ความตั้งใจในครั้งแรกคิดว่าจะกลับมาตั้งกระทู้ในมุมมองของตนเองหลังจากกลางเดือน ม.ค. ไปแล้ว เพราะคิดว่าแนวนโยบายของสหรัฐฯ ที่พึ่งเสร็จสิ้นการเลือกตั้งไปเมื่อเดือนที่ผ่านมาจะปรากฏเป็นรูปเป็นร่างในช่วงต้นถึงกลางเดือน ม.ค. ปีหน้า (หลังจากเสร็จสิ้นการส่งมอบตำแหน่งผู้นำประเทศ) แต่ก็มีสิ่งบอกเหตุที่จะแสดงให้เห็นแนวโน้มนโยบายของสหรัฐฯ ที่มีต่อประเทศไทย เมื่อวานนอนแต่หัวค่ำจึงตื่นเช้า พยายามนอนแล้วแต่นอนไม่หลับจึงมานั่งเวิ่นเว้อเขียนบทความนี้ขึ้นมา
(ใครตามข่าวไม่ทันก็ตามรูป)
(ฉบับภาษาอังกฤษ)
https://thediplomat.com/2020/12/us-senate-resolution-voices-support-for-thai-protesters/
ข่าวนี้ดูเหมือนอาจจะทำให้คนบางกลุ่มที่กำลังสร้างความวุ่นวายในไทยตอนนี้รู้สึกฟิน (มีคนเข้าข้างแล้วเฟ้ย) แต่จะบอกว่าไม่ต้องฟินไปเพราะเขาก็รู้กันเกือบทั้งโลกแล้ว และข้อที่ 5 (ตามรูป) ก็คงไม่ใช่แนวทางที่คนกลุ่มนั้นพยายายามจะทำ (หรืออยากจะ)ให้เกิดขึ้น ลืมคนกลุ่มนั้นไปซะเพราะพวกเขาเป็นแค่เครื่องมือเพื่อให้ได้มายังสิ่งที่ต้องการของผู้ที่อยู่เบื้องหลัง และเบื้องหลังเหล่านั้นก็เริ่มชัดในเบื้องหน้าขึ้นทุกที
บทความในวันนี้อาจจะยาวหน่อย มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และหลักคิดในการทำสงครามในมุมมองของ จขกท. ความมุ่งหมายเพื่อแชร์ความคิดกับคนอื่น ๆ ที่สนใจ
บทความนี้จะเริ่มด้วยความขัดแย้งของสหรัฐฯ กับจีนซึ่งเป็นไปในลักษณะใกล้เคียงกับสงครามเย็นในอดีต หลังจากนั้นจะกล่าวถึงหลักนิยมทางทหาร รวมถึงสงครามในมุมมองตามหลักวิชาการของสหรัฐฯ (เบื้องหน้า-สร้างภาพ) และสิ่งที่ปฏิบัติจริง โดยจะเชื่อมโยงหลักนิยมดังกล่าวกับสงครามเย็นครั้งใหม่ที่กำลังจะเกิด (หรือเกิดขึ้นแล้วในบริบที่ต่างออกไป) เพื่อให้เข้าใจหลักแนวคิดที่ทางสหรัฐฯ ใช้ในปัจจุบัน จากนั้นจะย้อนถึงประวัติศาสตร์ในยุคสงครามเย็นครั้งที่ผ่านมาระหว่างสหรัฐฯ กับ โซเวียต มุ่งเน้นเหตุการณ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเทียบเคียงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันบนพื้นฐานของแนวคิดทางทหาร สุดท้ายจะเป็นคำถามว่าประเทศไทยตัวน้อย ๆ ที่น่ารักน่าแย่งชิงในตอนนี้จะทำอย่างไรดี
