เอฟเอเอประกาศขึ้น “บัญชีดำ” หรือแบล็กลิสต์สายการบินประเทศไทยที่จะบินไปอเมริกาเมื่อ 1 ธันวาคม 2558 หลังจาก “ไอเคโอ” ตัดสินใจติด “ธงแดง” หน้าชื่อประเทศไทยประมาณ 5 เดือนที่แล้วในวันที่ 18 มิถุนายน 2558
สร้างความสงสัยให้หลายฝ่ายว่า เกิดอะไรขึ้น ทำไมไทยกลายเป็นประเทศล้มเหลวด้านมาตรฐานความปลอดภัยในการบินไปแล้ว ?!?
เอฟเอเอ “FAA” หรือ กรมการบินพลเรือนสหรัฐอเมริกา (Federal Aviation Administration ประกาศในเว็บไซด์ว่า หลังตรวจสอบการกำกับดูแลมาตรฐานความปลอดภัยด้านการขนส่งทางอากาศของประเทศไทย ผลปรากฏว่ายังไม่ได้มาตรฐานเพียงพอจึงขอลดอันดับไทยจาก บัญชี 1 (Category 1 :CAT1) เป็น บัญชี 2 (Category 2 :CAT 2) )
- “บัญชี 1 ประเทศที่ “ได้” มาตรฐาน ไอเคโอ
- บัญชี 2 ประเทศที่ “ไม่ได้” มาตรฐาน ไอเคโอ
ย้อนไปมกราคม 2558 “ไอเคโอ” องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization :ICAO) ตัดสินใจติด “ธงแดง” พร้อมกับอีก 13 ประเทศ เพราะหลังจากเข้ามาตรวจ “กรมการบินพลเรือน” หน่วยงานกำกับดูแลการบินพาณิชย์ของไทย ปรากฏว่า มี “ข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย” (Significant Safety Concerns : SSC) โดยจุดตรวจเพื่อประเมินมาตรฐานการบินนั้น แยกเป็น 8 ส่วนสำคัญ ได้แก่
1.การออกกฎหมาย (Legislation) 2.โครงสร้างองค์กร (Organization) 3.การออกใบอนุญาต (Licensing) 4.การดำเนินการ (Operations) 5.ด้านการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยการบิน (Airworthiness) 6.การสอบสวนอุบัติเหตุ (Accident Navigation) 7.การให้บริการการเดินอากาศ (Air Navigation Service) และ 8.สนามบินขนาดเล็ก (Aerodrome)
กรมการบินพลเรือนของไทยถูกตรวจสอบทั้งหมด 8 ส่วนข้างต้น โดยแยกย่อยรายละเอียดประมาณ 1,000 ข้อ พบว่ามีประเด็นต้องแก้ไขมากถึง 850 ข้อ ทำให้ต้องประกาศธงแดงกับไทยเพื่อเตือนให้ประเทศอื่นรับทราบ
อย่างไรก็ตาม แม้ “ไอเคโอ” ประกาศว่าไทยไม่ปลอดภัย แต่ก็ไม่มีอำนาจในการบังคับไม่ให้ประเทศอื่นบินมาไทยหรือไม่ให้สายการบินไทยบินไปประเทศอื่น เพียงประกาศให้รับทราบทั่วกันเท่านั้น ทำให้ “เอฟเอเอ” ของอเมริกาต้องขอตรวจซ้ำแต่จะไม่ตรวจละเอียดเท่าของไอเคโอ จะตรวจเฉพาะสายการบินสัญชาติไทยที่จะบินไปอเมริกาเท่านั้น ซึ่งก็คือ “บริษัทการบินไทย” หรือตัวย่อที่สายการบินทั่วโลกนิยมใช้กันคือ “ทีจี” นั่นเอง
เอฟเอเอ ส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจ 2 ครั้ง 13-17 กรกฎาคม 2558 เป็นการตรวจครั้งที่ 1 แล้วแจ้งผลให้แก้ไขคือ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบมาตรฐานเครื่องบินของไทย “ไม่เพียงพอ” และ “คุณสมบัติไม่ครบ” ตามสเปกเครื่องบินที่มี เช่น มีเครื่องบินทันสมัยแต่ผู้ตรวจไม่ได้เชี่ยวชาญเครื่องบินรุ่นใหม่ เป็นคนหน้าเดิมๆ ที่ไม่ได้ไปอบรมเพิ่มเติม ฯลฯ แนะนำให้เพิ่มบุคลากรและเพิ่มคุณสมบัติให้ครบถ้วน
