ตอนที่สามของ Evita Series
เอบิต้าขณะเยือนยุโรป 1947
กระทู้ที่ 1: Evita Museum ที่ Buenos Aires และประวัติของเธอฉบับย่อ
เนื้อหา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้- ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงอาชีพนักแสดง
- การก้าวเข้าสูาเวทีทางการเมืองของอาร์เจนตินา หลังจากที่ได้สมรสกับพันเอกฉวน Juan Domingo Perón [ฆวน โดมิงโก เปรอน]
- จุดเริ่นต้นของ Peronism (เปรอนนิยม) ซึ่งเปลี่ยนแปลงการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของอาร์เจนตินามาจนถึงทุกวันนี้
- สิทธิการเลือกตั้งสตรี, รัฐธรรมนูญ 1949, มูลนิธิเอบา เปรอนเพื่องานสังคมสงเคราะห์, แบบเรียนลัทธิตัวบุคคล (Cult of Personality)
- แฟชั่นและการแต่งตัวของเธอ
http://ppantip.com/topic/33426224
กระทู้ที่ 2: Evita Museum ที่ Buenos Aires และประวัติของเธอฉบับย่อ (จบ) + ประวัติศาสตร์การเมืองอาร์เจนตินาเล็กน้อย
เนื้อหา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้- ประวัติศาสตร์การเมืองอาร์เจนตินาแบบรวบรัด
- วาระสุดท้ายของชีวิตเอบิต้า
- การเดินทางของเธอหลังความตาย
http://ppantip.com/topic/33431508
กระทู้ที่ 4: "Evita" แบบเรียนล้างสมอง(?) ตัวอย่างการศึกษาในระบบของอาร์เจนตินา ยุคประธานาธิบดีฆวน เปรอน (สมัยที่ 2)
http://ppantip.com/topic/33438960
*Evita [เอบิตา] หรือชื่อเต็ม María Eva Duarte de Perón [มาเรีย เอบา ดูอาร์เต เด เปรอน]* มักอ่านติดปากว่า "เอวิต้า" หรือ "เอวา เปรอง" จริงๆ แล้วภาษาสเปน "v" อ่านออกเสียง "บ" ส่วน "n" ออกเสียง "น" และนามสกุลของเธอคือ "Duarte" ไม่ใช่ "Perón" แต่ปกติในภาษาสเปนนามสกุลของผู้หญิงที่แต่งงานแล้วจะห้อยท้ายต่อว่า de + นามสกุลสามี (ศพของเธอฝังที่หลุมศพตระกูล Duarte)
(หลังจากนี้ถ้าเป็นบุคคลจะเขียนว่า "เอบิต้า" แต่ถ้าเป็นละครเพลงจะเขียนอักษรโรมัน "Evita")
หนึ่งใน legacy ของเอบิต้าใน popular culture ระดับนานาชาติ คือ ละครเพลง
"Evita" เป็นผลงานการประพันธ์ของ Andrew Lloyd Webber (ดนตรี) และ Tim Rice (เนื้อร้อง) ชาวอังกฤษ โดยอ้างอิงจากชีวิตอดีตสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งและหนึ่งในสัญลักษณ์ของประเทศอาร์เจนตินา เอบา เปรอน หรือเอบิต้า ซึ่งได้กลายเป็นหนึ่งในละครเพลงเวทียอดนิยมและเป็นภาพยนตร์เพลง Evita (1996) นำแสดงโดย Madonna และ Antonio Banderas ที่เราคุ้นเคย
ส่วน "Che" (เช่) ในบทละครนั้นเป็นตัวละครสมมติที่ใช้เป็นตัวดำเนินเรื่องเท่านั้น และชื่อ เช่ เฉยๆ
