ขับรถไม่มีใบขับขี่ ดื่มเหล้า ทำให้มีคนตาย
ฆ่าข่มขืน เด็ก 13
ล่าสัตว์ป่าในเขตอุทยาน
ชาวบ้านเก็บของป่า หรือคนเก็บของเก่าขายซีดี
สังคมควรได้รับโอกาส และอำนาจในการตัดสิน ว่าผู้กระทำผิดควรได้รับโทษเท่าไร ติดคุก ให้อภัย หรือได้รับโทษสูงสุดประหารชีวิต
ที่ผ่านมาสังคมมีข้อสงสัย ว่าโทษที่อาชญากรได้รับ มันสมควรแล้วหรือ? หลายครั้งที่สังคมรู้สึกว่าไม่เป็นไปอย่างที่ควร นักโทษหลายคนติดคุกไม่นาน ก็ออกมาก่อเหตุซ้ำ ติดคุก แล้วก็พ้นโทษอีก หรือคนบางกลุ่มดูจะได้รับโอกาสมากกว่าคนทั่วไป จนบางคนพูดกันไปว่า "คุกมีไว้ขังคนจน"
จึงเห็นว่าประชาชน ควรได้ใช้สิทธิ และอำนาจของตัวเอง ในการพิจารณา และตัดสินว่าผู้กระทำความผิดสมควรได้รับโทษเท่าไหร่ มีเหตุสมควรที่จะลดหย่อนโทษ รอการลงโทษ หรือนักโทษควรได้รับการลดโทษ พักโทษหรือไม่ โดยใช่ระบบ
ลูกขุนกำหนดโทษ
การพิจารณาคดีในศาล มีขั้นตอน กระบวนการ ที่ใช้เวลานาน มีคดีเข้าสู่ศาล และค้างอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้เสียทั้งเวลา และทรัพยากร การใช้ลูกขุนกำหนดโทษแยกออกมาจากกระบวนการศาล เป็นการช่วยลดคดีในศาล ทำให้พิจารณาคดีอื่นๆ ทำได้รวดเร็วขึ้น โดยเมื่อคดีได้รับการตัดสินแล้วว่าจำเลยมีความผิด โจทก์ หรือจำเลยก็สามารถขอให้มีการพิจารณาเพิ่มโทษ ลดโทษ จำเลยได้โดยไม่ต้องยื่นอุทธรณ์ต่อศาล ลูกขุนก็จะพิจารณาคดีจากสำนวน และคำพิพากษา ก่อนจะรับฟังพยาน แล้วจึงกำหนดโทษ
ข่มขืน = ประหาร ?
โทษสุงสุดของความผิดทางเพศ คือจำคุกตลอดชีวิต ลูกขุนจะกำหนดโทษเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไม่ได้ แต่กรณีข่มขืนแล้วฆ่า ฆาตกรควรถูกประหารหรือไม่ ประชาชนจะได้เป็นผู้ตัดสิน ผ่านระบบลูกขุนนี้ ซึ่งในการลงโทษประหารชีวิต ควรที่ได้รับเสียงเป็นเอกฉันท์จากลูกขุนทุกคน
ทบทวน
ไม่มีระบบไหนที่ไม่มีข้อผิดพลาด และการลงโทษไม่ใช้การแก่แค้น สำหรับโทษประหารชีวิต นักโทษจะถูกจำคุกก่อน และเมื่อถึงเวลาประหาร จะมีการรื้อคดีขึ้นมาพิจารณาอีกครั้ง โดยคณะลูกขุนชุดใหม่ เพื่อเป็นการทบทวนน้ำหนักของพยาน หลักฐาน ความประพฤติที่ผ่านมาในเรือนจำ หรือการอื่นๆ และตัดสินอีกครั้งว่า นักโทษสมควรถูกประหารหรือไม่ โดยในครั้งนี้ ควรให้โอกาส ผู้เสียหาย หรือญาติ ได้ร่วมพิจารณาคดีด้วย เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เสียหายได้ตัดสินใจ ว่าสมควรอภัยให้แก่อาชญากรหรือไม่
การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินโทษ เสมือนหนึ่งเป็นการตัดสินใจร่วมกันของสังคม ช่วยคลายความสงสัย และพึงพอใจว่าโทษที่ได้รับมีความเหมาะสมต่อความผิด การลดโทษมีเหตุผลเพียงพอ การลงโทษที่รุนแรงจะทำให้อาชญากรรมลดลง หรือจะเป็นการเพิ่มความรุนแรง การให้โอกาส ให้อภัย กับคนที่ก่อเหตุโดยไม่ตั้งใจ หรือเคยทำความดี จะทำให้คนหันมาสร้างประโยชน์ให้สังคม และระมัดระวังไม่ทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่น ทำให้สังคมน่าอยู่ขึ้นได้หรือไม่ สังคมจะได้เรียนรู้ และพัฒนาปรับปรุงไปด้วยกัน ผ่านการใช่อำนาจ โดยระบบลูกขุนกำหนดโทษ
*แก้ไขเครื่องหมายคำถามหน่อย กันเข้าใจผิด
