก้อนกลม จากนั้นนำมาวางไว้บนชิ้นสับปะรดหรือ ส้มที่หั่นเป็นชิ้นพอดีคำ นำไส้ใส่ส้มผ่าซีก จะเรียกชื่อใหม่ว่า มังกรคาบแก้ว
ปล. ผิดพลาดประการใด ขออภัยด้วยนะคะ