ข้อคิดดีๆ จาก "ปู่ หลาน กับลา 1 ตัว"

"ปู่ หลาน กับลา 1 ตัว"

มีปู่ หลาน กับลา 1 ตัว จะเดินทางไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่ง โดยมีทางเลือกต่อไปนี้
1. ปู่ขี่ลา แล้วให้หลานเดิน
2. หลานขี่ลา แล้วให้ปู่เดิน
3. หลานและปู่ทั้งคู่ขี่ลา
4. หลานและปู่ทั้งคู่เดินไปกับลา
5. หลานและปู่ทั้งคู่แบกลา

ผมเชื่อว่าทุกท่านที่อ่านคงมีคำตอบพร้อมกับคำวิจารณ์ต่างๆ นานา เช่น
- ถ้าเลือกปู่ขี่ลา แล้วให้หลานเดิน (ทรมานเด็ก!)
- ถ้าเลือกหลานขี่ลา แล้วให้ปู่เดิน (ทรมานคนแก่!)
- ถ้าเลือกหลานและปู่ทั้งคู่ขี่ลา (ทรมานสัตว์!)
- ถ้าเลือกหลานและปู่ทั้งคู่เดินไปกับลา (โง่!)
- ถ้าเลือกหลานและปู่ทั้งคู่แบกลา (บ้า!)

ประเด็นคือ... ข้อเท็จจริงเพียงเท่านี้เพียงพอสำหรับการตัดสินแล้วจริงหรือ?

ท่านรู้ได้ไงว่าหลานต้องยังเป็นเด็ก? รู้ได้ไงว่าปู่ต้องแก่? รู้ได้ไงว่าลาแบกคน 2 คนไม่ไหว? รู้ได้ไงว่าทั้งคู่ไม่อยากเดินออกกำลังกาย? รู้ได้ไงว่าลาไม่ได้ขาหักจนปู่กับหลานต้องแบกไปให้หมอรักษา?

ทุกอย่างที่ตัดสินเกิดจากการสรุปข้อเท็จจริงอย่างรวบรัดที่เรียกว่า 'มายาคติ' รึเปล่าว่าหลานต้องเด็ก? ปู่ต้องแก่? หลานอายุ 20 ได้ไหม? หรือปู่อายุ 40 ได้ไหม? ฯลฯ

เวลาตัดสินคดี สิ่งที่ศาลทำก่อนจะมีคำพิพากษาคือ ปรับข้อกฎหมายเข้ากับ "ข้อเท็จจริง”

แต่ใน “ชีวิตจริง”เราด่วนตัดสินเรื่องราวโดยไม่รู้ "ข้อเท็จจริง" มากี่ครั้งแล้ว?

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่