Juror #2: ลูกขุนหมายเลขสอง
กำกับโดย Clint Eastwood
ล่าสุดเพิ่งสมัคร
HBO Max มีเรื่อง
Juror #2 (2024) นี่แหละที่ค่อนข้างอยากดูเป็นพิเศษ เห็นว่าน่าจะเป็นหนังเรื่องสุดท้ายที่
Clint Eastwood กำกับก่อนรีไทร์ (ตอนนี้ผู้กำกับอายุ 94 ปีแล้ว)
ดังนั้นไหน ๆ เป็นหนังทิ้งทวนของผู้กำกับเจ้าของออสการ์ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม เราก็ขอมารีวิวกันสักหน่อย
เรื่องย่อ
"จัสติน เคมป์" (Nicholas Hoult) ถูกเลือกให้มาเป็นลูกขุนในการตัดสินคดีฆาตกรรม
ในคดีนี้ รูปคดีมองว่า ฝ่ายชายฆ่าฝ่ายหญิงหลังจากที่ทั้งคู่ดื่มแอลกอฮอล์ทะเลาะมีปากเสียงกันที่บาร์แห่งหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม เรื่องราวหลายอย่างเกิดขึ้น อาจไม่ใช่ภาพอย่างที่เห็น !
Juror #2 | Official Trailer
ความรู้สึกหลังชม
- ส่วนแรกที่ชอบ คือ ประเด็นหลักของเรื่องที่คมกริบอย่างการใช้
"ความกลืนไม่เข้าคายไม่ออกกับปัญหาเชิงศีลธรรม" (Serious moral dilemma) มาตั้งคำถามกับผู้ชม
"ถ้าคุณได้เป็นลูกขุนตัดสินคดีฆาตกรรมที่จำเลยในคดีไม่ได้ฆ่าคน เพราะแท้จริงแล้ว คุณคือผู้มีส่วนในการฆาตกรรมแบบไม่ตั้งใจ คุณจะตัดสินใจอย่างไรในคดีนี้"
หนังเปิดด้วยคำถาม พร้อมกับพาผู้ชมไปกระบวนการตัดสินคดีของสหรัฐ ฯ ที่ใช้
"ระบบลูกขุน" (Jury trial) ตามระบบกฏหมายแบบจารีตประเพณี (Common law)
ในวิธีการตัดสินแบบนี้ ผู้ตัดสินว่า
“จำเลยผิดหรือไม่ผิด” คือ
"คณะลูกขุน" (Juror) ที่มาจากประชาชนหลากหลายสาขาอาชีพ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญกฏหมายอย่าง
"ผู้พิพากษา" (Judge) จะทำหน้าที่เพียงแค่ตัดสินโทษของผู้กระทำผิด หากลูกขุนตัดสินว่าจำเลยมีความผิด
ระบบแบบลูกขุนเชื่อว่า การใช้
"สามัญสำนึกของมนุษย์" (Common sense) ตัดสินความยุติธรรม เป็นวิธีที่มีเหตุผลและมีความชอบธรรม ทั้งยังสอดคล้องกับแนวคิดในการเปิดให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการใช้อำนาจรัฐผ่านกระบวนการยุติธรรมได้
นั่นเป็นสิ่งที่เราหวังให้เกิดขึ้น แต่หลายครั้ง ทุกอย่างอาจไม่ได้ตรงไปตรงมาตามแนวคิดในอุดมคติ !
