อนุปุพพิกถา ๕ คือ ธรรมที่กล่าวเป็นไปโดยธรรมลำดับ หรือธรรมที่สิ่งเนื้อความอย่างลุ่มลึกเรียงไปโดยลำดับ เพื่อขัดเกล่าอัธยาศัยของผู้ฟัง (progressive sermon; graduated sermon; subjects for gradual instruction)
๑. ทานกถา (talk on giving, liberality or charity) คือ ถ้อยคำที่กล่าวถึงเรื่องการแบ่งปัน
๒. สีลกถา (talk on morality or righteousness) คือ ถ้อยคำที่กล่าวถึงเรื่องความประพฤติที่เป็นไปตามปกติแห่งธรรม ปฏิบัติไปตามภาวะแห่งธรรม
๓. สัคคกถา (talk on heavenly pleasures) คือ กล่าวถึงสวรรค์ ความสุขความเจริญ
๔. กามาทีนวกถา (talk on the disadvantages of sensual pleasures) คือ ถ้อยคำที่กล่าวถึงเรื่องกิเลส กาม ตัณหาเป็นสิ่งที่ต้องละ
๕. เนกขัมมานิสังสกถา (talk on the benefits of renouncing sensual pleasures) คือ ถ้อยคำที่กล่าวถึงเรื่องประโยชน์ที่ได้จากการละกาม กิเลส ตัณหา นำไปสู่ปรมัตถธรรม
ตามปกติ พระพุทธเจ้าเมื่อจะทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่คฤหัสถ์ ผู้มีอุปนิสัยสามารถที่จะบรรลุธรรมพิเศษ ทรงแสดงอนุปุพพิกถานี้ก่อน แล้วจึงตรัสแสดงอริยสัจจ์ ๔ เป็นการทำจิตให้พร้อมที่จะรับ ดุจผ้าที่ซักฟอกสะอาดแล้ว ควรรับน้ำย้อมต่างๆ ได้ด้วยดี
๑. การให้ทานก็คือเริ่มฝึกให้มีจาคะ
๒. ข้อห้ามหรือข้อควรที่จะขัดเกลาสิ่งที่ตนเองผิด คือ เกิดการยอมรับว่าตนเองผิดอะไร ควรจะต้องแก้อะไร และถ้ามีคนมาฟังเป็นร้อย พระพุทธเจ้าจะทำยังไง พระองค์ท่านก็จะตรัสเป็นหลักกลางๆ ให้ทุกคนไปขบคิดและปฏิบัติ
๓. กล่าวถึงสวรรค์ คือ ถ้าหากว่าเราทำทั้งข้อ ๑ และข้อ ๒ ก็จะได้ไปอยู่ในสวรรค์ เพื่อเป็นเหตุกุศลให้บุคคลได้ทำทาน และรักษาศีล และข้อ ๓ ก็ทำพร้อมแล้วก็จะขึ้นข้อ ๔ แล้ว
๔. เรื่องโทษแห่งกาม คือ คำว่า "กาม" คือ ความอยาก เป็นตัณหาและกิเลส เป็นการพูดถึงเรื่องลึกขึ้นไปอีก ถ้าคุณอยู่บนสวรรค์คุณต้องละตรงนี้ ถ้ามีตัณหากับกิเลสมากเกินไปก็เสร็จเหมือนกัน เดือดร้อนได้เหมือนกัน ข้อนี้ก็จะให้เห็นโทษของตัณหาและกิเลส
๕. เมื่อละกามแล้วก็จะได้ประโยชน์อะไร นำไปสู่ปรมัตถธรรม
๕ ข้อแรกนี้ให้รู้ภาวะทั่วไปของสัตว์โลกที่เป็นอยู่
๕ ข้อหลัง มีจิตมั่งมุ่นที่จะเรียนรู้ ให้ภูมิขึ้นสูง เข้าสู่ปรมัตถธรรม ได้เรียนรู้แล้ว ๕ ข้อหลังก็จะเป็นมรรค ข้อปฏิบัติแล้ว คือ เริ่มปฏิบัติ ๕ ข้อที่รู้มาให้หนักหน่อย