นอกจากนี้ยังพบว่า “คู่มือหรือแนวปฏิบัติ” (Technical Guidance) ด้านเทคนิคต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการเดินอากาศนั้น ไม่มีรายละเอียดที่สมบูรณ์เพียงพอ ซึ่งคู่มือนี้เป็นส่วนที่ฝรั่งส่วนใหญ่ให้ความสำคัญมาก เพราะหากเกิดอุบัติเหตุหรือเหตการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้น กัปตันหรือลูกเรือหรือช่างซ่อมเครื่องบินต้องเปิดคู่มือแล้วทำตาม เพราะคู่มือจะบอกวิธีแก้ไขปัญหาทุกอย่างละเอียดมาก รวมถึง “คู่มือตรวจสายการบิน” ด้วย เพราะที่ผ่านมาไม่มีดัชนีชี้วัดการตรวจว่าต้องตรวจข้อใดมากน้อยแค่ไหน ก่อนให้ใบอนุญาตสายการบิน
จากนั้นเจ้าหน้าที่เอฟเอเอสั่งให้ไทยไปปรับปรุง 35 ข้อ ใน 4 เรื่องสำคัญคือ 1.การสร้างมาตรฐาน 2.การออกใบอนุญาตนักบินหรือเครื่องบินหรือส่วนต่างๆ ที่จำเป็นต้องมีการออกใบอนุญาต 3.สร้างวิธีการตรวจสอบการทำงาน และสุดท้ายคือต้องมีการทดสอบมาตรฐานต่างๆ ที่สร้างด้วยว่าทำงานได้ผลหรือไม่ รวมถึงบุคลากรด้านการบิน เช่นนักบิน ต้องมีการทดสอบสมรรถภาพด้านต่างๆ เป็นระยะๆ เช่น ซ้อมรับมืออุบัติเหต หรือไปอบรมความรู้ใหม่ๆ เพิ่มเติม
หลังจากแนะนำทุกอย่างแล้ว ผ่านไป 90 วัน เมื่อ 26-28 ตุลาคม 2558 เอฟเอเอกลับมาตรวจครั้งที่ 2 พบว่า ปัญหาเรื่องบุคลากรยังไม่ได้รับการแก้ไข โดยฝ่ายประเทศไทยชี้แจงว่า จากที่ต้องการเพิ่มเจ้าหน้าที่ 86 อัตรา แต่สามารถรับเพิ่มมาได้เพียง 69 อัตรา เท่านั้น ยังเหลืออีก 17 อัตรา เพราะติดปัญหาเรื่องงบประมาณและการหาผู้ที่เหมาะสมกับตำแหน่งงาน ส่วนเรื่อง “คู่มือตรวจสายการบิน” นั้นกำลังปรับปรุงแก้ไขอย่างเร่งด่วน
“จุฬา สุขมานพ” อธิบดีกรมท่าอากาศยาน (ทย.) และปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) แถลงว่า มาตรฐานปัจจุบันของไทยยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศจริง อย่างไรก็ตาม แม้อเมริกาลดเกรดสายการบินของประเทศไทย แต่ไม่มีผลกระทบใดๆ เนื่องจากปัจจุบันไม่มีสายการบินใดทำการบินไปยังสหรัฐอเมริกา แต่ต้องยอมรับว่ามีผลกระทบต่อภาพลักษณ์
ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงการบินอธิบายให้ฟังว่า แม้ผู้บริหารประเทศพยายามออกมาช่วยกันให้ข่าวว่าไทยไม่ได้รับผลกระทบ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ประชาชนที่ต้องเดินทางเข้าออกระหว่างประเทศไทยกับอเมริกาต้องวุ่นวายกว่าเดิมแน่นอน เนื่องจาก 3 ปัญหาที่จะเกิดขึ้นคือ
“1. ต่อไปนี้จะไม่มีสายการบินสัญชาติไทยบินตรงไปอเมริกา ต้องไปแวะเปลี่ยนเครื่องบินที่ประเทศอื่น บางครั้งอาจต้องแวะ 2-3 ประเทศ แล้วแต่เงื่อนไขของสายการบิน
2. การทำ โค้ดแชร์ (Codeshare) หรือ “เที่ยวบินร่วม” เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างสายการบินจะถูกกดดันเช่นกัน เช่น ที่ผ่านมา การบินไทยไปร่วมกับแจแปนแอร์ไลน์ เมื่อบินไปอเมริกาต้องแวะเปลี่ยนเครื่องบินที่ญี่ปุ่น จากนี้ไปญี่ปุ่นอาจไม่เป็นเที่ยวบินร่วม กลายเป็นว่าผู้โดยสารต้องซื้อตั๋วเครื่องบินใหม่ และขนกระเป๋าออกมาญี่ปุ่นก่อนที่จะกลับเข้าไปใหม่ เสมือนว่าไม่มีทางสะพานเชื่อมอาคาร ต้องออกมานอกประตูใหญ่แล้วผ่านด่านรปภ.เพื่อเดินเข้าไปอีกอาคารหนึ่ง จากเดิมที่ 2 อาคารเคยเป็นพันธมิตรมีสะพานเชื่อมหากันได้
