หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถือเป็นการสิ้นสุดยุคแห่งการล่าอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจในยุโรป โดยเฉพาะเครือจักรภพอังกฤษประเทศที่ในอดีตได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่พระอาทิตย์ไม่ตกดิน หล่นจากตำแหน่งมหาอำนาจหลังจากเหล่าบรรดาอาณานิคมทั้งหลายขอแยกตัวเป็นเอกราช ในขณะเดียวกัน สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจ ถึงแม้ทั้งสองประเทศจะเป็นพันธมิตรกันในสงคราม แต่เมื่อสงครามจบ และทั้งสองประเทศมีความแตกต่างด้านอุดมการณ์ทางการเมืองการปกครองและระบบเศรษฐกิจ จึงเกิดการแข่งขันกันจนกลายเป็นสงครามเย็นในเวลาต่อมา
ประเทศไทยภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ถูกอังกฤษกดดันให้เป็นประเทศผู้แพ้สงคราม โดยต้องการให้ไทยจ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม, ยกเลิกการมีกองกำลังทหาร และอังกฤษต้องการเข้ามาตั้งฐานทัพในไทย เพียงแต่สหรัฐฯ ในตอนนั้นมองเห็นภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์นำโดยโซเวียต และเห็นว่าประเทศไทยมีจุดแข็งจากความเป็นเอกราชมายาวนาน ทำให้มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่สามารถต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ได้ เช่น ความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ ยึดมั่นในศาสนาพุทธ และมีความเป็นสถาบันครอบครัวสูง จึงขัดขวางอังกฤษ และทำให้ไทยรอดพ้นจากการเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการที่สหรัฐฯ เข้ามามีอิทธิพลในไทย (ในจุดนี้ ผู้เขียนเห็นว่าอังกฤษพยายามแก้ไขความผิดพลาดในอดีตของตนเองที่ไม่ได้ยึดจังหวัดภาคใต้ทั้งหมดของไทยที่จะกลายเป็นยุทธศาสตร์สำคัญหากมีการขุดคลองคอดกระ แต่อังกฤษกลับเลือกเอาดินแดนเฉพาะส่วนของแหลมมาลายูที่กลายมาเป็นประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ในปัจจุบัน และได้ทำสนธิสัญญา Anglo-Siamese Treaty ในปี ค.ศ.1909 ที่มีเนื้อหาระบุถึงการแบ่งดินแดนบริเวณแหลมมาลายูของไทยกับอังกฤษ และอังกฤษยังกำหนดให้ไทยขออนุญาตจากอังกฤษก่อนหากจะขุดคลองคอดกระ เพราะจะกระทบต่อความสำคัญของดินแดนในครอบครองของอังกฤษเอง)
สหรัฐฯ และไทยมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นในยุคสงครามเย็น สหรัฐฯ สนับสนุนการพัฒนาประเทศของไทยไม่ว่าจะเรื่องการลงทุน การสร้างสาธารณูปโภค และด้านการทหาร สหรัฐฯ สนับสนุนรัฐบาลไทยเริ่มตั้งแต่ปี 1947 (พ.ศ.2490) โดยเป็นยุคของรัฐบาล พันตรีควง อภัยวงศ์ เรื่อยมาจนจบสงครามเย็น ในส่วนไทยก็ให้ความร่วมมือกับสหรัฐฯ ในการส่งกำลังทหารเข้าร่วมสงครามทั้งในเกาหลีและเวียดนาม โดยเฉพาะในสงครามเวียดนาม ไทยเป็นที่ตั้งฐานทัพที่สำคัญของสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 1965 - 1973
