เราอาจต้องทำตามคำสั่งใคร ตามฐานะหน้าที่ .. แต่ใจของเราเป็นอิสระ ใครก็มาบงการไม่ได้
แต่มีสิ่งหนึ่งที่มีอำนาจเหนือใจเรานั่นก็คือ "ตัณหา"
เจ้าตัณหานั้นบงการให้พวกเราทำอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่ให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ มันสั่งเราตลอดเวลา
คนทั่วๆไปก็ตกเป็นทาสของตัณหา ถูกตัณหาสั่ง ลากไปเลื่อยๆ หาที่สิ้นสุดไม่ได้เลย
คนทั่วๆไปเวลามีตัณหาเกิดขึ้นก็จะแก้ด้วยการตามใจมัน อยากกินก็กิน อยากนอนก็นอน อยากได้ก็แสวงหา
พอตอบสนองมันได้แล้วก็สบายใจ พอมีความสุขความสบายขึ้นมาประเดี๋ยวเดียว เจ้าตัณหาก็จะสั่งงานอันใหม่ทันที
มันเป็นเจ้านายที่ฉลาดมีทั้งให้รางวัลและลงโทษ .. เช่น
ถ้าเราทำตามมันมันจะให้รางวัลคือความสุข(ชั่วครั้งชั่วคราว)
ถ้าเราไม่ทำตามที่มันสั่งนะมันจะลงโทษ อย่างเวลามีความอยากเกิดขึ้น แล้วไม่ได้อย่างที่อยากนะ เราจะมีความทุกข์เกิดขึ้น
ยกตัวอย่าง .. เราไปห้างเจอเห็นกระเป๋า อยากได้มาก ถ้าสนองความอยากได้ก็สุข(ชั่วคราว) ถ้าสนองไม่ได้ก็ผิดหวัง
ตัณหามันเป็นเจ้านายที่เรามองไม่เห็นตัว เราไม่รู้ตัวว่าเป็นทาส
ฉะนั้นการจะปลดปล่อยตัวเองจากความเป็นทาสของตัณหานั้นแทบไม่มีเลย เพราะเราไม่รู้ตัวว่าเป็นทาส
เราก็ถูกมันปกครองโดยที่ไม่รู้ว่ามันกำลังปกครองอยู่ ถือเป็น ที่สุดของการปกครอง
นักบวชสมัยโบราณ เขาก็คิดวิธีขจัดตัณหาออกจากใจ ด้วยการไม่สนองมัน มันอยากกินก็ไม่กิน มันอยากนอนก็ไม่นอน
พระพุทธเจ้าเรียกวิธีนี้ว่าสุดโต่งไปข้าง "อัตตกิลมถานุโยค" คือ ทำตนให้ลำบาก
ส่วนคนทั่วไปก็ขจัดตัณหาด้วยวิธีตามใจตัณหา มันอยากกินก็กิน มันอยากนอนก็นอน
พระพุทธเจ้าเรียกวิธีนี้ว่าสุดโต่งไปข้าง "กามสุขัลลิกานุโยค" คือ ทำตนพัวพันในอยู่กาม
พระพุทธเจ้าทรงเล็งเห็นว่า ทั้งการ บังคับกิเลส(ไม่ตามใจกิเลส) และ ตามใจกิเลส ต่างไม่ใช่วิธีขจัดกิเลสไปจากใจได้
มัชฌิมาปฏิปทา หรือ ทางสายกลาง เป็นวิธีที่พระองค์ทรงดำเนิน และ นำมาแสดง
และทางสุดโต่ง 2 ด้านนี้คือธรรมที่พระองค์ทรงนำมาแสดง ในวันแรกที่หมุนกงล้อแห่งธรรม --> ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ตัณหา เจ้าของโลกตัวจริง ..
แต่มีสิ่งหนึ่งที่มีอำนาจเหนือใจเรานั่นก็คือ "ตัณหา"
เจ้าตัณหานั้นบงการให้พวกเราทำอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่ให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ มันสั่งเราตลอดเวลา
คนทั่วๆไปก็ตกเป็นทาสของตัณหา ถูกตัณหาสั่ง ลากไปเลื่อยๆ หาที่สิ้นสุดไม่ได้เลย
คนทั่วๆไปเวลามีตัณหาเกิดขึ้นก็จะแก้ด้วยการตามใจมัน อยากกินก็กิน อยากนอนก็นอน อยากได้ก็แสวงหา
พอตอบสนองมันได้แล้วก็สบายใจ พอมีความสุขความสบายขึ้นมาประเดี๋ยวเดียว เจ้าตัณหาก็จะสั่งงานอันใหม่ทันที
มันเป็นเจ้านายที่ฉลาดมีทั้งให้รางวัลและลงโทษ .. เช่น
ถ้าเราทำตามมันมันจะให้รางวัลคือความสุข(ชั่วครั้งชั่วคราว)
ถ้าเราไม่ทำตามที่มันสั่งนะมันจะลงโทษ อย่างเวลามีความอยากเกิดขึ้น แล้วไม่ได้อย่างที่อยากนะ เราจะมีความทุกข์เกิดขึ้น
ยกตัวอย่าง .. เราไปห้างเจอเห็นกระเป๋า อยากได้มาก ถ้าสนองความอยากได้ก็สุข(ชั่วคราว) ถ้าสนองไม่ได้ก็ผิดหวัง
ตัณหามันเป็นเจ้านายที่เรามองไม่เห็นตัว เราไม่รู้ตัวว่าเป็นทาส
ฉะนั้นการจะปลดปล่อยตัวเองจากความเป็นทาสของตัณหานั้นแทบไม่มีเลย เพราะเราไม่รู้ตัวว่าเป็นทาส
เราก็ถูกมันปกครองโดยที่ไม่รู้ว่ามันกำลังปกครองอยู่ ถือเป็น ที่สุดของการปกครอง
นักบวชสมัยโบราณ เขาก็คิดวิธีขจัดตัณหาออกจากใจ ด้วยการไม่สนองมัน มันอยากกินก็ไม่กิน มันอยากนอนก็ไม่นอน
พระพุทธเจ้าเรียกวิธีนี้ว่าสุดโต่งไปข้าง "อัตตกิลมถานุโยค" คือ ทำตนให้ลำบาก
ส่วนคนทั่วไปก็ขจัดตัณหาด้วยวิธีตามใจตัณหา มันอยากกินก็กิน มันอยากนอนก็นอน
พระพุทธเจ้าเรียกวิธีนี้ว่าสุดโต่งไปข้าง "กามสุขัลลิกานุโยค" คือ ทำตนพัวพันในอยู่กาม
พระพุทธเจ้าทรงเล็งเห็นว่า ทั้งการ บังคับกิเลส(ไม่ตามใจกิเลส) และ ตามใจกิเลส ต่างไม่ใช่วิธีขจัดกิเลสไปจากใจได้
มัชฌิมาปฏิปทา หรือ ทางสายกลาง เป็นวิธีที่พระองค์ทรงดำเนิน และ นำมาแสดง
และทางสุดโต่ง 2 ด้านนี้คือธรรมที่พระองค์ทรงนำมาแสดง ในวันแรกที่หมุนกงล้อแห่งธรรม --> ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร