http://www.voathai.com/content/thai-us-defense-relation-ss/2720983.html
ไฟล์เสียง
http://www.voathai.com/audio/2720950.html
รายงานระบุว่าท่าทีของสหรัฐฯหลังการยึดอำนาจในประเทศไทยเมื่อปีที่แล้ว กำลังก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดีต่อความสัมพันธ์ทางทหารของสองประเทศ นสพ. Stars and Stripes ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ตีพิมพ์รายงานทัศนะของอดีตเจ้าหน้าที่ทหารอเมริกันสองนาย ผู้เคยร่วมทำงานกับกองทัพไทย ซึ่งทั้งคู่ระบุว่าความสัมพันธ์ที่ยาวนานระหว่างไทยกับสหรัฐฯ กำลังแตกเป็นเสี่ยงๆ ขณะที่จีนกำลังจับตามองเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด และพยายามแทรกตัวเข้ามาแทน
คุณ Kerry Gershaneck อดีตนายทหารนาวิกโยธินสหรัฐฯ ยศพันเอก ซึ่งปัจจุบันทำงานร่วมกับศูนย์ East-West Center ในฮาวาย ชี้ว่าท่าทีของสหรัฐฯ หลังการยึดอำนาจในประเทศไทยเมื่อปีที่แล้ว กำลังก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดีต่อความสัมพันธ์ทางทหารของสองประเทศ และเป็นเรื่องยากที่จะกลับมาเป็นเหมือนเดิมหากละเลยการพิจารณาถึงปัจจัยแวดล้อมต่างๆ โดยเฉพาะจีน
ปัจจัยหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นเรื่องนี้คือ การฝึก Cobra Gold ระหว่างกองทัพไทยกับกองทัพสหรัฐฯ ซึ่งมีขนาดเล็กลงในปีนี้ และอาจจะยิ่งมีอุปสรรคมากขึ้นในปีหน้า
คุณ Gershaneck ระบุว่าหากอเมริกาต้องการจะให้ความสัมพันธ์นี้กลับมาดีดังเดิม อเมริกาจำเป็นต้องทำงานหนักเพื่อให้เข้าใจถึงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และสถานการณ์ด้านจิตใจของคนไทย
อดีตนายทหารนาวิกโยธินสหรัฐฯ ผู้นี้ชี้ว่า ปัจจุบันทหารและชนชั้นผู้นำของไทยต่างมองสหรัฐฯ ว่าเสแสร้ง เลือกปฏิบัติ และใช้มาตรฐานที่ต่างกันสำหรับแต่ละประเทศ เช่นในกรณีการปฏิวัติในอียิปต์เมื่อ 2 ปีก่อนซึ่งสหรัฐฯ มีท่าทีนิ่งเฉยไม่เหมือนกับกรณีของไทย รวมทั้งล่าสุดที่ ปธน.โอบาม่าพยายามจะรื้อฟื้นความสัมพันธ์กับคิวบาที่ร้าวฉานมานานหลายสิบปี
ไฟล์เสียง
http://www.voathai.com/audio/2720950.html
คุณ Gershaneck บอกว่าคนไทยจำนวนมากรู้สึกว่าไทยคือพันธมิตรที่ร่วมต่อสู้กับสหรัฐฯ ทั้งในช่วงสงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม และสงครามกับคอมมิวนิสต์ แต่ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น คิวบาคือศัตรูที่พยายามบ่อนทำลายอเมริกา แต่เวลานี้รัฐบาลอเมริกันกลับพยายามยอมรับรัฐบาลคอมมิวนิสต์ของคิวบา แต่กลับกดดันให้ไทยกลับสู่ประชาธิปไตยและมีการเลือกตั้งโดยเร็ว
นักวิเคราะห์แห่งศูนย์ East-West Center ผู้นี้เชื่อว่า ท่าทีและแรงกดดันดังกล่าวของสหรัฐฯ ยิ่งทำให้เกิดลัทธิชาตินิยมแบบต่อต้านอเมริกาขึ้นในประเทศไทย
ทางด้านคุณ John M. Cole อดีตทหารกองทัพบกสหรัฐฯ ผู้เคยทำงานร่วมกับกองทัพไทยเช่นกัน ชี้ว่าขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ กำลังร้าวฉาน จีนก็กำลังค่อยๆ สานสัมพันธ์ทางทหารกับไทยไปทีละน้อย และกำลังจับตามองว่าเมื่อไรที่ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ สิ้นสุดลง จีนก็พร้อมกระโจนเข้าแทนทันที
เมื่อเดือน ก.พ จีนและไทยได้ร่วมประกาศข้อตกลง 5 ปีเพื่อเพิ่มความร่วมมือด้านการทหาร และรมต.กระทรวงกลาโหมจีนยังได้ยืนยันชัดเจนว่า จะไม่แทรกแซงกิจการภายในของไทย
