ช่วงนี้พอดี กระแสซีพีเขาเริ่มร้อนแรงล่ะนะครับเกี่ยวกับเรื่องธรรมาภิบาลในการทำธุรกิจของเจ้าสัวแก ซึ่งมักจะมีคนใช้คำว่า ผูกขาดๆๆ(ซึ่งส่วนตัวผมว่าชาวบ้านเขาไม่ผิดนะ เพราะภาษาดั้งเดิมเรามันไม่มีคำอื่นจะใช้ในการอธิบาย)ไหนๆก็ไหนๆ ฐานะที่ศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายแข่งขันทางการค้ามาบ้างจึงอยากที่จะมาแลกเปลี่ยนสนทนากับผู้รู้ในเรื่องนี้ และจะได้ทำให้ข้อความคิดในเรื่องนี้กระจ่างกับคนทั่วไปด้วยครับ
ก่อนอื่น intro ซักครับว่า ตามหลักเศรษฐศาสตร์ ตลาดที่ทำงานได้ดี จัดสรรทรัพยากรได้ดี โดยที่นี้คือ การแข่งขันที่สมบูรณ์(หรือเกือบๆ) ...มันทำให้สังคมโดยรวมดีขึ้นครับ แต่เมื่อไหร่ที่ตลาดทำงานไม่ได้สังคมโดยรวมก็จะมีความสุข (สวัสดิการ)ลดลง ซึ่ง "การผูกขาด"เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ ตลาดล้มเหลวได้ครับ จากภาพเราถึงเห็นว่า ความสุขของผู้บริโภคถูกตัดไป แล้วไปเติมให้ผู้ผลิต แต่สังคมกลับเสียโอกาสที่ควรจะได้ไป จากที่เห็นในสีเหลืองๆนั่นล่ะครับ (สำหรับใครที่งงๆ ดูใน spoil นะครับ)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ สมมุติว่าเป็นปากกาแล้วกันครับ เราเป็นคนผลิตปากกา เราคิดว่าเอ้อ เราขายที่4บาทนี่ก็ค้มทุนละ แต่กลับกันทางลูกค้าเราซึ่งมีหลายคน หลายคนยอมจ่ายเงินให้เราเพราะปากกานี้ใช้ดี๊ดี อาจจะจ่ายถึงแท่งละ10บาทก็ได้ สมมุติว่าสุดท้ายตลาดกำหนดราคาปากกาเราที่7 บาท เราคนผลิตที่จาก4บาทเราก็พอใจขาย แต่กลับได้เพิ่มตั้ง3บาท ก็เป็นความสุขของผู้ผลิตที่ได้จากตลาด ส่วนลูกค้าที่จะซื้อ10 9 8บาท ได้ซื้อที่7บาท ก็มีความสุขที่ได้ของถูกลงจากที่เราคาดไว้ นี่คือความสุขที่ระบบตลาดให้เรา ...........แต่สมมุติว่า เราซึ่งเป็นผู้ผลิตปากการายเดียวในประเทศเกาะไม่มีใครแข่งแล้ว เราบอกไม่เอาอ่ะ ขี้เกียจผลิตๆเยอะๆ ผลิตน้อยๆ แล้วขายที่9 บาทดีกว่า เพราะคำนวณแล้วได้กำไรมากกว่าหรือเท่ากันกับที่ผลิตมาแต่ก่อน เราเลยลดการผลิตปากกาซะ ให้คนขาดแคลน ให้ราคามันสูงไปที่9บาท.. แสดงว่าคนเดิมที่ซื้อปากกา 8 บาท 7 บาท ก็ไม่ได้ซื้ออีก หรืออาจตั้งเปลี่ยนพฤติกรรมมาซื้อในระยะยาว ซึ่งความสุขของเขามันจะหายไปครับ แต่คนที่ได้เพิ่มคือ เราที่เป็นผู้ผลิตปากกาผูกขาด แต่ที่น่ากลัวที่สุดคือ สังคมเสียโอกาสที่จะใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดครับ นี่คือ concept พื้นฐาน
ดังนี้ทุกๆประเทศจึงมี กฎหมายและหน่วยงานที่มาดูแลเรื่องนี้ครับ คือ กฎหมายแข่งขันทางการค้า และคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า ครับ (อย่างสหรัฐ เขามีมา 125 ปีแล้วครับ จาก Sherman Act 1890 บ้านเราเพิ่งมีจริงๆจังๆ ก็ พ.ศ. 2542 ส่วนผลงานก็... .. ..
ไม่พูดดีกว่าครับ)
แต่ว่าเพื่อไม่ให้ยืดยาว เนื่องจากจะมีหลายคนบอกว่า "ซีพีไม่ได้ผูกขาด" " ผูกขาดตรงไหน" "คู่แข่งก็มีเยอะแยะ" .... ก็ขอรวบรัดเลยว่า กฎหมายนี้แม้บางประเทศจะเรียก anti-monopoly (เช่น ญี่ปุ่น) แต่จริงๆแล้ว มันไม่ได้ดูแค่ผูกขาดครับ มันเอาไว้ดู "การกระทำที่ส่งผลกระทบต่อการแข่งขันทางการค้า" (anti-competitive conduct) ไม่ว่าจะเป็น การฮั้วของคู่แข่ง (สมมุติชาเขียวทุกเจ้าตกลงกันขายขวดละ 30 บาทหมด) การฮั้วในแนวตั้ง (ซัพพลายเออร์กับไลน์ข้างล่าง เช่น ของนี้ เธอต้องขายชั้นคนเดียว คู่แข่งฉันห้ามขายให้นะ) การควบรวมกิจการ (ซื้อคู่แข่ง ซื้อไลน์การผลิตข้างบนหรือข้างล่าง หรือซื้อไปทั่ว**) และที่น่าสนใจคือ
***"การเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาด"***
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ มาตรา 25 ห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาดกระทำการใน
ลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) กำหนดหรือรักษาระดับราคาซื้อหรือขายสินค้าหรือค่าบริการอย่างไม่
เป็นธรรม
(2) กำหนดเงื่อนไขในลักษณะที่เป็นการบังคับโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม
อย่างไม่เป็นธรรม ให้ผู้ประกอบธุรกิจอื่นซึ่งเป็นลูกค้าของตนต้องจำกัดการบริการ การผลิต การซื้อ
หรือการจำหน่ายสินค้า หรือต้องจำกัดโอกาสในการเลือกซื้อหรือขายสินค้า การได้รับหรือให้
บริการ หรือในการจัดหาสินเชื่อจากผู้ประกอบธุรกิจอื่น
(3) ระงับ ลด หรือจำกัดการบริการ การผลิต การซื้อ การจำหน่าย การส่งมอบ
การนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ทำลายหรือทำให้เสียหายซึ่งสินค้าเพื่อลด
ปริมาณให้ต่ำกว่าความต้องการของตลาด
(4) แทรกแซงการประกอบธุรกิจของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
เรื่องฮั้วๆเราตัดออกไป เพราะอาจไม่เกี่ยวครับ แต่เรื่องผู้มีอำนาจตลาดนี่น่าสนใจ , อำนาจตลาด หรือ อำนาจเหนือตลาด (Dominant Position) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากที่คุณประสบความสำเร็จทางธุรกิจมากๆ หรือตลาดนั้นโดยสภาพทำให้คุณมี สถานะที่สามารถจะ"บิดเบือนกลไกตลาด"ได้ เช่น ลดการผลิตสินค้าเพื่อให้ราคาสูงขึ้น อะไรแบบนี้ แต่การที่คุณใหญ่หรือคุณประสบความสำเร็จทางธุรกิจนั้น "ความสำเร็จทางธุรกิจ ไม่ใช่ความชั่ว"ครับ มันเป็นสิ่งที่คุณควรได้ครับ จากความสามารถ แต่ว่า...การกระทำผิดเพื่อที่จะเอาเปรียบคนอื่นๆในตลาด ไม่ว่าจะคู่แข่ง ผู้ผลิต หรือลูกค้า เพื่อผลประโยชน์ ถือเป็น "ความชั่ว" ซึ่งไม่อาจยอมรับตามกฎหมายฉบับนี้ครับ
ปัญหาที่อาจถกเถียงกันก่อนคือ ปัจจุบัน ซีพี เป็น "ผู้มีอำนาจเหนือตลาดใน ตลาดกิจการขายปลีกหรือยัง" ข้อนี้ ผมไม่ใช่นักวิจัยด้านสถิติ หรือเศรษฐศาสตร์ และไม่มีข้อมูลภาครัฐในมือเรื่องนี้ครับ ลองไปส่องๆดูตามข่าวก่อนๆ ก็ไปพบ เช่น
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1389684185
"แม้ปัจจุบันตลาดคอนวีเนี่ยนสโตร์ "เซเว่นอีเลฟเว่น" จะทิ้งห่างคู่แข่งด้วยการครองส่วนแบ่งตลาดถึง 70% จากตัวเลขสาขาในเดือนมิถุนายน 2556 รวม 7,200 สาขา"
หรือ จาก
http://puesapainvestment.blogspot.com/2013/05/cpall-take-over-makro.html
(แต่อันนี้ ผมไม่เห็นด้วยว่าจะเอา Makro มารวม เพราะ Makro เป็นธุรกิจค้าส่ง ซึ่งอยู่คนละตลาดกัน แต่...พบว่าถ้าตัดออกไป แสดงว่าส่วนแบ่งระหว่าง ซีพี กับ โลตัสจะสูงมากทีเดียว)
จุดนี้ 7- 11 เป็นเจ้าใหญ่ในตลาดค้าปลีกแน่ๆ นี่คือข้อเท็จจริงที่คนไทยไม่อาจปฎิเสธ (แต่เป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาด ตามกฎหมาย"ไทย"รึยัง ผมไม่ทราบนะ) และเราลองกลับไปดู กฎหมาย พรบ. แข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 กันซักหน่อยซิ
--------------
มาตรา 25 ห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาดกระทำการใน
ลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้...
....(2) กำหนดเงื่อนไขในลักษณะที่เป็น
การบังคับโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม
อย่างไม่เป็นธรรม ให้ผู้ประกอบธุรกิจอื่นซึ่งเป็นลูกค้าของตนต้องจำกัดการบริการ การผลิต การซื้อ
หรือการจำหน่ายสินค้า หรือต้องจำกัดโอกาสในการเลือกซื้อหรือขายสินค้า การได้รับหรือให้
บริการ หรือในการจัดหาสินเชื่อจากผู้ประกอบธุรกิจอื่น หรือ
...(4)
แทรกแซงการประกอบธุรกิจของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
-------
คำถามคือ ทุกวันนี้การกระทำของบริษัทต่างๆ ที่ไม่ใช่แค่ซีพีที่ไปจุ้นจ้านกับผลิตภัณฑ์ชาวบ้านเขา ทั้ง house brand ทั้ง บังคับให้ชาวบ้านต้องปรับปรุงนู่นนี่ (แบบเคส มังกรหยก) มันเข้าบทบัญญัติตามกฎหมายหรือยัง?.... ผมไม่ใช่ศาล ผมไม่ใช่คณะกรรมการแข่งขันทางการค้า ผมตัดสินไม่ได้.. นี่คือส่วนแรกที่ตั้งประเด็นไว้ครับ
****แต่อย่างไรก็ดี เนื่องจาก คณะกรรมการแข่งขันทางการค้าสุดที่รักของเรานั้น ได้กำหนดนิยาม ของผู้มีอำนาจเหนือตลาด ตาม "ประกาศคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์การเป็นผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งมีอำนาจเหนือตลาด" คือ "ต้องมีส่วนแบ่งการตลาด เกิน
50% ขึ้นไป.. "
(ซึ่ง absurd มากๆ เพราะมันจะไม่มีใครเป็นตามกฎหมายนี้เลย แม้สมมุติครองส่วนแบ่ง 45% แล้วเจ้าอื่นๆ ถือ 5 10 15 กระจายๆกัน) เหตุนี้จึงอาจเป็นไปได้ว่า ทำไม 7-11 ถึงรอดมายาวนาน (แต่เสนอจะแก้ไข ให้เหลือ30 % นานแล้วครับ แต่ยังไม่แก้ซักที...
