ปัจจุบันแม้ว่าอินโดนีเซียจะเป็นประเทศที่มี ผู้นับถือศาสนาอิสลามมากที่สุดในโลก แต่ถึงกระนั้น ชาวมุสลิมก็ได้ให้การยอมรับพระพุทธศาสนาว่าเป็น รากฐานของอารยธรรมอันเก่าแก่ของตน โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง จากเหตุการณ์สำคัญในปี พ.ศ. ๒๓๕๗ ที่ได้มีการค้นพบเจดีย์บรมพุทโธ ที่ถูกทิ้งร้างอยู่กลางป่าลึก ซึ่งต่อมารัฐบาลอินโดนีเซียได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ร่วมกับองค์การยูเนสโก จนกระทั่ง โบราณสถานแห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
นอกจากนี้ การค้นพบบรมพุทโธยังมีส่วนสำคัญ ต่อการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศอินโดนีเซียเพราะนับตั้งแต่มีการค้นพบบรมพุทโธ คณะสงฆ์และชาวพุทธจากประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทย ได้พยายามเข้าไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินโดนีเซีย อยู่เป็นระยะ ๆ อีกทั้งชาวพุทธที่นั่นแม้จะมีจำนวนน้อย แต่ก็มีการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นองค์กรที่ชัดเจน ผนวกกับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นต้นมา รัฐบาลอินโดนีเซียเริ่มมีนโยบายที่ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาอื่น ๆ นอกจากศาสนาอิสลามแก่ประชาชน มากยิ่งขึ้น ดังตัวอย่างของศาสนาพุทธที่รัฐบาลอินโดนีเซียได้ให้การสนับสนุนการจัดงานเฉลิมฉลอง เนื่องในวันวิสาขบูชา และยังได้ประกาศยกย่องให้วันนี้เป็นวันหยุดแห่งชาติอีกด้วย
การจัดงานวิสาขบูชาของประเทศอินโดนีเซียในปีนี้ ถือเป็นงานประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๓ (อินโดนีเซีย นับปีพุทธศักราชตั้งแต่ปีที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน ส่วนไทยนับหลังจากนั้น ๑ ปี) ซึ่งงานนี้ทางรัฐบาลอินโดนีเซียได้ให้การสนับสนุนอย่างเป็นทางการ โดยมีสมาคมชาวพุทธแห่งอินโดนีเซีย หรือที่นิยมเรียกกันว่า วาลูบี (WALUBI) รับหน้าที่ในการจัดงาน ซึ่งทางวาลูบีได้เชิญมูลนิธิธรรมกายให้ส่งคณะสงฆ์และคณะกัลยาณมิตรไปร่วมงานนี้ด้วย
งานวันวิสาขบูชาของประเทศอินโดนีเซียปีนี้จัดขึ้นตรงกับวันเสาร์ที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ตามปฏิทินของประเทศไทย พิธีเริ่มต้นขึ้นในช่วงบ่าย ที่วัดเมินดุด ซึ่งอยู่ห่างจากเจดีย์บรมพุทโธไปประมาณ ๕ กิโลเมตร ซึ่งมีการสวดมนต์ร่วมกันของคณะสงฆ์ จากทุกนิกายทั่วประเทศอินโดนีเซียจำนวน ๒๓ รูป และคณะพุทธบุตรที่เดินทางมาจากนานาชาติ ซึ่งรวมถึงคณะพุทธบุตรจากวัดพระธรรมกายด้วย หลังจากนั้น คณะสงฆ์และชาวพุทธขององค์กรต่างๆ ได้ตั้งริ้วขบวนเดินทางจากวัดเมินดุดไปยังบรมพุทโธ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ซึ่งแม้ว่าฝนจะตกหนักตั้งแต่ เริ่มต้นจนถึงที่หมาย แต่ผู้เข้าร่วมขบวนทุกคนก็ยังคง ก้าวเดินต่อไปด้วยหัวใจที่เบิกบานและปลื้มปีติในบุญ ที่ได้มีโอกาสมาเยือนพุทธสถานอันศักดิ์สิทธิ์และ ยิ่งใหญ่อย่างเช่นบรมพุทโธนี้