คุณ Kerry Gershaneck บอกว่าจีนได้เสนอความช่วยเหลือทางทหารให้กับไทย เพื่อชดเชยส่วนที่สหรัฐฯ ตัดออกไป รวมถึงความช่วยเหลือในด้านการศึกษา และการฝึกฝน ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการผสานความสัมพันธ์ทางทหารในระยะยาว เพราะจะมีอิทธิพลต่อแนวคิดอุดมการณ์ของทหารในรุ่นต่อๆไป เหมือนที่สหรัฐฯเคยใช้อำนาจนุ่มลักษณะนี้มาแล้วในอดีต เพื่อขยายแนวคิดประชาธิปไตย
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์บางคนยังไม่เห็นด้วยกับทัศนะของอดีตนายทหารอเมริกันสองท่านนี้
หนึ่งในนั้นคือคุณ Gregory Poling ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ Center for Strategic and International Studies หรือ CSIS ในกรุงวอชิงตัน ที่บอกว่าการสานสัมพันธ์ทางทหารระหว่างไทยกับจีนนั้น ไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมาย และยังถือเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับขนาดความสัมพันธ์ทางทหารของไทยกับสหรัฐฯ นักวิเคราะห์ผู้นี้เชื่อว่าจีนจะยังไม่ก้าวขึ้นมาเป็นพันธมิตรด้านความมั่นคงอันดับหนึ่งของไทยในอนาคตอันใกล้นี้แน่นอน
ถึงกระนั้น อดีตนายทหารกองทัพสหรัฐฯ Kerry Gershaneck และ John M. Cole ยืนยันว่ารอยร้าวระหว่างไทย-สหรัฐฯ นั้นมีอยู่จริง และอาจนำไปสู่การปรับสมดุลใหม่ในเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งเป็นสมดุลที่แตกต่างจากนโยบายของปธน.โอบาม่า
เพราะอาจหมายความว่าประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้พยายามกีดกันอเมริกาออกไป!
รายงานจาก Stars and Stripes
http://www.stripes.com/news/china-lurks-as-us-ties-with-thailand-splinter-military-experts-say-1.339510
Stars and Stripes ตีพิมพ์ทัศนะอดีตนายทหารอเมริกัน ชี้ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ร้าวฉานยากประสาน
http://www.voathai.com/content/thai-us-defense-relation-ss/2720983.html
ไฟล์เสียง http://www.voathai.com/audio/2720950.html
รายงานระบุว่าท่าทีของสหรัฐฯหลังการยึดอำนาจในประเทศไทยเมื่อปีที่แล้ว กำลังก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดีต่อความสัมพันธ์ทางทหารของสองประเทศ นสพ. Stars and Stripes ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ตีพิมพ์รายงานทัศนะของอดีตเจ้าหน้าที่ทหารอเมริกันสองนาย ผู้เคยร่วมทำงานกับกองทัพไทย ซึ่งทั้งคู่ระบุว่าความสัมพันธ์ที่ยาวนานระหว่างไทยกับสหรัฐฯ กำลังแตกเป็นเสี่ยงๆ ขณะที่จีนกำลังจับตามองเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด และพยายามแทรกตัวเข้ามาแทน
คุณ Kerry Gershaneck อดีตนายทหารนาวิกโยธินสหรัฐฯ ยศพันเอก ซึ่งปัจจุบันทำงานร่วมกับศูนย์ East-West Center ในฮาวาย ชี้ว่าท่าทีของสหรัฐฯ หลังการยึดอำนาจในประเทศไทยเมื่อปีที่แล้ว กำลังก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดีต่อความสัมพันธ์ทางทหารของสองประเทศ และเป็นเรื่องยากที่จะกลับมาเป็นเหมือนเดิมหากละเลยการพิจารณาถึงปัจจัยแวดล้อมต่างๆ โดยเฉพาะจีน
ปัจจัยหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นเรื่องนี้คือ การฝึก Cobra Gold ระหว่างกองทัพไทยกับกองทัพสหรัฐฯ ซึ่งมีขนาดเล็กลงในปีนี้ และอาจจะยิ่งมีอุปสรรคมากขึ้นในปีหน้า
คุณ Gershaneck ระบุว่าหากอเมริกาต้องการจะให้ความสัมพันธ์นี้กลับมาดีดังเดิม อเมริกาจำเป็นต้องทำงานหนักเพื่อให้เข้าใจถึงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และสถานการณ์ด้านจิตใจของคนไทย