๖. เข้าใจแล้ว สรุปแล้ว วางทั้งหมด เข้าสู่นิพพาน
๑. ทำไมเราต้องให้ทาน ให้ทานเพราะอะไร เราทำทานเพื่อฝึกอะไร บางคนทำทานก็ยังไม่รู้ว่าฝึกอะไรเลย คือ ฝึกตัวจาคะ ฝึกตัวยอม ไม่ใช่ว่าเราเอาแล้วเหลือแล้วถึงจะให้บุคคลอื่น ให้เขารู้บุญคุณ
เวลานี้ คนทั่วไปให้ทานเพื่อเขาแต่ไม่ใช้เป็นไปเพื่อจาคะ
เช่น เวลาเราให้ทานแก่เขาเราก็จะหวัง เราเขาไม่ไหว้เราเท่านั้นจิตใจก็จะโกรธเคือง อย่างนี้เป็นการให้ทานที่ผิด ไม่ใช่การให้ทานแบบบำเพ็ญ ให้ทานที่ไม่ได้ฝึกฝนตนเอง ให้ทานแบบไม่ได้ขจัดกิเลส ในการจาคะ
นี่แหละไม่ว่าบุคคลนั้นจะมาจากสายไหน พื้นเพเป็นคนยังไง พระพุทธเจ้าก็จะจับมาอาบน้ำชำระล้างตัว คือ ชำระล้างความคิด แล้วจึงจะมาอธิบายอริยสัจ ๔ ต่อ ถ้าพื้นฐานทั้ง ๕ ประการนี้ไม่เพียงพออธิบายอริยสัจ ๔ ไปก็ไม่รู้เรื่อง
ทำไมถึงอธิบายอริยสัจ ๔ ไม่รู้เรื่องเพราะมันเป็นเรื่องไกลตัว ต้องอธิบายให้เห็นเป็นรูปร่างก่อน เช่น การให้ทาน ก็ให้เห็นเป็นรูปร่าง
การให้ทานนั้น ถ้าแบ่งลักษณะประเภทต่างๆ คือ ทาน ๕ สาย ๕ ลักษณะ ทำทานเพื่ออะไร อยากตอบสนองอะไร มีความคิดยังไง ๕ หน้า (รูป) ๕ หลัง (นาม) เข้าสู่ปรมัตถ์
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต
ความเข้าใจ "อนุปุพพิกถา ๕" อย่างลุ่มลึก
๑. ทานกถา (talk on giving, liberality or charity) คือ ถ้อยคำที่กล่าวถึงเรื่องการแบ่งปัน
๒. สีลกถา (talk on morality or righteousness) คือ ถ้อยคำที่กล่าวถึงเรื่องความประพฤติที่เป็นไปตามปกติแห่งธรรม ปฏิบัติไปตามภาวะแห่งธรรม
๓. สัคคกถา (talk on heavenly pleasures) คือ กล่าวถึงสวรรค์ ความสุขความเจริญ
๔. กามาทีนวกถา (talk on the disadvantages of sensual pleasures) คือ ถ้อยคำที่กล่าวถึงเรื่องกิเลส กาม ตัณหาเป็นสิ่งที่ต้องละ
๕. เนกขัมมานิสังสกถา (talk on the benefits of renouncing sensual pleasures) คือ ถ้อยคำที่กล่าวถึงเรื่องประโยชน์ที่ได้จากการละกาม กิเลส ตัณหา นำไปสู่ปรมัตถธรรม
ตามปกติ พระพุทธเจ้าเมื่อจะทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่คฤหัสถ์ ผู้มีอุปนิสัยสามารถที่จะบรรลุธรรมพิเศษ ทรงแสดงอนุปุพพิกถานี้ก่อน แล้วจึงตรัสแสดงอริยสัจจ์ ๔ เป็นการทำจิตให้พร้อมที่จะรับ ดุจผ้าที่ซักฟอกสะอาดแล้ว ควรรับน้ำย้อมต่างๆ ได้ด้วยดี