อาจกล่าวได้กว่าเศรษฐกิจของไทยในช่วงที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ เติบโตแบบต่อเนื่อง ประเทศไทยมีการเติบโตของ GDP ในปี 1961(พ.ศ.2504) ที่ 5.362 % จนสูงสุดในปี 1988 (พ.ศ.2531) ที่ 13.28 % ซึ่งเป็นในยุครัฐบาลของ พล.อ.เปรม ต่อเนื่องไปจนถึง พล.อ.ชาติชาย ในยุคนี้เองที่ไทยถูกเรียกว่าเสือตัวที่ 5 ของเอเชีย (ที่หลายๆ คนเข้าใจผิดว่าเป็นยุครัฐบาลของ ดร.ทักษิณ ซึ่ง เติบโตราว ๆ 3 - 7 %)
ในด้านความมั่นคง ไทยร่วมมือกับสหรัฐฯ ต่อสู้กับภัยคอมมิวนิสต์ตั้งแต่ปี 1947 จนมาถึงจุดเปลี่ยนเมื่อปี 1973 (พ.ศ.2516) ที่สหรัฐฯ ถูกกดดันจากการเมืองภายในประเทศจนต้องถอนทหารจากเวียดนาม และถอนกำลังจากไทยในปี 2518 (มีการเรียกร้องจากนักศึกษาไทยให้ถอนทหารออกไปร่วมด้วย) ในปีเดียวกันนั้น เวียดนามเหนือสามารถเอาชนะเวียดนามใต้ได้สำเร็จ เป้าหมายต่อไปคือประเทศไทย
ถึงแม้สหรัฐฯ จะถูกเรียกว่าพ่ายแพ้ในสงครามเวียดนาม แต่ไม่ใช่ในสงครามเย็น สหรัฐฯ เพียงแค่เปลี่ยนวิธีการต่อสู้โดยให้ความสำคัญกับภูมิภาคอื่น ๆ แทนอาเซียน และดึงโซเวียตให้ถลำลึกในสงครามอัฟกานิสถานาแบบที่สหรัฐฯ มีบทเรียนจากเวียดนามจนส่งผลต่อเศรษฐกิจของโซเวียต และมีส่วนทำให้โซเวียตพ่ายแพ้ในที่สุด ในส่วนที่เกี่ยวกับไทยถึงแม้สหรัฐฯ จะถอนกำลังจากเวียดนามใต้และไทย สหรัฐฯ ยังคงให้การสนับสนุนด้านงบประมาณและการเมืองระหว่างประเทศต่อไทย เหตุการณ์สำคัญในช่วงนี้ที่ส่งผลถึงปัจจุบันคือ สหรัฐฯ เริ่มความสัมพันธ์กับจีนตั้งแต่ปี 1971 (พ.ศ.2514) เพื่อดึงจีนมาเป็นพวกโดยอาศัยความขัดแย้งระหว่างจีนกับโซเวียต และเปิดความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับจีนในปี 1979 (พ.ศ.2522-หลังจากประธานเหมาตายในปี 1976 จีนจึงสามารถกำหนดนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจให้เป็นแบบกึ่งทุนนิยมโดยเติ้ง เสี่ยวผิง ซึ่งจะเกิดขึ้นไม่ได้หากประธานเหมาที่มีแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์เต็มขั้นยังมีชีวิตอยู่) ในช่วงนี้จีนหันมาเป็นพวกเดียวกับสหรัฐฯ โดยแลกกับการลงทุนจากกลุ่มประเทศตะวันตกในจีน (รวมถึงในเอเชียที่เป็นฝ่ายสหรัฐฯ เช่น ญี่ปุ่น) จีนได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีผ่านการลงทุนที่ส่งผลให้จีนก้าวมาเป็นมหาอำนาจและกลายมาเป็นคู่ขัดแย้งกับสหรัฐฯ ในปัจจุบัน
