เป็นกระทู้ให้ความรู้ในการอ่านฉลากข้อมูลโภชนาการนะครับ แต่ขอทำเป็นโพล เพื่อทดสอบความรู้ในการอ่านฉลากโภชนาการของคนไทย(ในพันทิป) ด้วยครับ และต้องออกตัวก่อนว่า นี่ไม่ใช่การให้ข้อมูลทางวิชาการนะครับ แค่อยากให้ข้อมูลในส่วนที่ "จำเป็นต้องรู้" ไม่ใช่ข้อมูลทั้งหมด หยิบมาเฉพาะส่วนที่ผมคิดว่าสำคัญจริงๆ เท่านั้นครับ
เริ่มเลยนะครับ
ที่เห็นในภาพเป็น "ข้อมูลโภชนาการฉบับเต็ม"
มาดูข้อมูลที่แสดงกัน
1. หนึ่งหน่วยบริโภค คือ ปริมาณที่แนะนำในการกิน 1 ครั้ง ในตัวอย่างคือ มี 1 หน่วยบริโภค
2. พลังงานที่ได้ต่อ 1 หน่วยบริโภค "อันนี้ไม่ใช่พลังงานของทั้งซองนะครับ" แต่หมายถึงพลังงานในหนึ่งบรรจุภัณฑ์ ในตัวอย่าง มี 1 หน่วย ให้พลังงาน 120 กิโลแคลลอรี คือพลังงานทั้งหมดที่ได้ในบรรจุภัณฑ์นี้ แต่ถ้าหากบรรจุภัณฑ์อื่นมีมากกว่า 1 หน่วย พลังงานทั้งซองก็ต้องคูณไปครับ เช่น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ขนมซอง 20 บาท มี 2 หน่วยบริโภค หน่วยละ 120 กิโลแคลลอรีกินทั้งซองก็ได้พลังงาน 240 กิโลแคลลอรี ครับ
3. ร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวัน ใน 1 หน่วยบริโภค เค้าคิดเป็นเปอร์เซนมาให้ครับ เช่นในตัวอย่าง ไขมันทั้งหมด 1% หมายความว่า ถ้ากิน 1 หน่วยบริโภค จะได้รับไขมันคิดเป็น 1% ที่ควรได้รับใน 1 วัน ข้อมูลส่วนนี้เหมาะสำหรับป้องกันการได้รับพลังงานหรือสารอาหารบางตัวเกินความจำเป็นครับ
4. ส่วนที่เหลือเป็นข้อมูลทั่วไปครับ
ระวัง!!!!!!
ดูหน่วยบริโภคทุกครั้งที่ดูข้อมูลโภชนาการนะครับ ขนมบางอย่างห่อเล็กนิดเดียว แต่ใส่หน่วยบริโภคมาหลายหน่วย ทำให้พลังงานและสารอาหารที่ควรระวังใน 1 หน่วยบริโภคน้อย ทั้งที่หากกินทั้งซองแล้วกลับได้พลังงานพอๆ กับข้าว 1 มื้อเลยทีเดียว เป็นช่องโหว่อย่างหนึ่งให้ผู้ประกอบการครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อีกทั้งบางครั้ง การแบ่งหน่วยบริโภคเยอะๆ ทำให้สามารถปัดเศษ สารอาหารบางอย่างใน ร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวัน ให้เป็น 0 ได้ครับ เช่น ไขมัน 0% ทั้งๆ ที่ถ้าทานหมดทั้งซอง กลับได้ไขมันจำนวนนึงเลยทีเดียว เป็นเหตุผลว่าทำไมขนมห่อเล็กๆ 20-30 บาท ถึงได้แบ่งหน่วยบริโภคเป็น 2-3 หน่วยเลยทีเดียว
ข้อมูลอีกอย่างที่น่าสนใจครับ
มันเรียกว่าอะไรผมจำไม่ได้แล้วครับ มาดูวิธีอ่านกันดีกว่า
1. ข้อมูลที่แสดงเป็นปริมาณพลังงานและสารอาหารทั้งหมดในบรรจุภัณฑ์นั้นๆ เลยครับ ไม่ใช่หนึ่งหน่วยบริโภคเหมือนข้อมูลโภชนาการแล้ว
2. ตัวเลขแสดงชัดเจนทั้งปริมาณ และ % เช่น โซเดียม 910 mg 38% หมายถึง ทั้งบรรจุภัณฑ์มีโซเดียมทั้งหมด 910 mg คิดเป็น 38% ของที่ร่างกายควรได้รับใน 1 วัน นั่นคือ ถ้าคุณกินสิ่งนี้ 3 บรรจุภัณฑ์ ในหนึ่งวัน คุณก็ได้โซเดียมเกินแล้ว ไม่ควรกินโซเดียมจากแหล่งอื่นอีกเป็นต้น
3. ข้อมูลแสดง 4 อย่างคือ 1 พลังงาน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เพื่อป้องการการได้รับพลังงานเกิน ซึ่งนำไปสู่โรคอ้วน 2 น้ำตาล
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เพื่อป้องการการได้รับน้ำตาลเกิน ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน และโรคอ้วน 3 ไขมัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เพื่อป้องการการได้รับไขมันเกิน ซึ่งนำไปสู่โรคอ้วน ไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคหัวใจ 4 โซเดียม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เพื่อป้องการการได้รับโซเดียมเกิน ซึ่งจะนำไปสู่โรคความดันโลหิตสูงและโรคไต
ถาม: ทุกบรรจุภัณฑ์ต้องมีข้อมูลโภชนการไหม?