)
--------------------------------------------------------------
ส่วนที่สอง การไล่ซื้อกิจการชาวบ้านเขา อันนี้น่าสนใจเหมือนกัน ครับ ผมตั้งเรื่องไว้ว่า "การกระทำที่ส่งผลกระทบต่อการแข่งขัน" นั้น คือหัวใจครับ ไม่ใช่ แค่การผูกขาดครับ ซึ่งในสหรัฐเอง มันมีการกระทำในลักษณะหนึ่งที่ ศาลสหรัฐใช้เรียกคือ "Attempt to monopolize" คือ "การพยายามจะผูกขาด" ก็เป็น "ความชั่ว" ตามกฎหมายแข่งขันครับ จุดนี้สัมพันธ์ในกรณี TESCO LOTUS จากภาพข้างบน ส่วนแบ่งการตลาดของ 7-11 กับ โลตัสใกล้เคียงกันมากและเป็นเจ้าใหญ่สุดของตลาดทั้งคู่ด้วย ถ้าซื้อกิจการโลตัส มันปฎิเสธยังไงว่าไม่ใช่ Attempt to monopolize อันนี้เจ้าสัวก็ต้องไปตอบกับคณะกรรมการ หรือ ศาลกันเอาเองล่ะนะครับ (แต่แกก็ยังไม่ได้ซื้ออ่ะนะครับ แต่ในลักษณะ ไม่รับ ไม่ปฎิเสธ บอก "ขายก็ซื้อ" ผมเลยไม่รู้ว่าจะยังไง)
**** แต่อย่างไรก็ดี Rip ประเทศไทย ภาค2 เนื่องจาก มาตรา 26
มาตรา 26 ห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจกระทำการรวมธุรกิจ อันอาจก่อให้เกิด การผูกขาดหรือความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน
ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ .......
**ประกาศฉบับนี้ ยังไม่เคยมีการออกครับ.... ดังนั้นตอนนี้ ใครจะรวมกิจการอะไรใคร จะซื้ออะไรใคร ก็ซื้อเลยครับ ไม่มีกฎหมายห้ามครับ
ดังนั้นตอนซื้อแมคโครก็เลย ไม่มีประเด็นอะไร เพราะไม่มีกฎหมายอะไรไปยุ่งเขา
---------------------------------------------
แต่นอกจากการรวมธุรกิจเพื่อผูกขาดในตลาดใดตลาดหนึ่งแล้ว ปัจจุบันมีเรื่องที่ถูกส่งไปประชุมถึงผู้ตรวจการแผ่นดิน เกี่ยวกับปรากฎการณ์ที่กำลังก่อตัวคือ "การอำนาจทางเศรษฐกิจที่มากเกินไปของเอกชน" ความหมายก็เป็นในภาพล่ะครับ
จุดนี้ถ้าถามตามกฎหมายแข่งขัน เป็นเรื่อง Conglomerate Firms คือ มีธุรกิจกระจายๆกันไปหลายตลาด เช่น แบงค์ทำเงินฝาก ทำประกัน ทำหลักทรัพย์อะไรแบบนี้ก็ไม่ผิดอะไร กฎหมายแข่งขันไม่ไปยุ่ง ถ้าไม่ได้ทำอะไรผิด... แต่ถ้าคนๆเดียว หรือตระกูลๆเดียว คุมหัวจักรเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น อสังหาฯ การโทรคมนาคม ค้าส่งค้าปลีก รวมถึงธุรกิจอื่นๆที่สำคัญทางเศรษฐกิจ จนมีอำนาจขึ้นมาเทียบเท่ารัฐ จะทำยังไง ตัวอย่างที่น่าสนใจ อาจจะเป็น Walmart ของสหรัฐ แต่จะเป็นอย่างไรนั้น คงจะต้องถกเถียงกันต่อไปครับ // เจ้าสัวแกก็จะไปประมูลรถไฟฟามเร็วสูง+ซื้อพื้นที่ไปพัฒนาอะไรของแก ก็อาจเป็นก้าวที่น่าสนใจนะครับ