ไทยก็เริ่มเปิดความสัมพันธ์กับจีนตั้งแต่ปี 1975 (พ.ศ.2518) เหตุการณ์สำคัญที่มีนักการเมืองและนักการทหารของไทยเดินทางไปเยือนจีนก็คือ ปี 1979 (พ.ศ.2522) คณะที่มี พันเอกชวลิต ยงใจยุทธ ร่วมเดินทางไปเจรจากับจีน และจีนเองยังช่วยทำสงครามสั่งสอนเวียดนามในช่วงต้นปี 1979 (พ.ศ.2522-ปีเดียวกับที่สหรัฐฯ และจีนคอมมิวนิสต์ เปิดความสัมพันธ์กันอย่างเป็นทางการและสหรัฐฯ หันมายอมรับนโยบายจีนเดียวของจีนคอมมิวนิสต์ โดยยอมลดบทบาทการสนับสนุนไต้หวันลง) จากสงครามสั่งสอนนี้ ทำให้เวียดนามจำเป็นต้องถอนทัพจากกัมพูชาที่เตรียมจะบุกไทยกลับไปรบกับจีน และทำให้ไทยรอดจากการบุกของเวียดนามมาได้ (ซึ่งก็ไม่รู้ว่าที่จีนทำสงครามสั่งสอนเพราะผลจากการกระทำของไทยต่อจีน หรือของสหรัฐฯ ที่มีต่อจีน หรือเป็นความตั้งใจของจีนเองเพื่อตอบโต้เวียดนามที่ไปยึดกัมพูชา อันนี้แล้วแต่มุมมองของแต่ละคน โดยส่วนตัวขอไม่ออกความเห็นเพราะอาจจะไปกระทบความคิดของท่านอื่นและทำให้เกิดความขัดแย้ง) ในส่วนของสงครามระหว่างรัฐบาลไทยกับพรรคคอมมิวนิสต์ในไทยเองก็ยุติลงในปี 1983 (พ.ศ.2526) โดยเป็นผลมาจากคำสั่ง 66/2523 ในรัฐบาลของ พล.อ.เปรม และต่อเนื่องด้วยนโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้าของ พล.อ.ชาติชาย จนเศรษฐกิจไทยมีความก้าวหน้าสูงสุดในประวัติศาสตร์ไทยยุคใหม่ ส่วนสำคัญอีกอย่างที่ทำให้คำสั่ง 66/23 สามารถยุติบทบาทของพรรคคอมมิวนิสต์ได้เพราะจีนตัดการสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย ซึ่งโดยส่วนตัวคิดว่าเกี่ยวข้องการการดำเนินนโยบายทางการเมืองของทั้งสหรัฐฯ และไทยเองที่มีต่อจีน
สงครามเย็นดำเนินต่อไปและเข้มข้นในตะวันออกกลางเมื่อโซเวียตบุกอัฟกานิสถานตั้งแต่ปี 1979 (พ.ศ.2522) จนพ่ายแพ้และถอนกำลังในปี 1989 (พ.ศ.2532) ผลกระทบจากสงครามในอัฟกานิสถานทำให้โซเวียตประสบภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจอย่างหนักจนส่งผลให้ล่มสลายลงในปี 1991 (พ.ศ.2534) นับเป็นการสิ้นสุดสงครามเย็น สหรัฐฯ กลายเป็นมหาอำนาจเดี่ยวหลังจากนั้น และดำเนินการกำหนดและเผยแพร่ค่านิยมโลก หรือ rules-based order ซึ่งมีอิทธิพลต่อโลกจนถึงปัจจุบัน
เมื่อข้ามเวลามายังสถานการณ์ปัจจุบัน ที่สหรัฐฯ กับจีนมีปัญหาความขัดแย้งกันรุนแรง สาเหตุมาจากการเติบโตแบบก้าวกระโดดของจีนในด้านเศรษฐกิจซึ่งนักวิเคราะห์ทำนายว่าในปี ค.ศ.2030 (พ.ศ.2573) จีนจะมีขนาดเศรษฐกิจเติบโตมากกว่าสหรัฐฯ และเมื่อถึงเวลานั้น ความเป็นมหาอำนาจเดี่ยวของสหรัฐฯ จะถูกสั่นคลอน ระเบียบโลก (rules-based order) ที่เอื้อประโยชน์ให้กับสหรัฐฯ ทั้งหลายที่ถูกสหรัฐฯ กำหนดขึ้นภายหลังจากเอาชนะสงครามเย็นมาได้ จะถูกลดความสำคัญลง ด้วยเหตุนี้ สหรัฐฯ และจีนไม่อาจหลีกเลี่ยงความขัดแย้งได้
ปิดท้าย 3 ข้อ (คหสต.)
1. สหรัฐฯ มีส่วนสำคัญในการช่วยพัฒนาประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้าแบบก้าวกระโดดในยุคสงครามเย็น และมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ไทยรอดพ้นจากคอมมิวนิสต์ได้ (ในอดีต)
2. ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่า รัฐบาลที่ถูกเรียกว่าเผด็จการในอดีต ก็ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ เช่นกัน และอาจจะเป็นสิ่งยึดโยงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับไทย นอกเหนือไปจากค่านิยมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนที่สหรัฐฯ ผลักดันให้กลายเป็น rules-based order ภายหลังจากที่เอาชนะโซเวียตและกลายเป็นมหาอำนาจเดี่ยวก่อนที่จีนจะเติบโตขึ้นมาท้าทายสหรัฐฯ ในปัจจุบัน
3. คำเรียก “เสือตัวที่ 5” ของไทย เกิดในสมัย พล.อ.เปรม ต่อเนื่องมาจนถึง พล.อ.ชาติชาย ไม่ใช่ในสมัย ดร.ทักษิณ อย่างที่หลายคนเข้าใจ
มีเวลาคราวหน้าจะมาเขียนเรื่องปัญหาระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ในปัจจุบัน
ปล. รีบเขียน อาจมีความเห็นส่วนตัวปน ไม่ได้ใส่อ้างอิง ไม่ใช่บทความทางวิชาการ โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
สงครามเย็นและไทยในอีกมุมมอง
ประเทศไทยภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ถูกอังกฤษกดดันให้เป็นประเทศผู้แพ้สงคราม โดยต้องการให้ไทยจ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม, ยกเลิกการมีกองกำลังทหาร และอังกฤษต้องการเข้ามาตั้งฐานทัพในไทย เพียงแต่สหรัฐฯ ในตอนนั้นมองเห็นภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์นำโดยโซเวียต และเห็นว่าประเทศไทยมีจุดแข็งจากความเป็นเอกราชมายาวนาน ทำให้มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่สามารถต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ได้ เช่น ความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ ยึดมั่นในศาสนาพุทธ และมีความเป็นสถาบันครอบครัวสูง จึงขัดขวางอังกฤษ และทำให้ไทยรอดพ้นจากการเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการที่สหรัฐฯ เข้ามามีอิทธิพลในไทย (ในจุดนี้ ผู้เขียนเห็นว่าอังกฤษพยายามแก้ไขความผิดพลาดในอดีตของตนเองที่ไม่ได้ยึดจังหวัดภาคใต้ทั้งหมดของไทยที่จะกลายเป็นยุทธศาสตร์สำคัญหากมีการขุดคลองคอดกระ แต่อังกฤษกลับเลือกเอาดินแดนเฉพาะส่วนของแหลมมาลายูที่กลายมาเป็นประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ในปัจจุบัน และได้ทำสนธิสัญญา Anglo-Siamese Treaty ในปี ค.ศ.1909 ที่มีเนื้อหาระบุถึงการแบ่งดินแดนบริเวณแหลมมาลายูของไทยกับอังกฤษ และอังกฤษยังกำหนดให้ไทยขออนุญาตจากอังกฤษก่อนหากจะขุดคลองคอดกระ เพราะจะกระทบต่อความสำคัญของดินแดนในครอบครองของอังกฤษเอง)
สหรัฐฯ และไทยมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นในยุคสงครามเย็น สหรัฐฯ สนับสนุนการพัฒนาประเทศของไทยไม่ว่าจะเรื่องการลงทุน การสร้างสาธารณูปโภค และด้านการทหาร สหรัฐฯ สนับสนุนรัฐบาลไทยเริ่มตั้งแต่ปี 1947 (พ.ศ.2490) โดยเป็นยุคของรัฐบาล พันตรีควง อภัยวงศ์ เรื่อยมาจนจบสงครามเย็น ในส่วนไทยก็ให้ความร่วมมือกับสหรัฐฯ ในการส่งกำลังทหารเข้าร่วมสงครามทั้งในเกาหลีและเวียดนาม โดยเฉพาะในสงครามเวียดนาม ไทยเป็นที่ตั้งฐานทัพที่สำคัญของสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 1965 - 1973
อาจกล่าวได้กว่าเศรษฐกิจของไทยในช่วงที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ เติบโตแบบต่อเนื่อง ประเทศไทยมีการเติบโตของ GDP ในปี 1961(พ.ศ.2504) ที่ 5.362 % จนสูงสุดในปี 1988 (พ.ศ.2531) ที่ 13.28 % ซึ่งเป็นในยุครัฐบาลของ พล.อ.เปรม ต่อเนื่องไปจนถึง พล.อ.ชาติชาย ในยุคนี้เองที่ไทยถูกเรียกว่าเสือตัวที่ 5 ของเอเชีย (ที่หลายๆ คนเข้าใจผิดว่าเป็นยุครัฐบาลของ ดร.ทักษิณ ซึ่ง เติบโตราว ๆ 3 - 7 %)
ในด้านความมั่นคง ไทยร่วมมือกับสหรัฐฯ ต่อสู้กับภัยคอมมิวนิสต์ตั้งแต่ปี 1947 จนมาถึงจุดเปลี่ยนเมื่อปี 1973 (พ.ศ.2516) ที่สหรัฐฯ ถูกกดดันจากการเมืองภายในประเทศจนต้องถอนทหารจากเวียดนาม และถอนกำลังจากไทยในปี 2518 (มีการเรียกร้องจากนักศึกษาไทยให้ถอนทหารออกไปร่วมด้วย) ในปีเดียวกันนั้น เวียดนามเหนือสามารถเอาชนะเวียดนามใต้ได้สำเร็จ เป้าหมายต่อไปคือประเทศไทย
ถึงแม้สหรัฐฯ จะถูกเรียกว่าพ่ายแพ้ในสงครามเวียดนาม แต่ไม่ใช่ในสงครามเย็น สหรัฐฯ เพียงแค่เปลี่ยนวิธีการต่อสู้โดยให้ความสำคัญกับภูมิภาคอื่น ๆ แทนอาเซียน และดึงโซเวียตให้ถลำลึกในสงครามอัฟกานิสถานาแบบที่สหรัฐฯ มีบทเรียนจากเวียดนามจนส่งผลต่อเศรษฐกิจของโซเวียต และมีส่วนทำให้โซเวียตพ่ายแพ้ในที่สุด ในส่วนที่เกี่ยวกับไทยถึงแม้สหรัฐฯ จะถอนกำลังจากเวียดนามใต้และไทย สหรัฐฯ ยังคงให้การสนับสนุนด้านงบประมาณและการเมืองระหว่างประเทศต่อไทย เหตุการณ์สำคัญในช่วงนี้ที่ส่งผลถึงปัจจุบันคือ สหรัฐฯ เริ่มความสัมพันธ์กับจีนตั้งแต่ปี 1971 (พ.ศ.2514) เพื่อดึงจีนมาเป็นพวกโดยอาศัยความขัดแย้งระหว่างจีนกับโซเวียต และเปิดความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับจีนในปี 1979 (พ.ศ.2522-หลังจากประธานเหมาตายในปี 1976 จีนจึงสามารถกำหนดนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจให้เป็นแบบกึ่งทุนนิยมโดยเติ้ง เสี่ยวผิง ซึ่งจะเกิดขึ้นไม่ได้หากประธานเหมาที่มีแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์เต็มขั้นยังมีชีวิตอยู่) ในช่วงนี้จีนหันมาเป็นพวกเดียวกับสหรัฐฯ โดยแลกกับการลงทุนจากกลุ่มประเทศตะวันตกในจีน (รวมถึงในเอเชียที่เป็นฝ่ายสหรัฐฯ เช่น ญี่ปุ่น) จีนได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีผ่านการลงทุนที่ส่งผลให้จีนก้าวมาเป็นมหาอำนาจและกลายมาเป็นคู่ขัดแย้งกับสหรัฐฯ ในปัจจุบัน
ไทยก็เริ่มเปิดความสัมพันธ์กับจีนตั้งแต่ปี 1975 (พ.ศ.2518) เหตุการณ์สำคัญที่มีนักการเมืองและนักการทหารของไทยเดินทางไปเยือนจีนก็คือ ปี 1979 (พ.ศ.2522) คณะที่มี พันเอกชวลิต ยงใจยุทธ ร่วมเดินทางไปเจรจากับจีน และจีนเองยังช่วยทำสงครามสั่งสอนเวียดนามในช่วงต้นปี 1979 (พ.ศ.2522-ปีเดียวกับที่สหรัฐฯ และจีนคอมมิวนิสต์ เปิดความสัมพันธ์กันอย่างเป็นทางการและสหรัฐฯ หันมายอมรับนโยบายจีนเดียวของจีนคอมมิวนิสต์ โดยยอมลดบทบาทการสนับสนุนไต้หวันลง) จากสงครามสั่งสอนนี้ ทำให้เวียดนามจำเป็นต้องถอนทัพจากกัมพูชาที่เตรียมจะบุกไทยกลับไปรบกับจีน และทำให้ไทยรอดจากการบุกของเวียดนามมาได้ (ซึ่งก็ไม่รู้ว่าที่จีนทำสงครามสั่งสอนเพราะผลจากการกระทำของไทยต่อจีน หรือของสหรัฐฯ ที่มีต่อจีน หรือเป็นความตั้งใจของจีนเองเพื่อตอบโต้เวียดนามที่ไปยึดกัมพูชา อันนี้แล้วแต่มุมมองของแต่ละคน โดยส่วนตัวขอไม่ออกความเห็นเพราะอาจจะไปกระทบความคิดของท่านอื่นและทำให้เกิดความขัดแย้ง) ในส่วนของสงครามระหว่างรัฐบาลไทยกับพรรคคอมมิวนิสต์ในไทยเองก็ยุติลงในปี 1983 (พ.ศ.2526) โดยเป็นผลมาจากคำสั่ง 66/2523 ในรัฐบาลของ พล.อ.เปรม และต่อเนื่องด้วยนโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้าของ พล.อ.ชาติชาย จนเศรษฐกิจไทยมีความก้าวหน้าสูงสุดในประวัติศาสตร์ไทยยุคใหม่ ส่วนสำคัญอีกอย่างที่ทำให้คำสั่ง 66/23 สามารถยุติบทบาทของพรรคคอมมิวนิสต์ได้เพราะจีนตัดการสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย ซึ่งโดยส่วนตัวคิดว่าเกี่ยวข้องการการดำเนินนโยบายทางการเมืองของทั้งสหรัฐฯ และไทยเองที่มีต่อจีน
สงครามเย็นดำเนินต่อไปและเข้มข้นในตะวันออกกลางเมื่อโซเวียตบุกอัฟกานิสถานตั้งแต่ปี 1979 (พ.ศ.2522) จนพ่ายแพ้และถอนกำลังในปี 1989 (พ.ศ.2532) ผลกระทบจากสงครามในอัฟกานิสถานทำให้โซเวียตประสบภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจอย่างหนักจนส่งผลให้ล่มสลายลงในปี 1991 (พ.ศ.2534) นับเป็นการสิ้นสุดสงครามเย็น สหรัฐฯ กลายเป็นมหาอำนาจเดี่ยวหลังจากนั้น และดำเนินการกำหนดและเผยแพร่ค่านิยมโลก หรือ rules-based order ซึ่งมีอิทธิพลต่อโลกจนถึงปัจจุบัน
เมื่อข้ามเวลามายังสถานการณ์ปัจจุบัน ที่สหรัฐฯ กับจีนมีปัญหาความขัดแย้งกันรุนแรง สาเหตุมาจากการเติบโตแบบก้าวกระโดดของจีนในด้านเศรษฐกิจซึ่งนักวิเคราะห์ทำนายว่าในปี ค.ศ.2030 (พ.ศ.2573) จีนจะมีขนาดเศรษฐกิจเติบโตมากกว่าสหรัฐฯ และเมื่อถึงเวลานั้น ความเป็นมหาอำนาจเดี่ยวของสหรัฐฯ จะถูกสั่นคลอน ระเบียบโลก (rules-based order) ที่เอื้อประโยชน์ให้กับสหรัฐฯ ทั้งหลายที่ถูกสหรัฐฯ กำหนดขึ้นภายหลังจากเอาชนะสงครามเย็นมาได้ จะถูกลดความสำคัญลง ด้วยเหตุนี้ สหรัฐฯ และจีนไม่อาจหลีกเลี่ยงความขัดแย้งได้
ปิดท้าย 3 ข้อ (คหสต.)
1. สหรัฐฯ มีส่วนสำคัญในการช่วยพัฒนาประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้าแบบก้าวกระโดดในยุคสงครามเย็น และมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ไทยรอดพ้นจากคอมมิวนิสต์ได้ (ในอดีต)
2. ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่า รัฐบาลที่ถูกเรียกว่าเผด็จการในอดีต ก็ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ เช่นกัน และอาจจะเป็นสิ่งยึดโยงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับไทย นอกเหนือไปจากค่านิยมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนที่สหรัฐฯ ผลักดันให้กลายเป็น rules-based order ภายหลังจากที่เอาชนะโซเวียตและกลายเป็นมหาอำนาจเดี่ยวก่อนที่จีนจะเติบโตขึ้นมาท้าทายสหรัฐฯ ในปัจจุบัน
3. คำเรียก “เสือตัวที่ 5” ของไทย เกิดในสมัย พล.อ.เปรม ต่อเนื่องมาจนถึง พล.อ.ชาติชาย ไม่ใช่ในสมัย ดร.ทักษิณ อย่างที่หลายคนเข้าใจ
มีเวลาคราวหน้าจะมาเขียนเรื่องปัญหาระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ในปัจจุบัน
ปล. รีบเขียน อาจมีความเห็นส่วนตัวปน ไม่ได้ใส่อ้างอิง ไม่ใช่บทความทางวิชาการ โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน