อ่านข่าวมาจาก ไทยรัฐ
ถ้าไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัย ได้ทันก่อน 30 มิ.ย. นี้ จะมีผลกระทบอะไรบ้าง
มิ.ย.ต้องจบก่อนสตาร์อัลไลแอนซ์เขี่ยทิ้ง
ควักตัวช่วยพิเศษมาตรา 44 เร่งแก้กฎหมายที่เป็นปัญหาด้านความปลอดภัย ล็อกเป้าเคลียร์ให้จบภายใน มิ.ย.58 ไม่งั้นสายการบินไทยอาจถูกเขี่ยออกจากกลุ่มสตาร์อัลไลแอนซ์ เผยทบทวนใบอนุญาต 28 สายการบินใหม่ทั้งหมดภายใน มิ.ย.ก่อนไอเคโอเข้ามาตรวจซ้ำ ด้าน ทอท.ยันปัญหาไม่กระทบรายได้ เพราะมีสายการบินสัญชาติอื่นเข้าเสียบแทน
นายวรเดช หาญประเสริฐ รองปลัดคมนาคม ในฐานะรองประธานคณะกรรมการอำนวยการเพื่อแก้ไขปัญหาการบิน ตามข้อท้วงติงขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือไอเคโอ ว่า ขณะนี้ทางคณะทำงานได้เร่งแก้ไขกฎระเบียบในประเด็นที่มีปัญหาทั้งหมดที่เป็นข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย (Significant Safety Concerns : SSC) ทั้งเรื่องของกฎระเบียบ ข้อบังคับ เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศหรืออนุสัญญาชิคาโก โดยจะเร่งใช้อำนาจพิเศษ ตามมาตรา 44 เพื่อแก้ไขการดำเนินการรับรองการขนส่งสินค้าอันตราย (Dan-gerous Goods) ก่อน หลังจากนั้นจะเร่งดำเนินการแก้ไขการรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ (AOC) และการออกข้อกำหนดการปฏิบัติการให้แล้วเสร็จภายในเดือน พ.ค. 58 นี้
อย่างไรก็ตาม ภายในเดือน มิ.ย.นี้ ทางกรมการบินพลเรือน หรือ บพ. จะเริ่มกลับมาตรวจสอบมาตรฐานและทบทวนการออกใบอนุญาตประกอบการบินกับสายการบินทั้ง 28 สายการบินที่ได้รับใบอนุญาตไป ให้เสร็จสิ้นก่อน 30 มิ.ย. หลังจากนั้นทางไอเคโอจะเข้ามาตรวจซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
นายวรเดชกล่าวว่า ทางกระทรวงคมนาคม จะเร่งดำเนินการแก้ไข พ.ร.บ.เดินอากาศ แก้กฎหมายระเบียบข้อบังคับต่างๆ โดยมีต้นแบบจากกรมการบินพลเรือนญี่ปุ่น (เจแคป) ส่วนการปรับโครงสร้างกรมการบินพลเรือน จะมีการจัดตั้งกรมส่งเสริมกิจการขนส่งทางอากาศ ทำหน้าที่ดูแลสนามบินทั้ง 28 แห่ง และจัดตั้งสำนักงานการบินพลเรือน หรือสถาบันการบินพลเรือนแห่งชาติ โดยกรมการบินพลเรือนคาดหวังว่า การแก้ไขข้อบกพร่องด้านต่างๆ จะช่วยให้ไทยผ่านการตรวจสอบ และไอเคโอปลดล็อก SSC ให้ไทยกลับมามีมาตรฐานทางการบินที่ปลอดภัยอีกครั้ง
ทั้งนี้ หากไทยไม่สามารถปลดล็อก SSC ได้ทันตามกำหนดในเดือน มิ.ย. 58 นี้ ก็มีความกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการบินของไทย เช่น การสั่งห้ามไม่ให้สายการบินของไทยเข้าร่วมในกลุ่มพันธมิตรทางการบินสตาร์ อัลไลแอนซ์ และไม่สามารถทำการบินร่วมกัน ทั้งเครื่องบิน เที่ยวบิน และผู้โดยสาร หรือโค้ดแชร์
นายประสงค์ พูนธเนศ ประธานกรรมการ บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดเผยว่า ทอท.ไม่ได้รับผลกระทบในเรื่องนี้ แม้ว่าเครื่องบินเช่าเหมาลำจากประเทศไทยจะถูกสั่งห้ามทำการบิน แต่ก็สามารถนำเครื่องบินสัญชาติอื่นมาบินได้ เพราะความต้องการเดินทางของนักท่องเที่ยวไทยมีอยู่สูง
ทั้งนี้ ทอท.มั่นใจว่ารายได้ในปีนี้ (ต.ค.57- ก.ย.58) จะเติบโตมากกว่า 15% สูงกว่าประมาณการเดิมที่ตั้งอัตราการเติบโตไว้ 10% หลังผลประกอบการในช่วงครึ่งปีแรก มีปริมาณผู้โดยสารเติบโตดีเกินคาด โดยในไตรมาส 2/58 (ม.ค.-มี.ค.58) มีปริมาณผู้โดยสารเติบโต 5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และดีกว่าไตรมาส 1/58 (ต.ค.-ธ.ค.57) และคาดว่าปริมาณผู้โดยสารทั้งปี 58 จะเติบโต 5% โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากจีน ที่เพิ่มเข้ามาอีก 1 ล้านกว่าคนจากปีก่อนมีจำนวน 5 ล้านคน ส่วนนักท่องเที่ยวรัสเซียลดลง 5% แต่ก็ได้นักท่องเที่ยวจากอินเดียเข้ามาทดแทน