ไม่ใช่ Che Guevara (เช่ เกบารา) ทั้งในบทละครและความเป็นจริง เอบิต้าและเช่ เกบาราไม่ได้เกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด แต่อาจมีบางเวอร์ชันที่เช่ คือเช่ เกบารา
ภาพยนตร์ของ Alan Parker ยังคงเค้าโครงบทละครเวทีของ Andrew Lloyd Webber อ้างอิงจากหนังสือชีวประวัติโดยฝ่ายต่อต้านเปรอน (The Woman on the Whip) เนื้อเรื่องในบทละครนั้นมีการดัดแปลงจากข้อเท็จจริงหรือยังคงเป็นประเด็นถกเถียงทางประวัติศาสตร์ จึงเหมาะจะรับชมเพื่อความบันเทิง ไม่ใช่สารคดีชีวประวัติของเอบิต้า
ตัวอย่างประเด็นที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่าบิดเบือนจากเหตุการณ์จริง ในวงเล็บคือฉากและชื่อเพลง
1) เอบิต้าเดินทางมายังบูเอโนสไอเรสกับแม่ ไม่ได้หลอกล่อนักร้องแทงโก้แต่อย่างใด ("Eva and Magaldi" / "Eva, Beware of the City")
2) หลังเปรอนถูกควบคุมตัว เอบิต้าไม่ได้ปลุกระดมมวลชนแต่อย่างใด ช่วงเวลานั้นเธอไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ("A New Argentina")
3) เอบิต้าไม่ได้ประโคมเสื้อผ้าของ Christian Dior ก่อนการเดินทางไปยุโรป ("Rainbow High")
จากละครและภาพยนตร์ ผู้ชมอาจจะเห็นภาพว่าเอบิต้าคือหญิงที่มีความทะเยอทะยานสูง ฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย เรียกร้องความสนใจที่ต้องการเป็นที่รัก สร้างลัทธิตัวบุคคล เน้นแจกของให้ประชาชนลุ่มหลง โดยมีเช่ ตัวละครสมมติคอยตั้งคำถามและเสียดสี สำหรับผู้ที่สนใจขอเชิญชวนให้ไปหาประวัติของเธออ่านดู ไม่ใช่เพียงแค่จากสองกระทู้ที่ได้โพสไปก่อนหน้าเท่านั้น เมื่อกลับมาดูละครเพลงเวทีหรือภาพยนนตร์อีกรอบจะช่วยให้เข้าใจเนื้อเรื่องในมุมมองใหม่ (ที่อาจเหมือนหรือต่างไปจากเดิม)
Evita จากเรื่องจริงสู่ละครเพลง และ "Don't cry for me Argentina" (ต่อจาก Evita Museum)
เอบิต้าขณะเยือนยุโรป 1947
กระทู้ที่ 1: Evita Museum ที่ Buenos Aires และประวัติของเธอฉบับย่อ
เนื้อหา[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
http://ppantip.com/topic/33426224
กระทู้ที่ 2: Evita Museum ที่ Buenos Aires และประวัติของเธอฉบับย่อ (จบ) + ประวัติศาสตร์การเมืองอาร์เจนตินาเล็กน้อย
เนื้อหา [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
http://ppantip.com/topic/33431508
กระทู้ที่ 4: "Evita" แบบเรียนล้างสมอง(?) ตัวอย่างการศึกษาในระบบของอาร์เจนตินา ยุคประธานาธิบดีฆวน เปรอน (สมัยที่ 2)
http://ppantip.com/topic/33438960
*Evita [เอบิตา] หรือชื่อเต็ม María Eva Duarte de Perón [มาเรีย เอบา ดูอาร์เต เด เปรอน]* มักอ่านติดปากว่า "เอวิต้า" หรือ "เอวา เปรอง" จริงๆ แล้วภาษาสเปน "v" อ่านออกเสียง "บ" ส่วน "n" ออกเสียง "น" และนามสกุลของเธอคือ "Duarte" ไม่ใช่ "Perón" แต่ปกติในภาษาสเปนนามสกุลของผู้หญิงที่แต่งงานแล้วจะห้อยท้ายต่อว่า de + นามสกุลสามี (ศพของเธอฝังที่หลุมศพตระกูล Duarte)