เริ่มด้วยความขัดแย้งของสหรัฐฯ กับจีน เรื่องนี้คงจะไม่ลงรายละเอียดมากเพราะหลายๆ ท่านคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าปัจจุบันสหรัฐฯ กับจีนมีความขัดกันเรื่องผลประโยชน์ของชาติอย่างรุนแรง เศรษฐกิจจีนที่กำลังโตวันโตคืน ในขณะที่เศรษฐกิจของสหรัฐฯ กำลังถดถอยลง เทคโนโลยีพัฒนาจนทำให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มและเริ่มจะเปลี่ยนแปลงไป เงินดิจิตอลกำลังจะเกิดขึ้น และรถยนต์ไฟฟ้ากำลังถูกพัฒนามาแทนที่รถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงน้ำมัน จากสิ่งเหล่านี้จึงทำนายได้ไม่ยากว่าเงินดอลล่าร์-สหรัฐฯ กำลังจะหมดค่าความสำคัญ และสหรัฐฯ ที่เชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจของตนกับเงินดอลล่าร์ ทุกครั้งที่เศรษฐกิจไม่ดีก็จะขยายเพดานหนี้และพิมพ์เงินมาเพิ่มสภาพคล่องภายในประเทศของตนเองโดยที่ค่าเงินไม่ลด ทำให้มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ไม่ตรงกับพื้นฐานที่แท้จริง เมื่อเงินดอลล่าร์ของตนได้ถูกผูกพันกับเศรษฐกิจโลกผ่านการซื้อขายน้ำมัน และหากน้ำมันหมดคุณค่าประกอบกับเงินดิจิตตอลกำลังจะเกิดขึ้น เมื่อนั้นการจะพิมพ์เงินมาใช้ก็คงจะทำได้จำกัดหรืออาจจะทำไม่ได้เลย สวนทางกับการบริโภคภายในประเทศสหรัฐฯ ที่ไม่ได้ลดลงที่สำคัญคือด้านการทหารที่ทำให้สหรัฐฯ เป็นอันดับหนึ่งด้านความมั่นคงในตอนนี้ ก็คงจะต้องถูกตัดทอนจนไม่สามารถยืนหยัดเป็นที่หนึ่งได้เหมือนในอดีต ในทางกลับกันกับจีน เศรษฐกิจของจีนที่กำลังเติบโตจนกลายมาเป็นอันดับสองของโลก ทำให้งบประมาณทางทหารของจีนก็เติบโตด้วยเช่นกัน แต่สิ่งที่จีนแตกต่างจากสหรัฐฯ คือเศรษฐกิจของจีนอยู่บนพื้นฐานของมูลค่าทางเศรษฐกิจที่แท้จริง ด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจทำให้งบประมาณด้านการทหารของจีนเพิ่มจนหายใจรดต้นคอ และด้วยงบประมาณทางทหารของจีนมาจากพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แท้จริง ทำให้คาดเดาได้ไม่ยากว่าหากเป็นเช่นนี้ต่อไป จีนจะแซงหน้าสหรัฐฯ กลายเป็นผู้นำโลกแทนที่สหรัฐฯ ดังนั้นสงครามเย็นครั้งใหม่จึงเริ่มต้นด้วยเหตุเช่นนี้แล
หลายคนอาจจะรู้สึกขัดแย้งว่าจะเรียกความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับจีนในปัจจุบันว่าสงครามเย็นได้อย่างไร ในเมื่อยังไม่ได้รบกันเลย ในจุดนี้เป็นมุมมองที่แตกต่าง อยู่ที่ว่าเราเชื่อและใช้หลักการแบบไหนในการพิจารณา ผมจะแบ่งแนวความคิดเกี่ยวกับสงครามเป็นสองฝั่ง คือ ฝั่งตะวันตกที่มีรากฐานมาจากนักยุทธศาสตร์ทางทหารในยุโรป และหลักการแบบตะวันออกตามแนวคิดของซุน วู แนวคิดทั้งสองได้ผสมผสานและมีความเกี่ยวโยงกันในปัจจุบัน