------------------------------------------------------
ส่วนสุดท้าย อันนี้ออกแนวบ่นๆ หน่อยนะครับ เพราะตามกฎหมายผมตีความไม่ออกว่าจะใช้อะไร ตามกฎหมายแข่งขัน หรือข้อสัญญาไม่เป็นธรรม(เพราะไม่เข้า) คือ ปัญหาข้อสัญญาไม่เป็นธรรมเรื่อง "ค่าเชลฟ์หรือการวางเชลฟ์" บนซุปเปอร์ ห้างค้าปลีก ซึ่งร้องเรียนกันเยอะมาก จากคำบอกเล่าของอาจารย์ผม (อนุฯคณะกรรมการแข่งขัน) ว่าคิดกัน30% แล้วเสียค่าวางก็แล้ว ยังต้องทำยอดให้ได้อีก ไม่งั้นโดนถอดออกจากชั้นทั้งที่เงินก็จ่าย จ่ายเงินคืนก็ช้าทั้งที่เอาของไป อันนี้คงเป็นกันทุกเจ้า แต่ว่าแค่ "บ่น" แทนผู้ประกอบการเค้าน่ะครับ
--------------------------------------------------------
หลังจากนี้ก็เปิดให้มาสนทนากันครับ เผื่อใครมีข้อมูล หรือมีอะไรจะมาแลกเปลี่ยนกันในปัญหานี้ หรือโต้แย้งก็เชิญครับ
Discuss ว่าด้วยการมีอำนาจเหนือตลาดของ ซีพี ในเชิงวิชาการซักหน่อยดีไหมครับ? (ห้ามดราม่านะครับ)
ก่อนอื่น intro ซักครับว่า ตามหลักเศรษฐศาสตร์ ตลาดที่ทำงานได้ดี จัดสรรทรัพยากรได้ดี โดยที่นี้คือ การแข่งขันที่สมบูรณ์(หรือเกือบๆ) ...มันทำให้สังคมโดยรวมดีขึ้นครับ แต่เมื่อไหร่ที่ตลาดทำงานไม่ได้สังคมโดยรวมก็จะมีความสุข (สวัสดิการ)ลดลง ซึ่ง "การผูกขาด"เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ ตลาดล้มเหลวได้ครับ จากภาพเราถึงเห็นว่า ความสุขของผู้บริโภคถูกตัดไป แล้วไปเติมให้ผู้ผลิต แต่สังคมกลับเสียโอกาสที่ควรจะได้ไป จากที่เห็นในสีเหลืองๆนั่นล่ะครับ (สำหรับใครที่งงๆ ดูใน spoil นะครับ)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ดังนี้ทุกๆประเทศจึงมี กฎหมายและหน่วยงานที่มาดูแลเรื่องนี้ครับ คือ กฎหมายแข่งขันทางการค้า และคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า ครับ (อย่างสหรัฐ เขามีมา 125 ปีแล้วครับ จาก Sherman Act 1890 บ้านเราเพิ่งมีจริงๆจังๆ ก็ พ.ศ. 2542 ส่วนผลงานก็... .. ..ไม่พูดดีกว่าครับ)
แต่ว่าเพื่อไม่ให้ยืดยาว เนื่องจากจะมีหลายคนบอกว่า "ซีพีไม่ได้ผูกขาด" " ผูกขาดตรงไหน" "คู่แข่งก็มีเยอะแยะ" .... ก็ขอรวบรัดเลยว่า กฎหมายนี้แม้บางประเทศจะเรียก anti-monopoly (เช่น ญี่ปุ่น) แต่จริงๆแล้ว มันไม่ได้ดูแค่ผูกขาดครับ มันเอาไว้ดู "การกระทำที่ส่งผลกระทบต่อการแข่งขันทางการค้า" (anti-competitive conduct) ไม่ว่าจะเป็น การฮั้วของคู่แข่ง (สมมุติชาเขียวทุกเจ้าตกลงกันขายขวดละ 30 บาทหมด) การฮั้วในแนวตั้ง (ซัพพลายเออร์กับไลน์ข้างล่าง เช่น ของนี้ เธอต้องขายชั้นคนเดียว คู่แข่งฉันห้ามขายให้นะ) การควบรวมกิจการ (ซื้อคู่แข่ง ซื้อไลน์การผลิตข้างบนหรือข้างล่าง หรือซื้อไปทั่ว**) และที่น่าสนใจคือ ***"การเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาด"***