(หลังจากนี้ถ้าเป็นบุคคลจะเขียนว่า "เอบิต้า" แต่ถ้าเป็นละครเพลงจะเขียนอักษรโรมัน "Evita")
หนึ่งใน legacy ของเอบิต้าใน popular culture ระดับนานาชาติ คือ ละครเพลง
"Evita" เป็นผลงานการประพันธ์ของ Andrew Lloyd Webber (ดนตรี) และ Tim Rice (เนื้อร้อง) ชาวอังกฤษ โดยอ้างอิงจากชีวิตอดีตสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งและหนึ่งในสัญลักษณ์ของประเทศอาร์เจนตินา เอบา เปรอน หรือเอบิต้า ซึ่งได้กลายเป็นหนึ่งในละครเพลงเวทียอดนิยมและเป็นภาพยนตร์เพลง Evita (1996) นำแสดงโดย Madonna และ Antonio Banderas ที่เราคุ้นเคย
ส่วน "Che" (เช่) ในบทละครนั้นเป็นตัวละครสมมติที่ใช้เป็นตัวดำเนินเรื่องเท่านั้น และชื่อ เช่ เฉยๆ
ไม่ใช่ Che Guevara (เช่ เกบารา) ทั้งในบทละครและความเป็นจริง เอบิต้าและเช่ เกบาราไม่ได้เกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด แต่อาจมีบางเวอร์ชันที่เช่ คือเช่ เกบารา
ภาพยนตร์ของ Alan Parker ยังคงเค้าโครงบทละครเวทีของ Andrew Lloyd Webber อ้างอิงจากหนังสือชีวประวัติโดยฝ่ายต่อต้านเปรอน (The Woman on the Whip) เนื้อเรื่องในบทละครนั้นมีการดัดแปลงจากข้อเท็จจริงหรือยังคงเป็นประเด็นถกเถียงทางประวัติศาสตร์ จึงเหมาะจะรับชมเพื่อความบันเทิง ไม่ใช่สารคดีชีวประวัติของเอบิต้า
ตัวอย่างประเด็นที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่าบิดเบือนจากเหตุการณ์จริง ในวงเล็บคือฉากและชื่อเพลง
1) เอบิต้าเดินทางมายังบูเอโนสไอเรสกับแม่ ไม่ได้หลอกล่อนักร้องแทงโก้แต่อย่างใด ("Eva and Magaldi" / "Eva, Beware of the City")
2) หลังเปรอนถูกควบคุมตัว เอบิต้าไม่ได้ปลุกระดมมวลชนแต่อย่างใด ช่วงเวลานั้นเธอไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ("A New Argentina")
3) เอบิต้าไม่ได้ประโคมเสื้อผ้าของ Christian Dior ก่อนการเดินทางไปยุโรป ("Rainbow High")
จากละครและภาพยนตร์ ผู้ชมอาจจะเห็นภาพว่าเอบิต้าคือหญิงที่มีความทะเยอทะยานสูง ฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย เรียกร้องความสนใจที่ต้องการเป็นที่รัก สร้างลัทธิตัวบุคคล เน้นแจกของให้ประชาชนลุ่มหลง โดยมีเช่ ตัวละครสมมติคอยตั้งคำถามและเสียดสี สำหรับผู้ที่สนใจขอเชิญชวนให้ไปหาประวัติของเธออ่านดู ไม่ใช่เพียงแค่จากสองกระทู้ที่ได้โพสไปก่อนหน้าเท่านั้น เมื่อกลับมาดูละครเพลงเวทีหรือภาพยนนตร์อีกรอบจะช่วยให้เข้าใจเนื้อเรื่องในมุมมองใหม่ (ที่อาจเหมือนหรือต่างไปจากเดิม)