อดีตนายทหารนาวิกโยธินสหรัฐฯ ผู้นี้ชี้ว่า ปัจจุบันทหารและชนชั้นผู้นำของไทยต่างมองสหรัฐฯ ว่าเสแสร้ง เลือกปฏิบัติ และใช้มาตรฐานที่ต่างกันสำหรับแต่ละประเทศ เช่นในกรณีการปฏิวัติในอียิปต์เมื่อ 2 ปีก่อนซึ่งสหรัฐฯ มีท่าทีนิ่งเฉยไม่เหมือนกับกรณีของไทย รวมทั้งล่าสุดที่ ปธน.โอบาม่าพยายามจะรื้อฟื้นความสัมพันธ์กับคิวบาที่ร้าวฉานมานานหลายสิบปี
ไฟล์เสียง http://www.voathai.com/audio/2720950.html
คุณ Gershaneck บอกว่าคนไทยจำนวนมากรู้สึกว่าไทยคือพันธมิตรที่ร่วมต่อสู้กับสหรัฐฯ ทั้งในช่วงสงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม และสงครามกับคอมมิวนิสต์ แต่ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น คิวบาคือศัตรูที่พยายามบ่อนทำลายอเมริกา แต่เวลานี้รัฐบาลอเมริกันกลับพยายามยอมรับรัฐบาลคอมมิวนิสต์ของคิวบา แต่กลับกดดันให้ไทยกลับสู่ประชาธิปไตยและมีการเลือกตั้งโดยเร็ว
นักวิเคราะห์แห่งศูนย์ East-West Center ผู้นี้เชื่อว่า ท่าทีและแรงกดดันดังกล่าวของสหรัฐฯ ยิ่งทำให้เกิดลัทธิชาตินิยมแบบต่อต้านอเมริกาขึ้นในประเทศไทย
ทางด้านคุณ John M. Cole อดีตทหารกองทัพบกสหรัฐฯ ผู้เคยทำงานร่วมกับกองทัพไทยเช่นกัน ชี้ว่าขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ กำลังร้าวฉาน จีนก็กำลังค่อยๆ สานสัมพันธ์ทางทหารกับไทยไปทีละน้อย และกำลังจับตามองว่าเมื่อไรที่ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ สิ้นสุดลง จีนก็พร้อมกระโจนเข้าแทนทันที
เมื่อเดือน ก.พ จีนและไทยได้ร่วมประกาศข้อตกลง 5 ปีเพื่อเพิ่มความร่วมมือด้านการทหาร และรมต.กระทรวงกลาโหมจีนยังได้ยืนยันชัดเจนว่า จะไม่แทรกแซงกิจการภายในของไทย
คุณ Kerry Gershaneck บอกว่าจีนได้เสนอความช่วยเหลือทางทหารให้กับไทย เพื่อชดเชยส่วนที่สหรัฐฯ ตัดออกไป รวมถึงความช่วยเหลือในด้านการศึกษา และการฝึกฝน ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการผสานความสัมพันธ์ทางทหารในระยะยาว เพราะจะมีอิทธิพลต่อแนวคิดอุดมการณ์ของทหารในรุ่นต่อๆไป เหมือนที่สหรัฐฯเคยใช้อำนาจนุ่มลักษณะนี้มาแล้วในอดีต เพื่อขยายแนวคิดประชาธิปไตย
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์บางคนยังไม่เห็นด้วยกับทัศนะของอดีตนายทหารอเมริกันสองท่านนี้
หนึ่งในนั้นคือคุณ Gregory Poling ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ Center for Strategic and International Studies หรือ CSIS ในกรุงวอชิงตัน ที่บอกว่าการสานสัมพันธ์ทางทหารระหว่างไทยกับจีนนั้น ไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมาย และยังถือเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับขนาดความสัมพันธ์ทางทหารของไทยกับสหรัฐฯ นักวิเคราะห์ผู้นี้เชื่อว่าจีนจะยังไม่ก้าวขึ้นมาเป็นพันธมิตรด้านความมั่นคงอันดับหนึ่งของไทยในอนาคตอันใกล้นี้แน่นอน
ถึงกระนั้น อดีตนายทหารกองทัพสหรัฐฯ Kerry Gershaneck และ John M. Cole ยืนยันว่ารอยร้าวระหว่างไทย-สหรัฐฯ นั้นมีอยู่จริง และอาจนำไปสู่การปรับสมดุลใหม่ในเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งเป็นสมดุลที่แตกต่างจากนโยบายของปธน.โอบาม่า
เพราะอาจหมายความว่าประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้พยายามกีดกันอเมริกาออกไป!
รายงานจาก Stars and Stripes http://www.stripes.com/news/china-lurks-as-us-ties-with-thailand-splinter-military-experts-say-1.339510