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เรื่องฮั้วๆเราตัดออกไป เพราะอาจไม่เกี่ยวครับ แต่เรื่องผู้มีอำนาจตลาดนี่น่าสนใจ , อำนาจตลาด หรือ อำนาจเหนือตลาด (Dominant Position) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากที่คุณประสบความสำเร็จทางธุรกิจมากๆ หรือตลาดนั้นโดยสภาพทำให้คุณมี สถานะที่สามารถจะ"บิดเบือนกลไกตลาด"ได้ เช่น ลดการผลิตสินค้าเพื่อให้ราคาสูงขึ้น อะไรแบบนี้ แต่การที่คุณใหญ่หรือคุณประสบความสำเร็จทางธุรกิจนั้น "ความสำเร็จทางธุรกิจ ไม่ใช่ความชั่ว"ครับ มันเป็นสิ่งที่คุณควรได้ครับ จากความสามารถ แต่ว่า...การกระทำผิดเพื่อที่จะเอาเปรียบคนอื่นๆในตลาด ไม่ว่าจะคู่แข่ง ผู้ผลิต หรือลูกค้า เพื่อผลประโยชน์ ถือเป็น "ความชั่ว" ซึ่งไม่อาจยอมรับตามกฎหมายฉบับนี้ครับ
ปัญหาที่อาจถกเถียงกันก่อนคือ ปัจจุบัน ซีพี เป็น "ผู้มีอำนาจเหนือตลาดใน ตลาดกิจการขายปลีกหรือยัง" ข้อนี้ ผมไม่ใช่นักวิจัยด้านสถิติ หรือเศรษฐศาสตร์ และไม่มีข้อมูลภาครัฐในมือเรื่องนี้ครับ ลองไปส่องๆดูตามข่าวก่อนๆ ก็ไปพบ เช่น
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1389684185
"แม้ปัจจุบันตลาดคอนวีเนี่ยนสโตร์ "เซเว่นอีเลฟเว่น" จะทิ้งห่างคู่แข่งด้วยการครองส่วนแบ่งตลาดถึง 70% จากตัวเลขสาขาในเดือนมิถุนายน 2556 รวม 7,200 สาขา"
หรือ จาก http://puesapainvestment.blogspot.com/2013/05/cpall-take-over-makro.html
(แต่อันนี้ ผมไม่เห็นด้วยว่าจะเอา Makro มารวม เพราะ Makro เป็นธุรกิจค้าส่ง ซึ่งอยู่คนละตลาดกัน แต่...พบว่าถ้าตัดออกไป แสดงว่าส่วนแบ่งระหว่าง ซีพี กับ โลตัสจะสูงมากทีเดียว)
จุดนี้ 7- 11 เป็นเจ้าใหญ่ในตลาดค้าปลีกแน่ๆ นี่คือข้อเท็จจริงที่คนไทยไม่อาจปฎิเสธ (แต่เป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาด ตามกฎหมาย"ไทย"รึยัง ผมไม่ทราบนะ) และเราลองกลับไปดู กฎหมาย พรบ. แข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 กันซักหน่อยซิ
--------------
มาตรา 25 ห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาดกระทำการใน
ลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้...
