Facebook Page : ศาสนวิทยา dr.Sinchai Chaojaroenrat
การหมกเม็ดเรื่องเสรีภาพทางศาสนาในรัฐธรรมนูญไทย
มีคนถามว่า "การที่รัฐธรรมนูญของประเทศไทยบัญญัติว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนา
ถ้าเช่นนั้น คนไทยอยากจะก่อตั้งพุทธศาสนานิกายใหม่ หรือนำเข้าพุทธนิกายใหม่ ในประเทศไทย ได้หรือไม่?"
ขอตอบว่า ไม่ได้ เหตุผลก็คือ เพราะมี "พระราชบัญญัติคณะสงฆ์" เป็นข้อจำกัดอยู่
ขออธิบายเพิ่มเติมเป็นขั้นๆ ดังนี้ว่า
ขั้นแรก แม้รัฐธรรมนูญจะบัญญัติให้ประชาชนมีเสรีภาพทางศาสนา แต่รัฐธรรมนูญก็ได้บัญญัติแสดงความมุ่งหมายไว้ด้วยว่า
การใช้เสรีภาพดังกล่าวจะต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมือง และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ต่อมา "พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฯ" ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ป้องกันมิให้บุคคลผู้มีเจตนาไม่สุจริตอาศัยร่มเงาพระพุทธศาสนาหาประโยชน์ใส่ตน อันเป็นต้นเหตุให้เสื่อมศรัทธาแก่ผู้ที่มีศรัทธาอยู่แล้ว
และไม่ก่อเกิดศรัทธาแก่ผู้ที่ไม่มีศรัทธามาก่อน ฉะนั้น พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฯ จึงถูกถือว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
ขั้นสุดท้าย พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฯ มาตรา 18 บัญญัติให้ มหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ไม่ปรากฏบทบัญญัติมาตราใดให้สิทธิพระภิกษุสงฆ์ไทยประกาศแยกตน ไม่ยอมอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฯ
อยากชี้ให้เห็นว่า ต่อให้รัฐธรรมนูญบัญญัติให้คนไทยมีเสรีภาพทางศาสนาขนาดไหนก็ตาม มันก็ยังไม่มีเสรีภาพจริง
เพราะมันถูกบัญญัติชี้เจตนาไปด้วยว่า เสรีภาพทางศาสนาดังกล่าวต้อง "ไม่ขัดกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน"
เพราะคำถามที่ตามมาคือ ใครจะเป็นคนกำหนดล่ะ ว่าอะไรสิ่งที่ขัดกับ "ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี" ดังกล่าว?
เสร็จแล้วก็ตามมาด้วยการออก "พระราชบัญญัติองค์กรศาสนา" มากำหนดว่า ใครคือผู้มีอำนาจในกำหนด ตัดสิน ควบคุม เรื่องของศาสนาต่างๆ
ทุกวันนี้ที่มีแล้วก็ได้แก่ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 (ฉบับสอง พ.ศ.2535) มีเพื่อควบคุมองค์กรของศาสนาพุทธ
นอกจากนี้ยังมีการพยายามออก พรบ.อุปถัมป์และคุ้มครองพุทธศาสนาอีกด้วย
พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.2540 เพื่อควบคุมองค์กรศาสนาอิสลาม
ทางฝ่ายคริสต์ มีพระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณะของวัด บาทหลวงโรมันคาธอลิค ในกรุงสยาม ตามกฎหมาย ร.ศ.128
นอกจากนี้ก็ยังกำลังพยายามเสนอ ร่าง พ.ร.บ.การบริหารองค์กรศาสนาคริสต์ โดยพยายามให้คล้ายกับของ พรบ.อิสลามด้วย
พรบ.เหล่านี้เมื่อออกมาได้ก็เท่ากับว่า องค์กรเหล่านี้เป็นผู้มีอำนาจในการควบคุมศาสนาชื่อนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นพุทธ คริสต์ หรืออิสลาม
ห้ามใครในศาสนาเหล่านี้ออกนอกแถว ห้ามตีความแตกต่าง ห้ามตั้งตนเป็นเอกเทศ ห้ามตั้งนิกายใหม่ เว้นแต่จะไปตั้งศาสนาใหม่เสียเลย
ฉะนั้น เสรีภาพทางศาสนาของไทย จึงไม่ใช่เสรีภาพทางศาสนาที่แท้จริง ไม่เหมือนกับอารยประเทศ
ถือได้ว่า นี่คือ การหมกเม็ดเรื่องเสรีภาพทางศาสนาในรัฐธรรมนูญไทย
ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์
การหมกเม็ดเรื่องเสรีภาพทางศาสนาในรัฐธรรมนูญไทย - ดร.ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์
การหมกเม็ดเรื่องเสรีภาพทางศาสนาในรัฐธรรมนูญไทย
มีคนถามว่า "การที่รัฐธรรมนูญของประเทศไทยบัญญัติว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนา
ถ้าเช่นนั้น คนไทยอยากจะก่อตั้งพุทธศาสนานิกายใหม่ หรือนำเข้าพุทธนิกายใหม่ ในประเทศไทย ได้หรือไม่?"
