ปิดแผนลงทุนวางท่อน้ำมันเหนือและอีสานของ “แทปไลน์” หลังผู้ถือหุ้นต่างชาติเมิน เหตุผลตอบแทนการลงทุนต่ำ ด้าน ปตท.เมินลงทุน หวั่นถูกโจมตีว่าผูกขาด ปัดให้เอกชนอื่นลงทุนแทน “FPT” ยิ้มรอรัฐไฟเขียวเดินหน้าวางท่อน้ำมันจากบางปะอิน-ลำพูน
แหล่งข่าวจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด (มหาชน) (แทปไลน์) คงไม่สามารถที่จะเดินหน้าโครงการวางท่อส่งน้ำมันไปภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มูลค่าการลงทุน 2 หมื่นล้านบาทได้ เนื่องจากมีผู้ถือหุ้นต่างชาติในแทปไลน์ไม่เห็นด้วย เพราะโครงการดังกล่าวให้ผลตอบแทนการลงทุน (IRR) ต่ำเพียง 10% เท่านั้น โดยทางกรมธุรกิจพลังงานเปิดให้เอกชนทั่วไปลงทุนท่อส่งน้ำมันทั้ง 2 เส้นนี้ได้ คาดว่าจะมีความชัดเจนในเร็วๆ นี้
โดยก่อนหน้านี้ทางแทปไลน์ได้ศึกษาเส้นทางวางท่อส่งน้ำมันไปยังภาคเหนือ เริ่มที่สระบุรี-กำแพงเพชร หรือพิษณุโลก และเส้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากสระบุรี-ขอนแก่น โดยมีเงื่อนไขว่าโครงการนี้จะเกิดขึ้นได้ภาครัฐต้องเข้ามาสนับสนุนการลงทุนด้วย แต่เนื่องจากรัฐไม่มีนโยบายในเรื่องดังกล่าว สุดท้ายแทปไลน์คงไม่สามารถเดินหน้าโครงการดังกล่าวได้
ส่วน ปตท.เองคงไม่ลงทุนโครงการวางท่อน้ำมันไปเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือเพราะไม่ต้องการมีปัญหาประเด็นสังคมและปัญหาการผูกขาด ก็คงให้ภาคเอกชนอื่นที่สนใจทำและทำได้ดีกว่าเป็นผู้ลงทุน แต่หากเส้นทางใดไม่มีภาคเอกชนเสนอตัว ทาง ปตท.ก็จะศึกษารายละเอียดก่อนขออนุมัติลงทุนถ้าเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ เบื้องต้น ปตท.ยังไม่เคยศึกษาการลงทุนโครงการดังกล่าวเลย คงมีแต่แทปไลน์ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่มีการศึกษามาก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ ทางบริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด (FPT) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบาฟส์ ได้แสดงเจตจำนงต่อกรมธุรกิจพลังงานที่จะลงทุนโครงการวางท่อส่งน้ำมันจากคลังบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา-พิษณุโลก-ลำพูน ระยะทางกว่า 703 กม. ใช้เงินลงทุน 7.1 พันล้านบาท โดยอยู่ระหว่างรออนุมัติจากภาครัฐ ซึ่งมั่นใจว่าจะใช้เวลาดำเนินการก่อสร้างและเปิดใช้เชิงพาณิชย์ได้ภายใน 3 ปี โดยย้ำว่าค่าขนส่งน้ำมันทางท่อจะต่ำกว่าการขนส่งทางรถน้ำมันถึง 50%
แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่า ปตท.พร้อมที่จะใช้บริการขนส่งน้ำมันทางท่อของ FPT หากค่าขนส่งแข่งขันกับการขนส่งทางบกได้ โดยยอมรับว่าการวางท่อส่งไปภาคเหนือไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งวางท่อขึ้นสูงขึ้นไปมากจำนวนลูกค้าจะน้อยลง ทำให้ต้นทุนขนส่งน้ำมันทางท่อแพงขึ้น
โครงสร้างการถือหุ้นของแทปไลน์ ประกอบด้วย ปตท. 40.40% เอสโซ่ 20.66% เชลล์ 14.87% เชฟรอน 9.91% ไทยออยล์ 9.91% คูเวตปิโตรเลียม 4.96% และซัสโก้ ดีลเลอร์ส 0.002%