คิดอย่างไร ถ้าให้มีลูกขุนกำหนดโทษ ผู้กระทำผิดในคดีอาญา
ฆ่าข่มขืน เด็ก 13
ล่าสัตว์ป่าในเขตอุทยาน
ชาวบ้านเก็บของป่า หรือคนเก็บของเก่าขายซีดี
สังคมควรได้รับโอกาส และอำนาจในการตัดสิน ว่าผู้กระทำผิดควรได้รับโทษเท่าไร ติดคุก ให้อภัย หรือได้รับโทษสูงสุดประหารชีวิต
ที่ผ่านมาสังคมมีข้อสงสัย ว่าโทษที่อาชญากรได้รับ มันสมควรแล้วหรือ? หลายครั้งที่สังคมรู้สึกว่าไม่เป็นไปอย่างที่ควร นักโทษหลายคนติดคุกไม่นาน ก็ออกมาก่อเหตุซ้ำ ติดคุก แล้วก็พ้นโทษอีก หรือคนบางกลุ่มดูจะได้รับโอกาสมากกว่าคนทั่วไป จนบางคนพูดกันไปว่า "คุกมีไว้ขังคนจน"
จึงเห็นว่าประชาชน ควรได้ใช้สิทธิ และอำนาจของตัวเอง ในการพิจารณา และตัดสินว่าผู้กระทำความผิดสมควรได้รับโทษเท่าไหร่ มีเหตุสมควรที่จะลดหย่อนโทษ รอการลงโทษ หรือนักโทษควรได้รับการลดโทษ พักโทษหรือไม่ โดยใช่ระบบลูกขุนกำหนดโทษ
การพิจารณาคดีในศาล มีขั้นตอน กระบวนการ ที่ใช้เวลานาน มีคดีเข้าสู่ศาล และค้างอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้เสียทั้งเวลา และทรัพยากร การใช้ลูกขุนกำหนดโทษแยกออกมาจากกระบวนการศาล เป็นการช่วยลดคดีในศาล ทำให้พิจารณาคดีอื่นๆ ทำได้รวดเร็วขึ้น โดยเมื่อคดีได้รับการตัดสินแล้วว่าจำเลยมีความผิด โจทก์ หรือจำเลยก็สามารถขอให้มีการพิจารณาเพิ่มโทษ ลดโทษ จำเลยได้โดยไม่ต้องยื่นอุทธรณ์ต่อศาล ลูกขุนก็จะพิจารณาคดีจากสำนวน และคำพิพากษา ก่อนจะรับฟังพยาน แล้วจึงกำหนดโทษ
ข่มขืน = ประหาร ?
โทษสุงสุดของความผิดทางเพศ คือจำคุกตลอดชีวิต ลูกขุนจะกำหนดโทษเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไม่ได้ แต่กรณีข่มขืนแล้วฆ่า ฆาตกรควรถูกประหารหรือไม่ ประชาชนจะได้เป็นผู้ตัดสิน ผ่านระบบลูกขุนนี้ ซึ่งในการลงโทษประหารชีวิต ควรที่ได้รับเสียงเป็นเอกฉันท์จากลูกขุนทุกคน
ทบทวน
ไม่มีระบบไหนที่ไม่มีข้อผิดพลาด และการลงโทษไม่ใช้การแก่แค้น สำหรับโทษประหารชีวิต นักโทษจะถูกจำคุกก่อน และเมื่อถึงเวลาประหาร จะมีการรื้อคดีขึ้นมาพิจารณาอีกครั้ง โดยคณะลูกขุนชุดใหม่ เพื่อเป็นการทบทวนน้ำหนักของพยาน หลักฐาน ความประพฤติที่ผ่านมาในเรือนจำ หรือการอื่นๆ และตัดสินอีกครั้งว่า นักโทษสมควรถูกประหารหรือไม่ โดยในครั้งนี้ ควรให้โอกาส ผู้เสียหาย หรือญาติ ได้ร่วมพิจารณาคดีด้วย เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เสียหายได้ตัดสินใจ ว่าสมควรอภัยให้แก่อาชญากรหรือไม่
การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินโทษ เสมือนหนึ่งเป็นการตัดสินใจร่วมกันของสังคม ช่วยคลายความสงสัย และพึงพอใจว่าโทษที่ได้รับมีความเหมาะสมต่อความผิด การลดโทษมีเหตุผลเพียงพอ การลงโทษที่รุนแรงจะทำให้อาชญากรรมลดลง หรือจะเป็นการเพิ่มความรุนแรง การให้โอกาส ให้อภัย กับคนที่ก่อเหตุโดยไม่ตั้งใจ หรือเคยทำความดี จะทำให้คนหันมาสร้างประโยชน์ให้สังคม และระมัดระวังไม่ทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่น ทำให้สังคมน่าอยู่ขึ้นได้หรือไม่ สังคมจะได้เรียนรู้ และพัฒนาปรับปรุงไปด้วยกัน ผ่านการใช่อำนาจ โดยระบบลูกขุนกำหนดโทษ
*แก้ไขเครื่องหมายคำถามหน่อย กันเข้าใจผิด