นอกจากนี้ สิ่งที่ทำให้คณะสงฆ์และชาวพุทธจากทุกองค์กรรู้สึกประทับใจเป็นอย่างยิ่งก็คือ ขณะ ที่กำลังเดินไปยังบรมพุทโธ ตลอดสองข้างทางจะมีชาวท้องถิ่นมายืนคอยชมริ้วขบวนกันอย่างเนืองแน่น ซึ่งทุกคนต่างมีสีหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส บางคนถึงกับ พนมมือไหว้พุทธบุตรที่เดินผ่านไปด้วยความเลื่อมใส ศรัทธาก็มี ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า ชาวอินโดนีเซีย ส่วนใหญ่นั้นเป็นผู้ที่มีจิตใจอันงดงาม ซึ่งแม้ว่าชาวอิสลามและชาวพุทธจะมีคำสอน และความเชื่อที่ผิดแผกแตกต่างกันไปก็ตามที แต่สิ่งเหล่านี้ก็หาได้เป็นอุปสรรคต่อมิตรภาพระหว่างศาสนิกทั้งสองแต่อย่างใด
หลังจากที่ได้เดินทางไปถึงเจดีย์บรมพุทโธ ในช่วงประมาณ ๑๗.๓๐ น. คณะจากมูลนิธิธรรมกาย ได้เตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ เพื่อเข้าร่วมพิธี ในภาคค่ำที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อเวลา ๑๙.๐๐ น. ซึ่งเป็น การกล่าวต้อนรับและการกล่าวสุนทรพจน์จากคณะ ผู้จัดงานและบรรดาบุคคลสำคัญ แต่ที่เป็นไฮไลต์ ของงานก็คือ การขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ต่อหน้าชาวพุทธ เป็นจำนวนมากของ ฯพณฯ ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน ประธานาธิบดีของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นอิสลามิกชน การให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีของ ฯพณฯ ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน ในค่ำคืนนี้ นับเป็นการสะท้อนถึงนโยบายของรัฐบาลอินโดนีเซียที่ได้ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา และการจัดกิจกรรมของชาวพุทธ ได้อย่างชัดเจนที่สุด
หลังจากที่การแสดงนาฏศิลป์จากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียนได้เสร็จสิ้นลง ก็มาถึงพิธีสำคัญที่ ทุกคนต่างเฝ้ารอคอย นั่นก็คือ พิธีจุดประทีปและโคมลอย และพิธีเวียนประทักษิณรอบบรมพุทโธ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นโดยทีมงานของมูลนิธิธรรมกาย ที่ได้รับความสนใจจาก ชาวพุทธนานาชาติ รวมถึงสื่อมวลชนของอินโดนีเซีย ที่เข้าร่วมพิธีกันอย่างคับคั่ง ภาพของแสงโคมน้อยๆ ที่ถูกจุดขึ้นบนลานธรรมที่มีบรมพุทโธเป็นฉากหลัง ช่างเป็นภาพอันงดงามและติดตาตรึงใจผู้ที่ได้พบเห็น ยิ่งนัก เมื่อถึงเวลาอันเป็นมงคล ท่านประธานสงฆ์คือ บันเต วงศ์สิน ลาภิโค พระภิกษุไทยซึ่งเป็นที่เคารพ และรู้จักกันดีของชาวอินโดนีเซีย ได้นำคณะสงฆ์ และสาธุชนสวดมนต์ เจริญภาวนา และแผ่เมตตา พิธีกรรมทั้งหมดเป็นไปด้วยความสงบ และก่อให้เกิด สันติสุขภายในแก่ผู้เข้าร่วมพิธีกรรมทุกคน