ในมุมมองคำว่าสงครามตามแนวคิดตะวันตก จะมองสงครามว่าเป็นการใช้กำลังทหารในการต่อสู้ห้ำหั่นกัน และจะยกสงครามที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการทหารออกจากการเมืองอย่างชัดเจน ตะวันตกมองว่าสงครามคือเครื่องมือหนึ่งในการบรรลุผลทางการเมือง แนวคิดลักษณะนี้ได้มาจากนักการทหารชาวปรัสเซีย ชื่อ คาร์ล วอน เคล้าเซอร์วิทซ์
ในด้านตะวันออกคงจะหลีกเลี่ยงที่จะเอ่ยถึงแนวความคิดด้านยุทธศาสตร์ของซุนวู ไม่ได้ ซุนวูกล่าวว่า การชนะโดยไม่ต้องรบคือที่สุดของชัยชนะ การชนะโดยไม่ต้องรบคือการชนะทางการเมือง หรือ การมีอำนาจหรือการเจรจาต่อรองเพื่อให้ได้ผลประโยชน์แห่งชาติที่ต้องการ โดยไม่ต้องใช้กำลังทหารในการทำสงคราม
อีกด้านหนึ่ง นักยุทธศาสตร์ชาวรัสเซียก็ได้ปรับแนวความคิดของเคล้า เซอร์วิทซ์ ที่ว่า “สงคราม คือ ความต่อเนื่องทางการเมือง” แปลความหมายคือสงครามคือเครื่องมือหนึ่งเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ทางการเมืองที่ต้องการ รัสเซียได้กลับแนวคิดของเคล้า เซอร์วิทซ์ดังกล่าว โดยรัสเซียมองว่า “การเมือง คือ ความต่อเนื่องของสงคราม” เนื่องจากความซับซ้อนของโลกในปัจจุบันทำให้ไม่สามารถทำสงครามในลักษณะที่จะกำจัดศัตรูให้หมดสิ้นเด็ดขาดได้ จึงทำให้สงครามกับการเมืองเป็นเรื่องที่มาควบคู่กัน เมื่อมีการทำสงครามจนถึงในระดับหนึ่งที่ได้เปรียบก็ต้องมีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ที่ต้องการ อีกนัยหนึ่ง ในมุมมองเช่นนี้จะเห็นว่านักยุทธศาสตร์ของรัสเซียมองคำว่า “สงคราม” คือการต่อสู้แข่งขันกัน และอะไรที่มีการต่อสู้แข็งขันถึงแม้จะไม่ใช้กำลังทหารเข้าห้ำหั่นกันก็อาจจะเรียกว่า “สงคราม” ได้ เช่น การแข่งขันกันทางการเมืองเป็นต้น แนวคิดนี้จึงเป็นการเชื่อมโยงการทำสงครามกับการเมืองเข้าด้วยกัน ทั้งสองส่วนล้วนเป็นเครื่องมือเพื่อให้ได้ผลประโยชน์แห่งชาติที่ต้องการ และแนวคิดแบบนี้จึงทำให้เกิด “สงครามลูกผสม” หรือ Hybrid Warfare ที่กำลังโด่งดังในปัจจุบัน
ในมุมมองของสหรัฐฯ ที่พยายามจะยึดมั่นกับหลัก “การเมืองนำการทหาร” สหรัฐฯ มีมุมมองเกี่ยวกับงานด้านการทหารแบบตะวันตก คือ การทหารเป็นเครื่องมือหนึ่งทางการเมือง แต่ในขณะเดียวกัน บทเรียนจากความพ่ายแพ้ในสงครามเวียดนามเนื่องจากการเมืองเข้ามาแทรกแซงการทหาร จนทำให้ต้องถอนกำลังออกไปทั้งๆ ที่สหรัฐฯ แทบจะไม่เคยพ่ายแพ้ทางยุทธวิธีต่อเวียดนามเหนือเลยด้วยซ้ำ สหรัฐฯ แก้ไขปัญหาด้วยการเพิ่มระดับของสงครามในระดับยุทธการ หรือ operational level of war ขึ้นมา เพื่อเป็นตัวคั่นกลางระหว่างแนวความคิดทางยุทธศาสตร์ที่จะถูกกำหนดโดยนักการเมืองกับการปฏิบัติทางยุทธวิธีที่วางแผนและปฏิบัติโดยนักการทหาร ในระดับยุทธการนี้จะแปรความมุ่งหมายทางการเมืองออกมาเป็นแผนการปฏิบัติทางทหารเพื่อให้การปฏิบัติการทางทหารสอดคล้องกับเป้าหมายทางการเมือง และในขณะเดียวกันก็เป็นการป้องกันการเมืองไม่ให้เข้ามาแทรกและวุ่นวายกับการปฏิบัติทางทหารอย่างเช่นในสงครามเวียดนาม
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้สหรัฐฯ จะพยายามสร้างภาพว่าสหรัฐฯ มีหลักนิยมที่แยกการทหารกับการเมืองชัดเจน แต่ในการปฏิบัติแล้วไม่อาจจะทำได้ สหรัฐฯ จึงคิดคำเรียกหลักการทหารทหารในมุมมองของตนขึ้นมา คือ สงครามการเมือง (Political Warfare) ในหลักการนี้จะมีความใกล้เคียงกับสงครามลูกผสม (Hybrid Warfare) เพียงแต่ในสงครามลูกผสมจะผสมผสานเครื่องมือทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง การทหารเข้าด้วยกัน เพื่อให้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ แต่ในสงครามการเมือง จะเป็นแนวคิดที่คล้ายกับหลักการของซุน วู คือ การชนะโดยไม่ต้องรบ สงครามการเมืองนี้จะมุ่งเน้นการใช้พลังอำนาจในด้านต่างๆ ยกเว้นหรือเลี่ยงเลี่ยงการใช้พลังอำนาจทางทหาร (การใช้กำลังทหาร) เพื่อบีบบังคับให้ประเทศเป้าหมายยอมปฏิบัติตามหรือคล้อยตามยุทธศาสตร์ของตนเอง สงครามการเมืองอาจจะครอบคลุมในเรื่องของการก่อความไม่สงบบ้าง แต่ก็เป็นเพียงเพื่อประกอบเงื่อนไขทางการเมืองที่ตนเองต้องการให้เกิด
ขอพักก่อน มาต่อตอนต่อไปในเรื่องบทเรียนไทยกับสงครามเย็นในอดีต ในคอมเม้นท์
อยากให้โลกนี้มีตรงกลางให้ยืน
(ใครตามข่าวไม่ทันก็ตามรูป)
(ฉบับภาษาอังกฤษ)
https://thediplomat.com/2020/12/us-senate-resolution-voices-support-for-thai-protesters/
ข่าวนี้ดูเหมือนอาจจะทำให้คนบางกลุ่มที่กำลังสร้างความวุ่นวายในไทยตอนนี้รู้สึกฟิน (มีคนเข้าข้างแล้วเฟ้ย) แต่จะบอกว่าไม่ต้องฟินไปเพราะเขาก็รู้กันเกือบทั้งโลกแล้ว และข้อที่ 5 (ตามรูป) ก็คงไม่ใช่แนวทางที่คนกลุ่มนั้นพยายายามจะทำ (หรืออยากจะ)ให้เกิดขึ้น ลืมคนกลุ่มนั้นไปซะเพราะพวกเขาเป็นแค่เครื่องมือเพื่อให้ได้มายังสิ่งที่ต้องการของผู้ที่อยู่เบื้องหลัง และเบื้องหลังเหล่านั้นก็เริ่มชัดในเบื้องหน้าขึ้นทุกที
บทความในวันนี้อาจจะยาวหน่อย มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และหลักคิดในการทำสงครามในมุมมองของ จขกท. ความมุ่งหมายเพื่อแชร์ความคิดกับคนอื่น ๆ ที่สนใจ
บทความนี้จะเริ่มด้วยความขัดแย้งของสหรัฐฯ กับจีนซึ่งเป็นไปในลักษณะใกล้เคียงกับสงครามเย็นในอดีต หลังจากนั้นจะกล่าวถึงหลักนิยมทางทหาร รวมถึงสงครามในมุมมองตามหลักวิชาการของสหรัฐฯ (เบื้องหน้า-สร้างภาพ) และสิ่งที่ปฏิบัติจริง โดยจะเชื่อมโยงหลักนิยมดังกล่าวกับสงครามเย็นครั้งใหม่ที่กำลังจะเกิด (หรือเกิดขึ้นแล้วในบริบที่ต่างออกไป) เพื่อให้เข้าใจหลักแนวคิดที่ทางสหรัฐฯ ใช้ในปัจจุบัน จากนั้นจะย้อนถึงประวัติศาสตร์ในยุคสงครามเย็นครั้งที่ผ่านมาระหว่างสหรัฐฯ กับ โซเวียต มุ่งเน้นเหตุการณ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเทียบเคียงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันบนพื้นฐานของแนวคิดทางทหาร สุดท้ายจะเป็นคำถามว่าประเทศไทยตัวน้อย ๆ ที่น่ารักน่าแย่งชิงในตอนนี้จะทำอย่างไรดี
เริ่มด้วยความขัดแย้งของสหรัฐฯ กับจีน เรื่องนี้คงจะไม่ลงรายละเอียดมากเพราะหลายๆ ท่านคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าปัจจุบันสหรัฐฯ กับจีนมีความขัดกันเรื่องผลประโยชน์ของชาติอย่างรุนแรง เศรษฐกิจจีนที่กำลังโตวันโตคืน ในขณะที่เศรษฐกิจของสหรัฐฯ กำลังถดถอยลง เทคโนโลยีพัฒนาจนทำให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มและเริ่มจะเปลี่ยนแปลงไป เงินดิจิตอลกำลังจะเกิดขึ้น และรถยนต์ไฟฟ้ากำลังถูกพัฒนามาแทนที่รถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงน้ำมัน จากสิ่งเหล่านี้จึงทำนายได้ไม่ยากว่าเงินดอลล่าร์-สหรัฐฯ กำลังจะหมดค่าความสำคัญ และสหรัฐฯ ที่เชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจของตนกับเงินดอลล่าร์ ทุกครั้งที่เศรษฐกิจไม่ดีก็จะขยายเพดานหนี้และพิมพ์เงินมาเพิ่มสภาพคล่องภายในประเทศของตนเองโดยที่ค่าเงินไม่ลด ทำให้มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ไม่ตรงกับพื้นฐานที่แท้จริง เมื่อเงินดอลล่าร์ของตนได้ถูกผูกพันกับเศรษฐกิจโลกผ่านการซื้อขายน้ำมัน และหากน้ำมันหมดคุณค่าประกอบกับเงินดิจิตตอลกำลังจะเกิดขึ้น เมื่อนั้นการจะพิมพ์เงินมาใช้ก็คงจะทำได้จำกัดหรืออาจจะทำไม่ได้เลย สวนทางกับการบริโภคภายในประเทศสหรัฐฯ ที่ไม่ได้ลดลงที่สำคัญคือด้านการทหารที่ทำให้สหรัฐฯ เป็นอันดับหนึ่งด้านความมั่นคงในตอนนี้ ก็คงจะต้องถูกตัดทอนจนไม่สามารถยืนหยัดเป็นที่หนึ่งได้เหมือนในอดีต ในทางกลับกันกับจีน เศรษฐกิจของจีนที่กำลังเติบโตจนกลายมาเป็นอันดับสองของโลก ทำให้งบประมาณทางทหารของจีนก็เติบโตด้วยเช่นกัน แต่สิ่งที่จีนแตกต่างจากสหรัฐฯ คือเศรษฐกิจของจีนอยู่บนพื้นฐานของมูลค่าทางเศรษฐกิจที่แท้จริง ด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจทำให้งบประมาณด้านการทหารของจีนเพิ่มจนหายใจรดต้นคอ และด้วยงบประมาณทางทหารของจีนมาจากพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แท้จริง ทำให้คาดเดาได้ไม่ยากว่าหากเป็นเช่นนี้ต่อไป จีนจะแซงหน้าสหรัฐฯ กลายเป็นผู้นำโลกแทนที่สหรัฐฯ ดังนั้นสงครามเย็นครั้งใหม่จึงเริ่มต้นด้วยเหตุเช่นนี้แล
หลายคนอาจจะรู้สึกขัดแย้งว่าจะเรียกความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับจีนในปัจจุบันว่าสงครามเย็นได้อย่างไร ในเมื่อยังไม่ได้รบกันเลย ในจุดนี้เป็นมุมมองที่แตกต่าง อยู่ที่ว่าเราเชื่อและใช้หลักการแบบไหนในการพิจารณา ผมจะแบ่งแนวความคิดเกี่ยวกับสงครามเป็นสองฝั่ง คือ ฝั่งตะวันตกที่มีรากฐานมาจากนักยุทธศาสตร์ทางทหารในยุโรป และหลักการแบบตะวันออกตามแนวคิดของซุน วู แนวคิดทั้งสองได้ผสมผสานและมีความเกี่ยวโยงกันในปัจจุบัน
ในมุมมองคำว่าสงครามตามแนวคิดตะวันตก จะมองสงครามว่าเป็นการใช้กำลังทหารในการต่อสู้ห้ำหั่นกัน และจะยกสงครามที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการทหารออกจากการเมืองอย่างชัดเจน ตะวันตกมองว่าสงครามคือเครื่องมือหนึ่งในการบรรลุผลทางการเมือง แนวคิดลักษณะนี้ได้มาจากนักการทหารชาวปรัสเซีย ชื่อ คาร์ล วอน เคล้าเซอร์วิทซ์
ในด้านตะวันออกคงจะหลีกเลี่ยงที่จะเอ่ยถึงแนวความคิดด้านยุทธศาสตร์ของซุนวู ไม่ได้ ซุนวูกล่าวว่า การชนะโดยไม่ต้องรบคือที่สุดของชัยชนะ การชนะโดยไม่ต้องรบคือการชนะทางการเมือง หรือ การมีอำนาจหรือการเจรจาต่อรองเพื่อให้ได้ผลประโยชน์แห่งชาติที่ต้องการ โดยไม่ต้องใช้กำลังทหารในการทำสงคราม
อีกด้านหนึ่ง นักยุทธศาสตร์ชาวรัสเซียก็ได้ปรับแนวความคิดของเคล้า เซอร์วิทซ์ ที่ว่า “สงคราม คือ ความต่อเนื่องทางการเมือง” แปลความหมายคือสงครามคือเครื่องมือหนึ่งเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ทางการเมืองที่ต้องการ รัสเซียได้กลับแนวคิดของเคล้า เซอร์วิทซ์ดังกล่าว โดยรัสเซียมองว่า “การเมือง คือ ความต่อเนื่องของสงคราม” เนื่องจากความซับซ้อนของโลกในปัจจุบันทำให้ไม่สามารถทำสงครามในลักษณะที่จะกำจัดศัตรูให้หมดสิ้นเด็ดขาดได้ จึงทำให้สงครามกับการเมืองเป็นเรื่องที่มาควบคู่กัน เมื่อมีการทำสงครามจนถึงในระดับหนึ่งที่ได้เปรียบก็ต้องมีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ที่ต้องการ อีกนัยหนึ่ง ในมุมมองเช่นนี้จะเห็นว่านักยุทธศาสตร์ของรัสเซียมองคำว่า “สงคราม” คือการต่อสู้แข่งขันกัน และอะไรที่มีการต่อสู้แข็งขันถึงแม้จะไม่ใช้กำลังทหารเข้าห้ำหั่นกันก็อาจจะเรียกว่า “สงคราม” ได้ เช่น การแข่งขันกันทางการเมืองเป็นต้น แนวคิดนี้จึงเป็นการเชื่อมโยงการทำสงครามกับการเมืองเข้าด้วยกัน ทั้งสองส่วนล้วนเป็นเครื่องมือเพื่อให้ได้ผลประโยชน์แห่งชาติที่ต้องการ และแนวคิดแบบนี้จึงทำให้เกิด “สงครามลูกผสม” หรือ Hybrid Warfare ที่กำลังโด่งดังในปัจจุบัน
ในมุมมองของสหรัฐฯ ที่พยายามจะยึดมั่นกับหลัก “การเมืองนำการทหาร” สหรัฐฯ มีมุมมองเกี่ยวกับงานด้านการทหารแบบตะวันตก คือ การทหารเป็นเครื่องมือหนึ่งทางการเมือง แต่ในขณะเดียวกัน บทเรียนจากความพ่ายแพ้ในสงครามเวียดนามเนื่องจากการเมืองเข้ามาแทรกแซงการทหาร จนทำให้ต้องถอนกำลังออกไปทั้งๆ ที่สหรัฐฯ แทบจะไม่เคยพ่ายแพ้ทางยุทธวิธีต่อเวียดนามเหนือเลยด้วยซ้ำ สหรัฐฯ แก้ไขปัญหาด้วยการเพิ่มระดับของสงครามในระดับยุทธการ หรือ operational level of war ขึ้นมา เพื่อเป็นตัวคั่นกลางระหว่างแนวความคิดทางยุทธศาสตร์ที่จะถูกกำหนดโดยนักการเมืองกับการปฏิบัติทางยุทธวิธีที่วางแผนและปฏิบัติโดยนักการทหาร ในระดับยุทธการนี้จะแปรความมุ่งหมายทางการเมืองออกมาเป็นแผนการปฏิบัติทางทหารเพื่อให้การปฏิบัติการทางทหารสอดคล้องกับเป้าหมายทางการเมือง และในขณะเดียวกันก็เป็นการป้องกันการเมืองไม่ให้เข้ามาแทรกและวุ่นวายกับการปฏิบัติทางทหารอย่างเช่นในสงครามเวียดนาม
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้สหรัฐฯ จะพยายามสร้างภาพว่าสหรัฐฯ มีหลักนิยมที่แยกการทหารกับการเมืองชัดเจน แต่ในการปฏิบัติแล้วไม่อาจจะทำได้ สหรัฐฯ จึงคิดคำเรียกหลักการทหารทหารในมุมมองของตนขึ้นมา คือ สงครามการเมือง (Political Warfare) ในหลักการนี้จะมีความใกล้เคียงกับสงครามลูกผสม (Hybrid Warfare) เพียงแต่ในสงครามลูกผสมจะผสมผสานเครื่องมือทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง การทหารเข้าด้วยกัน เพื่อให้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ แต่ในสงครามการเมือง จะเป็นแนวคิดที่คล้ายกับหลักการของซุน วู คือ การชนะโดยไม่ต้องรบ สงครามการเมืองนี้จะมุ่งเน้นการใช้พลังอำนาจในด้านต่างๆ ยกเว้นหรือเลี่ยงเลี่ยงการใช้พลังอำนาจทางทหาร (การใช้กำลังทหาร) เพื่อบีบบังคับให้ประเทศเป้าหมายยอมปฏิบัติตามหรือคล้อยตามยุทธศาสตร์ของตนเอง สงครามการเมืองอาจจะครอบคลุมในเรื่องของการก่อความไม่สงบบ้าง แต่ก็เป็นเพียงเพื่อประกอบเงื่อนไขทางการเมืองที่ตนเองต้องการให้เกิด
ขอพักก่อน มาต่อตอนต่อไปในเรื่องบทเรียนไทยกับสงครามเย็นในอดีต ในคอมเม้นท์