- สิ่งที่เกิดขึ้นในเรื่องเป็นความกลืนไม่เข้าคายไม่ออกที่เกิดขึ้นกับตัวละครหลักอย่าง
“จัสติน” เมื่อจัสตินอาจเป็น
"ผู้มีส่วนได้เสีย" กับการตัดสินความยุติธรรม (Justice) หรืออัยการรัฐที่ผลการตัดสินคดีมีผลต่อความนิยมของเธอในการเลือกตั้งท้องถิ่น
ความอิหลักอิเหลื่อที่เกิดขึ้นยังนำมาสู่
"คำถามเชิงศีลธรรม" เช่น ความพยายามแก้ต่างของจัสตินให้กับจำเลยที่ไม่รู้ว่า
“แท้จริงแล้วเขาช่วยจำเลยเพราะเห็นถึงข้อผิดพลาดในรูปคดี”
หรือเพราะตัวเขารู้ดีว่า
“จำเลยไม่ใช่ผู้กระทำความผิด การช่วยผู้ต้องหาจึงช่วยเยียวยาให้เขารู้สึกผิดน้อยลงได้ ขณะที่เขาก็ไม่ต้องการให้ตัวเองต้องมาเป็นคนรับผิดเช่นกัน”
นี่คือความจริงที่น่าเจ็บปวด เมื่อการตัดสินความยุติธรรมอาจไม่ให้ความยุติธรรมแก่ทุกคนเสมอไป พร้อมกับคำถามทดสอบศีลธรรมว่า
"หากเราเป็นตัวละครหลักในหนังเรื่องนี้ เราจะตัดสินหรือเลือกปฏิบัติออกมาอย่างไร ?"
- ส่วนที่ชอบอย่างที่สอง
"บทหนังที่ดี"
Juror #2 มาด้วยสไตล์หนังแบบ Courtroom Drama นั่นคือ หนังดำเนินเรื่องผ่านการว่าความในศาลเป็นหลัก ผู้สร้างค่อย ๆ เปิดเผยเรื่องราวนำไปสู่การสังเกตปฏิกิริยาและวิธีคิดของแต่ละตัวละครที่ตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้น
หนังไม่ได้มีวิธีการดำเนินเรื่องที่หวือหวา อย่างไรก็ตาม บทหนังถือว่าคมและมีคอนเซปต์ที่แข็งแรง น่าชื่นชมคุณปู่คลินท์ที่แม้จะอายุ 94 ปีแล้ว แต่หนังของเขายังเปี่ยมด้วยคุณภาพในระดับนี้
- พาร์ทนักแสดงชอบทุกคนเลย
สรุป - เป็นหนังที่ตั้งคำถามถึงความเห็นแก่ตัวและศีลธรรมมนุษย์ได้ดี ทั้งยังวิพากษ์วิจารณ์ถึงกระบวนการตัดสินยุติธรรมได้อย่างเฉียบคม แม้การดำเนินเรื่องอาจจะไม่ได้หวือหวา แต่ถือว่าสนุกและลุ้นระทึกตามโทน
Political Thriller
ใครสนใจแนะนำเลย ดูได้บน HBO Max!
____________________________________
ป.ล. อีกหนึ่งช่องทางการติดต่อทาง Facebook เผื่อสนใจอยากพูดคุยติดต่อ
Lemon8: BENJI Review
IG: benjireview
Juror #2 (2024) - คำถามถึงความจริงและกระบวนการตัดสินความยุติธรรม
ล่าสุดเพิ่งสมัคร HBO Max มีเรื่อง Juror #2 (2024) นี่แหละที่ค่อนข้างอยากดูเป็นพิเศษ เห็นว่าน่าจะเป็นหนังเรื่องสุดท้ายที่ Clint Eastwood กำกับก่อนรีไทร์ (ตอนนี้ผู้กำกับอายุ 94 ปีแล้ว)
ดังนั้นไหน ๆ เป็นหนังทิ้งทวนของผู้กำกับเจ้าของออสการ์ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม เราก็ขอมารีวิวกันสักหน่อย
เรื่องย่อ
"จัสติน เคมป์" (Nicholas Hoult) ถูกเลือกให้มาเป็นลูกขุนในการตัดสินคดีฆาตกรรม
ในคดีนี้ รูปคดีมองว่า ฝ่ายชายฆ่าฝ่ายหญิงหลังจากที่ทั้งคู่ดื่มแอลกอฮอล์ทะเลาะมีปากเสียงกันที่บาร์แห่งหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม เรื่องราวหลายอย่างเกิดขึ้น อาจไม่ใช่ภาพอย่างที่เห็น !
- ส่วนแรกที่ชอบ คือ ประเด็นหลักของเรื่องที่คมกริบอย่างการใช้ "ความกลืนไม่เข้าคายไม่ออกกับปัญหาเชิงศีลธรรม" (Serious moral dilemma) มาตั้งคำถามกับผู้ชม
ในวิธีการตัดสินแบบนี้ ผู้ตัดสินว่า “จำเลยผิดหรือไม่ผิด” คือ "คณะลูกขุน" (Juror) ที่มาจากประชาชนหลากหลายสาขาอาชีพ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญกฏหมายอย่าง "ผู้พิพากษา" (Judge) จะทำหน้าที่เพียงแค่ตัดสินโทษของผู้กระทำผิด หากลูกขุนตัดสินว่าจำเลยมีความผิด
ระบบแบบลูกขุนเชื่อว่า การใช้ "สามัญสำนึกของมนุษย์" (Common sense) ตัดสินความยุติธรรม เป็นวิธีที่มีเหตุผลและมีความชอบธรรม ทั้งยังสอดคล้องกับแนวคิดในการเปิดให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการใช้อำนาจรัฐผ่านกระบวนการยุติธรรมได้
นั่นเป็นสิ่งที่เราหวังให้เกิดขึ้น แต่หลายครั้ง ทุกอย่างอาจไม่ได้ตรงไปตรงมาตามแนวคิดในอุดมคติ !
ความอิหลักอิเหลื่อที่เกิดขึ้นยังนำมาสู่ "คำถามเชิงศีลธรรม" เช่น ความพยายามแก้ต่างของจัสตินให้กับจำเลยที่ไม่รู้ว่า “แท้จริงแล้วเขาช่วยจำเลยเพราะเห็นถึงข้อผิดพลาดในรูปคดี”
หรือเพราะตัวเขารู้ดีว่า “จำเลยไม่ใช่ผู้กระทำความผิด การช่วยผู้ต้องหาจึงช่วยเยียวยาให้เขารู้สึกผิดน้อยลงได้ ขณะที่เขาก็ไม่ต้องการให้ตัวเองต้องมาเป็นคนรับผิดเช่นกัน”
นี่คือความจริงที่น่าเจ็บปวด เมื่อการตัดสินความยุติธรรมอาจไม่ให้ความยุติธรรมแก่ทุกคนเสมอไป พร้อมกับคำถามทดสอบศีลธรรมว่า
Juror #2 มาด้วยสไตล์หนังแบบ Courtroom Drama นั่นคือ หนังดำเนินเรื่องผ่านการว่าความในศาลเป็นหลัก ผู้สร้างค่อย ๆ เปิดเผยเรื่องราวนำไปสู่การสังเกตปฏิกิริยาและวิธีคิดของแต่ละตัวละครที่ตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้น
หนังไม่ได้มีวิธีการดำเนินเรื่องที่หวือหวา อย่างไรก็ตาม บทหนังถือว่าคมและมีคอนเซปต์ที่แข็งแรง น่าชื่นชมคุณปู่คลินท์ที่แม้จะอายุ 94 ปีแล้ว แต่หนังของเขายังเปี่ยมด้วยคุณภาพในระดับนี้
- พาร์ทนักแสดงชอบทุกคนเลย
สรุป - เป็นหนังที่ตั้งคำถามถึงความเห็นแก่ตัวและศีลธรรมมนุษย์ได้ดี ทั้งยังวิพากษ์วิจารณ์ถึงกระบวนการตัดสินยุติธรรมได้อย่างเฉียบคม แม้การดำเนินเรื่องอาจจะไม่ได้หวือหวา แต่ถือว่าสนุกและลุ้นระทึกตามโทน Political Thriller
ใครสนใจแนะนำเลย ดูได้บน HBO Max!