เมื่อถึงเวลา ๒๑.๓๐ น. โคมลอยนับร้อยได้ถูกจุดขึ้น และค่อย ๆ ลอยขึ้นไปส่องสว่างอยู่บนฟากฟ้า ซึ่งเป็นประดุจสัญญาณว่า บัดนี้ประทีปแห่ง ธรรมได้ถูกจุดขึ้นแล้ว และพุทธศาสนากำลังจะหวน กลับมาโชติช่วงอีกครั้ง ณ มหาเจดีย์แห่งนี้ งานบุญ วันวิสาขบูชาที่อินโดนีเซียปีนี้ ปิดท้ายด้วยพิธีเวียนประทักษิณรอบบรมพุทโธ โดยคณะสงฆ์ได้เดินนำสาธุชนเวียนประทักษิณรอบมหาเจดีย์เป็นระยะทางถึง ๒.๕ กิโลเมตร ท่ามกลางบรรยากาศอันศักดิ์สิทธิ์ของพุทธสถานที่เป็นมรดกโลกแห่งนี้ ซึ่งเป็นที่น่ายินดี อย่างยิ่งว่า ภาพการจัดงานของมูลนิธิธรรมกายได้รับ การตีพิมพ์ลงหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์อินโดนีเซียหลายฉบับในวันรุ่งขึ้นอีกด้วย
การเดินทางไปร่วมงานวันวิสาขบูชาที่ประเทศ อินโดนีเซียของคณะพุทธบุตรและกัลยาณมิตรในครั้งนี้ นับได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง เพราะ ได้มีโอกาสเชื่อมสายสัมพันธ์กับองค์กรพุทธจากนานาชาติ อันจะก่อให้เกิดความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว กันของพุทธบุตรทุกนิกาย นอกจากนี้ ยังเป็นการ สร้างความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนต่างศาสนิก เพื่อให้ สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างผาสุกท่ามกลางความเชื่อ ที่แตกต่าง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่จะก่อให้เกิด สันติภาพที่แท้จริงขึ้นได้ในอนาคต
อินโดนิเซียและมาเลเซียกำหนดวันวิสาขบูชา เป็นวันหยุดแห่งชาติ
ปัจจุบันแม้ว่าอินโดนีเซียจะเป็นประเทศที่มี ผู้นับถือศาสนาอิสลามมากที่สุดในโลก แต่ถึงกระนั้น ชาวมุสลิมก็ได้ให้การยอมรับพระพุทธศาสนาว่าเป็น รากฐานของอารยธรรมอันเก่าแก่ของตน โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง จากเหตุการณ์สำคัญในปี พ.ศ. ๒๓๕๗ ที่ได้มีการค้นพบเจดีย์บรมพุทโธ ที่ถูกทิ้งร้างอยู่กลางป่าลึก ซึ่งต่อมารัฐบาลอินโดนีเซียได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ร่วมกับองค์การยูเนสโก จนกระทั่ง โบราณสถานแห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
นอกจากนี้ การค้นพบบรมพุทโธยังมีส่วนสำคัญ ต่อการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศอินโดนีเซียเพราะนับตั้งแต่มีการค้นพบบรมพุทโธ คณะสงฆ์และชาวพุทธจากประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทย ได้พยายามเข้าไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินโดนีเซีย อยู่เป็นระยะ ๆ อีกทั้งชาวพุทธที่นั่นแม้จะมีจำนวนน้อย แต่ก็มีการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นองค์กรที่ชัดเจน ผนวกกับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นต้นมา รัฐบาลอินโดนีเซียเริ่มมีนโยบายที่ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาอื่น ๆ นอกจากศาสนาอิสลามแก่ประชาชน มากยิ่งขึ้น ดังตัวอย่างของศาสนาพุทธที่รัฐบาลอินโดนีเซียได้ให้การสนับสนุนการจัดงานเฉลิมฉลอง เนื่องในวันวิสาขบูชา และยังได้ประกาศยกย่องให้วันนี้เป็นวันหยุดแห่งชาติอีกด้วย
การจัดงานวิสาขบูชาของประเทศอินโดนีเซียในปีนี้ ถือเป็นงานประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๓ (อินโดนีเซีย นับปีพุทธศักราชตั้งแต่ปีที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน ส่วนไทยนับหลังจากนั้น ๑ ปี) ซึ่งงานนี้ทางรัฐบาลอินโดนีเซียได้ให้การสนับสนุนอย่างเป็นทางการ โดยมีสมาคมชาวพุทธแห่งอินโดนีเซีย หรือที่นิยมเรียกกันว่า วาลูบี (WALUBI) รับหน้าที่ในการจัดงาน ซึ่งทางวาลูบีได้เชิญมูลนิธิธรรมกายให้ส่งคณะสงฆ์และคณะกัลยาณมิตรไปร่วมงานนี้ด้วย
งานวันวิสาขบูชาของประเทศอินโดนีเซียปีนี้จัดขึ้นตรงกับวันเสาร์ที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ตามปฏิทินของประเทศไทย พิธีเริ่มต้นขึ้นในช่วงบ่าย ที่วัดเมินดุด ซึ่งอยู่ห่างจากเจดีย์บรมพุทโธไปประมาณ ๕ กิโลเมตร ซึ่งมีการสวดมนต์ร่วมกันของคณะสงฆ์ จากทุกนิกายทั่วประเทศอินโดนีเซียจำนวน ๒๓ รูป และคณะพุทธบุตรที่เดินทางมาจากนานาชาติ ซึ่งรวมถึงคณะพุทธบุตรจากวัดพระธรรมกายด้วย หลังจากนั้น คณะสงฆ์และชาวพุทธขององค์กรต่างๆ ได้ตั้งริ้วขบวนเดินทางจากวัดเมินดุดไปยังบรมพุทโธ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ซึ่งแม้ว่าฝนจะตกหนักตั้งแต่ เริ่มต้นจนถึงที่หมาย แต่ผู้เข้าร่วมขบวนทุกคนก็ยังคง ก้าวเดินต่อไปด้วยหัวใจที่เบิกบานและปลื้มปีติในบุญ ที่ได้มีโอกาสมาเยือนพุทธสถานอันศักดิ์สิทธิ์และ ยิ่งใหญ่อย่างเช่นบรมพุทโธนี้
นอกจากนี้ สิ่งที่ทำให้คณะสงฆ์และชาวพุทธจากทุกองค์กรรู้สึกประทับใจเป็นอย่างยิ่งก็คือ ขณะ ที่กำลังเดินไปยังบรมพุทโธ ตลอดสองข้างทางจะมีชาวท้องถิ่นมายืนคอยชมริ้วขบวนกันอย่างเนืองแน่น ซึ่งทุกคนต่างมีสีหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส บางคนถึงกับ พนมมือไหว้พุทธบุตรที่เดินผ่านไปด้วยความเลื่อมใส ศรัทธาก็มี ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า ชาวอินโดนีเซีย ส่วนใหญ่นั้นเป็นผู้ที่มีจิตใจอันงดงาม ซึ่งแม้ว่าชาวอิสลามและชาวพุทธจะมีคำสอน และความเชื่อที่ผิดแผกแตกต่างกันไปก็ตามที แต่สิ่งเหล่านี้ก็หาได้เป็นอุปสรรคต่อมิตรภาพระหว่างศาสนิกทั้งสองแต่อย่างใด
หลังจากที่ได้เดินทางไปถึงเจดีย์บรมพุทโธ ในช่วงประมาณ ๑๗.๓๐ น. คณะจากมูลนิธิธรรมกาย ได้เตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ เพื่อเข้าร่วมพิธี ในภาคค่ำที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อเวลา ๑๙.