....(2) กำหนดเงื่อนไขในลักษณะที่เป็น การบังคับโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม
อย่างไม่เป็นธรรม ให้ผู้ประกอบธุรกิจอื่นซึ่งเป็นลูกค้าของตนต้องจำกัดการบริการ การผลิต การซื้อ
หรือการจำหน่ายสินค้า หรือต้องจำกัดโอกาสในการเลือกซื้อหรือขายสินค้า การได้รับหรือให้
บริการ หรือในการจัดหาสินเชื่อจากผู้ประกอบธุรกิจอื่น หรือ
...(4) แทรกแซงการประกอบธุรกิจของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
-------
คำถามคือ ทุกวันนี้การกระทำของบริษัทต่างๆ ที่ไม่ใช่แค่ซีพีที่ไปจุ้นจ้านกับผลิตภัณฑ์ชาวบ้านเขา ทั้ง house brand ทั้ง บังคับให้ชาวบ้านต้องปรับปรุงนู่นนี่ (แบบเคส มังกรหยก) มันเข้าบทบัญญัติตามกฎหมายหรือยัง?.... ผมไม่ใช่ศาล ผมไม่ใช่คณะกรรมการแข่งขันทางการค้า ผมตัดสินไม่ได้.. นี่คือส่วนแรกที่ตั้งประเด็นไว้ครับ
****แต่อย่างไรก็ดี เนื่องจาก คณะกรรมการแข่งขันทางการค้าสุดที่รักของเรานั้น ได้กำหนดนิยาม ของผู้มีอำนาจเหนือตลาด ตาม "ประกาศคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์การเป็นผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งมีอำนาจเหนือตลาด" คือ "ต้องมีส่วนแบ่งการตลาด เกิน 50% ขึ้นไป.. "
(ซึ่ง absurd มากๆ เพราะมันจะไม่มีใครเป็นตามกฎหมายนี้เลย แม้สมมุติครองส่วนแบ่ง 45% แล้วเจ้าอื่นๆ ถือ 5 10 15 กระจายๆกัน) เหตุนี้จึงอาจเป็นไปได้ว่า ทำไม 7-11 ถึงรอดมายาวนาน (แต่เสนอจะแก้ไข ให้เหลือ30 % นานแล้วครับ แต่ยังไม่แก้ซักที...)
--------------------------------------------------------------
ส่วนที่สอง การไล่ซื้อกิจการชาวบ้านเขา อันนี้น่าสนใจเหมือนกัน ครับ ผมตั้งเรื่องไว้ว่า "การกระทำที่ส่งผลกระทบต่อการแข่งขัน" นั้น คือหัวใจครับ ไม่ใช่ แค่การผูกขาดครับ ซึ่งในสหรัฐเอง มันมีการกระทำในลักษณะหนึ่งที่ ศาลสหรัฐใช้เรียกคือ "Attempt to monopolize" คือ "การพยายามจะผูกขาด" ก็เป็น "ความชั่ว" ตามกฎหมายแข่งขันครับ จุดนี้สัมพันธ์ในกรณี TESCO LOTUS จากภาพข้างบน ส่วนแบ่งการตลาดของ 7-11 กับ โลตัสใกล้เคียงกันมากและเป็นเจ้าใหญ่สุดของตลาดทั้งคู่ด้วย ถ้าซื้อกิจการโลตัส มันปฎิเสธยังไงว่าไม่ใช่ Attempt to monopolize อันนี้เจ้าสัวก็ต้องไปตอบกับคณะกรรมการ หรือ ศาลกันเอาเองล่ะนะครับ (แต่แกก็ยังไม่ได้ซื้ออ่ะนะครับ แต่ในลักษณะ ไม่รับ ไม่ปฎิเสธ บอก "ขายก็ซื้อ" ผมเลยไม่รู้ว่าจะยังไง)
**** แต่อย่างไรก็ดี Rip ประเทศไทย ภาค2 เนื่องจาก มาตรา 26
มาตรา 26 ห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจกระทำการรวมธุรกิจ อันอาจก่อให้เกิด การผูกขาดหรือความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ .......