และข้อ 3 คือส่วนที่สำคัญสุด เพราะถ้าเอฟเอเอเตือนแล้ว ไทยยังไม่เร่งแก้ไข จะมีการแจ้งไปยังกระทรวงคมนาคมของทุกประเทศ (Department of Transport) ให้พิจารณา “เพ่งเล็งใบอนุญาตของสายการบินจากไทย” เหมือนที่อเมริกาทำ เพราะตรวจสอบแล้วไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัยอย่างเพียงพอ”
ผู้เชี่ยวชาญข้างต้น อธิบายเพิ่มเติมว่า ในลิสต์รายชื่อประเทศที่ติดอยู่บัญชีดำเอฟเอเอนั้นมีทั้งหมดประมาณ 8 ประเทศ นอกจากอินโดนีเซียแล้ว ส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ยินชื่อ เช่น อุรุกวัย “แซง มาแตง” “บาร์เบโดส” ฯลฯ ดังนั้น รัฐบาลต้องเร่งแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม สร้างมาตรฐานการตรวจสอบและคู่มือปฏิบัติให้ชัดเจนทั้งในส่วนของสายการบิน นักบิน เครื่องบิน สนามบิน ฯลฯ ผู้เชี่ยวชาญข้างต้นแนะนำทิ้งท้ายว่า
โดยเฉพาะในเรื่องของ “ใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ” หรือ “เอโอซี” AOC (Air Operator Certificate) เพราะทั้งไอเคโอและเอฟเอเอต่างท้วงติงในเรื่องนี้ ประเทศไทยให้ใบอนุญาตนักบินกับสายการบินง่ายไปต้องตรวจมากกว่านี้
http://www.komchadluek.net/detail/20151203/217922.html
ทางออก! FAA อเมริกา...ขึ้น‘บัญชีดำ’การบินของไทย
สร้างความสงสัยให้หลายฝ่ายว่า เกิดอะไรขึ้น ทำไมไทยกลายเป็นประเทศล้มเหลวด้านมาตรฐานความปลอดภัยในการบินไปแล้ว ?!?
เอฟเอเอ “FAA” หรือ กรมการบินพลเรือนสหรัฐอเมริกา (Federal Aviation Administration ประกาศในเว็บไซด์ว่า หลังตรวจสอบการกำกับดูแลมาตรฐานความปลอดภัยด้านการขนส่งทางอากาศของประเทศไทย ผลปรากฏว่ายังไม่ได้มาตรฐานเพียงพอจึงขอลดอันดับไทยจาก บัญชี 1 (Category 1 :CAT1) เป็น บัญชี 2 (Category 2 :CAT 2) )
- “บัญชี 1 ประเทศที่ “ได้” มาตรฐาน ไอเคโอ
- บัญชี 2 ประเทศที่ “ไม่ได้” มาตรฐาน ไอเคโอ
ย้อนไปมกราคม 2558 “ไอเคโอ” องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization :ICAO) ตัดสินใจติด “ธงแดง” พร้อมกับอีก 13 ประเทศ เพราะหลังจากเข้ามาตรวจ “กรมการบินพลเรือน” หน่วยงานกำกับดูแลการบินพาณิชย์ของไทย ปรากฏว่า มี “ข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย” (Significant Safety Concerns : SSC) โดยจุดตรวจเพื่อประเมินมาตรฐานการบินนั้น แยกเป็น 8 ส่วนสำคัญ ได้แก่
1.การออกกฎหมาย (Legislation) 2.โครงสร้างองค์กร (Organization) 3.การออกใบอนุญาต (Licensing) 4.การดำเนินการ (Operations) 5.ด้านการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยการบิน (Airworthiness) 6.การสอบสวนอุบัติเหตุ (Accident Navigation) 7.การให้บริการการเดินอากาศ (Air Navigation Service) และ 8.สนามบินขนาดเล็ก (Aerodrome)