นายประสงค์กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เฟส 2 ว่า ขณะนี้ส่งเรื่องไปที่กระทรวงคมนาคมแล้ว และรอการพิจารณาจากสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่าจะสามารถเปิดประกวดราคาได้ในต้นปี 59 ทั้งนี้เบื้องต้นแบ่งออกเป็น 3 งานหลัก ได้แก่ โครงการก่อสร้างทางวิ่งสำรองหรือรันเวย์เส้นที่ 3 วงเงิน 20,000 ล้านบาท งานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 (ด้านเหนือ) วงเงิน 27,600 ล้านบาท และโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่ประกอบด้วยงานก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรอง หลังที่ 1 งานขยายอาคารผู้โดยสารด้านตะวันออก และงานก่อสร้างอาคารที่จอดรถยนต์และอาคารสำนักงาน ซึ่งจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 85 ล้านคน/ปี
ด้าน พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และสายการบินนกแอร์ ได้เสนอตัวเพื่อเข้าร่วมเป็นคณะทำงานอำนวยการ ช่วยปรับแผนในการแก้ไขปัญหาต่างๆเกี่ยวกับการให้บริการทางการบินเพื่อให้สอดคล้องกับผลการตรวจสอบข้อบกพร่องขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) โดยจะเข้ามาช่วยใน 3 ด้าน 1. การปรับโครงสร้างองค์กรของกรมการบินพลเรือนหรือ บพ. 2.การปรับมาตรฐานของกระบวนการรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศหรือการให้ใบประกอบอนุญาตทางการบิน AOL-AOC และ 3.การปรับแผนเพื่อปลดล็อก ข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย หรือ SSC.
http://203.151.20.61/content/491995
ถ้าการบินไทยถูกเขี่ยออกจากกลุ่มสตาร์อัลไลแอนซ์ จะมีผลอะไรไหม
ถ้าไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัย ได้ทันก่อน 30 มิ.ย. นี้ จะมีผลกระทบอะไรบ้าง
มิ.ย.ต้องจบก่อนสตาร์อัลไลแอนซ์เขี่ยทิ้ง
ควักตัวช่วยพิเศษมาตรา 44 เร่งแก้กฎหมายที่เป็นปัญหาด้านความปลอดภัย ล็อกเป้าเคลียร์ให้จบภายใน มิ.ย.58 ไม่งั้นสายการบินไทยอาจถูกเขี่ยออกจากกลุ่มสตาร์อัลไลแอนซ์ เผยทบทวนใบอนุญาต 28 สายการบินใหม่ทั้งหมดภายใน มิ.ย.ก่อนไอเคโอเข้ามาตรวจซ้ำ ด้าน ทอท.ยันปัญหาไม่กระทบรายได้ เพราะมีสายการบินสัญชาติอื่นเข้าเสียบแทน
นายวรเดช หาญประเสริฐ รองปลัดคมนาคม ในฐานะรองประธานคณะกรรมการอำนวยการเพื่อแก้ไขปัญหาการบิน ตามข้อท้วงติงขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือไอเคโอ ว่า ขณะนี้ทางคณะทำงานได้เร่งแก้ไขกฎระเบียบในประเด็นที่มีปัญหาทั้งหมดที่เป็นข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย (Significant Safety Concerns : SSC) ทั้งเรื่องของกฎระเบียบ ข้อบังคับ เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศหรืออนุสัญญาชิคาโก โดยจะเร่งใช้อำนาจพิเศษ ตามมาตรา 44 เพื่อแก้ไขการดำเนินการรับรองการขนส่งสินค้าอันตราย (Dan-gerous Goods) ก่อน หลังจากนั้นจะเร่งดำเนินการแก้ไขการรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ (AOC) และการออกข้อกำหนดการปฏิบัติการให้แล้วเสร็จภายในเดือน พ.ค. 58 นี้
อย่างไรก็ตาม ภายในเดือน มิ.ย.นี้ ทางกรมการบินพลเรือน หรือ บพ. จะเริ่มกลับมาตรวจสอบมาตรฐานและทบทวนการออกใบอนุญาตประกอบการบินกับสายการบินทั้ง 28 สายการบินที่ได้รับใบอนุญาตไป ให้เสร็จสิ้นก่อน 30 มิ.ย. หลังจากนั้นทางไอเคโอจะเข้ามาตรวจซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