๐๐ น. ซึ่งเป็น การกล่าวต้อนรับและการกล่าวสุนทรพจน์จากคณะ ผู้จัดงานและบรรดาบุคคลสำคัญ แต่ที่เป็นไฮไลต์ ของงานก็คือ การขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ต่อหน้าชาวพุทธ เป็นจำนวนมากของ ฯพณฯ ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน ประธานาธิบดีของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นอิสลามิกชน การให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีของ ฯพณฯ ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน ในค่ำคืนนี้ นับเป็นการสะท้อนถึงนโยบายของรัฐบาลอินโดนีเซียที่ได้ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา และการจัดกิจกรรมของชาวพุทธ ได้อย่างชัดเจนที่สุด
หลังจากที่การแสดงนาฏศิลป์จากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียนได้เสร็จสิ้นลง ก็มาถึงพิธีสำคัญที่ ทุกคนต่างเฝ้ารอคอย นั่นก็คือ พิธีจุดประทีปและโคมลอย และพิธีเวียนประทักษิณรอบบรมพุทโธ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นโดยทีมงานของมูลนิธิธรรมกาย ที่ได้รับความสนใจจาก ชาวพุทธนานาชาติ รวมถึงสื่อมวลชนของอินโดนีเซีย ที่เข้าร่วมพิธีกันอย่างคับคั่ง ภาพของแสงโคมน้อยๆ ที่ถูกจุดขึ้นบนลานธรรมที่มีบรมพุทโธเป็นฉากหลัง ช่างเป็นภาพอันงดงามและติดตาตรึงใจผู้ที่ได้พบเห็น ยิ่งนัก เมื่อถึงเวลาอันเป็นมงคล ท่านประธานสงฆ์คือ บันเต วงศ์สิน ลาภิโค พระภิกษุไทยซึ่งเป็นที่เคารพ และรู้จักกันดีของชาวอินโดนีเซีย ได้นำคณะสงฆ์ และสาธุชนสวดมนต์ เจริญภาวนา และแผ่เมตตา พิธีกรรมทั้งหมดเป็นไปด้วยความสงบ และก่อให้เกิด สันติสุขภายในแก่ผู้เข้าร่วมพิธีกรรมทุกคน
เมื่อถึงเวลา ๒๑.๓๐ น. โคมลอยนับร้อยได้ถูกจุดขึ้น และค่อย ๆ ลอยขึ้นไปส่องสว่างอยู่บนฟากฟ้า ซึ่งเป็นประดุจสัญญาณว่า บัดนี้ประทีปแห่ง ธรรมได้ถูกจุดขึ้นแล้ว และพุทธศาสนากำลังจะหวน กลับมาโชติช่วงอีกครั้ง ณ มหาเจดีย์แห่งนี้ งานบุญ วันวิสาขบูชาที่อินโดนีเซียปีนี้ ปิดท้ายด้วยพิธีเวียนประทักษิณรอบบรมพุทโธ โดยคณะสงฆ์ได้เดินนำสาธุชนเวียนประทักษิณรอบมหาเจดีย์เป็นระยะทางถึง ๒.๕ กิโลเมตร ท่ามกลางบรรยากาศอันศักดิ์สิทธิ์ของพุทธสถานที่เป็นมรดกโลกแห่งนี้ ซึ่งเป็นที่น่ายินดี อย่างยิ่งว่า ภาพการจัดงานของมูลนิธิธรรมกายได้รับ การตีพิมพ์ลงหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์อินโดนีเซียหลายฉบับในวันรุ่งขึ้นอีกด้วย
การเดินทางไปร่วมงานวันวิสาขบูชาที่ประเทศ อินโดนีเซียของคณะพุทธบุตรและกัลยาณมิตรในครั้งนี้ นับได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง เพราะ ได้มีโอกาสเชื่อมสายสัมพันธ์กับองค์กรพุทธจากนานาชาติ อันจะก่อให้เกิดความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว กันของพุทธบุตรทุกนิกาย นอกจากนี้ ยังเป็นการ สร้างความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนต่างศาสนิก เพื่อให้ สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างผาสุกท่ามกลางความเชื่อ ที่แตกต่าง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่จะก่อให้เกิด สันติภาพที่แท้จริงขึ้นได้ในอนาคต