กรมการบินพลเรือนของไทยถูกตรวจสอบทั้งหมด 8 ส่วนข้างต้น โดยแยกย่อยรายละเอียดประมาณ 1,000 ข้อ พบว่ามีประเด็นต้องแก้ไขมากถึง 850 ข้อ ทำให้ต้องประกาศธงแดงกับไทยเพื่อเตือนให้ประเทศอื่นรับทราบ
อย่างไรก็ตาม แม้ “ไอเคโอ” ประกาศว่าไทยไม่ปลอดภัย แต่ก็ไม่มีอำนาจในการบังคับไม่ให้ประเทศอื่นบินมาไทยหรือไม่ให้สายการบินไทยบินไปประเทศอื่น เพียงประกาศให้รับทราบทั่วกันเท่านั้น ทำให้ “เอฟเอเอ” ของอเมริกาต้องขอตรวจซ้ำแต่จะไม่ตรวจละเอียดเท่าของไอเคโอ จะตรวจเฉพาะสายการบินสัญชาติไทยที่จะบินไปอเมริกาเท่านั้น ซึ่งก็คือ “บริษัทการบินไทย” หรือตัวย่อที่สายการบินทั่วโลกนิยมใช้กันคือ “ทีจี” นั่นเอง
เอฟเอเอ ส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจ 2 ครั้ง 13-17 กรกฎาคม 2558 เป็นการตรวจครั้งที่ 1 แล้วแจ้งผลให้แก้ไขคือ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบมาตรฐานเครื่องบินของไทย “ไม่เพียงพอ” และ “คุณสมบัติไม่ครบ” ตามสเปกเครื่องบินที่มี เช่น มีเครื่องบินทันสมัยแต่ผู้ตรวจไม่ได้เชี่ยวชาญเครื่องบินรุ่นใหม่ เป็นคนหน้าเดิมๆ ที่ไม่ได้ไปอบรมเพิ่มเติม ฯลฯ แนะนำให้เพิ่มบุคลากรและเพิ่มคุณสมบัติให้ครบถ้วน
นอกจากนี้ยังพบว่า “คู่มือหรือแนวปฏิบัติ” (Technical Guidance) ด้านเทคนิคต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการเดินอากาศนั้น ไม่มีรายละเอียดที่สมบูรณ์เพียงพอ ซึ่งคู่มือนี้เป็นส่วนที่ฝรั่งส่วนใหญ่ให้ความสำคัญมาก เพราะหากเกิดอุบัติเหตุหรือเหตการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้น กัปตันหรือลูกเรือหรือช่างซ่อมเครื่องบินต้องเปิดคู่มือแล้วทำตาม เพราะคู่มือจะบอกวิธีแก้ไขปัญหาทุกอย่างละเอียดมาก รวมถึง “คู่มือตรวจสายการบิน” ด้วย เพราะที่ผ่านมาไม่มีดัชนีชี้วัดการตรวจว่าต้องตรวจข้อใดมากน้อยแค่ไหน ก่อนให้ใบอนุญาตสายการบิน
จากนั้นเจ้าหน้าที่เอฟเอเอสั่งให้ไทยไปปรับปรุง 35 ข้อ ใน 4 เรื่องสำคัญคือ 1.การสร้างมาตรฐาน 2.การออกใบอนุญาตนักบินหรือเครื่องบินหรือส่วนต่างๆ ที่จำเป็นต้องมีการออกใบอนุญาต 3.สร้างวิธีการตรวจสอบการทำงาน และสุดท้ายคือต้องมีการทดสอบมาตรฐานต่างๆ ที่สร้างด้วยว่าทำงานได้ผลหรือไม่ รวมถึงบุคลากรด้านการบิน เช่นนักบิน ต้องมีการทดสอบสมรรถภาพด้านต่างๆ เป็นระยะๆ เช่น ซ้อมรับมืออุบัติเหต หรือไปอบรมความรู้ใหม่ๆ เพิ่มเติม
หลังจากแนะนำทุกอย่างแล้ว ผ่านไป 90 วัน เมื่อ 26-28 ตุลาคม 2558 เอฟเอเอกลับมาตรวจครั้งที่ 2 พบว่า ปัญหาเรื่องบุคลากรยังไม่ได้รับการแก้ไข โดยฝ่ายประเทศไทยชี้แจงว่า จากที่ต้องการเพิ่มเจ้าหน้าที่ 86 อัตรา แต่สามารถรับเพิ่มมาได้เพียง 69 อัตรา เท่านั้น ยังเหลืออีก 17 อัตรา เพราะติดปัญหาเรื่องงบประมาณและการหาผู้ที่เหมาะสมกับตำแหน่งงาน ส่วนเรื่อง “คู่มือตรวจสายการบิน” นั้นกำลังปรับปรุงแก้ไขอย่างเร่งด่วน