http://manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9580000031761
แทปไลน์ส่อล้มแผนวางท่อน้ำมันเหนือ-อีสาน
แหล่งข่าวจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด (มหาชน) (แทปไลน์) คงไม่สามารถที่จะเดินหน้าโครงการวางท่อส่งน้ำมันไปภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มูลค่าการลงทุน 2 หมื่นล้านบาทได้ เนื่องจากมีผู้ถือหุ้นต่างชาติในแทปไลน์ไม่เห็นด้วย เพราะโครงการดังกล่าวให้ผลตอบแทนการลงทุน (IRR) ต่ำเพียง 10% เท่านั้น โดยทางกรมธุรกิจพลังงานเปิดให้เอกชนทั่วไปลงทุนท่อส่งน้ำมันทั้ง 2 เส้นนี้ได้ คาดว่าจะมีความชัดเจนในเร็วๆ นี้
โดยก่อนหน้านี้ทางแทปไลน์ได้ศึกษาเส้นทางวางท่อส่งน้ำมันไปยังภาคเหนือ เริ่มที่สระบุรี-กำแพงเพชร หรือพิษณุโลก และเส้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากสระบุรี-ขอนแก่น โดยมีเงื่อนไขว่าโครงการนี้จะเกิดขึ้นได้ภาครัฐต้องเข้ามาสนับสนุนการลงทุนด้วย แต่เนื่องจากรัฐไม่มีนโยบายในเรื่องดังกล่าว สุดท้ายแทปไลน์คงไม่สามารถเดินหน้าโครงการดังกล่าวได้
ส่วน ปตท.เองคงไม่ลงทุนโครงการวางท่อน้ำมันไปเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือเพราะไม่ต้องการมีปัญหาประเด็นสังคมและปัญหาการผูกขาด ก็คงให้ภาคเอกชนอื่นที่สนใจทำและทำได้ดีกว่าเป็นผู้ลงทุน แต่หากเส้นทางใดไม่มีภาคเอกชนเสนอตัว ทาง ปตท.ก็จะศึกษารายละเอียดก่อนขออนุมัติลงทุนถ้าเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ เบื้องต้น ปตท.ยังไม่เคยศึกษาการลงทุนโครงการดังกล่าวเลย คงมีแต่แทปไลน์ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่มีการศึกษามาก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ ทางบริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด (FPT) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบาฟส์ ได้แสดงเจตจำนงต่อกรมธุรกิจพลังงานที่จะลงทุนโครงการวางท่อส่งน้ำมันจากคลังบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา-พิษณุโลก-ลำพูน ระยะทางกว่า 703 กม. ใช้เงินลงทุน 7.1 พันล้านบาท โดยอยู่ระหว่างรออนุมัติจากภาครัฐ ซึ่งมั่นใจว่าจะใช้เวลาดำเนินการก่อสร้างและเปิดใช้เชิงพาณิชย์ได้ภายใน 3 ปี โดยย้ำว่าค่าขนส่งน้ำมันทางท่อจะต่ำกว่าการขนส่งทางรถน้ำมันถึง 50%
แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่า ปตท.พร้อมที่จะใช้บริการขนส่งน้ำมันทางท่อของ FPT หากค่าขนส่งแข่งขันกับการขนส่งทางบกได้ โดยยอมรับว่าการวางท่อส่งไปภาคเหนือไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งวางท่อขึ้นสูงขึ้นไปมากจำนวนลูกค้าจะน้อยลง ทำให้ต้นทุนขนส่งน้ำมันทางท่อแพงขึ้น
โครงสร้างการถือหุ้นของแทปไลน์ ประกอบด้วย ปตท. 40.40% เอสโซ่ 20.66% เชลล์ 14.87% เชฟรอน 9.91% ไทยออยล์ 9.91% คูเวตปิโตรเลียม 4.96% และซัสโก้ ดีลเลอร์ส 0.002%
http://manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9580000031761