**ประกาศฉบับนี้ ยังไม่เคยมีการออกครับ.... ดังนั้นตอนนี้ ใครจะรวมกิจการอะไรใคร จะซื้ออะไรใคร ก็ซื้อเลยครับ ไม่มีกฎหมายห้ามครับ ดังนั้นตอนซื้อแมคโครก็เลย ไม่มีประเด็นอะไร เพราะไม่มีกฎหมายอะไรไปยุ่งเขา
---------------------------------------------
แต่นอกจากการรวมธุรกิจเพื่อผูกขาดในตลาดใดตลาดหนึ่งแล้ว ปัจจุบันมีเรื่องที่ถูกส่งไปประชุมถึงผู้ตรวจการแผ่นดิน เกี่ยวกับปรากฎการณ์ที่กำลังก่อตัวคือ "การอำนาจทางเศรษฐกิจที่มากเกินไปของเอกชน" ความหมายก็เป็นในภาพล่ะครับ
จุดนี้ถ้าถามตามกฎหมายแข่งขัน เป็นเรื่อง Conglomerate Firms คือ มีธุรกิจกระจายๆกันไปหลายตลาด เช่น แบงค์ทำเงินฝาก ทำประกัน ทำหลักทรัพย์อะไรแบบนี้ก็ไม่ผิดอะไร กฎหมายแข่งขันไม่ไปยุ่ง ถ้าไม่ได้ทำอะไรผิด... แต่ถ้าคนๆเดียว หรือตระกูลๆเดียว คุมหัวจักรเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น อสังหาฯ การโทรคมนาคม ค้าส่งค้าปลีก รวมถึงธุรกิจอื่นๆที่สำคัญทางเศรษฐกิจ จนมีอำนาจขึ้นมาเทียบเท่ารัฐ จะทำยังไง ตัวอย่างที่น่าสนใจ อาจจะเป็น Walmart ของสหรัฐ แต่จะเป็นอย่างไรนั้น คงจะต้องถกเถียงกันต่อไปครับ // เจ้าสัวแกก็จะไปประมูลรถไฟฟามเร็วสูง+ซื้อพื้นที่ไปพัฒนาอะไรของแก ก็อาจเป็นก้าวที่น่าสนใจนะครับ
------------------------------------------------------
ส่วนสุดท้าย อันนี้ออกแนวบ่นๆ หน่อยนะครับ เพราะตามกฎหมายผมตีความไม่ออกว่าจะใช้อะไร ตามกฎหมายแข่งขัน หรือข้อสัญญาไม่เป็นธรรม(เพราะไม่เข้า) คือ ปัญหาข้อสัญญาไม่เป็นธรรมเรื่อง "ค่าเชลฟ์หรือการวางเชลฟ์" บนซุปเปอร์ ห้างค้าปลีก ซึ่งร้องเรียนกันเยอะมาก จากคำบอกเล่าของอาจารย์ผม (อนุฯคณะกรรมการแข่งขัน) ว่าคิดกัน30% แล้วเสียค่าวางก็แล้ว ยังต้องทำยอดให้ได้อีก ไม่งั้นโดนถอดออกจากชั้นทั้งที่เงินก็จ่าย จ่ายเงินคืนก็ช้าทั้งที่เอาของไป อันนี้คงเป็นกันทุกเจ้า แต่ว่าแค่ "บ่น" แทนผู้ประกอบการเค้าน่ะครับ
--------------------------------------------------------
หลังจากนี้ก็เปิดให้มาสนทนากันครับ เผื่อใครมีข้อมูล หรือมีอะไรจะมาแลกเปลี่ยนกันในปัญหานี้ หรือโต้แย้งก็เชิญครับ