“จุฬา สุขมานพ” อธิบดีกรมท่าอากาศยาน (ทย.) และปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) แถลงว่า มาตรฐานปัจจุบันของไทยยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศจริง อย่างไรก็ตาม แม้อเมริกาลดเกรดสายการบินของประเทศไทย แต่ไม่มีผลกระทบใดๆ เนื่องจากปัจจุบันไม่มีสายการบินใดทำการบินไปยังสหรัฐอเมริกา แต่ต้องยอมรับว่ามีผลกระทบต่อภาพลักษณ์
ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงการบินอธิบายให้ฟังว่า แม้ผู้บริหารประเทศพยายามออกมาช่วยกันให้ข่าวว่าไทยไม่ได้รับผลกระทบ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ประชาชนที่ต้องเดินทางเข้าออกระหว่างประเทศไทยกับอเมริกาต้องวุ่นวายกว่าเดิมแน่นอน เนื่องจาก 3 ปัญหาที่จะเกิดขึ้นคือ
“1. ต่อไปนี้จะไม่มีสายการบินสัญชาติไทยบินตรงไปอเมริกา ต้องไปแวะเปลี่ยนเครื่องบินที่ประเทศอื่น บางครั้งอาจต้องแวะ 2-3 ประเทศ แล้วแต่เงื่อนไขของสายการบิน
2. การทำ โค้ดแชร์ (Codeshare) หรือ “เที่ยวบินร่วม” เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างสายการบินจะถูกกดดันเช่นกัน เช่น ที่ผ่านมา การบินไทยไปร่วมกับแจแปนแอร์ไลน์ เมื่อบินไปอเมริกาต้องแวะเปลี่ยนเครื่องบินที่ญี่ปุ่น จากนี้ไปญี่ปุ่นอาจไม่เป็นเที่ยวบินร่วม กลายเป็นว่าผู้โดยสารต้องซื้อตั๋วเครื่องบินใหม่ และขนกระเป๋าออกมาญี่ปุ่นก่อนที่จะกลับเข้าไปใหม่ เสมือนว่าไม่มีทางสะพานเชื่อมอาคาร ต้องออกมานอกประตูใหญ่แล้วผ่านด่านรปภ.เพื่อเดินเข้าไปอีกอาคารหนึ่ง จากเดิมที่ 2 อาคารเคยเป็นพันธมิตรมีสะพานเชื่อมหากันได้
และข้อ 3 คือส่วนที่สำคัญสุด เพราะถ้าเอฟเอเอเตือนแล้ว ไทยยังไม่เร่งแก้ไข จะมีการแจ้งไปยังกระทรวงคมนาคมของทุกประเทศ (Department of Transport) ให้พิจารณา “เพ่งเล็งใบอนุญาตของสายการบินจากไทย” เหมือนที่อเมริกาทำ เพราะตรวจสอบแล้วไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัยอย่างเพียงพอ”
ผู้เชี่ยวชาญข้างต้น อธิบายเพิ่มเติมว่า ในลิสต์รายชื่อประเทศที่ติดอยู่บัญชีดำเอฟเอเอนั้นมีทั้งหมดประมาณ 8 ประเทศ นอกจากอินโดนีเซียแล้ว ส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ยินชื่อ เช่น อุรุกวัย “แซง มาแตง” “บาร์เบโดส” ฯลฯ ดังนั้น รัฐบาลต้องเร่งแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม สร้างมาตรฐานการตรวจสอบและคู่มือปฏิบัติให้ชัดเจนทั้งในส่วนของสายการบิน นักบิน เครื่องบิน สนามบิน ฯลฯ ผู้เชี่ยวชาญข้างต้นแนะนำทิ้งท้ายว่า
โดยเฉพาะในเรื่องของ “ใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ” หรือ “เอโอซี” AOC (Air Operator Certificate) เพราะทั้งไอเคโอและเอฟเอเอต่างท้วงติงในเรื่องนี้ ประเทศไทยให้ใบอนุญาตนักบินกับสายการบินง่ายไปต้องตรวจมากกว่านี้
http://www.komchadluek.net/detail/20151203/217922.html