ตอบ: ไม่ การมีข้อมูลโภชนการ เป็นความสมัครใจของผู้ประกอบการ ยกเว้นสินค้าบางอย่างที่ต้องบังคับให้มีได้แก่
1. อาหารที่มีการกล่าวอ้างทางโภชนาการ เช่น มีการระบุไว้ในบรรจุภัณฑ์ว่า "แคลเซียมมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างกระดูกและฟัน" เป็นต้น
2. อาหารที่มีการใช้คุณค่าในการส่งเสริมการขาย เช่น นม รังนก
3. อาหารที่ระบุกลุ่มผู้บริโภคในการส่งเสริมการขาย เช่น นมผงเด็ก
4. อาหารอื่นตามที่ อย.ประกาศกำหนด เช่น ขนมส่วนใหญ่
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้มันฝรั่งทอด ข้าวโพดคั่ว ข้าวเกรียบ ขนมปังกรอบ แครกเกอร์ บิสกิต เวเฟอร์สอดไส้
มาดูกันครับ ว่าคุณอ่านข้อมูลบนฉลากสินค้าเป็นไหม
เริ่มเลยนะครับ
ที่เห็นในภาพเป็น "ข้อมูลโภชนาการฉบับเต็ม"
มาดูข้อมูลที่แสดงกัน
1. หนึ่งหน่วยบริโภค คือ ปริมาณที่แนะนำในการกิน 1 ครั้ง ในตัวอย่างคือ มี 1 หน่วยบริโภค
2. พลังงานที่ได้ต่อ 1 หน่วยบริโภค "อันนี้ไม่ใช่พลังงานของทั้งซองนะครับ" แต่หมายถึงพลังงานในหนึ่งบรรจุภัณฑ์ ในตัวอย่าง มี 1 หน่วย ให้พลังงาน 120 กิโลแคลลอรี คือพลังงานทั้งหมดที่ได้ในบรรจุภัณฑ์นี้ แต่ถ้าหากบรรจุภัณฑ์อื่นมีมากกว่า 1 หน่วย พลังงานทั้งซองก็ต้องคูณไปครับ เช่น [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
3. ร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวัน ใน 1 หน่วยบริโภค เค้าคิดเป็นเปอร์เซนมาให้ครับ เช่นในตัวอย่าง ไขมันทั้งหมด 1% หมายความว่า ถ้ากิน 1 หน่วยบริโภค จะได้รับไขมันคิดเป็น 1% ที่ควรได้รับใน 1 วัน ข้อมูลส่วนนี้เหมาะสำหรับป้องกันการได้รับพลังงานหรือสารอาหารบางตัวเกินความจำเป็นครับ
4. ส่วนที่เหลือเป็นข้อมูลทั่วไปครับ
ระวัง!!!!!!
ดูหน่วยบริโภคทุกครั้งที่ดูข้อมูลโภชนาการนะครับ ขนมบางอย่างห่อเล็กนิดเดียว แต่ใส่หน่วยบริโภคมาหลายหน่วย ทำให้พลังงานและสารอาหารที่ควรระวังใน 1 หน่วยบริโภคน้อย ทั้งที่หากกินทั้งซองแล้วกลับได้พลังงานพอๆ กับข้าว 1 มื้อเลยทีเดียว เป็นช่องโหว่อย่างหนึ่งให้ผู้ประกอบการครับ[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ข้อมูลอีกอย่างที่น่าสนใจครับ
มันเรียกว่าอะไรผมจำไม่ได้แล้วครับ มาดูวิธีอ่านกันดีกว่า
1. ข้อมูลที่แสดงเป็นปริมาณพลังงานและสารอาหารทั้งหมดในบรรจุภัณฑ์นั้นๆ เลยครับ ไม่ใช่หนึ่งหน่วยบริโภคเหมือนข้อมูลโภชนาการแล้ว
2. ตัวเลขแสดงชัดเจนทั้งปริมาณ และ % เช่น โซเดียม 910 mg 38% หมายถึง ทั้งบรรจุภัณฑ์มีโซเดียมทั้งหมด 910 mg คิดเป็น 38% ของที่ร่างกายควรได้รับใน 1 วัน นั่นคือ ถ้าคุณกินสิ่งนี้ 3 บรรจุภัณฑ์ ในหนึ่งวัน คุณก็ได้โซเดียมเกินแล้ว ไม่ควรกินโซเดียมจากแหล่งอื่นอีกเป็นต้น
3. ข้อมูลแสดง 4 อย่างคือ 1 พลังงาน[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ 2 น้ำตาล [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ 3 ไขมัน [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ 4 โซเดียม[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ถาม: ทุกบรรจุภัณฑ์ต้องมีข้อมูลโภชนการไหม?
ตอบ: ไม่ การมีข้อมูลโภชนการ เป็นความสมัครใจของผู้ประกอบการ ยกเว้นสินค้าบางอย่างที่ต้องบังคับให้มีได้แก่
1. อาหารที่มีการกล่าวอ้างทางโภชนาการ เช่น มีการระบุไว้ในบรรจุภัณฑ์ว่า "แคลเซียมมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างกระดูกและฟัน" เป็นต้น
2. อาหารที่มีการใช้คุณค่าในการส่งเสริมการขาย เช่น นม รังนก
3. อาหารที่ระบุกลุ่มผู้บริโภคในการส่งเสริมการขาย เช่น นมผงเด็ก
4. อาหารอื่นตามที่ อย.ประกาศกำหนด เช่น ขนมส่วนใหญ่[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้