ขอตอบว่า ไม่ได้ เหตุผลก็คือ เพราะมี "พระราชบัญญัติคณะสงฆ์" เป็นข้อจำกัดอยู่
ขออธิบายเพิ่มเติมเป็นขั้นๆ ดังนี้ว่า
ขั้นแรก แม้รัฐธรรมนูญจะบัญญัติให้ประชาชนมีเสรีภาพทางศาสนา แต่รัฐธรรมนูญก็ได้บัญญัติแสดงความมุ่งหมายไว้ด้วยว่า
การใช้เสรีภาพดังกล่าวจะต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมือง และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ต่อมา "พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฯ" ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ป้องกันมิให้บุคคลผู้มีเจตนาไม่สุจริตอาศัยร่มเงาพระพุทธศาสนาหาประโยชน์ใส่ตน อันเป็นต้นเหตุให้เสื่อมศรัทธาแก่ผู้ที่มีศรัทธาอยู่แล้ว
และไม่ก่อเกิดศรัทธาแก่ผู้ที่ไม่มีศรัทธามาก่อน ฉะนั้น พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฯ จึงถูกถือว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
ขั้นสุดท้าย พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฯ มาตรา 18 บัญญัติให้ มหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ไม่ปรากฏบทบัญญัติมาตราใดให้สิทธิพระภิกษุสงฆ์ไทยประกาศแยกตน ไม่ยอมอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฯ
อยากชี้ให้เห็นว่า ต่อให้รัฐธรรมนูญบัญญัติให้คนไทยมีเสรีภาพทางศาสนาขนาดไหนก็ตาม มันก็ยังไม่มีเสรีภาพจริง
เพราะมันถูกบัญญัติชี้เจตนาไปด้วยว่า เสรีภาพทางศาสนาดังกล่าวต้อง "ไม่ขัดกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน"
เพราะคำถามที่ตามมาคือ ใครจะเป็นคนกำหนดล่ะ ว่าอะไรสิ่งที่ขัดกับ "ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี" ดังกล่าว?
เสร็จแล้วก็ตามมาด้วยการออก "พระราชบัญญัติองค์กรศาสนา" มากำหนดว่า ใครคือผู้มีอำนาจในกำหนด ตัดสิน ควบคุม เรื่องของศาสนาต่างๆ
ทุกวันนี้ที่มีแล้วก็ได้แก่ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 (ฉบับสอง พ.ศ.2535) มีเพื่อควบคุมองค์กรของศาสนาพุทธ
นอกจากนี้ยังมีการพยายามออก พรบ.อุปถัมป์และคุ้มครองพุทธศาสนาอีกด้วย
พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.2540 เพื่อควบคุมองค์กรศาสนาอิสลาม
ทางฝ่ายคริสต์ มีพระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณะของวัด บาทหลวงโรมันคาธอลิค ในกรุงสยาม ตามกฎหมาย ร.ศ.128
นอกจากนี้ก็ยังกำลังพยายามเสนอ ร่าง พ.ร.บ.การบริหารองค์กรศาสนาคริสต์ โดยพยายามให้คล้ายกับของ พรบ.อิสลามด้วย
พรบ.เหล่านี้เมื่อออกมาได้ก็เท่ากับว่า องค์กรเหล่านี้เป็นผู้มีอำนาจในการควบคุมศาสนาชื่อนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นพุทธ คริสต์ หรืออิสลาม
ห้ามใครในศาสนาเหล่านี้ออกนอกแถว ห้ามตีความแตกต่าง ห้ามตั้งตนเป็นเอกเทศ ห้ามตั้งนิกายใหม่ เว้นแต่จะไปตั้งศาสนาใหม่เสียเลย
ฉะนั้น เสรีภาพทางศาสนาของไทย จึงไม่ใช่เสรีภาพทางศาสนาที่แท้จริง ไม่เหมือนกับอารยประเทศ
ถือได้ว่า นี่คือ การหมกเม็ดเรื่องเสรีภาพทางศาสนาในรัฐธรรมนูญไทย
ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์