๑. การให้ทานก็คือเริ่มฝึกให้มีจาคะ
๒. ข้อห้ามหรือข้อควรที่จะขัดเกลาสิ่งที่ตนเองผิด คือ เกิดการยอมรับว่าตนเองผิดอะไร ควรจะต้องแก้อะไร และถ้ามีคนมาฟังเป็นร้อย พระพุทธเจ้าจะทำยังไง พระองค์ท่านก็จะตรัสเป็นหลักกลางๆ ให้ทุกคนไปขบคิดและปฏิบัติ
๓. กล่าวถึงสวรรค์ คือ ถ้าหากว่าเราทำทั้งข้อ ๑ และข้อ ๒ ก็จะได้ไปอยู่ในสวรรค์ เพื่อเป็นเหตุกุศลให้บุคคลได้ทำทาน และรักษาศีล และข้อ ๓ ก็ทำพร้อมแล้วก็จะขึ้นข้อ ๔ แล้ว
๔. เรื่องโทษแห่งกาม คือ คำว่า "กาม" คือ ความอยาก เป็นตัณหาและกิเลส เป็นการพูดถึงเรื่องลึกขึ้นไปอีก ถ้าคุณอยู่บนสวรรค์คุณต้องละตรงนี้ ถ้ามีตัณหากับกิเลสมากเกินไปก็เสร็จเหมือนกัน เดือดร้อนได้เหมือนกัน ข้อนี้ก็จะให้เห็นโทษของตัณหาและกิเลส
๕. เมื่อละกามแล้วก็จะได้ประโยชน์อะไร นำไปสู่ปรมัตถธรรม
๕ ข้อแรกนี้ให้รู้ภาวะทั่วไปของสัตว์โลกที่เป็นอยู่
๕ ข้อหลัง มีจิตมั่งมุ่นที่จะเรียนรู้ ให้ภูมิขึ้นสูง เข้าสู่ปรมัตถธรรม ได้เรียนรู้แล้ว ๕ ข้อหลังก็จะเป็นมรรค ข้อปฏิบัติแล้ว คือ เริ่มปฏิบัติ ๕ ข้อที่รู้มาให้หนักหน่อย
๖. เข้าใจแล้ว สรุปแล้ว วางทั้งหมด เข้าสู่นิพพาน
๑. ทำไมเราต้องให้ทาน ให้ทานเพราะอะไร เราทำทานเพื่อฝึกอะไร บางคนทำทานก็ยังไม่รู้ว่าฝึกอะไรเลย คือ ฝึกตัวจาคะ ฝึกตัวยอม ไม่ใช่ว่าเราเอาแล้วเหลือแล้วถึงจะให้บุคคลอื่น ให้เขารู้บุญคุณ
เวลานี้ คนทั่วไปให้ทานเพื่อเขาแต่ไม่ใช้เป็นไปเพื่อจาคะ
เช่น เวลาเราให้ทานแก่เขาเราก็จะหวัง เราเขาไม่ไหว้เราเท่านั้นจิตใจก็จะโกรธเคือง อย่างนี้เป็นการให้ทานที่ผิด ไม่ใช่การให้ทานแบบบำเพ็ญ ให้ทานที่ไม่ได้ฝึกฝนตนเอง ให้ทานแบบไม่ได้ขจัดกิเลส ในการจาคะ
นี่แหละไม่ว่าบุคคลนั้นจะมาจากสายไหน พื้นเพเป็นคนยังไง พระพุทธเจ้าก็จะจับมาอาบน้ำชำระล้างตัว คือ ชำระล้างความคิด แล้วจึงจะมาอธิบายอริยสัจ ๔ ต่อ ถ้าพื้นฐานทั้ง ๕ ประการนี้ไม่เพียงพออธิบายอริยสัจ ๔ ไปก็ไม่รู้เรื่อง
ทำไมถึงอธิบายอริยสัจ ๔ ไม่รู้เรื่องเพราะมันเป็นเรื่องไกลตัว ต้องอธิบายให้เห็นเป็นรูปร่างก่อน เช่น การให้ทาน ก็ให้เห็นเป็นรูปร่าง
การให้ทานนั้น ถ้าแบ่งลักษณะประเภทต่างๆ คือ ทาน ๕ สาย ๕ ลักษณะ ทำทานเพื่ออะไร อยากตอบสนองอะไร มีความคิดยังไง ๕ หน้า (รูป) ๕ หลัง (นาม) เข้าสู่ปรมัตถ์
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต