นับวันผลกระทบอันเกิดจากสถานะ "รัฐบาลทหาร" ของ "นายกฯตู่" พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เริ่มผลิดอกออกผลชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ
ไม่เพียงเฉพาะ "ดอกผล" อันเกิดจาก "ปัญหาทางเศรษฐกิจ" เท่านั้นที่เป็นรูปธรรม
แต่ยังมี "ท่าที" อันแข็งกร้าวจากบรรดารัฐบาลประเทศมหาอำนาจต่างๆ ที่ออกมาท้าทาย "รัฐบาลทหาร" ของ
พล.อ.ประยุทธ์ กดดันให้เร่งนำพาประเทศเดินตาม "โรดแมป 3 ระยะ" กลับสู่โหมดเลือกตั้งคืนประชาธิปไตย
แบบคนเท่ากันตามแบบอย่างที่สากลโลกให้การยอมรับ ปรากฏขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่รัฐประหาร 22
พฤษภาคม 2557 เป็นต้นมาแล้ว
โดยเฉพาะท่าของ "พญาอินทรี" สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป (อียู) ที่แสดงออกถึงการไม่ยอมรับการรัฐประหาร
ในไทยอย่างตรงไปตรงมา จนทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ถึงกับเปล่งวาทะตอบโต้สหรัฐว่า "อย่าตัดเสื้อตัวเดียวให้คนทั้ง
โลกใส่" แล้วหันไปแสวงหามิตรอื่นในเวทีระหว่างประเทศ อย่างความพยายามติดต่อกับสาธารณรัฐประชาชนจีน
รวมถึงความพยายามที่จะสร้างความใกล้ชิดกับ "รัสเซีย" ผ่านการให้การต้อนรับการเดินทางมาเยือนไทยของ
"ดมิทรี เมดเวเดฟ" นายกรัฐมนตรีรัฐเซีย เมื่อสัปดาห์ก่อน พร้อมลงนามในความร่วมมือต่างๆ ของสองประเทศ
ทำเอา "บรรดากองเชียร์" ออกมาสร้างกระแส "ปรับดุลแห่งอำนาจ" กับรัฐเซียตอบโต้ทางการทูตใส่สหรัฐ จนกระทั่ง
โดนกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า กำลังนำปัญหาเฉพาะหน้าอันเกิดจากการรัฐประหารมาเป็นเงื่อนไขที่อาจสร้างผลกระทบ
ในระยะยาว เพราะ "พลัง" อันเกิดจาก "ท่าทีแห่งดุลอำนาจ" เป็นสิ่งที่ต้องพึ่งระมัดระวังอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกับผลกระทบ
ที่จะเกิดกับความสัมพันธ์กับมิตรประเทศเก่าแก่อย่างสหรัฐ!
ไม่เพียงเฉพาะ ท่าที "ทางการทูต" บนเวทีการเมืองระหว่างประเทศเท่านั้น แต่ยังปรากฏแถลงการณ์อันเป็นท่าทีจาก
องค์กรด้าน "สิทธิมนุษยชน" ระหว่างประเทศต่างๆ คู่ขนานไปอีกด้วย ดังจะเห็นได้จากแถลงการณ์คัดค้านในกรณีต่างๆ
ที่ปรากฏขึ้นตลอดระยะเวลา 11 เดือนที่ผ่านมา
ไม่ว่า การคัดค้านการเชิญผู้เห็นต่างทางการเมืองเข้าไปปรับทัศนคติ ไม่ว่า การคัดค้านการแก้ไข พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร
หรือไม่ว่า การคัดค้าน สนช.ในการออกฎหมายชุมนุมสาธารณะที่มีเนื้อหาจำกัดเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงออกของประชาชน เป็นต้น
อย่างกรณีล่าสุด ภายหลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ตัดสินใจใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 ที่มีเนื้อหา
มอบอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ในการสั่งการระงับยับยั้ง หรือกระทำการใดๆ ไม่ว่าจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ บริหาร
หรือตุลาการ แก่หัวหน้า คสช.ก็ยิ่งปรากฏขึ้นอย่างหนัก
ไล่เลียงตั้งแต่ "ริชาร์ด เบนเน็ตต์" ผอ.ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวผ่านแถลงการณ์ผ่านเว็บไซต์
ว่า
การนำมาตรา 44 มาใช้แทนกฎอัยการศึก เป็นความพยายามที่จะใช้ "ม่านคลุม" เพื่อปิดบังความตั้งใจที่จะใช้กำลังทหารเพื่อ
ปราบปรามผู้มีความเห็นต่าง เสมือนเป็นการต่อใบอนุญาตละเมิดสิทธิมนุษยชน
"ซาอิด ราด อัล-ฮุสเซน" ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระบุว่า
รู้สึกตื่นตระหนกกับการตัดสินใจใช้อำนาจที่รุนแรงกว่า
กฎอัยการศึก เนื่องจากมาตรา 44 ได้ให้อำนาจอย่างอิสระกว้างขวางไร้ขอบเขตกับหัวหน้ารัฐบาลทหาร โดยไม่มีช่องว่างตรวจสอบ
ถ่วงดุลจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง "การตัดสินใจดังกล่าวทำให้การยกเลิกกฎอัยการศึกไม่มีความหมาย เพราะเป็นการปิดประตูไปสู่การ
ละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในระดับร้ายแรง" นายซาอิดระบุ
เช่นเดียวกับ แถลงการณ์ของ "ฮิวแมนไรต์สวอตช์" ที่ระบุว่า
การนำมาตรา 44 มาใช้เป็นเครื่องชี้วัดได้ว่า "ถึงจะยกเลิกกฎอัยการศึก
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไทยมีพัฒนาการด้านสิทธิมนุษยชนดีขึ้น" ก่อนที่ "แบรด อดัมส์" ผอ.ฝ่ายเอเชียของฮิวแมนไรต์สวอตช์
จะชี้อย่างชัดเจนว่า
"การใช้มาตรา 44 ที่ให้อำนาจอย่างไม่จำกัด แก่ผู้นำทหาร ยิ่งทำให้ไทยถอยหลังสู่ความเป็นเผด็จการมากยิ่งขึ้น"
ด้วยท่าที่ต่างๆ ที่ออกมา ภายหลังหัวหน้า คสช.ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่ง 3/2558 แทนการบังคับใช้กฎอัยการศึกดังกล่าว
จึงทำให้ รองนายกฯด้านกฎหมาย "วิษณุ เครืองาม" พร้อมด้วย "เสธ.ต๊อด" พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษก คสช. ต้องเชิญคณะทูตานุทูต
ประเทศต่างๆ ผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศ รวมถึงสื่อมวลชนต่างประเทศที่เข้ามารายงานความเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศ
ไทย เพื่อมารับฟังเหตุความจำเป็นที่ต้องประกาศใช้มาตรา 44 และ อธิบายสาระสำคัญ เพื่อการป้องกันและปราบปรามการกระทำ
ความผิด รวมถึงการมุ่งเน้นควบคุมสถานการณ์จากเหตุร้าย
เป็นเหตุร้ายที่เกิดจากคน 5 กลุ่ม ดังนี้ 1.กลุ่มผู้สูญเสียอำนาจทางการเมือง 2.กลุ่มผู้สูญเสียผลประโยชน์จากการจัดระเบียบของ
คสช. 3.กลุ่มที่ไม่ต้องการให้ใช้รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้ง 4.กลุ่มที่ต้องการสร้างสถานการณ์ และ 5.กลุ่มสุจริตที่ได้รับความ
เดือดร้อน และรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม
ขณะเดียวกัน "วิษณุ เครืองาม" ยังพา "ย้อนอดีต" อธิบายว่า ไม่ใช้ของใหม่ เพราะมีอำนาจคล้ายคลึงกับ มาตรา 44 ใช้มีมาแล้ว
ในสมัยรัฐบาล "จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์" สมัยรัฐบาล "จอมพลถนอม กิตติขจร" ในสมัยรัฐบาล "พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์"
และในสมัยรัฐบาล "อานันท์ ปันยารชุน"
พร้อมยกต้นฉบับของ มาตรา 44 ว่านำมาจากหลักการตามมาตรา 16 ของรัฐธรรมนูญฝรั่งเศสปี 1985 ที่อำนาจประธานาธิบดีออก
คำสั่งหรือกระทำการใดๆ ที่จำเป็นเมื่อมีสถานการณ์กระทบต่อความมั่นคงของชาติ แม้ว่าจะอธิบายว่า "ไม่ใช้ของใหม่" แม้ว่าจะยก
"รัฐธรรมนูญฝรั่งเศสปี 1985" เทียบ แต่เสียงวิพากษ์วิจารณ์ก็ยังมีมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะท่าทีอันเป็นมุมมองจากสื่อต่างประเทศ
ล่าสุด บทบรรณาธิการของ "หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์" ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 10 เมษายนที่ผ่านมา ได้กล่าวถึงการยกเลิกการใช้กฎ
อัยการศึกของไทย โดยหันมาใช้อำนาจที่เด็ดขาดยิ่งกว่าเดิมของรัฐบาลทหารไทย ซึ่งเปรียบว่า การกระทำดังกล่าวไม่ต่างจากการ
"เล่นกลล่อลวงคนดู"
"เพื่อจูงใจนักลงทุนต่างชาติและกระตุ้นการท่องเที่ยวเนื่องจากประกันการท่องเที่ยวไม่คุ้มครองในประเทศที่มีการใช้กฎอัยการศึกโดย
มิได้เกี่ยวข้องใดๆ กับการฟื้นฟูประชาธิปไตยแต่อย่างใด"
ก่อนที่ "นิวยอร์กไทม์" จะทิ้งท้ายได้อย่างน่าสนใจว่า
ผู้นำไทยดูเหมือนจะได้ยินแต่เสียงเรียกร้องเกี่ยวกับกฎอัยการศึก แต่จงใจไม่
รับฟังเนื้อหาส่วนอื่นๆ ที่เรียกร้องให้ฟื้นฟูการให้ความคุ้มครองด้าน "สิทธิมนุษยชน" และ "ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่" ด้วยการมีส่วน
ร่วมตามระบอบประชาธิปไตย และมีการเลือกตั้งที่เป็นอิสระ
แน่นอนว่า การจะ "ปลดล็อก" ปัญหาอันที่เป็นท่าที่ของต่างประเทศที่มีต่อไทยในแง่ลบเช่นนี้ คงหลีกหนีไม่พ้นการนำพาประเทศกลับ
ไปเดินตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย เร่งให้มีการเลือกตั้งภายในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มีเนื้อหาที่ประชาชนคนส่วนใหญ่ให้การยอมรับ
ดังนั้นหลังจากนี้ทุกสายตาจึงต่าง "จับจ้อง" งานของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญที่พิจารณาเนื้อใหม่ 315 มาตราตาม
ร่างแรกของรัฐธรรมนูญจนเสร็จแล้วว่า จะได้รับการยอมรับมากน้อยแค่ไหน
เพราะไม่ว่าจะเป็นที่มานายกฯ ระบบการเลือกตั้ง ที่มาของ ส.ส. ส.ว. และองค์กรตามรัฐธรรมนูญ เป็นต้น ล้วนเป็นประเด็น "เชิญแขก"
ทั้งจากฝ่ายการเมือง "ภายใน" กลุ่มนักวิชาการที่ยึดมั่นในหลักการ รวมทั้งบรรดานักปฏิรูปแห่งชาติ ในยุค คสช.เองให้ออกมาวิพากษ์
วิจารณ์กันอย่างหนัก
ขณะที่ กระบวนการในการปฏิรูปรวมไปถึงกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญ ยังเป็นประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์จาก "ภายนอก" อยู่ตลอดถึง
ความเป็นสากล และกระบวนการในการมีส่วนร่วมของประชาชน เพราะบุคคลที่ถูกตั้งขึ้นมาทำงานล้วนมาจาก คสช.ที่มีที่มาจากการ
รัฐประหารทั้งสิ้น
ด้วยเหตุนี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่ภายหลังจากเสร็จสิ้นการประชุม 5 สายเมื่อสัปดาห์ก่อน พล.อ.ประยุทธ์จะมีแนวคิดสั่งตรงนักวิชาการจาก
ประเทศ "ฝรั่งเศส" กับ "เยอรมนี" เข้ามาแชร์ ประสบการณ์การร่างรัฐธรรมนูญ เพราะกังวลว่าจะไม่ได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ
เรียกได้ว่า เตรียมการล่วงหน้าไว้รับมือกันกระแสจากต่างประเทศไว้โดยเฉพาะ "ยุทธพร อิสรชัย" คณบดีรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัย
ธรรมาธิราช มองแนวคิดดังกล่าวว่า
เป็นความต้องการของรัฐบาล ในเรื่องของการรับรองความชอบธรรม โดยการนำคนที่อยู่นอกสังคม
มารับรองความชอบธรรมตามหลักคิดแบบชาติตะวันตกนั่นเอง "การเชิญต่างประเทศมาให้ความรู้ มาบอกบทเรียน เป็นเพียงเปลือก
เพราะแก่นของเรื่องจริงๆ คือ รัฐธรรมนูญไม่ได้ร่างอยู่บนพื้นฐานของประชาธิปไตย หรือเปิดโอกาสให้สังคมมีส่วนร่วม หรือให้ความ
รู้สึกว่าประชาชนเป็นเจ้าของมากกว่านี้" อ.ยุทธพรระบุ
เช่นเดียวกับ "สมชาย ปรีชาศิลปกุล" อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เห็นว่า
เป็นความพยายามดึงต่างประเทศเข้า
มาแสวงหาความชอบธรรมให้รัฐธรรมนูญเป็นเหมือนสร้างตาประทับรับรองรัฐธรรมนูญให้มีหน้าตาดีขึ้นในสายตานานาชาติ"จะดึงประเทศ
ฝรั่งเศสและเยอรมนีเข้ามาตัวรัฐธรรมนูญก็ไม่นำไปสู่การสร้างความชอบธรรมหรือ การเปลี่ยนแปลงอะไรได้ โดยเฉพาะในด้านภาพลักษณ์
เพราะต่างประเทศตีความและเข้าใจในเรื่องความขัดแย้งของสังคมไทยมาก โดยเฉพาะกรณีเปลี่ยนจากกฎอัยการศึกมาประกาศใช้มาตรา
44 เป็นต้น" อ.สมชายระบุ
ดังนั้น ภายหลังจากร่างแรกของรัฐธรรมนูญที่มีจำนวนทั้งหมด 315 มาตรา ได้ออก "ยลโฉม" สู่สาธารณะอย่างเป็นทางการในช่วงหลัง
หยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ ที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) จะเปิด "ศึกซักฟอก"
ร่างแรกในระหว่างวันที่ 20-26 เมษายนนี้ ท่าทีมุมมอง
จากนานาชาติที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญออกมาในทิศทางไหน เป็นสิ่งที่น่าติดตามอย่างยิ่งยวด !!!
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1429091251
ปฏิกิริยานานาชาติ จับตา"โลก"ล้อม"ร่างรธน."
และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เริ่มผลิดอกออกผลชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ
ไม่เพียงเฉพาะ "ดอกผล" อันเกิดจาก "ปัญหาทางเศรษฐกิจ" เท่านั้นที่เป็นรูปธรรม
แต่ยังมี "ท่าที" อันแข็งกร้าวจากบรรดารัฐบาลประเทศมหาอำนาจต่างๆ ที่ออกมาท้าทาย "รัฐบาลทหาร" ของ
พล.อ.ประยุทธ์ กดดันให้เร่งนำพาประเทศเดินตาม "โรดแมป 3 ระยะ" กลับสู่โหมดเลือกตั้งคืนประชาธิปไตย
แบบคนเท่ากันตามแบบอย่างที่สากลโลกให้การยอมรับ ปรากฏขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่รัฐประหาร 22
พฤษภาคม 2557 เป็นต้นมาแล้ว
โดยเฉพาะท่าของ "พญาอินทรี" สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป (อียู) ที่แสดงออกถึงการไม่ยอมรับการรัฐประหาร
ในไทยอย่างตรงไปตรงมา จนทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ถึงกับเปล่งวาทะตอบโต้สหรัฐว่า "อย่าตัดเสื้อตัวเดียวให้คนทั้ง
โลกใส่" แล้วหันไปแสวงหามิตรอื่นในเวทีระหว่างประเทศ อย่างความพยายามติดต่อกับสาธารณรัฐประชาชนจีน
รวมถึงความพยายามที่จะสร้างความใกล้ชิดกับ "รัสเซีย" ผ่านการให้การต้อนรับการเดินทางมาเยือนไทยของ
"ดมิทรี เมดเวเดฟ" นายกรัฐมนตรีรัฐเซีย เมื่อสัปดาห์ก่อน พร้อมลงนามในความร่วมมือต่างๆ ของสองประเทศ
ทำเอา "บรรดากองเชียร์" ออกมาสร้างกระแส "ปรับดุลแห่งอำนาจ" กับรัฐเซียตอบโต้ทางการทูตใส่สหรัฐ จนกระทั่ง
โดนกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า กำลังนำปัญหาเฉพาะหน้าอันเกิดจากการรัฐประหารมาเป็นเงื่อนไขที่อาจสร้างผลกระทบ
ในระยะยาว เพราะ "พลัง" อันเกิดจาก "ท่าทีแห่งดุลอำนาจ" เป็นสิ่งที่ต้องพึ่งระมัดระวังอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกับผลกระทบ
ที่จะเกิดกับความสัมพันธ์กับมิตรประเทศเก่าแก่อย่างสหรัฐ!
ไม่เพียงเฉพาะ ท่าที "ทางการทูต" บนเวทีการเมืองระหว่างประเทศเท่านั้น แต่ยังปรากฏแถลงการณ์อันเป็นท่าทีจาก
องค์กรด้าน "สิทธิมนุษยชน" ระหว่างประเทศต่างๆ คู่ขนานไปอีกด้วย ดังจะเห็นได้จากแถลงการณ์คัดค้านในกรณีต่างๆ
ที่ปรากฏขึ้นตลอดระยะเวลา 11 เดือนที่ผ่านมา
ไม่ว่า การคัดค้านการเชิญผู้เห็นต่างทางการเมืองเข้าไปปรับทัศนคติ ไม่ว่า การคัดค้านการแก้ไข พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร
หรือไม่ว่า การคัดค้าน สนช.ในการออกฎหมายชุมนุมสาธารณะที่มีเนื้อหาจำกัดเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงออกของประชาชน เป็นต้น
อย่างกรณีล่าสุด ภายหลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ตัดสินใจใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 ที่มีเนื้อหา
มอบอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ในการสั่งการระงับยับยั้ง หรือกระทำการใดๆ ไม่ว่าจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ บริหาร
หรือตุลาการ แก่หัวหน้า คสช.ก็ยิ่งปรากฏขึ้นอย่างหนัก
ไล่เลียงตั้งแต่ "ริชาร์ด เบนเน็ตต์" ผอ.ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวผ่านแถลงการณ์ผ่านเว็บไซต์
ว่า การนำมาตรา 44 มาใช้แทนกฎอัยการศึก เป็นความพยายามที่จะใช้ "ม่านคลุม" เพื่อปิดบังความตั้งใจที่จะใช้กำลังทหารเพื่อ
ปราบปรามผู้มีความเห็นต่าง เสมือนเป็นการต่อใบอนุญาตละเมิดสิทธิมนุษยชน
"ซาอิด ราด อัล-ฮุสเซน" ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระบุว่า รู้สึกตื่นตระหนกกับการตัดสินใจใช้อำนาจที่รุนแรงกว่า
กฎอัยการศึก เนื่องจากมาตรา 44 ได้ให้อำนาจอย่างอิสระกว้างขวางไร้ขอบเขตกับหัวหน้ารัฐบาลทหาร โดยไม่มีช่องว่างตรวจสอบ
ถ่วงดุลจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง "การตัดสินใจดังกล่าวทำให้การยกเลิกกฎอัยการศึกไม่มีความหมาย เพราะเป็นการปิดประตูไปสู่การ
ละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในระดับร้ายแรง" นายซาอิดระบุ
เช่นเดียวกับ แถลงการณ์ของ "ฮิวแมนไรต์สวอตช์" ที่ระบุว่า การนำมาตรา 44 มาใช้เป็นเครื่องชี้วัดได้ว่า "ถึงจะยกเลิกกฎอัยการศึก
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไทยมีพัฒนาการด้านสิทธิมนุษยชนดีขึ้น" ก่อนที่ "แบรด อดัมส์" ผอ.ฝ่ายเอเชียของฮิวแมนไรต์สวอตช์
จะชี้อย่างชัดเจนว่า "การใช้มาตรา 44 ที่ให้อำนาจอย่างไม่จำกัด แก่ผู้นำทหาร ยิ่งทำให้ไทยถอยหลังสู่ความเป็นเผด็จการมากยิ่งขึ้น"
ด้วยท่าที่ต่างๆ ที่ออกมา ภายหลังหัวหน้า คสช.ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่ง 3/2558 แทนการบังคับใช้กฎอัยการศึกดังกล่าว
จึงทำให้ รองนายกฯด้านกฎหมาย "วิษณุ เครืองาม" พร้อมด้วย "เสธ.ต๊อด" พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษก คสช. ต้องเชิญคณะทูตานุทูต
ประเทศต่างๆ ผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศ รวมถึงสื่อมวลชนต่างประเทศที่เข้ามารายงานความเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศ
ไทย เพื่อมารับฟังเหตุความจำเป็นที่ต้องประกาศใช้มาตรา 44 และ อธิบายสาระสำคัญ เพื่อการป้องกันและปราบปรามการกระทำ
ความผิด รวมถึงการมุ่งเน้นควบคุมสถานการณ์จากเหตุร้าย
เป็นเหตุร้ายที่เกิดจากคน 5 กลุ่ม ดังนี้ 1.กลุ่มผู้สูญเสียอำนาจทางการเมือง 2.กลุ่มผู้สูญเสียผลประโยชน์จากการจัดระเบียบของ
คสช. 3.กลุ่มที่ไม่ต้องการให้ใช้รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้ง 4.กลุ่มที่ต้องการสร้างสถานการณ์ และ 5.กลุ่มสุจริตที่ได้รับความ
เดือดร้อน และรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม
ขณะเดียวกัน "วิษณุ เครืองาม" ยังพา "ย้อนอดีต" อธิบายว่า ไม่ใช้ของใหม่ เพราะมีอำนาจคล้ายคลึงกับ มาตรา 44 ใช้มีมาแล้ว
ในสมัยรัฐบาล "จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์" สมัยรัฐบาล "จอมพลถนอม กิตติขจร" ในสมัยรัฐบาล "พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์"
และในสมัยรัฐบาล "อานันท์ ปันยารชุน"
พร้อมยกต้นฉบับของ มาตรา 44 ว่านำมาจากหลักการตามมาตรา 16 ของรัฐธรรมนูญฝรั่งเศสปี 1985 ที่อำนาจประธานาธิบดีออก
คำสั่งหรือกระทำการใดๆ ที่จำเป็นเมื่อมีสถานการณ์กระทบต่อความมั่นคงของชาติ แม้ว่าจะอธิบายว่า "ไม่ใช้ของใหม่" แม้ว่าจะยก
"รัฐธรรมนูญฝรั่งเศสปี 1985" เทียบ แต่เสียงวิพากษ์วิจารณ์ก็ยังมีมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะท่าทีอันเป็นมุมมองจากสื่อต่างประเทศ
ล่าสุด บทบรรณาธิการของ "หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์" ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 10 เมษายนที่ผ่านมา ได้กล่าวถึงการยกเลิกการใช้กฎ
อัยการศึกของไทย โดยหันมาใช้อำนาจที่เด็ดขาดยิ่งกว่าเดิมของรัฐบาลทหารไทย ซึ่งเปรียบว่า การกระทำดังกล่าวไม่ต่างจากการ
"เล่นกลล่อลวงคนดู"
"เพื่อจูงใจนักลงทุนต่างชาติและกระตุ้นการท่องเที่ยวเนื่องจากประกันการท่องเที่ยวไม่คุ้มครองในประเทศที่มีการใช้กฎอัยการศึกโดย
มิได้เกี่ยวข้องใดๆ กับการฟื้นฟูประชาธิปไตยแต่อย่างใด"
ก่อนที่ "นิวยอร์กไทม์" จะทิ้งท้ายได้อย่างน่าสนใจว่า ผู้นำไทยดูเหมือนจะได้ยินแต่เสียงเรียกร้องเกี่ยวกับกฎอัยการศึก แต่จงใจไม่
รับฟังเนื้อหาส่วนอื่นๆ ที่เรียกร้องให้ฟื้นฟูการให้ความคุ้มครองด้าน "สิทธิมนุษยชน" และ "ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่" ด้วยการมีส่วน
ร่วมตามระบอบประชาธิปไตย และมีการเลือกตั้งที่เป็นอิสระ
แน่นอนว่า การจะ "ปลดล็อก" ปัญหาอันที่เป็นท่าที่ของต่างประเทศที่มีต่อไทยในแง่ลบเช่นนี้ คงหลีกหนีไม่พ้นการนำพาประเทศกลับ
ไปเดินตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย เร่งให้มีการเลือกตั้งภายในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มีเนื้อหาที่ประชาชนคนส่วนใหญ่ให้การยอมรับ
ดังนั้นหลังจากนี้ทุกสายตาจึงต่าง "จับจ้อง" งานของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญที่พิจารณาเนื้อใหม่ 315 มาตราตาม
ร่างแรกของรัฐธรรมนูญจนเสร็จแล้วว่า จะได้รับการยอมรับมากน้อยแค่ไหน
เพราะไม่ว่าจะเป็นที่มานายกฯ ระบบการเลือกตั้ง ที่มาของ ส.ส. ส.ว. และองค์กรตามรัฐธรรมนูญ เป็นต้น ล้วนเป็นประเด็น "เชิญแขก"
ทั้งจากฝ่ายการเมือง "ภายใน" กลุ่มนักวิชาการที่ยึดมั่นในหลักการ รวมทั้งบรรดานักปฏิรูปแห่งชาติ ในยุค คสช.เองให้ออกมาวิพากษ์
วิจารณ์กันอย่างหนัก
ขณะที่ กระบวนการในการปฏิรูปรวมไปถึงกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญ ยังเป็นประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์จาก "ภายนอก" อยู่ตลอดถึง
ความเป็นสากล และกระบวนการในการมีส่วนร่วมของประชาชน เพราะบุคคลที่ถูกตั้งขึ้นมาทำงานล้วนมาจาก คสช.ที่มีที่มาจากการ
รัฐประหารทั้งสิ้น
ด้วยเหตุนี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่ภายหลังจากเสร็จสิ้นการประชุม 5 สายเมื่อสัปดาห์ก่อน พล.อ.ประยุทธ์จะมีแนวคิดสั่งตรงนักวิชาการจาก
ประเทศ "ฝรั่งเศส" กับ "เยอรมนี" เข้ามาแชร์ ประสบการณ์การร่างรัฐธรรมนูญ เพราะกังวลว่าจะไม่ได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ
เรียกได้ว่า เตรียมการล่วงหน้าไว้รับมือกันกระแสจากต่างประเทศไว้โดยเฉพาะ "ยุทธพร อิสรชัย" คณบดีรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัย
ธรรมาธิราช มองแนวคิดดังกล่าวว่า เป็นความต้องการของรัฐบาล ในเรื่องของการรับรองความชอบธรรม โดยการนำคนที่อยู่นอกสังคม
มารับรองความชอบธรรมตามหลักคิดแบบชาติตะวันตกนั่นเอง "การเชิญต่างประเทศมาให้ความรู้ มาบอกบทเรียน เป็นเพียงเปลือก
เพราะแก่นของเรื่องจริงๆ คือ รัฐธรรมนูญไม่ได้ร่างอยู่บนพื้นฐานของประชาธิปไตย หรือเปิดโอกาสให้สังคมมีส่วนร่วม หรือให้ความ
รู้สึกว่าประชาชนเป็นเจ้าของมากกว่านี้" อ.ยุทธพรระบุ
เช่นเดียวกับ "สมชาย ปรีชาศิลปกุล" อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เห็นว่า เป็นความพยายามดึงต่างประเทศเข้า
มาแสวงหาความชอบธรรมให้รัฐธรรมนูญเป็นเหมือนสร้างตาประทับรับรองรัฐธรรมนูญให้มีหน้าตาดีขึ้นในสายตานานาชาติ"จะดึงประเทศ
ฝรั่งเศสและเยอรมนีเข้ามาตัวรัฐธรรมนูญก็ไม่นำไปสู่การสร้างความชอบธรรมหรือ การเปลี่ยนแปลงอะไรได้ โดยเฉพาะในด้านภาพลักษณ์
เพราะต่างประเทศตีความและเข้าใจในเรื่องความขัดแย้งของสังคมไทยมาก โดยเฉพาะกรณีเปลี่ยนจากกฎอัยการศึกมาประกาศใช้มาตรา
44 เป็นต้น" อ.สมชายระบุ
ดังนั้น ภายหลังจากร่างแรกของรัฐธรรมนูญที่มีจำนวนทั้งหมด 315 มาตรา ได้ออก "ยลโฉม" สู่สาธารณะอย่างเป็นทางการในช่วงหลัง
หยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ ที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) จะเปิด "ศึกซักฟอก" ร่างแรกในระหว่างวันที่ 20-26 เมษายนนี้ ท่าทีมุมมอง
จากนานาชาติที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญออกมาในทิศทางไหน เป็นสิ่งที่น่าติดตามอย่างยิ่งยวด !!!
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1429091251