นายวรเดชกล่าวว่า ทางกระทรวงคมนาคม จะเร่งดำเนินการแก้ไข พ.ร.บ.เดินอากาศ แก้กฎหมายระเบียบข้อบังคับต่างๆ โดยมีต้นแบบจากกรมการบินพลเรือนญี่ปุ่น (เจแคป) ส่วนการปรับโครงสร้างกรมการบินพลเรือน จะมีการจัดตั้งกรมส่งเสริมกิจการขนส่งทางอากาศ ทำหน้าที่ดูแลสนามบินทั้ง 28 แห่ง และจัดตั้งสำนักงานการบินพลเรือน หรือสถาบันการบินพลเรือนแห่งชาติ โดยกรมการบินพลเรือนคาดหวังว่า การแก้ไขข้อบกพร่องด้านต่างๆ จะช่วยให้ไทยผ่านการตรวจสอบ และไอเคโอปลดล็อก SSC ให้ไทยกลับมามีมาตรฐานทางการบินที่ปลอดภัยอีกครั้ง
ทั้งนี้ หากไทยไม่สามารถปลดล็อก SSC ได้ทันตามกำหนดในเดือน มิ.ย. 58 นี้ ก็มีความกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการบินของไทย เช่น การสั่งห้ามไม่ให้สายการบินของไทยเข้าร่วมในกลุ่มพันธมิตรทางการบินสตาร์ อัลไลแอนซ์ และไม่สามารถทำการบินร่วมกัน ทั้งเครื่องบิน เที่ยวบิน และผู้โดยสาร หรือโค้ดแชร์
นายประสงค์ พูนธเนศ ประธานกรรมการ บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดเผยว่า ทอท.ไม่ได้รับผลกระทบในเรื่องนี้ แม้ว่าเครื่องบินเช่าเหมาลำจากประเทศไทยจะถูกสั่งห้ามทำการบิน แต่ก็สามารถนำเครื่องบินสัญชาติอื่นมาบินได้ เพราะความต้องการเดินทางของนักท่องเที่ยวไทยมีอยู่สูง
ทั้งนี้ ทอท.มั่นใจว่ารายได้ในปีนี้ (ต.ค.57- ก.ย.58) จะเติบโตมากกว่า 15% สูงกว่าประมาณการเดิมที่ตั้งอัตราการเติบโตไว้ 10% หลังผลประกอบการในช่วงครึ่งปีแรก มีปริมาณผู้โดยสารเติบโตดีเกินคาด โดยในไตรมาส 2/58 (ม.ค.-มี.ค.58) มีปริมาณผู้โดยสารเติบโต 5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และดีกว่าไตรมาส 1/58 (ต.ค.-ธ.ค.57) และคาดว่าปริมาณผู้โดยสารทั้งปี 58 จะเติบโต 5% โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากจีน ที่เพิ่มเข้ามาอีก 1 ล้านกว่าคนจากปีก่อนมีจำนวน 5 ล้านคน ส่วนนักท่องเที่ยวรัสเซียลดลง 5% แต่ก็ได้นักท่องเที่ยวจากอินเดียเข้ามาทดแทน
นายประสงค์กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เฟส 2 ว่า ขณะนี้ส่งเรื่องไปที่กระทรวงคมนาคมแล้ว และรอการพิจารณาจากสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่าจะสามารถเปิดประกวดราคาได้ในต้นปี 59 ทั้งนี้เบื้องต้นแบ่งออกเป็น 3 งานหลัก ได้แก่ โครงการก่อสร้างทางวิ่งสำรองหรือรันเวย์เส้นที่ 3 วงเงิน 20,000 ล้านบาท งานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 (ด้านเหนือ) วงเงิน 27,600 ล้านบาท และโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่ประกอบด้วยงานก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรอง หลังที่ 1 งานขยายอาคารผู้โดยสารด้านตะวันออก และงานก่อสร้างอาคารที่จอดรถยนต์และอาคารสำนักงาน ซึ่งจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 85 ล้านคน/ปี
ด้าน พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และสายการบินนกแอร์ ได้เสนอตัวเพื่อเข้าร่วมเป็นคณะทำงานอำนวยการ ช่วยปรับแผนในการแก้ไขปัญหาต่างๆเกี่ยวกับการให้บริการทางการบินเพื่อให้สอดคล้องกับผลการตรวจสอบข้อบกพร่องขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) โดยจะเข้ามาช่วยใน 3 ด้าน 1. การปรับโครงสร้างองค์กรของกรมการบินพลเรือนหรือ บพ. 2.การปรับมาตรฐานของกระบวนการรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศหรือการให้ใบประกอบอนุญาตทางการบิน AOL-AOC และ 3.การปรับแผนเพื่อปลดล็อก ข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย หรือ SSC.
http://203.151.20.61/content/491995